ภาษาตูวา
ภาษาตูวา | |
---|---|
тыва дыл tyva dyl | |
ประเทศที่มีการพูด | รัสเซีย, มองโกเลีย, จีน |
ภูมิภาค | ตูวา |
จำนวนผู้พูด | 280,000 คน (ไม่พบวันที่) |
ตระกูลภาษา | เตอร์กิก
|
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | ตูวา (สาธารณรัฐในรัสเซีย) |
รหัสภาษา | |
ISO 639-2 | tyv |
ISO 639-3 | tyv |
ภาษาตูวา (ภาษาตูวา: тыва дыл tyva dyl) , เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิก มีผู้พูด 200,000 คนในสาธารณรัฐตูวา ในไซบีเรียกลางตอนใต้ มีคำยืมจากภาษามองโกเลียและภาษารัสเซียมาก มีชาวตูวากลุ่มเล็กๆอยู่ในจีนและมองโกเลียด้วย
การจัดจำแนก[แก้]
ภาษาตูวาอยู่ในภาษากลุ่มเตอร์กิกตะวันออกเฉียงเหนือหรือไซบีเรีย ใกล้เคียงกับภาษากลุ่มเตอร์กิกไซบีเรียอื่นๆ เช่น ภาษาคากัส และภาษาอัลไต
สำเนียง[แก้]
ภาษาตูวาที่พบในตูวาแบ่งเป็น 4 สำเนียงคือ
- สำเนียงกลาง เป็นสำเนียงที่ใช้ในการเขียน
- สำเนียงตะวันตก ใช้พูดทางตอนเหนือของของแม่น้ำเคมชิก ได้รับอิทธิพลจากภาษาอัลไต
- สำเนียงตะวันออกเฉียงเหนือหรือสำเนียงทอดซี ใช้พูดในบริเวณตอนบนของแม่น้ำบีอี-เคม มีคำศัพท์มากมายเกี่ยวกับการล่าที่ไม่พบในภาษาอื่น
- สำเนียงตะวันออกเฉียงใต้ได้รับอิทธิพลจากภาษามองโกเลียมาก
- สำเนียงอื่นๆของภาษาตูวายังมีอีกมากแต่ได้รับการศึกษาน้อย
เสียง[แก้]
พยัญชนะ[แก้]
ภาษาตูวามีหน่วยเสียงพยัญชนะ 19 เสียง /f/ และ /t͡s/ พบเฉพาะในคำยืมจากภาษารัสเซีย
Labial | Alveolar | Palatal | Velar | |||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
Nasal | m | n | ŋ | |||||
Stop | pʰ | p | tʰ | t | t͡ʃ | k | ɡ | |
Fricative | s | z | ʃ | ʒ | x | |||
Rhotic | ɾ | |||||||
Approximant | ʋ | l | j |
สระ[แก้]
เสียงสระในภาษาตูวามีสามแบบคือ เสียงสั้น เสียงยาว และเสียงสั้นแบบกดต่ำ สระเสียงยาวยาวเป็นสองเท่าของสระเสียงสั้น เสียงสั้นแต่กดต่ำเป็นเสียงสั้นที่เพิ่มเสียงไปอีกครึ่งหนึ่ง การกดต่ำนี้ถือเป็นการเน้นหนัก ไม่ใช่เสียงวรรณยุกต์
Short | Long | Low Pitch | |||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
High | Low | High | Low | High | Low | ||
Front | Unrounded | i | e | iː | eː | ì | è |
Rounded | y | ø | yː | øː | ỳ | ø̀ | |
Back | Unrounded | ɯ | a | ɯː | aː | ɯ̀ | à |
Rounded | u | o | uː | oː | ù | ò |
ไวยากรณ์[แก้]
ภาษาตูวาสร้างคำที่ซับซ้อนโดยใช้ระบบการเติมปัจจัย เช่น teve หมายถึงอูฐ teve-ler (เครื่องหมาย – แสดงว่าเป็นคนละหน่วยคำทางไวยากรณ์ การเขียนปกติจะไม่ใช้) หมายถึงอูฐหลายตัว teve-ler-im หมายถึงอูฐของฉัน teve-ler-im-den หมายถึง จากอูฐหลายตัวของฉัน
ภาษาตูวาแบ่งนามออกเป็น 6 การก ปัจจัยของแต่ละการกมีหลายความหมาย คำกริยาในภาษาตูวามีการลงท้ายเพื่อแสดงกาล มาลา และวัตถุประสงค์ได้หลายแบบ กริยาช่วยเป็นตัวขยายกริยาหลัก การเรียงประโยคเป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา
คำศัพท์[แก้]
คำศัพท์ในภาษาตูวาส่วนใหญ่มีจุดกำเนิดจากภาษากลุ่มเตอร์กิก และมีคำยืมจากภาษามองโกเลียมาก
ระบบการเขียน[แก้]
อักษรละติน[แก้]
การเขียนภาษาตูวาครั้งแรกใน พ.ศ. 2473 เขียนด้วยอักษรละตินประดิษฐ์โดยพระภิกษุชาวตูวา มอนคุช ลอบซังชินมิต ก่อนหน้านี้ชาวตูวาใช้ภาษามองโกเลียเป็นภาษาเขียน ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2486 การเขียนด้วยอักษรละตินถูกแทนที่ด้วยอักษรซีริลลิก ตัวอักษรละตินที่ใช้คือ A B C D E F G Ƣ I J K L M N Ņ O Ɵ P R S Ş T U V X Y Z Ƶ Ь a в c d e f g ƣ i j k l m n ņ o ө p r s ş t u v x y z ƶ ь
อักษรซีริลลิก[แก้]
อักษรที่ใช้เขียนภาษาตูวาในปัจจุบันเป็นอักษรซีริลลิกที่ดัดแปลงมาแบบที่ใช้เขียนภาษารัสเซีย และเพิ่มอักษรพิเศษอีกสามตัว อักษรที่ใช้ได้แก่ А Б В Г Д Е Ё Ж З И Й К Л М Н Ң О Ө П Р С Т У Ү Ф Х Ц Ч Ш Щ Ъ Ы Ь Э Ю Я а б в г д е ё ж з и й к л м н ң о ө п р с т у ү ф х ц ч ш щ ъ ы ь э ю я
อ้างอิง[แก้]
- Anderson, Gregory D. S. (2004). Auxiliary Verb Constructions in Altai-Sayan Turkic. Wiesbaden: Otto Harrassowitz. ISBN 3-447-04636-8
- Anderson, Gregory D. S. (1999). Tyvan. Languages of the World/Materials 257. Lincom Europa. ISBN 3-89586-529-X. Unknown parameter
|coauthors=
ignored (|author=
suggested) (help) - Harrison, K. David. (2001). "Topics in the Phonology and Morphology of Tuvan," Doctoral Dissertation, Yale University. (OCLC catalog #51541112)
- Harrison, K. David. (2005). "A Tuvan hero tale, with commentary, morphemic analysis and translation". Journal of the American Oriental Society 125(1)1-30. ISSN 0003-0279
- Krueger, John R. (1977). John R. Krueger (บ.ก.). Tuvan Manual. Uralic and Altaic Series Volume 126. Editor Emeritus: Thomas A. Sebeok. Indiana University Publications. ISBN 0877502145.
- Mänchen-Helfen, Otto (1992) [1931]. Journey to Tuva. translated by Alan Leighton. Los Angeles: Ethnographic Press University of Southern California. ISBN 1-878986-04-X.
- Mawkanuli, Talant. 1999. "The phonology and morphology of Jungar Tuva," Indiana University PhD dissertation.
- Ölmez, Mehmet; Tuwinischer Wortschatz mit alttürkischen und mongolischen Parallelen, Wiesbaden 2007, ISBN 978-3-447-05499-7
- Taube, Erika. (1978). Tuwinische Volksmärchen. Berlin: Akademie-Verlag. LCCN: 83-853915
- Taube, Erika. (1994). Skazki i predaniia altaiskikh tuvintsev. Moskva : Vostochnaia literatura. ISBN 5-02-017236-7