มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนางาโอกะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนางาโอกะ
ตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนางาโอกะ
ชื่อย่อNUT / 長岡技大
คติพจน์Vitality, Originality and Services
ประเภทมหาวิทยาลัยแห่งชาติ (รัฐ)
สถาปนาพ.ศ. 2519
ที่ตั้ง
เว็บไซต์http://www.nagaokaut.ac.jp
อาคารเรียนภายในมหาวิทยาลัย
ฤดูใบไม้ผลิในมหาวิทยาลัย
ฤดูใบไม้ร่วงในมหาวิทยาลัย
ฤดูหนาวในมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนางาโอกะ (ญี่ปุ่น: 長岡技術科学大学โรมาจิNagaoka Gijutsu Kagaku Daigaku; อังกฤษ: Nagaoka University of Technology), หรือเรียกย่อว่า "นางาโอกะกิได (長岡技大)", หรือ "กิกาได (技科大)" ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2519 ณ เมืองนางาโอกะ จังหวัดนีงาตะ ประเทศญี่ปุ่น ถือเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชาติของประเทศญี่ปุ่นและเป็นหนึ่งในสองมหาวิทยาลัยที่เน้นหลักสูตรทางด้านเทคโนโลยีโดยเฉพาะ (อีกหนึ่งแห่งคือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีโทโยฮาชิ เมืองโทโยฮาชิ จังหวัดไอจิ) เปิดรับนักศึกษาส่วนใหญ่ที่จบการศึกษาหลักสูตร 5 ปีจากวิทยาลัยเทคโนโลยีหรือเรียกว่า "โคเซ็น (高専) ย่อมาจาก 高等専門学校; kōtō-senmon-gakkō)" นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 จะต้องเข้าฝึกงานเป็นเวลา 5 เดือนกับบริษัทเอกชน หน่วยงานราชการ หรือหน่วยงานอื่นๆ นักศึกษาที่จบการศึกษามีอัตราการจ้างงานที่สูง

หน่วยงานภายใน[แก้]

คณะ[แก้]

  • คณะวิศวกรรมศาสตร์
    • วิศวกรรมเครื่องกล
    • วิศวกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และสารสนเทศ
    • วัสดุศาสตร์และเทคโนโลยี
    • วิศวกรรมโยธา
    • วิศวกรรมระบบสิ่งแวดล้อม
    • วิศวกรรมชีวภาพ
    • การจัดการและวิศวกรรมระบบสารสนเทศ

ระดับบัณฑิตศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์[แก้]

  • หลักสูตรปริญญาโท
    • วิศวกรรมเครื่องกล
    • วิศวกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และสารสนเทศ
    • วัสดุศาสตร์และเทคโนโลยี
    • วิศวกรรมโยธา
    • วิศวกรรมระบบสิ่งแวดล้อม
    • วิศวกรรมชีวภาพ
    • การจัดการและวิศวกรรมระบบสารสนเทศ
  • หลักสูตรปริญญาเอก
    • วิทยาการสารสนเทศและวิศวกรรมควบคุม
    • วัสดุศาสตร์
    • วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและพลังงาน
    • วิทยาศาสตร์ชีวภาพผสมผสานและเทคโนโลยี (Integrated Bioscience and Technology)

ระดับบัณฑิตศึกษา คณะการจัดการเทคโนโลยี[แก้]

  • หลักสูตรวิชาชีพ
    • ระบบความปลอดภัย

โครงการวิจัย[แก้]

  • โครงการศูนย์ความเป็นเลิศแห่งศตวรรษที่ 21 (หรือ COE) สนับสนุนโดยกระทรวงการศึกษา วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (หรือ MEXT) รัฐบาลญี่ปุ่น
    • Creation of Hybridized Materials with Super-Functions and Formation of International Research & Education Center (ระหว่างปีพ.ศ. 2545–2549)
    • Global Renaissance by Green Energy Revolution (ระหว่างปีพ.ศ. 2546–2550)
  • โครงการสนับสนุนความต้องการด้านการศึกษาร่วมสมัย สนับสนุนโดย MEXT
    • Development of cyclical education that incorporates Geen Technology practices
  • โครงการส่งเสริมการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยคุณภาพสูง สนับสนุนโดย MEXT
    • Practical Meister system of technological education
    • Restructuring of Fundamental Engineering Education based on Universal Design Concept

ความร่วมมือกับประเทศไทย[แก้]

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนางาโอกะได้ทำให้การสนับสนุน ส่งเสริม แลกเปลี่ยนด้านการวิจัยและวิชาการกับมหาวิทยาลัยและหน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศไทยดังนี้[1]

ลักษณะความร่วมมือแบบบันทึกความเข้าใจ[แก้]

ลักษณะความร่วมมือแบบห้างหุ้นส่วน[แก้]

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง[แก้]

คนไทย[แก้]

ศาสตราจารย์ ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช - นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติประจำปีพ.ศ. 2554 (สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย) จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ - อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต[2]

เว็บไซต์นักเรียนไทยในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนางาโอกะ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนะงะโอะกะ. (2022). 学術交流協定締結機関等一覧表[ลิงก์เสีย]. เข้าถึงเมื่อ 25-08-2022
  2. [1] หน่วยวิจัยเพื่อการใช้ประโยชน์จากไมโครเวฟในงานวิศวกรรม, ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]