ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตน
จากเบาหวาน
(Diabetic ketoacidosis)
Dehydration may be severe in diabetic ketoacidosis, and intravenous fluids are usually needed as part of its treatment.
สาขาวิชาวิทยาต่อมไร้ท่อ
อาการอาเจียน ปวดท้อง หายใจหอบลึก ปัสสาวะบ่อย สับสน ลมหายใจมีกลิ่นอะซีโตน[1]
ภาวะแทรกซ้อนCerebral edema[2]
การตั้งต้นรวดเร็ว[1]
สาเหตุร่างกายขาดอินซูลิน[3]
ปัจจัยเสี่ยงUsually type 1 diabetes, less often other types[1]
วิธีวินิจฉัยHigh blood sugar, low blood pH, ketoacids[1]
โรคอื่นที่คล้ายกันHyperosmolar nonketotic state, alcoholic ketoacidosis, uremia, salicylate toxicity[4]
การรักษาIntravenous fluids, insulin, potassium[1]
ความชุก4–25% of people with type 1 diabetes per year[1][5]

ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน หรือ ดีเคเอ (อังกฤษ: diabetic ketoacidosis - DKA) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่มีอันตรายถึงชีวิตซึ่งพบได้ในผู้ป่วยเบาหวาน ส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 แต่ก็อาจพบในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ในบางสถานการณ์ DKA เป็นผลจากการขาดอินซูลิน ทำให้ร่างกายหันไปใช้พลังงานจากกรดไขมันซึ่งผลจากการเผาผลาญกรดไขมันจะทำให้ได้ผลผลิตเป็นคีโตนบอดี้ซึ่งทำให้เกิดอาการและภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้[6]

ผู้ป่วยเบาหวานบางรายอาจไม่เคยมีอาการหรือไม่เคยรับการตรวจมาก่อนเลย จนพบมีอาการอีกครั้งก็คือเป็นมากจนเป็น DKA แล้วก็มี สิ่งกระตุ้นให้เกิด DKA ในผู้ป่วยเบาหวานมีหลายอย่าง สาเหตุที่สำคัญและพบบ่อยคือการขาดยา อาการของ DKA ที่พบบ่อยคืออาเจียนมาก ขาดน้ำ หายใจลึกเร็ว สับสน หรือหมดสติถึงขั้นโคม่าได้ การวินิจฉัย DKA ทำได้โดยการตรวจเลือดและตรวจปัสสาวะ แยกจากภาวะเลือดเป็นกรดอื่นๆ (ซึ่งพบน้อยกว่ามาก) ได้โดยตรวจพบมีน้ำตาลในเลือดสูงมาก การรักษาที่สำคัญคือการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำเพื่อแก้ไขภาวะขาดน้ำ ให้อินซูลินเพื่อให้ร่างกายสามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้ไม่ต้องย่อยสลายไขมันเกิดเป็นคีโตนและกรดคีโตน รักษาโรคที่พบร่วมและอาจเป็นเหตุกระตุ้นได้เช่นการติดเชื้อต่างๆ รวมทั้งติดตามอาการใกล้ชิดเพื่อตรวจและรักษาภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น[6][7]

DKA เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมและทันท่วงทีอาจทำให้เสียชีวิตได้ โรคนี้ได้รับการอธิบายครั้งแรกใน ค.ศ. 1886 และยังไม่มีวิธีรักษาที่ได้ผลดีจนกระทั่งมีการค้นพบการใช้อินซูลินในการรักษาเมื่อช่วง ค.ศ. 1920[8] ในปัจจุบันการรักษาที่เหมาะสมและทันท่วงทีสามารถลดอัตราตายได้เหลือน้อยกว่า 5%[9]

อาการและอาการแสดง[แก้]

การดำเนินโรคของ DKA ในครั้งหนึ่งๆ มักดำเนินไปภายในระยะเวลาประมาณ 24 ชั่วโมง อาการที่พบบ่อยได้แก่อาการคลื่นไส้อาเจียน กระหายน้ำ ปัสสาวะมาก และปวดท้อง บางครั้งสามารถปวดท้องรุนแรงได้ ผู้ป่วยที่ได้ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเองจะพบว่ามีน้ำตาลในเลือดสูง หากเป็น DKA ชนิดรุนแรง ผู้ป่วยอาจมีอาการหายใจหอบลึก มีลักษณะเฉพาะที่เรียกว่าการหายใจแบบคุสส์เมาล์[9] อาจมีอาการปวดท้องแบบที่มีจุดกดเจ็บชัดเจน จนอาจถูกสงสัยว่าเป็นโรคปวดท้องเฉียบพลันชนิดอื่น เช่น ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน ไส้ติ่งอักเสบ หรือทางเดินอาหารทะลุ[9] ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งมีอาการอาเจียนเป็นตะกอนสีกาแฟซึ่งอาจเกิดจากแผลที่หลอดอาหาร หากรุนแรงมากผู้ป่วยอาจมีอาการสับสน ง่วงซึม หรือหมดสติได้[9][10]

การตรวจร่างกายมักพบอาการแสดงของภาวะขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง ผิวหนังแห้ง ไม่ยืดหยุ่น หากขาดน้ำรุนแรงอาจทำให้มีปริมาตรเลือดไหลเวียนลดลง เกิดหัวใจเต้นเร็วและความดันเลือดต่ำได้ นอกจากนี้ยังอาจพบกลิ่นคีโตน ซึ่งมักถูกบรรยายว่าเป็นกลิ่นคล้ายผลิ่นผลไม้ และอาจพบการหายใจเร็ว ซึ่งสัมพันธ์กับการหายใจแบบคุสส์เมาล์ได้

ผู้ป่วยเด็กเล็กที่เป็น DKA มีความเสี่ยงต่อการเกิดสมองบวมมากกว่าผู้ป่วยกลุ่มอื่นที่เป็นโรคนี้ ภาวะนี้อาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ หมดสติ สูญเสียรีเฟล็กซ์ม่านตาตอบสนองต่อแสง และอาจเสียชีวิตได้ ภาวะนี้พบในผู้ป่วยเด็กที่เป็น DKA ประมาณ 0.3-1.0% พบได้บ้างในวัยรุ่น แต่พบน้อยมากในผู้ใหญ่ เมื่อเป็นแล้วมีโอกาสเสียชีวิตประมาณ 20-50%

สาเหตุ[แก้]

ส่วนใหญ่จะพบ DKA ในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานอยู่ก่อน แต่ผู้ป่วยเบาหวานบางรายอาจมีอาการครั้งแรกตอนที่เป็น DKA โดยไม่เคยทราบมาก่อนว่าเป็นเบาหวาน ส่วนใหญ่มักมีภาวะอื่นที่กระตุ้นให้เกิดเป็น DKA ภาวะเช่นนี้เช่น การเจ็บป่วย (ปอดอักเสบ ไข้หวัดใหญ่ ท้องร่วง ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ) การตั้งครรภ์ การได้รับอินซูลินไม่เพียงพอ (เช่น อุปกรณ์เสีย) โรคหัวใจขาดเลือด สมองขาดเลือด หรือการใช้โคเคน เป็นต้น ผู้ป่วยเด็กหรือวัยรุ่นที่เป็น DKA บ่อยๆ อาจมีโรคทางพฤติกรรมการกิน หรืออาจใช้อินซูลินน้อยกว่าที่ควรเพราะกลัวอ้วน เป็นต้น[9]

วิทยาการระบาด[แก้]

DKA เกิดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 4.6-8.0 ต่อ 1000 ใน 1 ปี ข้อมูลประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่ามีการรับผู้ป่วย DKA ไว้รักษาในโรงพยาบาล 100,000 ครั้งต่อปี คิดเป็นค่าใช้จ่าย 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1/4 - 1/2 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการให้การดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ทั้งหมด ตั้งแต่ช่วง ค.ศ. 1980 เป็นต้นมา แนวโน้มในการให้การรักษา DKA เป็นการรับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาลมากขึ้น[6] ความเสี่ยงของการเกิด DKA จะสูงในผู้ป่วยเบาหวานที่ยังคงมีพฤติกรรมหรือปัจจัยเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง เช่น การควบคุมอาหารไม่ได้ และกลุ่มที่ไม่สามารถรับการรักษาด้วยอินซูลินได้[6] ผู้ป่วยเด็กที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 ประมาณ 30% จะเพิ่งทราบเป็นครั้งแรกว่าเป็นโรคเบาหวานหลังจากเกิดมี DKA[11]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 Misra, S; Oliver, NS (28 October 2015). "Diabetic ketoacidosis in adults" (PDF). BMJ (Clinical Research Ed.). 351: h5660. doi:10.1136/bmj.h5660. hdl:10044/1/41091. PMID 26510442. S2CID 38872958.
  2. Bialo, SR; Agrawal, S; Boney, CM; Quintos, JB (15 February 2015). "Rare complications of pediatric diabetic ketoacidosis". World Journal of Diabetes. 6 (1): 167–74. doi:10.4239/wjd.v6.i1.167. PMC 4317308. PMID 25685287.
  3. Kitabchi AE, Umpierrez GE, Miles JM, Fisher JN (July 2009). "Hyperglycemic crises in adult patients with diabetes". Diabetes Care. 32 (7): 1335–43. doi:10.2337/dc09-9032. PMC 2699725. PMID 19564476.
  4. Ferri, Fred F. (2010). Ferri's Differential Diagnosis: A Practical Guide to the Differential Diagnosis of Symptoms, Signs, and Clinical Disorders (ภาษาอังกฤษ). Elsevier Health Sciences. p. 146. ISBN 978-0323076999. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-08.
  5. Maletkovic, J; Drexler, A (December 2013). "Diabetic ketoacidosis and hyperglycemic hyperosmolar state". Endocrinology and Metabolism Clinics of North America. 42 (4): 677–95. doi:10.1016/j.ecl.2013.07.001. PMID 24286946.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 Kitabchi AE, Umpierrez GE, Murphy MB, Kreisberg RA (December 2006). "Hyperglycemic crises in adult patients with diabetes: a consensus statement from the American Diabetes Association". Diabetes Care. 29 (12): 2739–48. doi:10.2337/dc06-9916. PMID 17130218.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  7. Dunger DB, Sperling MA, Acerini CL, และคณะ (February 2004). "European Society for Paediatric Endocrinology/Lawson Wilkins Pediatric Endocrine Society consensus statement on diabetic ketoacidosis in children and adolescents". Pediatrics. 113 (2): e133–40. doi:10.1542/peds.113.2.e133. PMID 14754983. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-12.
  8. Eledrisi MS, Alshanti MS, Shah MF, Brolosy B, Jaha N (May 2006). "Overview of the diagnosis and management of diabetic ketoacidosis". American Journal of the Medical Sciences. 331 (5): 243–51. doi:10.1097/00000441-200605000-00002. PMID 16702793.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 Powers AC (2005). Kasper DL, Braunwald E, Fauci AS, และคณะ (บ.ก.). "Harrison's Principles of Internal Medicine" (16th ed.). New York, NY: McGraw-Hill: 2152–2180. ISBN 0-07-139140-1. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  10. Joint British Diabetes Societies Inpatient Care Group (March 2010). "The Management of Diabetic Ketoacidosis in Adults". NHS Diabetes. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-04. สืบค้นเมื่อ 2012-05-01.
  11. Silverstein J, Klingensmith G, Copeland K; และคณะ (January 2005). "Care of children and adolescents with type 1 diabetes: a statement of the American Diabetes Association". Diabetes Care. 28 (1): 186–212. doi:10.2337/diacare.28.1.186. PMID 15616254.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก