ภูเขาไฟเอเรอตาเล
เอเรอตาเล | |
---|---|
![]() Erta Ale in May 2008 | |
จุดสูงสุด | |
ความสูง เหนือระดับน้ำทะเล | 613 เมตร (2,011 ฟุต) [1] |
รายชื่อ | รายชื่อภูเขาไฟในประเทศเอธิโอเปีย |
พิกัด | 13°36′N 40°40′E / 13.600°N 40.667°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 13°36′N 40°40′E / 13.600°N 40.667°E [2] |
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ | |
เทือกเขา | เทือกเขาอาฟาเรอ |
ข้อมูลทางธรณีวิทยา | |
ประเภทภูเขา | ภูเขาไฟรูปโล่ |
การปะทุครั้งล่าสุด | พ.ศ. 2500 จนถึงปัจจุบัน[2] |
ภูเขาไฟเอเรอตาเล (ชื่อในภาษาอัมฮาริก) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อภาษาอังกฤษว่า ภูเขาไฟเออร์ตาเอล (แม่แบบ:Lang-am, อังกฤษ: Erta Ale) บ้างก็อ่าน อิร์ตาเอล เป็นภูเขาไฟรูปโล่ชนิดบะซอลต์ ตั้งในที่ต่ำอาฟาเรอ (afar depression) ประเทศเอธิโอเปีย มีความสูง 613 เมตร ประกอบด้วยแอ่งลาวาจำนวน 2 แอ่งหรือ 1 แอ่งแล้วแต่ช่วงเวลา ปัจจุบันปะทุตลอดเวลานับแต่มีการบันทึก (พ.ศ. 2449) จนได้ชื่อว่า ประตูสู่นรก[3] คล้ายกับชื่อของหลุมแก๊สดาร์วาซาในประเทศเติร์กเมนิสถาน การปะทุครั้งใหญ่ล่าสุดมีเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2548 ทำให้สัตว์ล้มตาย 250 ตัว และราษฎรนับพันคนต้องหลบภัย[4] ต่อมาในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2550[5] ก็มีการปะทุอย่างเดียวกันทำให้มีคนสูญหายสองคนและคนอพยพนับร้อยคน ภูเขาไฟเอเรอตาเลนับแต่นั้นมาก็ปะทุตลอดเวลาโดยมีการปะทุใหญ่ครั้งล่าสุดเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2560[6]
ชื่อเอเรอตาเลเป็นชื่อภาษาอาฟาเรอแปลว่า ภูเขาควัน เมื่อปี พ.ศ. 2552 ทีมจากบีบีซีสำรวจพื้นที่โดยวิธีโทรสัมผัสเลเซอร์เพื่อป้องกันความร้อน
การเดินทางมายังภูเขาไฟเอเรอตาเลนั้นยากลำบากยิ่งนัก เนื่องจากเป็นท้องที่กันดาร มีภัยธรรมชาติและภัยโดยมนุษย์มาก บ้างก็มีเหตุต่อสู้กันในหมู่ชาวอาฟาเรอ เช่นเหตุที่เกิดเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555 ชาวยุโรปจำนวนหนึ่งถูกยิง เป็นผลให้ห้าคนถึงแก่กรรม ส่วนที่เหลือเจ็ดคนบาดเจ็บ[7] ต่อมาแนวร่วมสามัคคีประชาธิปไตยปฏิวัติอาฟาเรอ (Afar Revolutionary Democratic Unity Front) แสดงความรับผิด[8]และปล่อยนักท่องเที่ยวซึ่งเป็นตัวประกันสองคนเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555[9] ล่าสุดเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 นักท่องเที่ยวชาวเยอรมันถูกยิงเสียชีวิตขณะเดินทางกลับจากภูเขาไฟ[10] มัคคุเทศก์ท่านหนึ่งแนะนำว่านักท่องเที่ยวพึงจัดให้มีทหาร ตำรวจ หรือกองกำลังติดอาวุธอย่างน้อยสองนายอารักขาขณะเดินทางไปยังภูเขาไฟ หรือถ้าจะให้ดีพึงไปกับบริษัททัวร์ที่มีทหารเดินทางไปคุ้มกันด้วย[11]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "Erta Ale, Ethiopia". Volcano World. Oregon State University. สืบค้นเมื่อ 2007-08-08.
- ↑ 2.0 2.1 Error: You must specify
|vnum=
when using {{Cite gvp}} - ↑ "Episode 1: The Horn of Africa". On the Volcanoes of the World. The Science Channel.
- ↑ "Focus on Ethiopia, September 2005", UN-OCHA . Retrieved 25 February 2009.
- ↑ "Fears after volcano in Ethiopia". BBC News. 2007-08-15. สืบค้นเมื่อ 2007-08-15.
- ↑ "New flank eruption at Erta Ale volcano, Ethiopia". The Watchers - Daily news service | Watchers.NEWS. สืบค้นเมื่อ 2017-05-14.
- ↑ "Deadly attack on tourists at Erta Ale - further details: 5 dead, 4 abducted and 7 wounded". VolcanoDiscovery. 18 January 2012. สืบค้นเมื่อ 26 October 2013.
- ↑ "Erta Ale January (sic) 17 kidnapping – ARDUF claims responsability (sic), hostages said to be well". VolcanoDiscovery. 20 February 2012. สืบค้นเมื่อ 26 October 2013.
- ↑ "Kidnapped German tourists released (Erta Ale, Danakil, Ethiopia incident 17 Jan 2012)". VolcanoDiscovery. 6 March 2012. สืบค้นเมื่อ 26 October 2013.
- ↑ Berhane, Daniel (2017-12-05). "An armed group from Eritrea kills a German in Erta Ale, Ethiopia". Horn Affairs. สืบค้นเมื่อ 2017-12-07.
- ↑ Briggs, Philip; Blatt, Brian (2009). Ethiopia: the Bradt Travel Guide (Fifth ed.). Chalfont St Peter: Bradt Travel Guides. p. 313. ISBN 978-1-84162-284-2.