รายชื่อแหล่งมรดกโลกในประเทศมาเลเซีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลกของประเทศมาเลเซียทั้งสิ้น 4 แหล่ง[1]

ที่ตั้ง[แก้]

สถานที่ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก[แก้]

*หมายเหตุ: ระบุชื่อสถานที่ตามที่ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
สถานที่ ภาพ ที่ตั้ง ประเภท พื้นที่
(เฮกตาร์)
ปีขึ้นทะเบียน
(พ.ศ./ค.ศ.)
หมายเหตุ อ้างอิง
อุทยานแห่งชาติกูนุงมูลู Sunset or sunrise over a mountain landscape with fog in the valleys. รัฐซาราวัก
4°05′07.3″N 114°54′04.5″E / 4.085361°N 114.901250°E / 4.085361; 114.901250 (Gunung Mulu National Park)
ธรรมชาติ:
(vii), (viii), (ix), (x)
52,864 2543/2000 อุทยานแห่งชาติที่มีความสวยงามจากการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา โดยเฉพาะกลุ่มถ้ำและทุ่งหินปูน อีกทั้งยังโดดเด่นในการเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์สายพันธุ์ต่างๆ มากกว่า 20,000 ชนิดและพืชมากกว่า 3,500 ชนิด 1013[2]
อุทยานกีนาบาลู Mountain with a rocky top and forested slopes. There is a narro high waterfall on one side of the mountain slope. รัฐซาบะฮ์
6°04′30.9″N 116°33′31.5″E / 6.075250°N 116.558750°E / 6.075250; 116.558750 (Kinabalu Park)
ธรรมชาติ:
(ix), (x)
75,370 2543/2000 อุทยานแห่งชาติที่โดดเด่นในเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ ประกอบไปด้วยพืชและสัตว์มากกว่า 4,500 ชนิด โดยเฉพาะกล้วยไม้และพืชกินแมลงที่พบเห็นได้ยาก 1012[3]
มะละกาและจอร์จทาวน์
นครประวัติศาสตร์
แห่งช่องแคบมะละกา
Town scene with three-storied red houses and a red church. There is a three-storied clock tower standing on a square. รัฐมะละกาและรัฐปีนัง
2°11′48.5″N 102°14′47.2″E / 2.196806°N 102.246444°E / 2.196806; 102.246444 (Melaka and George Town, Historic Cities of the Straits of Malacca)
วัฒนธรรม:
(ii), (iii), (iv)
154.68;
พื้นที่กันชน 392.8
2551/2008;
เพิ่มเติม 2554/2011
มะละกาและจอร์จทาวน์เป็นเมืองท่าการค้าที่สำคัญเนื่องจากตัวเมืองตั้งอยู่บริเวณช่องแคบมะละกาทำให้มีการติดต่อค้าขายและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึง 18 ภายในตัวเมืองทั้งสองมีสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างยุโรปและเอเชีย ทั้งรูปแบบโปรตุเกส ดัตช์ จีน มาเลย์ และอังกฤษ 1223[4]
มรดกทางโบราณคดี
แห่งหุบเขาเล็งกง
Lenggong Valley. รัฐเประ
5°4′4.47″N 100°58′20.38″E / 5.0679083°N 100.9723278°E / 5.0679083; 100.9723278 (Lenggong Valley)
วัฒนธรรม:
(iii), (iv)
398.64;
พื้นที่กันชน 1,786.77
2555/2012 แหล่งค้นพบมนุษย์โบราณอายุราว 31,000 ปี รวมไปถึงหลักฐานการดำรงชีวิตของผู้คนตั้งแต่ช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์บริเวณทางตอนเหนือของมาเลเซีย 1396[5]

สถานที่ที่ได้ขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น[แก้]

ปัจจุบัน ประเทศมาเลเซียมีสถานที่ที่ได้ขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) เพื่อพิจารณาเป็นแหล่งมรดกโลกในอนาคตทั้งสิ้น 6 แห่ง ดังนี้[6]

ปี พ.ศ./ค.ศ. ในวงเล็บ หมายถึงปีที่สถานที่นั้น ๆ ได้ขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น
  • อุทยานแห่งชาติ (ตามันเนอการา) แห่งมาเลเซียตะวันตก (2557/2014)
  • วนอุทยานฟริมเซอลาโงร์ (2560/2017)
  • สันเขาควอตซ์กมบักเซอลาโงร์ (2560/2017)
  • อุทยานแห่งรัฐโรยัลเบอลุม (2560/2017)
  • สถาบันโรคเรื้อนซูไงบูโละฮ์ (2562/2019)
  • มรดกทางโบราณคดีของกลุ่มถ้ำในอุทยานแห่งชาติเนียะฮ์ ซาราวัก มาเลเซีย (2564/2021)

อ้างอิง[แก้]

  1. "World Heritage Properties in Malaysia". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 7 July 2019.
  2. "Gunung Mulu National Park". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 May 2010.
  3. "Kinabalu Park". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 May 2010.
  4. "Melaka and George Town, Historic Cities of the Straits of Malacca". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 May 2010.
  5. "Archaeological Heritage of the Lenggong Valley". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 2 July 2012.
  6. "Tentative Lists: Malaysia". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 7 July 2019.