ภาษาซิมูลา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาษาซิมูลา (Simula) เป็นชื่อเรียกรวมของภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 2 ภาษาคือ ภาษาซิมูลา 1 (Simula 1) และภาษาซิมูลา 67 (Simula 67) ภาษาโปรแกรมดังกล่าวนี้ได้เริ่มพัฒนาขึ้นประมาณปี พ.ศ. 2503 เป็นต้นมาที่ "ศูนย์คอมพิวเตอร์นอร์เวย์" (Norwegian Computing Center) ที่นครออสโลโดย โอล-โยฮาน ดาห์ล และ คริสเตน ไนกาอาร์ด ในเชิงวากยสัมพันธ์ยังนับได้ว่าเป็นชุดภาษาโปรแกรมชุด "อัลกอล 60" (Algol 60) ที่เชื่อถือได้มากที่สุดอยู่

ภาษาซิมูลา 67 แนะให้ใช้วัตถุหรืออ็อบเจกต์ คลาส (class) ซับคลาส (subclasses) เวอร์ชวลเมธอด (virtual method) โครูทีน (coroutine) การกวาดล้างข้อมูลขยะ (garbage collection) และเหตุการณ์จำลองไม่ต่อเนื่อง (discrete event simulation)

ซึ่งซิมูลาได้รับการยอมรับว่าเป็นการเขียนภาษาโปรแกรมเชิงอ็อบเจกต์รุ่นแรกสุด แม้บางครั้งแบบจำลองอ็อบเจกต์อาจไม่สมบูรณ์ ดังที่ชื่อของมันบ่งบอกเป็นนัยอยู่ โปรแกรมซิมูลาได้แรกเริ่มออกแบบมาก็เพื่อการจำลองซึ่งก็ได้มีการใช้เนื้อหาของมันมาเป็นพื้นฐาน หรือกรอบงานสำหรับการออกแบบภาษาโปรแกรมเชิงอ็อบเจกต์ทั้งหลายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

แม้ในปัจจุบันโปรแกรมซิมูลายังมีการนำมาใช้อยู่อย่างกว้างขวาง เช่นการจำลองการออกแบบ VLSI โปรแกรมกระบวนการ (processes) โพรโทคอล ภาษาขั้นตอนวิธี และการประยุกต์อื่นๆ เช่นการเรียงพิมพ์ เรขนิเทศคอมพิวเตอร์และด้านการศึกษา เนื่องจากอ็อบเจกต์เชิงซิมูลาได้ถุกนำมาประยุกต์ซ้ำใน ภาษา C++ อิทธิพลของซิมูลาจึงได้รับการกล่าวถึงความสำคัญน้อยกว่าความเป็นจริง

ประวัติ[แก้]

โค้ดอย่างง่าย[แก้]

โปรแกรมอย่างน้อยที่สุด[แก้]

โปรแกรมอย่างน้อยที่สุด(มินิมัล)ของSimula คือไฟล์ว่างเปล่า ซึ่งมีองค์ประกอบเพียง ; (ดัมมี่สเตทเมนท์) เพียงอย่างเดียว. แต่โปรแกรมอย่างน้อยที่สุดก็มักจะเขียนเป็นบล็อกว่างเปล่าตามความนิยมด้วยเช่นกัน

Begin
End;

โปรแกรมนี้เริ่มรันและจบลงทันที. โดยในภาษาSimulaจะไม่มีการรีเทิร์นค่าเมื่อจบโปรแกรม.

คลาสสิกเฮลโลเวิลด์[แก้]

โปรแกรมภาษาSimulaแบ่งแยกตัวอักษรเล็กและใหญ่(เคสเซนสิทีฟ) ตัวอย่างต่อไปนี้คือโปรแกรมเฮลโลเวิลด์ในภาษาSimula

Begin
  OutText ("Hello World!");
  Outimage;
End;

ชั้น, ชั้นย่อย, และวิธีการเสมือน[แก้]

A more realistic example with use of classes, subclasses and virtual methods:

Begin
   Class Glyph;
      Virtual: Procedure print Is Procedure print;;
   Begin
   End;

   Glyph Class Char (c);
      Character c;
   Begin
      Procedure print;
        OutChar(c);
   End;

   Glyph Class Line (elements);
      Ref (Glyph) Array elements;
   Begin
      Procedure print;
      Begin
         Integer i;
         For i:= 1 Step 1 Until UpperBound (elements, 1) Do
            elements (i).print;
         OutImage;
      End;
   End;

   Ref (Glyph) rg;
   Ref (Glyph) Array rgs (1 : 4);

   ! Main program;
   rgs (1):- New Char ('A');
   rgs (2):- New Char ('b');
   rgs (3):- New Char ('b');
   rgs (4):- New Char ('a');
   rg:- New Line (rgs);
   rg.print;
End;

อ้างอิง[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]