พระพุทธรูปแห่งบามียาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภูมิทัศน์วัฒนธรรมและ
ซากโบราณสถานแห่งหุบเขาบามียาน *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
พระพุทธรูปองค์ "ตะวันออก" สูง 38 เมตร
พระพุทธรูปองค์ "ตะวันตก" สูง 55 เมตร
พิกัด34°49′55″N 67°49′36″E / 34.8320°N 67.8267°E / 34.8320; 67.8267พิกัดภูมิศาสตร์: 34°49′55″N 67°49′36″E / 34.8320°N 67.8267°E / 34.8320; 67.8267
ประเทศจังหวัดบามียาน, ธงของประเทศอัฟกานิสถาน อัฟกานิสถาน
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(i) (ii) (iii) (iv) (v)
อ้างอิง208
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2546 (คณะกรรมการสมัยที่ 27)
ในภาวะอันตราย2546
พระพุทธรูปแห่งบามียานตั้งอยู่ในประเทศอัฟกานิสถาน
พระพุทธรูปแห่งบามียาน
ที่ตั้งของพระพุทธรูปแห่งบามียาน ในประเทศอัฟกานิสถาน
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

พระพุทธรูปแห่งบามียาน หมายถึง อดีตพระพุทธรูปอายุราวคริสต์ศตวรรษที่ 6[1] ขนาดใหญ่ที่สร้างฝังเข้าไปในหน้าผา ตั้งอยู่ในจังหวัดบามียาน ทางตอนกลางของประเทศอัฟกานิสถาน ราว 130 กิโลเมตร (81 ไมล์) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงคาบูล และตั้งอยู่ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 2,500 เมตร (8,200 ฟุต) โดยพระพุทธรูปสององค์ได้แก่ องค์โตหรือองค์ "ตะวันตก" และองค์น้อยหรือองค์ "ตะวันออก" การตรวจวัดอายุคาร์บอนของพระพุทธรูปพบว่าโครงสร้างขององค์น้อยซึ่งสูง 38 m (125 ft) สร้างขึ้นในราว ค.ศ. 570 ส่วนองค์โตซึ่งสูง 55 m (180 ft) สร้างขึ้นในราว ค.ศ. 618[2][3]

พุทธศิลป์แสดงวิวัฒนาการยุคหลังจากรูปแบบผสมผสานดั้งเดิมของศิลปะคันธาระ[4] ชาวท้องถิ่นเรียกพระพุทธรูปองค์โตว่า ซาลซาล (Salsal; "แสงซึ่งส่องไปทั่วเอกภพ") และองค์เล็กว่า ชามามา (Shamama; "พระมารดาราชินี")[5] ตัวองค์หลักของพระพุทธรูปสร้างขึ้นโดยการขุดเจาะเข้าไปในผาหินทรายโดยตรง ส่วนรายละเอียดย่อย ๆ ที่ตกแต่งสร้างขึ้นจากการผสมดินเหนียวกับฟาง ฉาบด้วยสตักโค และตกแต่งด้วยสีสันซึ่งแสดงรายละเอียดพระพักตร์ หัตถ์ และรอบพับบนจีวร แต่สีที่มีนี้จางหายไปตามกาลเวลา องค์โตถูกทาด้วยสีแดงคาร์มีน และองค์เล็กทาด้วยสีต่าง ๆ หลายสี[6] ท่อนล่างของพระกรของพระพุทธรูปสร้างขึ้นจากดินเหนียวผสมฟางประกอบโครงที่ทำจากไม้ ส่วนท่อนบนของพระพักตร์เชื่อว่าสร้างขึ้นจากไม้ แถวของหลุมและรูที่ปรากฏโดยรอบมีไว้ปักแท่งไม้ที่ช่วยยึดสตักโคชั้นนอก

นอกจากองค์พระพุทธรูปแล้ว ในบริเวณโดยรอบยังรายล้อมด้วยถ้ำและพื้นผิวที่ล้วนตกแต่งด้วยจิตรกรรม[7] เชื่อกันว่ายุครุ่งเรืองสูงสุดทางพุทธศาสนาของบริเวณนี้คือระหว่างคริสต์ศตวรรษที่หกถึงแปด จนกระทั่งถูกมุสลิมเข้ายึดครอง[7] รูปแบบศิลปะที่พบนั้นเข้าใจว่าเป็นศิลปะในศาสนาพุทธ และศิลปะคุปตะจากอินเดีย ผสมผสานอิทธิพลจากซาสซานิกและบีแซนทีน รวมถึงอิทธิพลแบบมณฑลโตคาริสตาน[7]

ใน ค.ศ. 1999 ผู้นำของกลุ่มตอลิบาน มุลลอห์ มุฮัมมัด อุมัรได้ประกาศให้มีการพิทักษ์ปกป้องพระพุทธรูป[8] อย่างไรก็ตาม พระพุทธรูปทั้งสององค์ถูกระเบิดทิ้งใน ค.ศ. 2001 ระหว่างที่ทีมผู้เชี่ยวชาญจากประเทศสวีเดนกำลังมีแผนที่จะทำการบูรณะท่ามกลางวิกฤตมนุษยธรรม[9]

ประวัติ[แก้]

ภาพจำลองจากจินตนาการ แสดงพระพุทธรูปในสภาพที่รายละเอียดการแกะสลักสมบูรณ์

พระพุทธรูปสององค์เป็นของพระไวโรจนพุทธะ และ พระศากยมุนี ซึ่งพิจารณาได้จากมุทราที่ต่างกัน[10][11] จากการตรวจอายุคาร์บอนพบว่าสร้างขึ้นในระหว่าง ค.ศ. 544-595 สำหรับพระพุทธรูปองค์ "ตะวันออก" ที่สูง 38 เมตร และ ค.ศ. 591-644 สำหรับพระพุทธรูปองค์ "ตะวันตก" ที่สูง 55 เมตร[12][3]

1998-2001: ภายใต้ตอลิบาน[แก้]

ในระหว่างสงครามกลางเมืองอัฟกานิสถาน พื้นที่ของบามียานอยู่ภายใต้ปกครองของกองกำลังฮิซบิวะห์ดัต สมาชิกของพันธมิตรเหนือ ซึ่งในเวลานั้นกำลังต่อสู้กับกลุ่มตอลิบาน ภายหลังตอลิบานเข้ายึดครองมะซาริชารีฟได้ในเดือนสิงหาคม 1998 บริเวณบามียานก็อยู่ภายใต้ปกครองของตอลิบานนับแต่นั้น[13] ตัวเมืองถูกตอลิบานยึดได้ในวันที่ 13 กันยายน[14] ในเวลานั้น มีการกล่าวถึงประชากรชาวอัฟกันว่า "เหนื่อยล้า หิวโหย"[15]

อับดุล วะเฮ็ด (Abdul Wahed) นายพลตอลิบานในพื้นที่ ประกาศเจตจำนงที่จะระเบิดพระพุทธรูปที่หุบเขาทิ้งทั้งหมดตั้งแต่ก่อนที่กองกำลังตอลิบานจะยึกครองพื้นที่ได้ วะเฮ็ดดำเนินการเจาะรูเข้าไปในพระเศียรของพระพุทธรูปเพื่อใส่ระเบิด ต่อมาเขาถูกสั่งห้ามดำเนินการโดยนายกเทศบาลท้องถิ่น รวมถึงได้รับคำสั่งโดยตรงจากผู้นำสูงสุดของตอลิบาน มุฮัมมัด อุมัร แต่ต่อมาก็มีการเผายางบนบริเวณพระเศียรอีก[16] ในเดือนกรกฎาคม 1999 มุลลอห์มุฮัมมัด อุมัร ลงนามในประกาศยืนยันว่าตอลิบานจะทำการอนุรักษ์พระพุทธรูปแห่งบามียาน เนื่องจากในอัฟกานิสถานไม่มีพุทธศาสนิกชนและพระพุทธรูปนี้ก็ไม่ได้มีการบูชาหรือประกอบพิธีกรรมของพุทธเป็นเวลานานแล้ว เขาระบุว่า "รัฐบาลถือว่าพระพุทธรูปแห่งบามียานนี้เป็นแหล่งรายได้สำคัญของอัฟกานิสถาน ฉะนั้น รัฐภายใต้ปกครองของตอลิบานห้ามกระทำการทำลายพระพุทธรูปแห่งบามียานเป็นอันเด็ดขาด"[8] นอกจากนี้ ยังพบเอกสารทางการในต้น ค.ศ. 2000 ที่เจ้าหน้าที่ตอลิบานท้องถิ่นได้สอบถามขอความช่วยเหลือจากสหประชาชาติเพื่อสร้างและปรับปรุงระบบระบายน้ำบริเวณโดยรอบและในองค์พระพุทธรูปเพื่อป้องกันความเสียหาย[17]

อย่างไรก็ตาม ตอลิบานออกประกาศเจตจำนงจะทำลายรูปปั้นใน 27 กุมภาพันธ์ 2001 ส่งผลให้เกิดความโกรธและกระแสต่อต้านอย่างรุนแรงไปทั่ว ผู้อำนวยการองค์การยูเนสโก โคอิชิโระ มัตซุอูระ ได้จัดการประชุมระหว่างรัฐในองค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC) ผลจากการประชุมคือรัฐสมาชิกทั้งหมด รวมทั้งปากีสถาน ซาอุดิอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์แสดงจุดยืนต่อต้านการทำลายพระพุทธรูปนี้[18] ทั้งซาอุดิอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ยังประณามการทำลายพระพุทธรูปว่าเป็นการกระทำที่ "ป่าเถื่อน"[19] ส่วนประเทศอินเดีย ซึ่งถึงแม้จะไม่เคยยอมรับรัฐบาลของตอลิบานในฐานะรัฐบาลอัฟกานิสถาน ได้ยื่นมือให้ความช่วยเหลือในการขนส่งโบราณวัตถุของบามียานมาไว้ที่อินเดีย ซึ่งอินเดียจะเก็บรักษาไว้ แต่สุดท้ายถูกตอลิบานปฏิเสธ[20] ประธานาธิบดีปากีสถาน เปอร์เวซ มูชาร์ราฟ ได้ทำการเจรจาการทูตนำโดยรัฐมนตรีมหาดไทย โมอีนุดดีน ไฮเดร์ ไปยังคาบูลเพื่อพบกับอุมัร และเจรจาเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการทำลายพระพุทธรูป โดยอ้างว่าการทำลายพระพุทธรูปเช่นนี้เป็นการกระทำที่ไม่เคยมีมาก่อนและขัดต่อหลักของศาสนาอิสลาม[21]

รัฐมนตรีของตอลิบาน อับดุล ซาลาม ซาอีฟ เคยระบุว่ายูเนสโกได้ส่งจดหมายมายังรัฐบาลตอลิบานจำนวน 36 ฉบับเพื่อต่อต้านการระเบิดทำลายพระพุทธรูป โดยมีทูตจากจีน ญี่ปุ่น และศรีลังกา ที่แสดงความเป็นห่วงและต้องการหาทางออกมากที่สุด โดยที่ญี่ปุ่นถึงกับเสนอแผนเพื่อแก้ปัญหานี้มากมาย เช่น แผนการย้ายรูปปั้นทั้งหมดมาไว้ที่ประเทศญี่ปุ่น, หาทางปิดบังหรือซ่อนพระพุทธรูปจากทิวทัศน์ของหุบเขา ไปจนถึงการยอมจ่ายเงินให้ตอลิบานเพื่อไม่ให้ทำลายพระพุทธรูป[22][23]

แต่ท้ายที่สุด รูปปั้นถูกคำสั่งให้ทำลายทิ้งโดยตรงจาก อับดุล วาลี (Abdul Wali) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเผยแพร่คุณธรรมและยับยั้งความชั่ว (Propagation of Virtue and the Prevention of Vice)[24]

2001: ถูกทำลายโดยตอลิบาน[แก้]

ภาพถ่ายขณะทำการระเบิดรูปปั้น

รูปปั้นทั้งหมดถูกทำลายด้วยระเบิดไดนาไมต์ในระยะเวลาหลายสัปดาห์ เริ่มตั้งแต่ 2 มีนาคม 2001[25][26] แบ่งเป็นช่วงต่าง ๆ โดยช่วงแรกประกอบด้วยการกระหน่ำยิงปืนและอาวุธใส่ ซึ่งแม้จะทลายพระพุทธรูปลงไปมากแต่ยังไม่เพียงพอ รัฐมนตรีกระทรวงข้อมูลข่าวสาร Qudratullah Jamal ระบุในเวลานั้นว่า "การทำลายรูปปั้นนี้ไม่ได้ง่ายอย่างที่คุณคิดหรอกนะ"[27] ท้ายที่สุดตอลิบานนำเอาระเบิดเข้าฝังในรูที่เจาะในรูปปั้น[28] จนรูปปั้นถูกทำลายหมด ยกเว้นส่วนพระพักตร์กนึ่งของพระพุทธรูปองค์หนึ่ง ซึ่งสุดท้ายต้องใช้การยิงจรวดระเบิดเข้าไปจนพังทลายลงมา[29]

อุมัรเคยให้สัมภาษณ์อ่างเปิดเผยต่อกรณีการทำลายรูปปั้นว่า:

ผมไม่อยากจะทำลายพระพุทธรูปแห่งบามียานหรอก ในความเป็นจริงแล้ว มีชาวต่างชาติบางส่วนที่มาหาผมและบอกว่าต้องการจะบูรณะซ่อมแซมพระพุทธรูปแห่งบามียานซึ่งเสียหายบ้างจากฝน ผมตกใจมากกับคำร้องขอเหล่านี้ ผมคิดเลยว่า พวกบรรดาคนตายด้านเหล่านี้ไม่เคยคิดจะสนใจมนุษย์มนาหลายพันคนที่กำลังจะตายเพราะความหิวโหย แต่กลับมากังวลมากมายเหลือเกินกับสิ่งไม่มีชีวิตอย่างรูปปั้น นี่มันน่าเสียใจ (deplorable) เป็นอย่างมากจริง ๆ ผมถึงได้สั่งการให้ทำลายรูปปั้นพวกนี้เสีย ถ้าคนเหล่านี้มาเพื่อช่วยเหลือทางมนุษยธรรมแต่แรก ผมก็ไม่คิดจะสั่งให้ระเบิดพระพุทธรูปทิ้งหรอก[30]

ในวันที่ 6 มีนาคม 2001 เดอะไทมส์ อ้างคำพูดของมุลลอห์โอมาร์ว่า "มุสลิมทั้งหลายควรจะภูมิใจกับการทุบทำลายรูปเคารพ นี่คือการสรรเสริญอัลลอฮ์ผู้ทุบทำลายพวกมัน [รูปเคารพ]"[31]

หัวหน้าคณะทูตในเวลานั้น Sayed Rahmatullah Hashemi ระบุว่าการทำลายพระพุทธรูปถูกสั่งมาจากประธานคณะกรรมการนักปราชญ์หลังคณะผู้เชี่ยวชาญด้านอนุสรณ์ชาวสวีเดนได้เสนอแผนเพื่อปรับปรุงซ่อมแซมเศียรของพระพุทธรูป แต่ "เมื่อประธานฝ่ายอัฟกันถามเพื่อขอเงินมาเพื่อเป็นอาหารแก่เด็ก ๆ ในประเทศ แทนที่จะมาใช้ซ่อมรูปปั้น พวก[คณะจากสวีเดน]ปฏิเสธ และบอกว่า 'ไม่ เงินจำนวนนี้มีไว้สำหรับรูปปั้น ไม่ใช่เด็ก'" อย่างไรก็ตาม เขากลับไม่ได้พูดถึงกรณีที่มีพิพิธภัณฑ์จากต่างชาติเสนอเงินจำนวนหนึ่งเพื่อ "ซื้อพระพุทธรูปเหล่านี้ไป แล้ว[ให้อัฟกัน]นำเงินจำนวนนี้ไปหาอาหารให้เด็ก ๆ กิน"[32] เขายังเสริมอีกว่า "ถ้าพวกเรา[ตอลิบาน] อยากจะทำลายรูปปั้นจริง ๆ เราก็คงทำมันไปตั้งแต่สามปีก่อนแล้ว"[33]

ไมเคิล ฟอลเซอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์ ศูนย์พหุวัฒนธรรมศึกษาในเยอรมนี ระบุว่าการทำลายรูปปั้นนี้เป็นการแสดงท่าทีต่อต้านแนวคิดแบบโลกาภิวัตน์ในแง่ของการ "อนุรักษ์วัฒนธรรม" (cultural heritage)[34]

อ้างอิง[แก้]

  1. Gall, Carlotta (5 December 2006). "Afghans consider rebuilding Bamiyan Buddhas". International Herald Tribune/The New York Times. สืบค้นเมื่อ 8 March 2014.
  2. Eastern Buddha: 549 AD - 579 AD (1 σ range, 68.2% probability) 544 AD - 595 AD (2 σ range, 95.4% probability). Western Buddha: 605 AD - 633 AD (1 σ range, 68.2%) 591 AD - 644 AD (2 σ range, 95.4% probability). in Blänsdorf, Catharina (2015). "Dating of the Buddha Statues – AMS 14C Dating of Organic Materials". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  3. 3.0 3.1 Petzet (Ed.), Michael (2009). The Giant Buddhas of Bamiyan. Safeguarding the remains (PDF). ICOMOS. pp. 18–19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-02-04. สืบค้นเมื่อ 2021-08-16.
  4. Morgan, Kenneth W (1956). The Path of the Buddha. p. 43. ISBN 978-8120800304. สืบค้นเมื่อ 2 June 2009 – โดยทาง Google Books.
  5. "booklet web E.indd" (PDF). สืบค้นเมื่อ 9 October 2013.
  6. Gall, Carlotta (6 December 2006). "From Ruins of Afghan Buddhas, a History Grows". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 6 January 2008.
  7. 7.0 7.1 7.2 Higuchi, Takayasu; Barnes, Gina (1995). "Bamiyan: Buddhist Cave Temples in Afghanistan". World Archaeology. 27 (2): 299. doi:10.1080/00438243.1995.9980308. ISSN 0043-8243. JSTOR 125086.
  8. 8.0 8.1 Harding, Luke (3 มีนาคม 2001). "How the Buddha got his wounds". The Guardian. London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2006. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2008.
  9. "The Rediff Interview/Mullah Omar". Islam Online. April 12, 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 3, 2008.
  10. Research of state and stability of the rock niches of the Buddhas of Bamiyan in "Completed Research Results of Military University of Munich" เก็บถาวร 4 มีนาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  11. "Computer Reconstruction and Modeling of the Great Buddha Statue in Bamiyan, Afghanistan" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 16 December 2013. สืบค้นเมื่อ 9 October 2013.
  12. Blänsdorf, Catharina (2015). "Dating of the Buddha Statues – AMS 14C Dating of Organic Materials". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  13. The Independent
  14. http://news.bbc.co.uk/1/hi/world/south_asia/170362.stm
  15. The Daily Telegraph
  16. Semple, Michael Why the Buddhas of Bamian were destroyed เก็บถาวร 7 กรกฎาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Afghanistan Analysts Network 2 March 2011
  17. Semple, Michael Why the Buddhas of Bamian were destroyed เก็บถาวร 7 กรกฎาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Afghanistan Analysts Network 2 March 2011
  18. "World appeals to Taliban to stop destroying statues". CNN. 3 March 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 December 2007. สืบค้นเมื่อ 6 January 2008.
  19. Bearak, Barry (4 March 2001). "Over World Protests, Taliban Are Destroying Ancient Buddhas". The New York Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 March 2014. สืบค้นเมื่อ 13 July 2008.
  20. "General Assembly "Appalled" By Edict on Destruction of Afghan Shrines; Strongly Urges Taliban To Halt Implementation". Un.org. 2 January 2013. สืบค้นเมื่อ 9 October 2013.
  21. Zaeef, Abdul Salam, My Life with the Taliban eds Alex Strick van Linschoten and Felix Kuehn, p. 120, C Hurst & Co Publishers Ltd, ISBN 1-84904-026-5
  22. Abdul Salam Zaeef (2011). My Life with the Taliban. Oxford University Press. pp. 127–. ISBN 978-1-84904-152-2.
  23. "Japan offered to hide Bamiyan statues, but Taliban asked Japan to convert to Islam instead". Japan Today. 27 February 2010.
  24. Zaeef p. 126
  25. Domingo, Plácido (December 2016). "End the International Destruction of Cultural Heritage". Vigilo. Din l-Art Ħelwa: National Trust of Malta (48): 30–31. ISSN 1026-132X.
  26. Shah, Amir (3 March 2001). "Taliban destroy ancient Buddhist relics – International pleas ignored by Afghanistan's Islamic fundamentalist leaders". The Independent. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 January 2011.
  27. "Photos document destruction of Afghan Buddhas". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 March 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-03-13.
  28. "Destruction and Rebuilding of the Bamyan Buddhas". Slate Magazine.
  29. Bergen, Peter. "The Osama bin Laden I Know", 2006. p. 271
  30. Mohammad Shehzad (3 March 2001). "The Rediff Interview/Mullah Omar". The Rediff. Kabul. สืบค้นเมื่อ 27 October 2010.
  31. Markos Moulitsas Zúniga (2010). American Taliban: How War, Sex, Sin, and Power Bind Jihadists and the Radical Right. Polipoint Press. p. 8. ISBN 978-1-936227-02-0. Muslims should be proud of smashing idols.
  32. Kassaimah, Sahar (12 January 2001). "Afghani Ambassador Speaks at USC". IslamOnline. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 October 2007. สืบค้นเมื่อ 6 January 2008.
  33. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ auto
  34. Falser, Michael. "The Bamiyan Buddhas, performative iconoclasm and the 'image' of heritage". In: Giometti, Simone; Tomaszewski, Andrzej (eds.): The Image of Heritage. Changing Perception, Permanent Responsibilities. Proceedings of the International Conference of the ICOMOS International Scientific Committee for the Theory and the Philosophy of Conservation and Restoration. 6–8 March 2009 Florence, Italy. Firenze 2011: 157–169.

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]