ภิญโญ พานิชพันธ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รองศาสตราจารย์ ภิญโญ พานิชพันธ์ (19 สิงหาคม พ.ศ. 2485 - พ.ศ. 2565) ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการคนแรกของสถาบันนวัตกรรมและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล นักวิจัยไทยที่มีผลงานดีเด่นและเป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษทางด้านชีวเคมี วิทยาศาสตร์ศึกษา (Science Education) การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การเก็บรักษาและการขนส่งสารเคมีและวัตถุอันตรายอย่างปลอดภัย เป็นเจ้าของผลงานประดิษฐ์คิดค้นชุดตรวจสอบสารไอโอดีน จนได้รับรางวัลจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2542 เป็นที่ปรึกษาของกระทรวงสาธารณสุขในโครงการขจัดโรคขาดสารไอโอดีนให้หมดจากประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 และที่ปรึกษาโครงการควบคุมคุณภาพเกลือเสริมไอโอดีน ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 นอกจากนั้น ยังเคยได้รับรางวัลพ่อดีเด่นแห่งชาติ เมื่อ ปี พ.ศ. 2537 อีกด้วย

ประวัติ[แก้]

การศึกษา[แก้]

รองศาสตราจารย์ ภิญโญ พานิชพันธ์ หรือ รองศาสตราจารย์ ดร.ภิญโญ พานิชพันธ์ จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก กรุงเทพมหานคร จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาชีวเคมี (เกียรตินิยม) จากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย เมื่อปี พ.ศ. 2508 ปริญญาเอกสาขาชีวฟิสิกส์ระดับโมเลกุล จากมหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อ ปี พ.ศ. 2516 และได้รับประกาศนียบัตร Certificate, Risk Assessment and Prevention in Local Community Development and Planning จาก Gothenberg ประเทศสวีเดน เมื่อปี พ.ศ. 2537

ประวัติการทำงาน[แก้]


การทำงานด้านการศึกษา

  • กองบรรณาธิการวารสาร Biochemistry and Molecular Biology Education (พ.ศ. 2543–ปัจจุบัน)
  • กรรมการทางการศึกษาขององค์การนานาชาติ International Union Of Biochemistry (พ.ศ. 2527-2528)
  • ประธานคณะกรรมการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนของ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. 2540-2544)
  • ผู้ประสานงานของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ด้านการพัฒนาการเรียนการสอนทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (พ.ศ. 2540-2542)
  • กรรมการโครงการจัดการเรียนการสอนกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไปให้สถาบันอุดมศึกษา ของทบวงมหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2541-2545)
  • ประธานคณะกรรมการทำคู่มือสอนเสริมวิชาเคมีของครู และอาจารย์ของสมาคมวิทยาศาสตร์ฯ (พ.ศ. 2541-2543)


ตำแหน่งอื่นๆ

  • พ.ศ. 2518–2547 - กองบรรณาธิการวารสาร ScienceAsia (Journal of the Science Society of Thailand)
  • พ.ศ. 2527–2528 - ประธานสาขาชีวเคมี สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • พ.ศ. 2529–2530 - ประธานจัดงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 12,13
  • พ.ศ. 2534–2535 - นายกสมาคมเคมี
  • พ.ศ. 2539–2545 - อุปนายก สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • พ.ศ. 2542 - ประธานดำเนินงานจัดงานเคมีโอลิมปิกระดับนานาชาติ (จัดที่ประเทศไทย)
  • พ.ศ. 2544 - ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญพิเศษของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • พ.ศ. 2544 - ที่ปรึกษาโครงการควบคุมคุณภาพเกลือเสริมไอโอดีน กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  • พ.ศ. 2535–ปัจจุบัน - กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการร่าง พ.ร.บ.วัตถุอันตราย (2535) และกรรมการบริหารวัตถุอันตรายตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย
  • พ.ศ. 2535–ปัจจุบัน - ที่ปรึกษาฝ่ายสินค้าเคมี การท่าเรือแห่งประเทศไทย
  • พ.ศ. 2536–ปัจจุบัน - ที่ปรึกษาสมาคมเคมี

เกียรติคุณและรางวัล[แก้]

  • รางวัลนักวิจัยดีเด่นของมหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. 2526)
  • รางวัลพ่อดีเด่นแห่งชาติ (พ.ศ. 2537)
  • รับพระราชทานรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการประดิษฐ์ ร่วมกับ รศ.ดร. พิณทิพ รื่นวงษา (พ.ศ. 2541)
  • รางวัลผู้บำเพ็ญคุณประโยชน์ให้กระทรวงสาธารณสุขจากกรมอนามัย (พ.ศ. 2542)
  • รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติประจำปี พ.ศ. 2542 รางวัลที่ 3 สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช ร่วมกับ รศ.ดร. พิณทิพ รื่นวงษา จากผลงาน "ชุดตรวจสอบภาคสนามชนิดขวดเดี่ยว สำหรับวัดปริมาณไอโอเดทในเกลือ"
  • รางวัลครูวิทยาศาสตร์ดีเด่นระดับอุดมศึกษา สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (พ.ศ. 2543)
  • รางวัลศิษย์เก่าดีเด่นคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. 2548)
  • รางวัลอะยิโนะโมะโต๊ะทางเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อชุมชน (พ.ศ. 2548)
  • รางวัลนวัตกรรมสื่ออิเล็กทรอนิกส์ดีเด่นเรื่อง “ความเสี่ยงและอันตรายจากวัตถุเคมี” จากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (พ.ศ. 2548)

ผลงานทางวิชาการที่สำคัญ[แก้]

  • ผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ 63 เรื่อง สิทธิบัตร 1 เรื่อง (เป็นผลงานทางด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา จำนวน 12 เรื่อง)
  • เป็นบรรณาธิการและร่วมเขียนหนังสือตำราทางวิชาการ ได้แก่ ตำรา “ชีวเคมี” “หลักการทางเคมีและฟิสิกส์ในวิทยาศาสตร์ชีวภาพ” "แบบเรียนวิทยาศาสตร์ ว 533ชีววิทยา" "ไฟ" "มหันตภัยจากวัตถุเคมี:ความเสี่ยงและอันตราย" เป็นต้น
  • เป็นที่ปรึกษาทางเทคนิคในการทำประกาศมติคณะกรรมการวัตถุอันตราย เรื่อง “การขนส่งวัตถุอันตรายทางบก พ.ศ. 2545” จัดพิมพ์โดย สำนักควบคุมวัตถุอันตราย กรมโรงงานอุตสาหกรรม
  • พ.ศ 2544 - จัดทำโครงการจัดทำระบบลำเลียงขนส่งสินค้าอันตราย โครงการวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับการท่าเรือแห่งประเทศไทย
  • พ.ศ. 2546 - จัดทำคู่มือฝึกอบรมผู้ขับรถขนส่งวัตถุอันตรายและผู้ที่เกี่ยวข้อง ให้แก่กรมโรงงานอุตสาหกรรม
  • พ.ศ. 2548 - จัดทำโครงการปรับปรุงกฎกระทรวงและข้อกำหนดต่าง ๆ ตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ให้แก่กรมโรงงานอุตสาหกรรม
  • เป็นที่ปรึกษาทางเทคนิคในการทำประกาศมติคณะกรรมการวัตถุอันตราย เรื่อง “การขนส่งวัตถุอันตรายทางบก พ.ศ. 2545” จัดพิมพ์โดย สำนักควบคุมวัตถุอันตราย กรมโรงงานอุตสาหกรรม

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๕, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนกนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ประจำปี ๒๕๖๔ เก็บถาวร 2022-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๙ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๑๐, ๕ เมษายน ๒๕๖๕
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๓๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗๘, ๒๖ มีนาคม ๒๕๓๖