ภาษายาเอยามะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ภาษายะเอะยะมะ)
ภาษายาเอยามะ
八重山物言/ヤイマムニ Yaimamuni
ออกเสียงแม่แบบ:IPA-ryu
ประเทศที่มีการพูดประเทศญี่ปุ่น
ภูมิภาคหมู่เกาะยาเอยามะ
ชาติพันธุ์47,600 คน (2000)[1]
จำนวนผู้พูด(no estimate available)
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรญี่ปุ่น
รหัสภาษา
ISO 639-3rys

ภาษายาเอยามะ (八重山物言/ヤイマムニ, Yaimamuni) เป็นภาษากลุ่มรีวกีวใต้ที่มีผู้พูดในหมู่เกาะยาเอยามะ กลุ่มเกาะที่มีผู้อยู่อาศัยตอนใต้สุดของประเทศญี่ปุ่นที่มีประชากรรวมประะมาณ 53,000 คน[2] ยาเอยามะ (Yaimamunii) มีความใกล้ชิดกับภาษามิยาโกะมาก จำนวนผู้พูดภาษานี้เป็นภาษาแม่ยังไม่เป็นที่แน่จาก เนื่องด้วยผลจากระบบการศึกษาตามนโยบายภาษาญี่ปุ่นเรียกภาษานี้ว่า ภาษาย่อยยาเอยามะ (ญี่ปุ่น: 八重山方言โรมาจิYaeyama hōgen) ประชากรที่อายุต่ำกว่า 60 ปีมีแนวโน้มที่จะไม่ใช้ภาษานี้เว้นแต่จะใช้ในการร้องเพลงและทำพิธี และคนรุ่นหนุ่มสาวหันมาใช้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาแม่ นอกจากนี้ กลุ่มภาษารีวกีวอื่น ๆ อย่างโอกินาวะและอามามิถูกเรียกเป็นภาษาย่อยของภาษาญี่ปุ่นด้วย[3] มีการเปรียบเทียบภาษายาเอยามะในหมู่เกาะรีวกีวว่ามี "ความจำเป็นทางภาษา" ต่ำ[4]

มีผู้พูดภาษายาเอยามะในเกาะอิชิงากิ, ทาเกโตมิ, โคฮามะ, คูโรชิมะ, ฮาโตมะ, อารางาซูกุ, อิริโอโมเตะ และฮาเตรูมะ ซึ่งมีความเข้าใจร่วมกันที่ซับซ้อน เนื่องจากภูมิศาสตร์ของหมู่เกาะ ภาษาบนเกาะโยนางูนิที่มีความเกี่ยวข้องกัน มักถือเป็นภาษาต่างหาก ภาษาย่อยทาเกโตมิอาจเป็นภาษารีวกีวเหนือที่พบในภาษาย่อยโอกินาวะ ก่อนที่จะผสมเข้ากับภาษาย่อยยาเอยามะอื่น ๆ[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. ภาษายาเอยามะ ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
  2. "八重山のデータ".
  3. Heinrich, Patrick; Barion, Fija; Brenzinger, Matthias (9 May 2009). "The Ryukyus and the New, But Endangered, Languages of Japan". The Asia-Pacific Journal. 7 (19): 2. สืบค้นเมื่อ 9 February 2017.
  4. Heinrich, Patrick; Barion, Fija; Brenzinger, Matthias (9 May 2009). "The Ryukyus and the New, But Endangered, Languages of Japan". The Asia-Pacific Journal. 7 (19): 6.
  5. Thorpe, Maner Lawton (1983). Ryūkyūan language history (PhD thesis). University of Southern California.

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]