ภาษาลาดิโน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ภาษาจูเดโอ-สเปน)
ภาษาลาดิโน/ภาษาสเปนของชาวยิว
גודיאו-איספאנייול Djudeo-espanyol, לאדינו Ladino
ออกเสียง/dʒuðeo.espaɲol/
ประเทศที่มีการพูดอิสราเอล ตุรกี บราซิล ฝรั่งเศส กรีซ มาซีโดเนีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา บัลแกเรีย เม็กซิโก กือราเซา
จำนวนผู้พูด100,000 คน ในอิสราเอล
8,000 คนใน ตุรกี
1,000 คน ใน กรีซ
ที่อื่นไม่ทราบข้อมูลและจำนวนกำลังลดลงเรื่อย ๆ  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
สถานภาพทางการ
ผู้วางระเบียบพันธมิตรสากลอิสราเอล
รหัสภาษา
ISO 639-2lad
ISO 639-3lad

ภาษาลาดิโน (อังกฤษ: Ladino) เป็นภาษากลุ่มโรมานซ์ ได้รับอิทธิพลจากภาษาสเปนมาก โดยเฉพาะภาษาสเปนโบราณ (คัสติลเลียน) ความสัมพันธ์ระหว่างภาษาลาดิโนกับภาษาสเปน เทียบได้กับภาษายิดดิชกับภาษาเยอรมัน ผู้พูดส่วนใหญ่เป็นชาวยิวเซฟาร์ดิก ตัวอย่างเช่น ชาวยิวในเทสซาโลนิกี อิสตันบูล และอิสมีร์ โครงสร้างของภาษาใกล้เคียงกับภาษาสเปน โดยมีบางส่วนมาจากภาษาฮีบรู ภาษาโปรตุเกส ภาษาฝรั่งเศส ภาษาตุรกี ภาษากรีก และภาษาสลาฟใต้ ขึ้นกับว่าผู้พูดอาศัยอยู่ที่ใด

ภาษาลาดิโนมีเสียงที่มาจากภาษาสเปนโบราณที่กลายเป็นเสียงจากเพดานอ่อน /x/ ในภาษาสเปนสมัยใหม่ ภาษาลาดิโนมีหน่วยเสียง /x/ ที่ได้จากภาษาฮีบรู ในบางบริเวณมีการสร้างคำที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น muestro จาก nuestro (ของเรา) โครงสร้างทางไวยากรณ์ใกล้เคียงกับภาษาสเปน โดยมีการเพิ่มส่วนจากภาษาฮีบรู ภาษาโปรตุเกส ภาษาฝรั่งเศส ภาษาตุรกี ภาษากรีก และภาษากลุ่มสลาฟใต้ ขึ้นกับบริเวณที่ใช้พูด

ภาษาลาดิโนเป็นภาษาที่ใกล้ตายเนื่องจากผู้พูดเป็นภาษาแม่มีอายุมากและไม่ถ่ายทอดภาษาให้รุ่นต่อไป ชุมชนชาวยิวเซฟาร์ดิกในประเทศต่าง ๆ มีความพยายามฟื้นฟูภาษานี้โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับดนตรี สาเหตุที่ทำให้เป็นภาษาที่ใกล้ตายอีกอย่างหนึ่งคือการกลมกลืนไปกับภาษาสเปนสมัยใหม่

ชื่อของภาษา[แก้]

คำว่า “ลาดิโน” มาจากคำว่า “ละติน” ภาษานี้มีชื่อเรียกอื่นๆอีกเช่น ภาษาสเปนของชาวยิว ภาษาเซฟาร์ดี ภาษายูดิโอ ภาษาซูเดสโม ภาษายูเดสโม และภาษาสปันยอล Haquitia (มาจากภาษาอาหรับ haka حكى “บอก”) เป็นสำเนียงที่ใช้พูดในแอฟริกาเหนือ โดยเฉพาะในโมร็อกโก สำเนียงที่ใช้พูดในเขตโอรันของแอลจีเรีย เรียก Tetuani ซึ่งมาจากชื่อเมือง Tétouan ในโมร็อกโก เพราะชาวยิวในแอลจีเรียส่วนใหญ่มาจากเมืองนี้ ในภาษาฮีบรูเรียกภาษานี้ว่า สปันโยลิต

ที่มาของคำว่าลาดิโนมีความซับซ้อน ในช่วงก่อนการขับออกจากสเปนหมายถึงภาษาสเปน โดยตรงตัวคือเป็นสำเนียงของภาษาสเปน หลังจากถูกขับออกจากสเปน ชาวยิวใช้คำว่าลาดิโนหมายถึงการแปลไบเบิลเป็นภาษาสเปน ในทำนองเดียวกับที่ Tarqum (ในหมู่ชาวเคิร์ดเชื้อสายยิว) มีความหมายเป็นภาษาอราเมอิกของชาวยิว และ sharħ (ในประเทศอาหรับ) หมายถึงภาษาอาหรับของชาวยิว ความหลากหลาย

หลังจากการขับออกจากสเปน ภาษาของชาวยิวเชื้อสายสเปนเริ่มมีเอกลักษณ์เฉพาะ เช่นมีคำยืมจากภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิกจำนวนมากและมีแนวโน้มจะถอดความตามลำดับคำในภาษาฮีบรูตรงตัว ตัวอย่างเช่น halaylah ha-zeh หมายถึง “คืนนี้” ถอดเป็นภาษาลาดิโน la noche la esta แทนที่ esta noche ในภาษาสเปน

ผลจากการขับออกจากสเปนทำให้มีอิทธิพลจากภาษาอื่น เช่น ภาษากรีกและภาษาตุรกีเข้ามา ซึ่งเป็นรูปแบบคู่ขนานของการกิดขึ้นของภาษายิดดิช

การเขียน[แก้]

ปัจจุบันภาษาลาดิโนเขียนด้วยอักษรละตินโดยเฉพาะในตุรกีแต่บางครั้งยังเขียนด้วยอักษรฮีบรู (โดยเฉพาะแบบราชี) ในอดีตเคยเขียนด้วยอักษรกรีกและอักษรซีริลลิก ซึ่งพบได้น้อยในปัจจุบัน เนื่องจากการลดลงของชุมชนชาวยิวเซฟาร์ดิกในยุโรป (โดยเฉพาะในเนเธอร์แลนด์และแหลมบอลข่าน) ระหว่างการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว ทำให้ผู้พูดส่วนใหญ่เป็นชาวตุรกีเชื้อสายยิว จึงมีการนำอักษรละตินแบบที่ใช้เขียนภาษาตุรกีมาใช้เขียนภาษาลาดิโน แต่มชาวยิวบางส่วนสนับสนุนให้ใช้อักษรละตินตามแบบภาษาสเปน

เพราะภาษานี้มีลักษณะอนุรักษนิยมมาก จึงมีผู้เสนอว่าการเขียนภาษาลาดิโนเริ่มขึ้นหลังจากการขับชาวยิวออกจากสเปนเมื่อ พ.ศ. 2035 การเขียนในครั้งนั้นมีการจัดมาตรฐานและเปลี่ยนรูปแบบมาเรื่อยๆ ครั้งสุดท้ายเมื่อประมาณ พ.ศ. 2300

สัทวิทยา[แก้]

การออกเสียงพยัญชนะและรากศัพท์บางส่วนใกล้เคียงกับภาษาโปรตุเกสมากกว่าภาษาสเปน เพราะยังรักษาลักษณะของภาษาโรมานซ์ในคาบสมุทรไอบีเรียไว้ได้ ในขณะที่ภาษาสเปนเสียลักษณะนี้ไป ตัวอย่างเช่นคำว่า “ยังคง” ภาษาลาดิโนใช้ aninda ภาษาโปรตุเกสใช้ ainda ส่วนภาษาสเปนใช้ aún แต่ไวยากรณ์ใกล้เคียงกับภาษาสเปน

ประวัติ[แก้]

ในยุคกลางชาวยิวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการของภาษาสเปนในฐานะภาษาที่มีชื่อเสียง ชาวยิวแปลงานจากภาษาอาหรับหรือภาษาฮีบรู (มักจะเคยแปลเป็นภาษากรีกมาก่อน) เป็นภาษาสเปน และชาวคริสต์นำไปแปลเป็นภาษาละตินอีกต่อหนึ่ง

จนกระทั่งปัจจุบัน ภาษานี้ใช้พูดอย่างกว้างขวางตลอดแหลมบอลข่าน ตุรกี ตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ ซึ่งเป็นผลจากการขับชาวยิวออกจากสเปน เมื่อ พ.ศ. 2035 ภาษาลาดิโนและภาษาสเปนใช้ในการค้าขายตั้งแต่จักรวรรดิออตโตมันไปจนถึงเนเธอร์แลนด์และใช้ในการติดต่อระหว่างสเปนกับโปรตุเกส วรรณคดีภาษาลาดิโนยุคแรกมีการแปลเป็นภาษาฮีบรูน้อย จนราว พ.ศ. 2300 ภาษาฮีบรูหายไปจากการใช้เป็นภาษาในการติดต่อ ในยุคต่อมามีการใช้ภาษาฝรั่งเศสอย่างแพร่หลาย อิทธิพลของภาษาฝรั่งเศสได้แทรกซึมเข้ามาในหมู่ชาวยิวด้วย

ภาษาลาดิโนสำเนียงต่างๆได้เกิดขึ้นมาก แต่การพูดให้เข้าใจกันระหว่างสำเนียงค่อนข้างจำกัด เพราะแต่ละสำเนียงจะมีคำยืมจากภาษาใกล้เคียงเช่น ภาษากรีก ภาษาตุรกี ภาษาอาหรับ ภาษากลุ่มสลาฟโดยเฉพาะภาษาบัลแกเรีย

ภาษาลาดิโนเป็นภาษาทั่วไปของเมืองซาโลบิกาในยุคจักรวรรดิออตโตมัน เมืองนี้เป็นส่วนหนึ่งของกรีซเมื่อ พ.ศ. 2455 และเปลี่ยนชื่อเป็นเทสซาโลนิกี ภาษานี้ยังคงเป็นภาษาหลักต่อมา จนมีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวกว่า 50,000 คนในเมืองนี้ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2

การยึดครองแอฟริกาเหนือเป็นอาณานิคมของสเปนทำให้ชาวยิวเข้าไปเป็นสะพานเชื่อมระหว่างชาวสเปนกับผู้พูดภาษาเบอร์เบอร์และภาษาอาหรับจำนวนผู้พูดเหล่านี้ลดลงเนื่องจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวและการอพยพเข้าสู่อิสราเอลเมื่อมีการตั้งประเทศใหม่ ประเทศอิสราเอลกำหนดให้ใช้ภาษาฮีบรูเป็นภาษาราชการ จำนวนผู้พูดภาษาลาดิโนจึงลดลง

อ้างอิง[แก้]

  • Hemsi, Alberto: Cancionero Sefardí
  • Molho, Michael: Usos y costumbres de los judíos de Salónica (1950)
  • Markus, Shimon, Ha-safa ha-sefaradit-yehudit (the Judeo-Spanish language) : Jerusalem, 1965
  • Габинский, Марк А. Сефардский (еврейской-испанский) язык (M.A. Gabinsky. Sephardic (Judeo-Spanish) language, in Russian). Ştiinţa: Chişinău, 1992.
  • Kohen, Elli; Kohen-Gordon, Dahlia. Ladino-English, English-Ladino: Concise Encyclopedic Dictionary. Hippocrene Books: New York, 2000

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • Socolovsky, Jerome. "Lost Language of Ladino Revived in Spain", Morning Edition, National Public Radio, March 19, 2007. [1]