ภาษายูการิต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษายูการิต
ประเทศที่มีการพูดนครรัฐยูการิต
สูญแล้ว1,157 ปีก่อนพุทธศักราช
ตระกูลภาษา
รหัสภาษา
ISO 639-2uga
ISO 639-3uga

ภาษายูการิต เป็นภาษาที่พบหลักฐานในจารึกที่พบในบริเวณนครรัฐยูการิต ที่ขุดค้นพบในประเทศซีเรีย เป็นภาษาที่มีความสัมพันธ์กับภาษาฮีบรู และมีความเกี่ยวข้องกับศาสนายูดายและศาสนาโบราณอื่น ๆ ในบริเวณนั้น เป็นภาษากลุ่มเซมิติก เขียนด้วยอักษรรูปลิ่มที่ต่างจากอักษรรูปลิ่มอื่นเพราะใช้แทนเสียงพยัญชนะ โดยมีพยัญชนะ 22 ตัว พบจารึกอักษรนี้ในช่วง 857–657 ปีก่อนพุทธศักราช นครรัฐยูการิตถูกทำลายเมื่อราว 637–627 ปีก่อนพุทธศักราช

ไวยากรณ์[แก้]

ลักษณะทางไวยากรณ์ของภาษายูการิตใกล้เคียงกับภาษาในกลุ่มภาษาเซมิติกมากโดยฉพาะในภาษาอาหรับคลาสสิก และภาษาอัคคาเดียน มีเพศทางไวยากรณ์สองเพศคือเพศชายและเพศหญิง นามและคุณศัพท์มี 3 การกคือ ประธาน กรรมและแสดงความเป็นเจ้าของ มีจำนวน 3 แบบคือ เอกพจน์ ทวิพจน์ และพหูพจน์ ลักษณะของคำกริยาเป็นเช่นเดียวกับภาษากลุ่มเซมิติกตะวันตกเฉียงเหนืออื่น ๆ การเรียงประโยคเป็นแบบกริยา-ประธาน-กรรม คำแสดงความเป็นเจ้าของมาก่อน และคำนามมาก่อนคำคุณศัพท์ จัดเป็นภาษากลุ่มเซมิติกที่มีลักษณะอนุรักษนิยม มีระบบของการกและการเรียงคำตามแบบภาษาเซมิติกดั้งเดิม

ระบบการเขียน[แก้]

แผ่นดินเหนียวจารึกอักษรยูการิต
ตารางของอักษรยูการิต

อักษรยูการิตเป็นอักษรรูปลิ่มที่เป็นอักษรไร้สระ ใช้เมื่อราว 1,000 ปีก่อนพุทธศักราช อักษรนี้มีลักษณะคล้ายอักษรรูปลิ่มในเมโสโปเตเมีย แต่ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน จัดเป็นตัวอย่างที่เก่าที่สุดของอักษรในกลุ่มเซมิติกตะวันตกที่ใชกับภาษาฟินิเชีย ภาษาแอราเมอิก และภาษาฮีบรู มีอักษร 22–31 ตัว ใช้เฉพาะบริเวณยูการิต ไม่พบที่อื่น

แผ่นดินเหนียวที่จารึกอักษรยูการิตเป็นหลักฐานรุ่นแรก ๆ ของการเรียงลำดับอักษรในเขตลิแวนต์และเซมิติกใต้ รวมทั้งของอักษรฮีบรู อักษรกรีก และอักษรละติน อักษรชนิดนี้เขียนจากซ้ายไปขวา

สัทวิทยา[แก้]

ภาษายูการิตมีเสียงพยัญชนะ 28 เสียง โดยมีเสียงกึ่งสระ 2 เสียงและมีสระ 8 เสียง (สั้น 3 ยาว 5) ลักษณะทางสัทวิทยาใกล้เคียงกับภาษาคานาอันไนต์ ต่างกันที่ว่า ภาษายูการิตไม่มีการยกเสียงสระจาก ā → ō

หน่วยเสียงพยัญชนะในภาษายูการิต
  Labial Interdental Dental/Alveolar Palatal Velar Uvular Pharyngeal Glottal
plain emphatic
Nasal m   n            
Stop voiceless p   t   k q   ʔ
voiced b   d     ɡ      
Fricative voiceless   θ s ʃ x ħ h
voiced   ð z ðˤ ʒ[1] ɣ[2] ʕ  
Trill     r            
Approximant     l   j w      

ตารางต่อไปนี้แสดงหน่วยเสียงในภาษาเซมิติกดั้งเดิมและเสียงที่เกี่ยวข้องในภาษายูการิต ภาษาอาหรับ และภาษาฮีบรูติเบอเรีย:

ภาษาเซมิติกดั้งเดิม ภาษายูการิต ภาษาอาหรับ ภาษาฮีบรูติเบอเรีย
b b ب b בּ b
p p ف f פּ p
[ð] [ð] ذ [ð] ז z
[θ] [θ] ث [θ] שׁ š [ʃ]
[θʼ] [ðˤ] ظ [ðˤ] צ [sˤ]
d d د d דּ d
t t ت t תּ t
[tʼ] [tˤ] ط [tˤ] ט [tˤ]
š [s] š [ʃ] س s שׁ š [ʃ]
z [dz] z ز z ז z
s [ts] s س s ס s
[tsʼ] [sˤ] ص [sˤ] צ [sˤ]
l l ل l ל l
ś [ɬ] š [ʃ] ش š [ʃ] שׂ ś/s [ɬ]→[s]
ṣ́ [(t)ɬʼ] [sˤ] ض [ɮˤ]→[dˤ] צ [sˤ]
g [ɡ] g ج ǧ [ɡʲ]→[d͡ʒ] גּ g
k k ك k כּ k
q [kʼ] q [kˤ] ق q [kˤ] ק q [kˤ]
ġ [ɣ] ġ [ɣ] غ ġ [ɣ][3] ע ʻ [ʕ]
[x] [x] خ [x] ח [ħ]
ʻ [ʕ] ʻ [ʕ] ع ʻ [ʕ] ע ʻ [ʕ]
[ħ] [ħ] ح [ħ] ח [ħ]
ʼ [ʔ] ʼ [ʔ] ء ʼ [ʔ] א ʼ [ʔ]
h h ه h ה h
m m م m מ m
n n ن n נ n
r r ر r ר r
w w و w ו w
y [j] y [j] ي y [j] י y [j]
Proto-Semitic Ugaritic Arabic Tiberian Hebrew
  1. The voiced palatal fricative ʒ occurs as a late variant of the voiced interdental fricative ð.
  2. The voiced velar fricative ɣ occurs as a late variant of the emphatic voiced interdental ðˤ.
  3. Sometimes Ugaritic ġ [ɣ] corresponds to Proto-Semitic ṣ́ [ɬˤ].

อ้างอิง[แก้]

  • Bordreuil, Pierre. and Dennis Pardee. (2009). A Manual of Ugaritic: Linguistic Studies in Ancient West Semitic 3. Winona Lake, IN 46590: Eisenbraun's, Inc. ISBN 1-57506-153-8.{{cite book}}: CS1 maint: location (ลิงก์)
  • Cunchillos, J.-L., and Juan-Pablo Vita (2003). A Concordance of Ugaritic Words. Piscataway, NJ: Gorgias Press. ISBN 1-59333-258-0.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  • del Olmo Lete, Gregorio; & Sanmartín, Joaquín (2004). A Dictionary of the Ugaritic Language in the Alphabetic Tradition. Brill Academic Publishers. ISBN 90-04-13694-0.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) (2 vols), (originally in Spanish, translated by W. G. E. Watson).
  • Gibson, John C. L. (1977). Canaanite Myths and Legends. T. & T. Clark. ISBN 0-567-02351-6. This contains Latin-alphabet transliterations of the Ugaritic texts and facing translations in English.
  • Gordon, Cyrus Herzl (1965). The Ancient Near East. W. W. Norton & Company Press. ISBN 0-393-00275-6.
  • Greenstein, Edward L. (1998). "On a New Grammar of Ugartic" in Past links: studies in the languages and cultures of the ancient near east: Volume 18 of Israel oriental studies. Eisenbrauns. ISBN 978-1-57506-035-4. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help) Found at Google Scholar.
  • Moscati, Sabatino (1980). An Introduction to the Comparative Grammar of Semitic Languages, Phonology and Morphology. Harrassowitz Verlag. ISBN 3-447-00689-7.
  • Parker, Simon B. (editor) (1997). Ugaritic Narrative Poetry: Writings from the Ancient World Society of Biblical Literature. Atlanta: Scholars Press. ISBN 0-7885-0337-5. {{cite book}}: |author= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  • Pardee, Dennis (2003-2004)). Rezension von J. Tropper, Ugaritische Grammatik (AOAT 273) Ugarit-Verlag, Münster 2000: Internationale Zeitschrift für die Wissenschaft vom Vorderen Orient. Vienna, Austria: Archiv für Orientforschung (AfO). {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help) P. 1-100 เก็บถาวร 2012-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, p. 101-200 เก็บถาวร 2012-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, p. 201-300 เก็บถาวร 2012-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน p. 301-404 เก็บถาวร 2012-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  • Segert, Stanislav (1997). A Basic Grammar of the Ugaritic Language. University of California Press. ISBN 0-520-03999-8.
  • Sivan, Daniel (1997). A Grammar of the Ugaritic Language (Handbook of Oriental Studies/Handbuch Der Orientalistik). Brill Academic Publishers. ISBN 90-04-10614-6. A more concise grammar.
  • Tropper, J. (2000). Ugartische Grammatik, AOAT 273. Münster, Ugarit Verlag.
  • Woodard, Roger D. (editor) (2008). The Ancient Languages of Syria-Palestine and Arabia. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 0-521-68498-6. {{cite book}}: |author= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]