มหาปรัชญาปารมิตาสูตร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปัญจวิงศติ สาหัสริกา ปรัชญาปารมิตาสูตร หรือ มหาปรัชญาปารมิตาสูตร เป็นพระสูตรที่สำคัญพระสูตรหนึ่งของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน แปลจากภาษาสันสกฤตเป็นภาษาจีนโดยพระพระเสวียนจั้ง (พระถังซำจั๋ง) ในภาษาจีนว่า ต้าปัวเญ่ ปัวหลัวมี่ตัวจิง (大般若波羅蜜多經) หรือ มั่วเหอ ปัวเญ่ ปัวหลัวมี่ตัวจิง (摩訶般若波羅蜜多經) พระสูตรนี้เป็นการรวบรวมเอาสูตรต่างๆ ที่ว่าด้วยปรัชญา (ปัญญา) และปารมิตา (บารมี) มารวมกันเป็นจำนวน 600 ผูก 390 ปริเฉท พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ณ สถานที่ต่างๆ 16 แห่ง ดังนี้

  1. ภูเขาคิชฌกูฏ เมืองราชคฤห์ แสดง 6 ครั้ง (ผูกที่1 - 573)
  2. เมืองสาวัตถี แสดง 3 ครั้ง (ผูกที่ 574 - 577)
  3. สวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี แสดง 1 ครั้ง (ผูกที่ 578)
  4. เมืองสาวัตถี แสดง 4 ครั้ง (ผูกที่ 579 - 589)
  5. ภูเขาคิชฌกูฏ แสดง 1 ครั้ง ผูกที่ (591 - 592)
  6. วัดเวฬุวัน แสดง 1 ครั้ง (ผูกที่ 593 - 600) [1]

ปัญจวิงศติ สาหัสริกา ปรัชญาปารมิตาสูตร ถือเป็นพระสูตรที่ใหญ่ที่สุดมีเนื้อหามากที่สุดในหมวดปรัชญาปารมิตา แห่งพระไตรปิฎกฝ่ายมหายาน เนื้อหาของพระสูตรว่าปรัชญาและปารมิตา เมื่อถึงปรัชญาและปารมิตาแล้วจะเข้าใจในหลักศูนยตา อันเป็นหัวใจแห่งมหายาน จึงกล่าวว่า ผู้เข้าใจศูนยตาแล้วมีปัญญาและบารมีเต็มเปี่ยม แต่แม้จะเข้าถึงหลักปรัชญาปารมิตาและศูนยตาแล้วยังไม่นับเป็นมหายานอย่างสมบูรณ์แบบ จนกว่าผู้ที่เข้าใจหลักเหล่านี้จะตั้งปณิธานนำสรรพสัตว์ให้เข้าถึงหลักปรัชญาปารมิตาและศูนยตา ผู้ที่ตั้งปณิธานนี้เรียกว่าโพธิสัตว์ ปัญจวิงศติ สาหัสริกา ปรัชญาปารมิตาสูตรจึงเน้นอธิบายหลักโพธิสัตว์มากเป็นพิเศษ มีการอธิบายจริยาและวิถีปฏิบัติของโพธิสัตว์เอาไว้อย่างชัดเจน [2] โดยเฉพาะปารมิตาทั้ง 6 (บารมี 6) อันได้แก่

โดยเฉพาะปารมิตาทั้ง 6 (บารมี 6) อันได้แก่

  1. ทานะ (ทาน)
  2. ศีละ (สีล)
  3. กษานติ (ขันติ)
  4. วีรยะ (วิริยะ)
  5. ธยานะ (ฌาน)
  6. ปรัชญา (ปัญญา)

ต้นฉบับ[แก้]

大般若波羅蜜多經

อ้างอิง[แก้]

  1. A Short history of the twelve Japanese Buddhist sects, p. XVIII
  2. http://i80000.or.kr/english/html/cyber/popup_view.asp?f_num=1&f_lang=e[ลิงก์เสีย]