มวลสารพอก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มวลสารพอก ตามชายหาด

มวลสารพอก คือมวลวัตถุ หรือแร่ที่จับตัวกันแน่นและแข็ง เป็นรูปทรงกลม แต่ที่พบทั่วไปมักเป็นรูปกลมรี รูปกลมแบน หรือรูปร่างไม่แน่นอน เกิดจากการจับตัวกันของสารเหลว หรือการตกผลึกของสารละลายรอบๆจุด หรืออนุภาค เช่น ใบไม้ กระดูก เปลือกหอย หรือซากดึกดำบรรพ์ จนเกิดเป็นก้อนแข็งๆ ภายในรูหรือโพรงของชั้นหิน หรือภายในเศษชิ้นส่วนภูเขาไฟ

โดยทั่วไปส่วนประกอบของซิลิกา (เชิร์ต) แคลไซต์ โดโลไมต์ เหล็กออกไซด์ ไพไรต์ ยิปซัม มีขนาดตั้งแต่ เม็ดกรวดเล็กๆ ไปจนถึงรูปทรงกลมที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 เมตร ส่วนมากเกิดในช่วงที่หินมีการก่อตัวใหม่ (Diagenesis) แต่ที่เกิดทันทีหลังจากตกตะกอน (โดยเฉพาะในหินปูน และหินดินดาน) ก็มีมากเช่นกัน

อ้างอิง[แก้]

  • พจนานุกรม ศัพท์ธรณีวิทยา พ.ศ. 2530

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]