ภูมิภาคนิยมเชิงวิพากษ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มัสยิดขาวเชเรฟุดีน ประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา โดยซลาตโค อุจลเยน

ภูมิภาคนิยมเชิงวิพากษ์ (อังกฤษ: Critical regionalism) เป็นแนวความคิดทางสถาปัตยกรรมที่เน้นสร้างสำนึกแห่งสถานที่และอัตลักษณ์แต่ยังคงปฏิเสธแนวคิดปัจเจกนิยมที่แปลกแยก และการตกแต่งแบบสถาปัตยกรรมหลังสมัยใหม่ อาศัยความเชื่อมโยงกับพื้นที่ตั้ง ทั้งรูปธรรมและนามธรรม เน้นให้ความสัมพันธ์กับบริบททางด้านสังคม วัฒนธรรม ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ แสงธรรมชาติ และระบบนิเวศเดิม แนวทางของภูมิภาคนิยมเชิงวิพากษ์จึงไม่ถวิลหาอดีตหรือลอกเลียนรูปแบบพื้นถิ่นอย่างตรงไปตรงมาเหมือนกับภูมิภาคนิยม ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ผนวกเข้ากับสาระสำคัญความเป็นพื้นถิ่นเข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ให้เกิดความเฉพาะตัว เจาะจงกับพื้นที่ตั้ง รวมทั้งสอดคล้องกับวิถีชีวิตและกระแสวัฒนธรรมของโลกในปัจจุบัน[1]

คำว่า critical regionalism ใช้ครั้งแรกโดยนักทฤษฎีสถาปัตยกรรม อเลกซานเดอร์ โซนิส (Alexander Tzonis) และ Liane Lefaivre และยังให้ความหมายที่ต่างกันเล็กน้อยโดยนักทฤษฎี-ประวัติศาสตร์ เคนเนท แฟรมป์ตัน

อ้างอิง[แก้]