ภาษาฝรั่งเศส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาฝรั่งเศส
Français ฟร็องแซ
ออกเสียง/fʁɑ̃sɛ/
ประเทศที่มีการพูดฝรั่งเศสและดินแดนในครอบครอง ควิเบก (แคนาดา) ชาด เบลเยียม นครรัฐวาติกัน สวิตเซอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก ลุยเซียนา (สหรัฐฯ) เมน (สหรัฐฯ) โมนาโก แอฟริกาตะวันตก สาธารณรัฐแอฟริกากลาง กัมพูชา เวียดนาม และเฮติ
ภูมิภาคแอฟริกา ยุโรป อเมริกา แปซิฟิก
จำนวนผู้พูด84 ล้าน (รวมทั้งหมด 300 ล้าน)  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรละติน
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ
ผู้วางระเบียบอากาเดมีฟร็องแซซ (ฝรั่งเศส) และสำนักงานภาษาฝรั่งเศสควิเบก (ควิเบก)
รหัสภาษา
ISO 639-1fr
ISO 639-2fre (B)
fra (T)
ISO 639-3fra
  ประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการและภาษาหลัก
  ประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการ แต่ไม่ใช่ภาษาหลัก
  ประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่สอง
  ประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษารอง

ภาษาฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Français [fʀɑ̃sɛ] ฟฺร็อง์แซ) เป็นหนึ่งในภาษากลุ่มโรมานซ์ที่สำคัญที่สุด เป็นรองเพียงภาษาสเปนและโปรตุเกส[ต้องการอ้างอิง] ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่มีคนนิยมเป็นอันดับที่ 11 ของโลก โดยเมื่อปี พ.ศ. 2558 มีคนพูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ประมาณ 84 ล้านคน และเมื่อรวมคนที่พูดเป็นภาษาที่สองแล้วจะมีประมาณ 300 ล้านคน[ต้องการอ้างอิง]

ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการ และภาษาที่ใช้ปกครองในชุมชนต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส รวมถึงองค์กรต่าง ๆ ด้วย (เช่น สหภาพยุโรป ไอโอซี องค์การสหประชาชาติ และสหภาพสากลไปรษณีย์) ในสมัยก่อนภาษาฝรั่งเศสถือเป็นภาษาสากลที่แพร่หลายที่สุด โดยมีสถานะเฉกเช่นภาษาอังกฤษในปัจจุบัน หนังสือเดินทางของไทยก็เคยใช้ภาษาฝรั่งเศสควบคู่กับภาษาไทย

ประวัติ

ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาในกลุ่มภาษาโรมานซ์ กล่าวคือ เป็นภาษาที่มีต้นกำเนิดจากภาษาละตินที่พูดกันในจักรวรรดิโรมันโบราณ ก่อนหน้าที่ดินแดนที่เป็นที่ตั่งประเทศฝรั่งเศสในปัจจุบันจะอยู่ใต้การปกครองของโรมัน ดินแดนดังกล่าวเคยอยู่ใต้การปกครองของพวกกอล ซึ่งเป็นหนึ่งในชนชาติเซลต์ ในสมัยนั้นดินแดนประเทศฝรั่งเศสมีคนที่พูดภาษาถิ่นต่าง ๆ กันหลายภาษา แม้ว่าชาวฝรั่งเศสจะชอบสืบที่มาของภาษาของตนไปถึงพวกโกล (les Gaulois) แต่มีคำในภาษาฝรั่งเศสเพียง 2,000 คำเท่านั้นที่มีที่มามาจากภาษาของพวกโกล ซึ่งโดยมากจะเป็นคำที่ใช้เป็นชื่อสถานที่ หรือเป็นคำที่มีความหมายเกี่ยวกับธรรมชาติ

หลังจากที่ชาวโรมันได้เข้ามายึดดินแดนของพวกโกล คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นก็ได้เปลี่ยนมาพูดภาษาละติน ซึ่งภาษาละตินที่พูดกันในบริเวณนี้ ไม่ใช่ภาษาละตินชั้นสูงแบบที่พูดกันในหมู่ชนชั้นสูงของกรุงโรม แต่เป็นภาษาละตินของชาวบ้าน (vulgar latin) ที่พูดกันในหมู่พลทหาร นอกจากนี้ ภาษาละตินที่พูดกันอยู่ในฝรั่งเศสนั้น ก็ได้รับอิทธิพลจากภาษากอลอยู่พอควร เนื่องจากสิ่งของบางอย่างที่ใช้กันอยู่ในกอล พวกโรมันไม่มีชื่อเรียก จึงต้องขอยืมคำในภาษาโกลมาเรียกสิ่งของเหล่านั้น เช่น les braies ซึ่งแปลว่าเครื่องแต่งกายจำพวกกางเกงของชาวโกล

ยุคอาณาจักรแฟรงก์

หลังจากคริสต์ศตวรรษที่ 3 เป็นต้นมา จักรวรรดิโรมันก็เสื่อมอำนาจ ดินแดนหลายส่วนของจักรวรรดิโรมันตกอยู่ในเงื้อมมือของชนเผ่าป่าเถื่อนหลายพวก ชนเผ่าป่าเถื่อนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนที่เป็นประเทศฝรั่งเศสปัจจุบัน ได้แก่ ชนเผ่าแฟรงก์ที่อาศัยอยู่ทางเหนือ ชนเผ่าวิซิกอทที่อาศัยอยู่ทางใต้ ชนเผ่าเบอร์กันดีในบริเวณริมแม่น้ำโรน และชนเผ่าเอลแมนที่อาศัยอยู่บริเวณพรมแดนของประเทศฝรั่งเศสและเยอรมนี ชนเผ่าป่าเถื่อนเหล่านี้พูดภาษากลุ่มเจอร์แมนิก สำเนียงของชนเหล่านี้ได้ส่งผลต่อภาษาละตินที่เคยพูดอยู่เดิมในฝรั่งเศส และคำจากภาษาของชนป่าเถื่อน ได้แก่ คำที่มีความหมายเกี่ยวกับยุทธวิธีในการรบ และชนชั้นทางสังคม ได้ถูกนำมาใช้ในภาษาละตินที่พูดกันอยู่ในฝรั่งเศส โดยภาษาฝรั่งเศสปัจจุบันมีคำที่มีที่มาจากคำในภาษาของชนป่าเถื่อนอยู่ประมาณ ร้อยละ 60

ภาษาฝรั่งเศสในยุคกลาง

นักภาษาศาสตร์ได้จัดจำแนกภาษาฝรั่งเศสที่พูดกันในยุคกลางออกเป็น 3 จำพวก คือ พวกแรกคือภาษาที่เรียกกันว่า Langue d'Oïl พูดกันอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ พวกที่สองคือ Langue d'Oc ที่พูดกันอยู่ทางใต้ของประเทศ และพวกที่สามคือ Franco-Provençal ซึ่งเป็นการผสมผสานกันของสองภาษาแรก

Langue d'Oïl เป็นภาษาที่ใช้คำว่า oïl ในคำพูดว่า "ใช่" (ปัจจุบันใช้คำว่า oui) ในสมัยกลางภาษานี้จะพูดกันในตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส ภาษา Langue d'oïl เติบโตต่อมาจนกลายเป็นภาษาฝรั่งเศสเก่า ช่วงระยะเวลาของภาษาฝรั่งเศสเก่าอยู่ระหว่าง ศตวรรษที่ 8 กับ ศตวรรษที่ 14 ภาษาฝรั่งเศสเก่ามีลักษณะร่วมกันหลายอย่างกับภาษาลาติน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลำดับคำในประโยคซึ่งมีอิสระสูงเหมือนภาษาลาติน และต่างกับการบังคับทางไวยกรณ์ของภาษาฝรั่งเศสในปัจจุบัน

Langue d'Oc เป็นภาษาที่ใช้คำว่า oc ในคำพูดว่า "ใช่" ภาษานี้พูดกันอยู่ทางตอนใต้ของฝรั่งเศสและทางเหนือของสเปน ซึ่งภาษานี้จะมีลักษณะคล้ายกับภาษาละตินมากกว่า Langue d'Oïl

ภาษาฝรั่งเศสยุคใหม่

นักวิชาการเรียกภาษาฝรั่งเศสที่พูดในช่วงก่อนหน้าปี พ.ศ. 1843 ซึ่งก็คือภาษา Langue d'Oïl ว่าเป็นภาษาฝรั่งเศสเก่า เอกสารฉบับแรกที่เขียนขึ้นเป็นภาษาฝรั่งเศสเก่า คือ "คำปฏิญาณแห่งสตราสบูร์ก" (Strasbourg) ซึ่งเขียนขึ้นในปี พ.ศ. 1385

ในปี พ.ศ. 2082 พระเจ้าฟรองซัวที่ 1 ได้ออกพระราชกฎษฎีกาที่กำหนดให้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการของฝรั่งเศสแทนที่ภาษาละติน และกำหนดให้ใช้ภาษาฝรั่งเศสในการบริหารราชการ ในราชสำนัก และในการพิจารณาคดีในศาล ในช่วงนี้ได้มีการปรับปรุงตัวสะกดและการออกเสียงในภาษาฝรั่งเศส นักวิชาการเรียกภาษาฝรั่งเศสในยุคนี้ว่า ภาษาฝรั่งเศสยุคกลาง ในศตวรรษที่ 17 หลังจากที่มีการกำหนดมาตรฐานภาษาฝรั่งเศสให้พูดสำเนียงเดียวกันทั่วประเทศ การปรับปรุงและการกำหนดหลักต่าง ๆ ของภาษา ก็ทำให้เกิดภาษาฝรั่งเศสที่เรียกกันว่าภาษาฝรั่งเศสยุคใหม่ ซึ่งพูดกันอยู่ในปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2177 พระคาร์ดินัลรีเชอลีเยอ (Richelieu) ได้ก่อตั้งองค์กรที่เรียกว่า L'Académie Française (ลากาเดมี ฟรองแซส หรือ วิทยสถานแห่งประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเปรียบได้กับราชบัณฑิตยสถานของไทย) เพื่อทำหน้าที่ดูแลรักษาภาษาฝรั่งเศสไว้ไม่ให้วิบัติ และคงภาษาฝรั่งเศสให้อยู่ในรูปแบบเดิมให้มากที่สุด ในช่วงศตวรรษที่ 17-19 ฝรั่งเศสได้มีบทบาทสำคัญในการเมืองของทวีปยุโรป และเป็นศูนย์กลางของปรัชญารู้แจ้งที่แพร่หลายกันอยู่ในสมัยนั้น ทำให้อิทธิพลของภาษาฝรั่งเศสแผ่ออกไปกว้างขวางและกลายเป็นภาษากลางของยุโรป มีบทบาทสำคัฐทางการทูต วรรณคดี และศิลปะ มหาราชในยุคนั้นสองพระองค์ คือ พระนางแคทเธอรีนมหาราชินีแห่งรัสเซีย และพระเจ้าเฟรดริกมหาราชแห่งปรัสเซีย สามารถตรัสและทรงพระอักษรเป็นภาษาฝรั่งเศสได้ดี

ผู้รู้ภาษาฝรั่งเศสในกลุ่มสหภาพยุโรป

ภาษาฝรั่งเศสในปัจจุบัน

ภาษาฝรั่งเศสในปัจจุบัน ถูกแทรกซึมโดยอิทธิพลของภาษาอังกฤษที่แผ่ขยายอย่างกว้างขวาง มีการนำคำภาษาอังกฤษมาใช้ปะปนกับภาษาฝรั่งเศสเดิมอย่างแพร่หลาย ซึ่งมีผลเสียต่อการอนุรักษ์ภาษาฝรั่งเศส รัฐบาลได้ออกกฎหมายบางฉบับเพื่ออนุรักษ์ภาษาฝรั่งเศส โดยกำหนดให้ใช้คำจากภาษาฝรั่งเศสแท้ ๆ ในโฆษณา ประกาศ และเอกสารราชการต่าง ๆ นอกจากนี้ยังกำหนดให้สถานีวิทยุทุกสถานี เปิดเพลงภาษาฝรั่งเศสอย่างน้อยร้อยละ 40 ของเพลงทั้งหมดที่เปิดในสถานีนั้น

สถานะของภาษาฝรั่งเศสในประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศสกำหนดให้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการของประเทศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 รัฐบาลกำหนดให้เอกสารราชการ สัญญาต่าง ๆ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ การศึกษา จะต้องทำเป็นภาษาฝรั่งเศส หากจำเป็นต้องใช้คำภาษาต่างประเทศ ก็ให้ใส่คำแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสควบคู่กันไปด้วย

อย่างไรก็ดี ทางการไม่ได้ควบคุมการใช้ภาษาในเอกสารของเอกชน และในเว็บไซต์ของเอกชน ซึ่งหากทำการควบคุมแล้ว ก็อาจขัดต่อหลักการเสรีภาพในการพูดได้

สถานะของภาษาฝรั่งเศสในประเทศแคนาดา

ร้อยละ 12 ของคนที่พูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ในโลกนี้เป็นชาวแคนาดา และภาษาฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในภาษาทางการสองภาษาของแคนาดา (อีกภาษาหนึ่งคือภาษาอังกฤษ) กฎหมายของแคนาดากำหนดให้บริการต่าง ๆ ของรัฐบาลกลางจะต้องจัดให้เป็นสองภาษาเสมอ กฎหมายต่าง ๆ ที่ผ่านรัฐสภา จะต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส และฉลากผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่วางขายในแคนาดาจะต้องมีภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส ร้อยละ 22 ของชาวแคนาดาใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ และร้อยละ 18 ของชาวแคนาดาสามารถพูดได้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส

ภาษาฝรั่งเศสมีสถานะเป็นภาษาทางการเพียงภาษาเดียวของรัฐควิเบก (เกเบก - Québec) มาตั้งแต่การบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยภาษาฝรั่งเศส (Bill 101) ผลสำคัญข้อหนึ่งของกฎหมายฉบับนี้คือกำหนดให้เด็กในควิเบกต้องได้รับการศึกษาเป็นภาษาฝรั่งเศส ยกเว้นถ้าบิดามารดาของเด็กคนนั้นได้รับการศึกษาส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษภายในประเทศแคนาดา ซึ่งเป็นการทำลายค่านิยมของผู้อพยพที่มักส่งบุตรหลานของคนเข้าเรียนในโรงเรียนที่สอนเป็นภาษาอังกฤษ กฎหมายนี้ยังกำหนดให้ใช้ภาษาฝรั่งเศสในการพิจารณาคดี โฆษณา การอภิปรายในสภา และการพิจารณาคดีในศาล ภายในควิเบก ในปี พ.ศ. 2536 กฎหมายนี้ได้รับการแก้ไข โดยอนุญาตให้เขียนป้ายสัญลักษณ์หรือโฆษณาต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษได้บ้าง ตราบใดที่ยังมีภาษาฝรั่งเศสเป็นส่วนมาก นอกจากนี้ยังทำให้คนที่พูดภาษาอังกฤษแต่อาศัยในควิเบกสามารถรับบริการทางสุขภาพและบริการของรัฐเป็นภาษาอังกฤษได้

รัฐอื่น ๆ ที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการควบคู่ไปกับภาษาอังกฤษ ได้แก่รัฐนิวบรันสวิก ยูคอนเทร์ริทอรี นอร์ทเวสต์เทร์ริทอรีส์ และนูนาวุต ในรัฐออนแทรีโอ และแมนิโทบา ภาษาฝรั่งเศสไม่ได้มีสถานะเป็นภาษาทางการ แต่รัฐบาลของรัฐทั้งสองรัฐได้จัดการบริการต่าง ๆ เป็นภาษาฝรั่งเศสคู่กับภาษาอังกฤษ ในบริเวณที่มีคนที่พูดภาษาฝรั่งเศสอาศัยอยู่มาก

สถานะของภาษาฝรั่งเศสในประเทศสวิตเซอร์แลนด์

ภาษาฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในภาษาทางการของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ภาษาอื่น ๆ ได้แก่ภาษาเยอรมัน ภาษาอิตาลี และภาษาโรมานช์

ภาษาฝรั่งเศสในโลก

ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการในประเทศต่อไปนี้

ประเทศ ผู้ที่พูดเป็นภาษาแม่
(โดยประมาณ)
ประชากร
(โดยประมาณในเดือนกรกฎาคม 2546)
ความหนาแน่นของประชากร
(จำนวนคนต่อตารางกิโลเมตร)
พื้นที่
(ตารางกิโลเมตร)
ฝรั่งเศส 60,450,000 (% from 2542) 60,656,178 110.9 547,030
สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ? 60,085,004 25.62 2,345,410
แคนาดา 6,700,000 (2541) 32,805,041 3.29 9,984,670
มาดากัสการ์ 18,000 (2536) 18,040,341 30.73 587,040
โกตดิวัวร์ 17,470 (2531) 17,298,040 53.64 322,460
แคเมอรูน ? 16,380,005 34.45 475,440
บูร์กินาฟาโซ ? 13,925,313 50.79 274,200
มาลี 9,000 (2536) 12,291,529 9.91 1,240,000
ไนเจอร์ 6,000 (2536) 11,665,937 9.21 1,267,000
เซเนกัล ? 11,126,832 56.71 196,190
เบลเยียม 3,800,000 (% from 2503) 10,364,388 339.5 30,528
ชาด 3,000 (2539) 9,826,419 7.65 1,284,000
รวันดา 2,400 (2547) 8,440,820 320.5 26,338
เฮติ 600 (2547) 8,121,622 292.7 27,750
สวิตเซอร์แลนด์ 1,300,000 (2533) 7,489,370 181.4 41,290
เบนิน 16,700 (2536) 7,460,025 66.24 112,620
บุรุนดี 2,200 (2547) 6,370,609 228.9 27,830
โตโก 3,500 (2536) 5,681,519 100.1 56,785
สาธารณรัฐแอฟริกากลาง 9,000 (2539) 3,799,897 6.10 622,984
สาธารณรัฐคองโก 28,000 (2539) 3,039,126 8.89 342,000
กาบอง 37,500 (2536) 1,389,201 5.19 267,667
มอริเชียส 37,000 (2544) 1,230,602 603.2 2,040
เรอูว์นียง (ฝรั่งเศส) 2,400 (2536) 776,948 308.7 2,517
คอโมโรส 1,700  ? 671,247 309.3 2,170
อิเควทอเรียลกินี 535,881 19.10 28,051
จิบูตี 15,440 (2531) 476,703 20.73 23,000
ลักเซมเบิร์ก 13,100 (2536) 468,571 181.2 2,586
กัวเดอลุป (ฝรั่งเศส) 7,300 (2547) 448,713 252.1 1,780
มาร์ตีนิก (ฝรั่งเศส) 9,000 (2547) 432,900 393.5 1,100
เฟรนช์โปลินีเซีย (ฝรั่งเศส) 25,668 (2543) 270,485 64.91 4,167
นิวแคลิโดเนีย (ฝรั่งเศส) 53,400 (2530) 216,494 11.36 19,060
วานูอาตู 6,300 (2530) 205,754 16.87 12,200
เฟรนช์เกียนา (ฝรั่งเศส) ? 195,506 2.15 91,000
เซเชลส์ 971 (2514) 81,188 178.4 455
โมนาโก 17,400 (2531) 32,409 16,620 1.95
หมู่เกาะวาลิสและหมู่เกาะฟูตูนา (ฝรั่งเศส) 120 (2536) 16,025 58.49 274
เจอร์ซีย์ (สหราชอาณาจักร) 8,000 (2519) 90,812 782.9 116
เกิร์นซีย์ (สหราชอาณาจักร) 6,000 (2519) 65,228 836.3 78
แซงปีแยร์และมีเกอลง (ฝรั่งเศส) 5,114 (2510) 7,012 28.98 242
พอนดิเชอร์รี (อินเดีย) ? 973,829 2,029 492
ภาษาฝรั่งเศสไม่ใช่ภาษาทางการ แต่เป็นภาษาสำคัญในประเทศต่อไปนี้
ประเทศ ผู้ที่พูดเป็นภาษาแม่
(โดยประมาณ)
ประชากร
(โดยประมาณในเดือนกรกฎาคม 2546)
ความหนาแน่นของประชากร
(จำนวนคนต่อตารางกิโลเมตร)
พื้นที่
(ตารางกิโลเมตร)
โมร็อกโก 80,000 (2528) 32,725,847 73.29 446,550
แอลจีเรีย 110,000 (2536) 32,531,853 13.66 2,381,440
ตูนิเซีย 11,000 (2536) 10,074,951 61.58 163,610
ลุยเซียนา (สหรัฐอเมริกา) 261,678 (2536) 4,468,976 39.61 134,382
เลบานอน 16,600 (2547) 3,826,018 367.9 10,400
แอออสตาวัลเลย์ (อิตาลี) 100,000 (2530) 118,548 36.33 3,263
อันดอร์รา 2,400 (2529) 70,549 150.7 468
นอกจากนี้ ยังมีผู้พูดภาษาฝรั่งเศสอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากในประเทศเหล่านี้
ประเทศ ผู้ที่พูดเป็นภาษาแม่
(โดยประมาณ)
ประชากร
(โดยประมาณในเดือนกรกฎาคม 2546)
ความหนาแน่นของประชากร
(จำนวนคนต่อตารางกิโลเมตร)
พื้นที่
(ตารางกิโลเมตร)
อียิปต์ ? 77,505,756 77.39 1,001,450
กัมพูชา ? 13,607,069 75.16 181,040
กรีซ ? 10,668,354 80.86 131,940
เช็กเกีย ? 10,241,138 129.9 78,866
อิสราเอล ? 6,276,883 302.2 20,770
ลาว ? 6,217,141 26.25 236,800
มอริเตเนีย ? 3,086,859 2.99 1,030,700
ฟลอริดา (สหรัฐอเมริกา) 337,605 (2543) - - -
นิวอิงแลนด์ (สหรัฐอเมริกา) 320,924 (2543) - - -
นิวยอร์ก (สหรัฐอเมริกา) 295,556 (2543) - - -
แคลิฟอร์เนีย (สหรัฐอเมริกา) 139,174 (2543) - - -
นิวเจอร์ซีย์ (สหรัฐอเมริกา) 76,008 (2543) - - -
เท็กซัส (สหรัฐอเมริกา) 65,778 (2543) - - -
เพนซิลเวเนีย (สหรัฐอเมริกา) 52,517 (2543) - - -
แมริแลนด์ (สหรัฐอเมริกา) 49,560 (2543) - - -
จอร์เจีย (สหรัฐอเมริกา) 48,391 (2543) - - -
โอไฮโอ (สหรัฐอเมริกา) 45,015 (2543) - - -
อิลลินอยส์ (สหรัฐอเมริกา) 44,847 (2543) - - -
เวอร์จิเนีย (สหรัฐอเมริกา) 42,782 (2543) - - -
มิชิแกน (สหรัฐอเมริกา) 39,657 (2543) - - -
นอร์ทแคโรไลนา (สหรัฐอเมริกา) 34,642 (2543) - - -
วอชิงตัน (สหรัฐอเมริกา) 22,701 (2543) - - -
มิสซูรี (สหรัฐอเมริกา) 20,203 (2543) - - -
เซาท์แคโรไลนา (สหรัฐอเมริกา) 19,359 (2543) - - -
อินดีแอนา (สหรัฐอเมริกา) 18,362 (2543) - - -
โคโลราโด (สหรัฐอเมริกา) 18,317 (2543) - - -
เทนเนสซี (สหรัฐอเมริกา) 18,067 (2543) - - -
มินนิโซตา (สหรัฐอเมริกา) 16,085 (2543) - - -
แอริโซนา (สหรัฐอเมริกา) 15,868 (2543) - - -
วิสคอนซิน (สหรัฐอเมริกา) 15,120 (2543) - - -
แอละแบมา (สหรัฐอเมริกา) 13,895 (2543) - - -
เคนทักกี (สหรัฐอเมริกา) 12,780 (2543) - - -
ออริกอน (สหรัฐอเมริกา) 12,123 (2543) - - -
มิสซิสซิปปี (สหรัฐอเมริกา) 10,968 (2543) - - -
รัฐอื่น ๆ (สหรัฐอเมริกา) 92,118 (2543) - - -
ยังพอมีผู้พูดภาษาฝรั่งเศสเหลืออยู่บ้างในประเทศเหล่านี้
ประเทศ ผู้ที่พูดเป็นภาษาแม่
(โดยประมาณ)
ประชากร
(โดยประมาณในเดือนกรกฎาคม 2546)
ความหนาแน่นของประชากร
(จำนวนคนต่อตารางกิโลเมตร)
พื้นที่
(ตารางกิโลเมตร)
รัสเซีย ? 143,420,309 8.40 17,075,200
ฟิลิปปินส์ ? 87,857,473 292.9 300,000
เวียดนาม ? 83,535,576 253.5 329,560
ซาอุดิอาระเบีย ? 26,417,599 13.47 1,960,582
เครือรัฐเปอร์โตริโก (สหรัฐอเมริกา) ? 3,916,632 430.2 9,104
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ? 2,563,212 30.93 82,880

ดูเพิ่ม