ภาษากฺ๋อง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ภาษาอูกง)
ภาษากฺ๋อง
พาซ๋า กฺ๋อง
ออกเสียง/pʰasǎ gɔ̌ŋ/
[pʰaː³³ˈsaː²⁴¹ ˈɡɔŋː²⁴¹]
ประเทศที่มีการพูดไทย
ภูมิภาคจังหวัดสุพรรณบุรี, จังหวัดอุทัยธานี
ชาติพันธุ์500 คน (2543?)[1]
จำนวนผู้พูด80 คน  (2543, เดวิด แบรดลีย์)[2]
ตระกูลภาษา
จีน-ทิเบต
ระบบการเขียนอักษรไทย
สถานภาพทางการ
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน ไทย
รหัสภาษา
ISO 639-3ugo

ภาษากฺ๋อง (กฺ๋อง: พาซ๋า กฺ๋อง) เป็นภาษาใกล้สูญภาษาหนึ่งในกลุ่มภาษาทิเบต-พม่าของตระกูลภาษาจีน-ทิเบต เป็นภาษาที่แสดงลักษณะของภาษาในกลุ่มทิเบต-พม่าอย่างเด่นชัด[3] กล่าวคือ มีหน่วยเสียงวรรณยุกต์ มีพยัญชนะท้ายน้อย ความสั้น-ยาวของเสียงสระไม่ส่งผลต่อความหมายของคำ และมีการเรียงประโยคแบบประธาน-กรรม-กริยา

ผู้พูดภาษากฺ๋องเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กฺ๋อง จากการสำรวจของนักภาษาศาสตร์เดวิด แบรดลีย์ พบผู้พูดภาษานี้ในประเทศไทยราว 80 คนใน พ.ศ. 2543 อาศัยอยู่ในหมู่ที่ 4 บ้านวังควาย ตำบลวังยาว และหมู่ที่ 10 บ้านกกเชียง ตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี และหมู่ที่ 3 บ้านละว้า ตำบลทองหลาง อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี ไม่พบผู้พูดในประเทศพม่า ปัจจุบันเริ่มมีผู้พูดภาษากฺ๋องน้อยลง โดยเด็ก ๆ ชาวกฺ๋องหันไปพูดภาษาไทยและภาษาลาว (ลาวครั่ง)

สัทวิทยา[แก้]

พยัญชนะ[แก้]

หน่วยเสียงพยัญชนะภาษากฺ๋องถิ่นกกเชียง จังหวัดสุพรรณบุรี[4]
ลักษณะการออกเสียง ตำแหน่งเกิดเสียง
ริมฝีปาก ปุ่มเหงือก เพดานแข็ง เพดานอ่อน เส้นเสียง
เสียงนาสิก m n ɲ ŋ
เสียงหยุด ก้อง b d ɡ
ไม่ก้อง ไม่พ่นลม p t c k ʔ
พ่นลม
เสียงเสียดแทรก f s x h
เสียงข้างลิ้น l
เสียงเปิด w j
  • หน่วยเสียงที่เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้นและพยัญชนะท้ายมี 3 หน่วยเสียง ได้แก่ /ŋ/, /k/ และ /ʔ/
  • หน่วยเสียงพยัญชนะควบมี 4 หน่วยเสียง ได้แก่ /pʰl/, /kl/, /kʰl/ และ /bl/ เกิดในตำแหน่งต้นพยางค์เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ผู้พูดรุ่นใหม่ไม่นิยมออกเสียง /pʰl/ และ /bl/ เป็นพยัญชนะควบ โดยจะออกเสียงเฉพาะพยัญชนะตัวแรก
  • หน่วยเสียง /ŋ/ เมื่ออยู่ในตำแหน่งท้ายพยางค์และปรากฏหน้าการหยุด ออกเสียงเป็น [ŋː][5]
  • หน่วยเสียง /c/ ออกเสียงเป็น [t͡ɕ][6]
  • หน่วยเสียง /pʰ/ มีหน่วยเสียงย่อย 2 หน่วยเสียง ได้แก่ [pʰ] และ [f] ซึ่งมีการแปรอิสระ เช่น [e~fe] 'ไม้ (ไผ่)' ส่วนหน่วยเสียง /cʰ/ มีหน่วยเสียงย่อย 2 หน่วยเสียง ได้แก่ [t͡ɕʰ] และ [s] ซึ่งมีการแปรอิสระเช่นกัน เช่น [t͡ɕʰǒŋ~sǒŋ] 'กิ้งก่า' ทั้งนี้ ผู้พูดรุ่นใหม่นิยมออกเสียง /pʰ/ และ /cʰ/ เป็น [f] และ [s] ตามลำดับ แต่ยังไม่เป็นทั้งระบบ
  • หน่วยเสียง /x/ พบเฉพาะในกลุ่มผู้พูดสูงอายุ โดยพบตัวอย่างเพียงสองคำ คือ /xǎʔ/ 'เข็ม' และ /xǎŋ/ 'ต่อ'[5]

สระ[แก้]

สระเดี่ยว[แก้]

หน่วยเสียงสระเดี่ยวภาษากฺ๋องถิ่นกกเชียง จังหวัดสุพรรณบุรี[7]
ระดับลิ้น ตำแหน่งลิ้น
หน้า กลาง หลัง
สูง     i     ɨ                ʉ u
กึ่งสูง ʊ
กลาง     e          ø ə o
กึ่งต่ำ ʌ
ต่ำ     ɛ             œ a ɔ
  • ความสั้นยาวของเสียงสระไม่ทำให้ความหมายของคำเปลี่ยนแปลง แต่เสียงสระในพยางค์เปิดมักยาวกว่าเสียงสระในพยางค์ปิด และเสียงสระที่มี /ŋ/ เป็นพยัญชนะท้าย (ยกเว้น /e/) อาจออกเสียงยาวหรือสั้นก็ได้ในคำบางคำ[8]
  • หน่วยเสียง /e/ มีหน่วยเสียงย่อย 2 หน่วยเสียง ได้แก่ [e] และ [ɪ] โดยหน่วยเสียงย่อย [e] ปรากฏในพยางค์ที่มีพยัญชนะท้าย เช่น [kěŋ] 'ตัวเอง' ส่วนหน่วยเสียงย่อย [ɪ] ปรากฏในพยางค์ที่ไม่มีพยัญชนะท้าย เช่น [t͡ɕɪ] 'ม้าม'[7]

สระประสม[แก้]

ภาษากฺ๋องถิ่นกกเชียงมีหน่วยเสียงสระประสม 3 หน่วยเสียง ได้แก่ /ia/, /ɨa/ และ /uɔ/[7] หน่วยเสียง /ia/ และ /ɨa/ ออกเสียงเป็น [iɑː] และ [ɨɑː] ตามลำดับ[9]

วรรณยุกต์[แก้]

ภาษากฺ๋องถิ่นกกเชียงมีหน่วยเสียงวรรณยุกต์ 4 หน่วยเสียง[10] ได้แก่

  • หน่วยเสียงกลางระดับ (mid tone)
  • หน่วยเสียงวรรณยุกต์ต่ำ-ตก (low-falling tone) ซึ่งอาจเปลี่ยนเสียงเป็นวรรณยุกต์กลาง-ตก-ขึ้นหรือวรรณยุกต์สูง-ตกในประโยคปฏิเสธ
  • หน่วยเสียงวรรณยุกต์สูง-ตก (high-falling tone)
  • หน่วยเสียงวรรณยุกต์กลาง-ตก-ขึ้น (mid falling-rising tone) มีหน่วยเสียงย่อย 2 หน่วยเสียง ได้แก่ เสียงต่ำ-ขึ้น ปรากฏเมื่อพยัญชนะท้ายเป็นเสียงหยุด และเสียงกลาง-ตก-ขึ้น ปรากฏเมื่อพยัญชนะท้ายเป็นเสียงอื่นที่ไม่ใช่เสียงหยุด

ระบบการเขียน[แก้]

ตัวเขียนภาษากฺ๋องอักษรไทยตามที่คณะกรรมการจัดทำระบบเขียนภาษาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ด้วยอักษรไทย สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ได้กำหนดไว้ มีดังนี้

พยัญชนะ
อักษรไทย เสียง ตัวอย่างคำ ความหมาย
/k/ ตะกร้า
วุ๋ หนู
กฺ /ɡ/ กฺอง ม้า
/kʰ/ ค๋ นกยูง
/x/ ฆ๋ เข็ม
/ŋ/ ห้า
ดุ๋ทุ ลำห้วย
/c/ จี๋ เก้ง
/cʰ/ ช๋ กิ้งก่า
/s/ ซี ล้าง
/ɲ/ เบ็ดตกปลา
/d/ ดื เสือ
/t/ ต๋อง ข้อง
/tʰ/ ท๋อง ตุ่น
/n/ นั๋ ตั๊กแตน
/b/ บ๋ ครก
/p/ าเท้ง รองเท้า
/pʰ/ พู หม้อ
/f/ ฟ๋ เกวียน
/m/ มึ๋ วัว
/j/ ยึ๋ บ้าน
/l/ ล๋าะ นิ้ว
/w/ วั๋ หมี
/ʔ/ (เมื่อเป็นพยัญชนะต้น) อ๋ กวาง
ไม่มีรูป /ʔ/ (เมื่อเป็นพยัญชนะท้าย) เค๋าะ นก
/h/ ฮิ๋ ทองคำ
  • พยัญชนะไม่เปลี่ยนรูปเมื่อผันวรรณยุกต์
สระ
อักษรไทย เสียง ตัวอย่างคำ ความหมาย
–ะ /a/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) ฆ๋ เข็ม
–ั /a/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /k/, /ŋ/) วั๋ หมี
–า /a/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย) อ๋ กวาง
–ิ /i/ (เมื่อมีพยัญชนะท้าย) นิ แทรก
–ี /i/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย) จี๋ เก้ง
–ึ /ɨ/ มึ๋ วัว
–ือํ /ʉ/ คือํ หมา
–ุ /u/ (เมื่อมีพยัญชนะท้าย) วุ๋ หนู
–ู /u/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย) ลาบู้ ผีเสื้อ
เ–ะ /e/ (เมื่อมีพยัญชนะท้าย) มา
กาเว็ เที่ยว
ก๋ก ขวัญ
เ– /e/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย) ม้าม
เํ– /ø/ เํยง เสื้อ
แ–ะ /ɛ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้าย) ม๋ แม่
แล็ท๋ หอยขม
อาค่ง อะไร
แ– /ɛ/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย) สิบ
แํ–ะ/แํ– /œ/ แํฮ๋ รัก
เ–อะ/เ–ิ /ə/ (เมื่อมีพยัญชนะท้าย) เซิ่ สีดำ
เ–อ /ə/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย) เพื่อน
เํ–ิ /ʌ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /k/, /ŋ/) เํดิ๋ สะอึก
โ–ะ /o/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) ว๋ ไก่
โ–ะ (ลดรูป) /o/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /k/, /ŋ/) บ๋ก ครก
โ– /o/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย) คน
โ–ะํ /ʊ/ พ๋ะํ หมู
เ–าะ /ɔ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) ล๋ นิ้ว
–อ /ɔ/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย
หรือเมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /k/, /ŋ/)
ม่ ทา, เมา
กฺ่ แสบ
เ–ีย /ia/ ลี่ย อร่อย
เ–ือ /ɨa/ เคื๋อ ตัวต่อ
–ัว /uɔ/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย) ซัว กิน
–ว– /uɔ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้าย) คูด หมวก
  • เสียงสระที่ไม่มีพยัญชนะท้ายมักจะยาวกว่าเสียงสระที่มีพยัญชนะท้าย
    จึงใช้รูปสระยาวแทนเสียงสระประเภทแรก เช่น พี, จี๋,
    และใช้รูปสระสั้นแทนเสียงสระประเภทหลัง เช่น วั๋, นิ, ฆ๋
    ยกเว้นเสียงสระ /ɔ/ หากไม่มีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/ ให้ใช้รูปสระ –อ
    เสมอ เช่น , พาล, ต๋
วรรณยุกต์
อักษรไทย เสียง ตัวอย่างคำ ความหมาย
ไม่มีรูป หน่วยเสียงกลางระดับ ออง เทียน
พีดา กระต่าย
–่ หน่วยเสียงต่ำ-ตก บ่ ตี
งุ่ นั่ง
–้ หน่วยเสียงสูง-ตก กฺ้อง สูง
คูเอ้าะ แกง
–๋ หน่วยเสียงกลาง-ตก-ขึ้น อิ๋ ไม้
ยึ๋ บ้าน

ไวยากรณ์[แก้]

โครงสร้างประโยคเป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา คำขยายอยู่หน้ากริยา แต่อยู่หลังคำนาม คำบุพบทอยู่หลังคำนาม

อ้างอิง[แก้]

  1. Gordon, Raymond G.; Barbara F. Grimes, บ.ก. (2005). Ethnologue: Languages of the World (15th ed.). Dallas, Texas: SIL International.
  2. ภาษากฺ๋อง ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
  3. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2561). คู่มือระบบเขียนภาษากฺ๋องอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, หน้า 1.
  4. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2561). คู่มือระบบเขียนภาษากฺ๋องอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, หน้า 24.
  5. 5.0 5.1 Thawornpat, Mayuree (2007). "Gong phonological characteristics". Mon-Khmer Studies. 37: 201.
  6. Thawornpat, Mayuree (2007). "Gong phonological characteristics". Mon-Khmer Studies. 37: 199.
  7. 7.0 7.1 7.2 สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2561). คู่มือระบบเขียนภาษากฺ๋องอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, หน้า 27.
  8. Thawornpat, Mayuree (2007). "Gong phonological characteristics". Mon-Khmer Studies. 37: 202.
  9. Thawornpat, Mayuree (2007). "Gong phonological characteristics". Mon-Khmer Studies. 37: 205.
  10. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2561). คู่มือระบบเขียนภาษากฺ๋องอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, หน้า 29.
  • Daniel Nettle and Suzanne Romaine. (2000). Vanishing Voices: The Extinction of the World's Languages. Oxford: Oxford University Press, p. 10.
  • Thawornpat, Mayuree. (2006). Gong: An endangered language of Thailand. Doctoral dissertation, Mahidol University.
  • มยุรี ถาวรพัฒน์. (2540). สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย : ก๊อง (อุก๊อง). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • Bradley, David. (1993). Body Parts Questionnaire (Ugong). (unpublished ms. contributed to STEDT).
  • Bradley, David (1989). "The disappearance of the Ugong in Thailand". Investigating Obsolescence. pp. 33–40. doi:10.1017/CBO9780511620997.006. ISBN 9780521324052.
  • Bradley, David (1989). Dying to be Thai: Ugong in western Thailand. La Trobe Working Papers in Linguistics 2:19-28
  • Kerr, A. F. G. (1927). "Two 'Lawā' vocabularies: the Lawā of the Baw Lūang plateau; Lawā of Kanburi Province." Journal of the Siam Society 21: 53-63.
  • Rujjanavet, Pusit. (1986). The Phonology of Ugong in Uthaithani Province. M.A. Thesis in Linguistics, Faculty of Graduate Studies, Mahidol University.
  • Thawornpat, Mayuree (2007). "Gong phonological characteristics". Mon-Khmer Studies. 37: 197–216.