ภาษาเสาราษฏร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาเสาราษฏร์
ꢱꣃꢬꢵꢰ꣄ꢜ꣄ꢬ ꢩꢵꢰꢵ
சௌராஷ்டிர மொழி
సౌరాష్ట్ర భాష
सौराष्ट्र भाषा
ಸೌರಾಷ್ಟ್ರ ಭಾಷೆ
วลี "เสาราษฏร์" ในอักษรเสาราษฏร์
ประเทศที่มีการพูดอินเดีย
ภูมิภาครัฐทมิฬนาฑู, รัฐอานธรประเทศ, รัฐกรณาฏกะ
ชาติพันธุ์ชาวเสาราษฏร์
จำนวนผู้พูด247,702  (2011 census)[1]
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
Sauraseni Prakrit
  • ภาษาเสาราษฏร์
ภาษาถิ่น
ภาษาเสาราษฏร์ถิ่นเหนือ
ภาษาเสาราษฏร์ถิ่นใต้
ระบบการเขียนอักษรเสาราษฏร์ (พราหมี)
อักษรทมิฬ
อักษรเตลูกู
อักษรเทวนาครี
อักษรละติน
รหัสภาษา
ISO 639-3saz

ภาษาเสาราษฏร์ (อักษรเสาราษฏร์: ꢱꣃꢬꢵꢰ꣄ꢜ꣄ꢬ ꢩꢵꢰꢵ‎, อักษรทมิฬ: சௌராட்டிர மொழி, อักษรเทวนาครี: सौराष्ट्र भाषा) เป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยันที่มีผู้พูดหลักเป็นชาวเสาราษฏร์ในอินเดียใต้

ครั้งหนึ่งภาษาเสาราษฏร์ ซึ่งเป็นภาษาที่แยกจาก Sauraseni Prakrit[2] มีผู้พูดในแคว้นเสาราษฏร์ในรัฐคุชราต ปัจจุบันมีผู้พูดทั่วรัฐทมิฬนาฑู[3]

ภาษานี้มีอักษรของตนเองที่มีชื่อเดียวกัน แต่บางส่วนยังเขียนด้วยอักษรทมิฬ, อักษรเตลูกู และอักษรเทวนาครี อักษรเสาราษฏร์สืบต้นตอจากอักษรพราหมี ที่มีต้นตอจากตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน ซึ่งต่างจากภาษารอบ ๆ ที่มีต้นตอจากตระกูลภาษาดราวิเดียน ผู้พูดภาษานี้บางส่วนโต้เถียงว่าอักษรไหนเหมาะสำหรับภาษานี้มากที่สุด[4] สำมะโนอินเดียจัดให้ภาษานี้อยู่ในกลุ่มคุชราต โดยมีจำนวนผู้พูดภาษานี้อย่างเป็นทางการที่ 247,702 คน (สำมะโน ค.ศ. 2011)[5]

การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์[แก้]

ชาวเสาราษฏร์ส่วนใหญ่อยู่ในเมืองมุนดาไร ทางใต้ของรัฐทมิฬนาฑูและมีแพร่กระจายอยู่ในเมืองอื่น ๆ ด้วย มีผู้พูดในรัฐอานธรประเทศซึ่งคาดว่าย้ายไปจากรัฐทมิฬนาฑู ภาษาของชาวเสาราษฏร์ในอานธรประเทศใกล้เคียงกับในทมิฬนาฑูเพียงแต่เพิ่มอิทธิพลของภาษาเตลูกูเข้ามา

ประวัติ[แก้]

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ชี้ให้เห็นว่าชาวเสาราษฏร์เดิมอยู่ในเขตเสาราษฏร์ รัฐคุชราต ทางตะวันตกของอินเดีย หลักฐานจากเพลงพื้นบ้านและงานวิจัยทางพันธุกรรมสนับสนุนข้อเสนอนี้ แต่ภาษาเสาราษฏร์มีความใกล้เคียงกับภาษามราฐีและภาษากอนกานีที่เป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยันทางตะวันตกของอินเดียมากกว่าภาษาคุชราตที่เป็นภาษาหลักของรัฐคุชราตในปัจจุบัน นักภาษาศาสตร์อธิบายว่าทั้งภาษาเสาราษฏร์และภาษาคุชราตแตกกิ่งมาจากภาษาเดียวกันแต่มีพัฒนาการต่างกัน ภาษาคุชราตได้รับอิทธิพลจากภาษาฮินดี ภาษาเปอร์เซีย และภาษาอาหรับ ในขณะที่ผู้พูดภาษาเสาราษฏร์อพยพออกไปก่อนที่อิทธิพลของมุสลิมจะเข้ามาในคุชราต ได้รับอิทธิพลจากภาษากอนกานี ภาษามราฐี ภาษากันนาดา ภาษาทมิฬและภาษาเตลุกุ เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าภาษาเปอร์เซียและภาษาอาหรับมีอิทธิพลต่อภาษากอนกานีและภาษามราฐีน้อย ทำให้ทั้งสองภาษายังคงคำศัพท์และลักษณะทางไวยากรณ์จากภาษาสันสกฤตไว้ได้มาก

การอพยพลงใต้ของชาวเสาราษฏร์น่าจะได้รับอิทธิพลจากการรุกรานของมุสลิมแต่ไม่มีรายละเอียดว่าอพยพเมื่อใดและเป็นจำนวนเท่าใด พวกเขาเข้ามาในอาณาจักรวิชยนคร ซึ่งมีเมืองหลวงอยู่ในรัฐการณตกะในปัจจุบัน ที่นีมีภาษาเตลุกุและภาษากันนาดาเป็นภาษาหลัก และมีการใช้ภาษาสันสกฤตกับภาษาทมิฬด้วย ยุคนี้จึงเป็นยุคที่ภาษาเสาราษฏร์รับอิทธิพลจากภาษาเตลุกุและกันนาดา

เมื่อวิชยนครแผ่อำนาจลงใต้ยึดเมืองมุนดาไรและ ฐันชวุระเข้ารวมกับอาณาจักรได้จึงจัดให้ชาวเสาราษฏร์บางส่วนลงไปในบริเวณดังกล่าว อีก 200 ปีต่อมา อาณาจักรวิชยนครเสื่อมสลายไปเมื่อ พ.ศ. 2103 หลังจากสุลต่านแห่งเดคคันชนะสงครามตาลิโกตา เปิดอินเดียใต้เข้ารับการติดต่อกับมุสลิม

เมื่อเปลี่ยนศูนย์อำนาจการปกครองใหม่ทำให้ชาวเสาราษฏร์อพยพลงใต้อีกครั้ง ทำให้ภาษาของพวกเขาได้รับอิทธิพลจากภาษาทมิฬจนกลายเป็นภาษาในปัจจุบัน มีผู้พูดภาษามราฐีกลุ่มหนึ่งในฐันชวุระ ซึ่งไม่ใช่ชาวเสาราษฏร์

ระบบการเขียน[แก้]

ภาษาเสาราษฏร์มีอักษรเป็นของตนเองมานานกว่า 100 เรียกว่าอักษรเสาราษฏร์ ภาษานี้มีการใช้เป็นภาษาพูดมากกว่า ผู้พูดภาษานี้ใช้ภาษาเตลุกุหรือภาษาทมิฬเป็นภาษาที่สองและมักใช้ภาษาที่สองเป็นภาษาเขียน ปัจจุบันมีการเขียนภาษาเสาราษฏร์สี่ระบบคือ

  • อักษรทมิฬโดยเพิ่มเครื่องหมายแสดงเสียงที่ไม่มีในภาษาทมิฬ
  • อักษรเทวนาครี เหมาะกับเสียงในภาษาเสาราษฏร์ แต่มีคนใช้น้อย
  • อักษรเสาราษฏร์ มีความพยายามฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้ง หลังจากเลิกใช้ไปเป็นเวลานาน
  • อักษรละติน นิยมใช้ในคนรุ่นใหม่เพราะใช้แทนเสียงได้ครบ แต่ยังมีความรู้สึกแปลกแยกว่าเป็นอักษรของต่างชาติ

อักษรเสาราษฏร์[แก้]

วลี "เสาราษฏร์" ในอักษรเสาราษฏร์

ในอดีต ภาษาเสาราษฏร์เคยเป็นภาษาที่ถ่ายทอดด้วยการพูด และไม่มีอักษรเป็นของตนเอง ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึง 18 มีบางส่วนพยายามเขียนด้วยอักษรเตลูกู จากนั้นจึงมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ต่อมาในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีความพยายามที่จะฟื้นฟูอักษรด้วยการตัดตัวเชื่อมที่ซับซ้อนส่วนใหญ่ทิ้ง[6]

สระ[แก้]

พยัญชนะ[แก้]

คำประสม[แก้]

ตัวเลข[แก้]

อักษรเทวนาครี[แก้]

ปัจจุบัน ชาวเสาราษฏร์เริ่มนำอักษรเทวนาครีมาใช้งานแล้ว[7] ตารางอักษรประกอบด้วยสระ, พยัญชนะ และคำประสมในอักษรเทวนาครีดังนี้:

ตารางอักษรเสาราษฏร์ที่เผยแพร่พร้อมกับข้อแนะนำของ CIIL

อ้างอิง[แก้]

  1. "Statement 1: Abstract of speakers' strength of languages and mother tongues – 2011". www.censusindia.gov.in. Office of the Registrar General & Census Commissioner, India. สืบค้นเมื่อ 7 July 2018.
  2. Paul John, Vijaysinh Parmar (2016). "Gujaratis who settled in Madurai centuries ago brought with them a unique language – Times of India". The Times of India. สืบค้นเมื่อ 15 April 2018.
  3. "Saurashtra". Ethnologue (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 8 June 2018.
  4. "Script Description [Saurashtra]". ScriptSource. สืบค้นเมื่อ 16 April 2018. Material was copied from this source, which is available under a Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 Unported license.
  5. "Statement 1: Abstract of speakers' strength of languages and mother tongues – 2011". www.censusindia.gov.in. Office of the Registrar General & Census Commissioner, India. สืบค้นเมื่อ 7 July 2018.
  6. R. V, SOWLEE (2003). "The Hindu : Saurashtra dictionary". www.thehindu.com. สืบค้นเมื่อ 11 June 2018.
  7. Venkatesh, Karthik (10 June 2017). "Of little-known Indian languages and scripts". Livemint. สืบค้นเมื่อ 27 September 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]