ศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จังหวัดขอนแก่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศูนย์การศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
จังหวัดขอนแก่น
ชื่อย่อมรล. ศขก. / LRU KK
คติพจน์อุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
ประเภทศูนย์การศึกษา
สถาปนา17 มิถุนายน พ.ศ. 2552 (14 ปี)
ผู้อำนวยการจักรกฤษณ์ พงษ์อินทร์วงศ์
ที่ตั้ง
234 หมู่ 7 ถ.เลี่ยงเมืองขอนแก่น-กาฬสินธุ์ ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
สี██ สีฟ้า
██ สีชมพู
เว็บไซต์www.kk.lru.ac.th

ศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จังหวัดขอนแก่น (อังกฤษ: Loei Rajabhat University, Khonkaen Education Center) มีสถานะเทียบเท่าคณะของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย เริ่มเปิดทำการสอนเมื่อปี พ.ศ. 2552 ตั้งอยู่ที่บ้านดอนบม ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000 โทร 043-220619 เว็บไซต์ kk.lru.ac.th facebook/kk.lru.ac.th LINE ID : @055mkhff

ประวัติศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จังหวัดขอนแก่น[แก้]

ศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จังหวัดขอนแก่น เป็นหน่วยงานหนึ่งของมหาวิทยาลัย

ราชภัฏเลย มีสถานะเป็นที่ตั้งนอกพื้นที่ เริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่  5 มิถุนายน พ.ศ. 2538 โดยได้รับการสนับสนุนจากชุมชน โดยนายทองมา แก้วคง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7 ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ได้เสนอให้มหาวิทยาลัยราชภัฏเลยใช้ที่ดินสาธารณะประโยชน์ของบ้านดอนบม หมู่ที่ 7 ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เนื้อที่ในขณะนั้นประมาณ 89 ไร่ 2 งาน 28 ตารางวา เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษา

ในปี  2538  ผศ.ประสงค์ สุรียธนาภาส ดำรงตำแหน่ง อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

ได้มีคำสั่งให้อาจารย์ประจวบ สุขสมบูรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผน และอาจารย์พยุง สหะชาติ ทำการตรวจสอบและศึกษาสถานที่ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้รู้แนวเขตและสภาพพื้นที่ โดยได้ดำเนินการเมื่อประมาณวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2538 โดยได้รับความร่วมมือจากนายประยูร อุปฮาต ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7 (ในสมัยนั้น) ร่วมด้วยนายทองมา แก้วคง  นายอิน แก้วดอนหัน และชาวบ้านประมาณ 10 คน ซึ่งสภาพพื้นที่ในขณะนั้น

มีสภาพเป็นป่ารกทึบ และคณะผู้ศึกษาได้นำเสนอรายงานให้อธิการบดีรับทราบ เพื่อกำหนดเป็นนโยบายที่

จะพัฒนาเป็นสถานศึกษานอกที่ตั้งต่อไป

เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2538  ผศ.ประสงค์ สุรียธนาภาส ดำรงตำแหน่ง อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเลยในขณะนั้น ได้มีคำสั่งให้อาจารย์พยุง สหะชาติ จ้างเหมารถแทรกเตอร์เพื่อทำการปรับพื้นที่โดยรอบ และแล้วเสร็จในวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ.2538 ภายหลังจากนั้นอาจารย์สมภพ เพชรดี  และอาจารย์พยุง สหะชาติ ได้ทำการสำรวจรังวัดเขียนแผนผังบริเวณแสดงค่าความสูง-ต่ำของพื้นที่  เพื่อทำผังแม่บทและ ผังภูมิสถาปัตย์  สำหรับผังแม่บทได้รับความอนุเคราะห์จาก ดร.ณรงค์ เหลืองบุตรนาค  คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในขณะเดียวกันทางมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ได้ดำเนินการขออนุญาตใช้พื้นที่จากกระทรวงมหาดไทย โดยได้รับการสนับสนุนจากผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น (ในสมัยนั้น)

วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2544 รศ.ดร.บุญช่วย ศิริเกษ ดำรงตำแหน่ง อธิการบดีมหาวิทยาลัย

ราชภัฏเลยในขณะนั้น ได้ก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราว ขนาด 5 ห้องเรียน มีความกว้าง 10 เมตร ความยาว

50  เมตร  จำนวน 2 หลัง ราคารวม 1,370,004 บาท (หนึ่งล้านสามแสนเจ็ดหมื่นสี่บาทถ้วน) ทำแนวถนน   เข้าสู่อาคารเรียนชั่วคราว จำนวน 3 เส้นทาง มีขนาดถนนกว้าง 8 เมตร , 12 เมตร และ 30 เมตร ความยาวรวม 640.50 เมตร และได้ทำการปรับพื้นที่ประมาณ  17 ไร่ ซึ่งการทำแนวถนนและการปรับพื้นที่ในครั้งนี้ ได้รับความอนุเคราะห์เครื่องจักรกลจากสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท (ร.พ.ช.) จังหวัดขอนแก่น (ปัจจุบันคือ กรมทางหลวงชนบท)  ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 สร้างอาคารเพิ่มเติมจำนวน 1 หลังเป็นอาคารชั้นเดียว จำนวน 3 ห้องเรียน

วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ.2547  วันที่ 23 สิงหาคม  พ.ศ.2547 ผศ.ดร.ประจวบ สุขสมบูรณ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเลยในขณะนั้น ได้ยกฐานะเป็นสถานศึกษานอกที่ตั้ง โดยมีบุคคลสำคัญที่ร่วมผลักดันให้มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ได้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่แห่งนี้ คือนายธนกร ศิลปะรายะ นายกองค์การนักศึกษาการจัดการศึกษาสำหรับบุคลากรประจำการ (กศ.บป.) ศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จังหวัดขอนแก่น ในขณะนั้น (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นภาคพิเศษ กศ.พ.) ร่วมกับนายชูชัย อุดมพุทธชาด (ใช้เวลาดำเนินการประมาณ 9 ปี)

วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ.2547 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น ได้ลงนามอนุมัติ และประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้มหาวิทยาลัยราชภัฏเลยดำเนินการใช้พื้นที่สาธารณะประโยชน์แห่งนี้ เพื่อจัดเป็นสถานศึกษานอกที่ตั้งของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จนถึงปัจจุบัน

วันที่ 17 มิถุนายน 2552  มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ได้จัดตั้งสถานศึกษานอกที่ตั้งโดยใช้ชื่อว่าศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จังหวัดขอนแก่น เป็นส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ตามมติเห็นชอบของสภามหาวิทยาลัย  เริ่มเปิดรับนักศึกษาภาคปกติ จำนวน  4 คณะ ได้แก่

  • คณะครุศาสตร์ จำนวน 4 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ  สาขาวิชาภาษาไทย สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 1 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
  • คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จำนวน 2 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชานิติศาสตร์ สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์
  • คณะวิทยาการจัดการ จำนวน 2 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาการจัดการ สาขาวิชาการบัญชี

ร่วมกับการเปิดรับนักศึกษาและการจัดการเรียนการสอนภาคพิเศษ กศ.พ.  หลายสาขาวิชาควบคู่กันไป

เพื่อตอบสนองกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดใกล้เคียง

ปี  พ.ศ. 2553 มีการสร้างอาคารเรียนเพิ่มจำนวน 1 หลัง  คือ อาคารเรียนรวม โดยใช้งบประมาณรายได้ของมหาวิทยาลัย จำนวน  26,200,000 บาท ในการรับรองการขยายตัวและการกระจายโอกาสทางการศึกษาตอบสนองความต้องการของประชนที่จะเข้ารับการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของจังหวัดขอนแก่น

และจังหวัดใกล้เคียงที่เพิ่มมากขึ้น

ปีการศึกษา 2560 – 2564 ศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จังหวัดขอนแก่น ได้ชะลอการรับนักศึกษาใหม่ตามระเบียบการจัดการศึกษานอกที่ตั้ง ของกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)  แต่ยังมีการดำเนินงานด้านอื่นๆ ตามปกติ อาทิ เช่น งานบริการวิชาการในชุมชน โครงการยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาท้องถิ่น ได้แก่ 1) โครงการศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาอาหารปลอดภัย 2) โครงการพัฒนาธุรกิจชุมชนเพื่อยกระดับรายได้ให้กับชุมชนฐานรากจากผลิตภัณฑ์เสื่อกกและดอกไม้จันทน์) 3) โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล แบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ : U2T) มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และการบริหารจัดการในหน่วยงาน อื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ปีการศึกษา 2565 ศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย  จังหวัดขอนแก่น ได้เปิดรับนักศึกษาทั้งภาคปกติและภาคพิเศษ กศ.พ. จำนวน 5 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชานิติศาสตร์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการ และสาขาวิชาการบัญชีขึ้น และได้ดำเนินงานต่างๆ ตามนโยบายและพันธกิจของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลยจนถึงปัจจุบัน

หลักสูตร[แก้]

หลักสูตรที่เปิดสอนในศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จังหวัดขอนแก่น
คณะ/วิทยาลัย ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

คณะครุศาสตร์

หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.)

  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์ (งดรับนักศึกษา)
  • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา (งดรับนักศึกษา)
  • สาขาวิชาภาษาไทย (งดรับนักศึกษา)
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (งดรับนักศึกษา)

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)

  • สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
  • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (ภาคกศ.พ)

คณะวิทยาการจัดการ

หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (บช.บ.)

  • สาขาวิชาการบัญชี
  • สาขาวิชาการบัญชี (ภาคกศ.พ)

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.)

  • สาขาวิชาการจัดการ
  • สาขาวิชาการจัดการ (ภาคกศ.พ)

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ.)

  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ (ภาคกศ.พ)

หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.)

  • สาขาวิชานิติศาสตร์
  • สาขาวิชานิติศาสตร์ (ภาคกศ.พ)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

อ้างอิง[แก้]