ภาวะเมาไนโตรเจน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
  • ภาวะเซื่องซึมเหตุก๊าซเฉื่อย
  • ภาวะเซื่องซึมเหตุไนโตรเจน
ฉลากบนถังอากาศสำหรับนักดำน้ำชนิดมีก๊าซเฉื่อยผสม ระบุความลึกสูงสุดที่ปลอดภัยของถัง
สาขาวิชาพิษวิทยา

ภาวะเมาไนโตรเจน หรือ ภาวะเซื่องซึมเหตุไนโตรเจน (อังกฤษ: nitrogen narcosis) หรือ ภาวะเซื่องซึมเหตุก๊าซเฉื่อย (อังกฤษ: inert gas narcosis) หรือชื่ออื่น ๆ อาการเมาน้ำลึก (อังกฤษ: raptures of the deep) และ ปรากฏการณ์มาร์ทีนี (อังกฤษ: Martini effect) เป็นการลดลงของความรู้ตัวชนิดแก้ไขได้ อันเกิดจากการดำน้ำที่ความลึกสูง ซึ่งเกิดจากฤทธิ์กดประสาทของก๊าซเฉื่อยบางชนิดที่ความดันหนึ่ง ภาษาอังกฤษของคำว่าภาวะเซื่องซึม (Nacrosis) มาจากภาษากรีก νάρκωσις (narkōsis) แปลว่า "การทำให้ชา" ซึ่งมาจาก νάρκη (narkē) แปลว่า "ความชา ไร้ความรู้สึก" คำซึ่งปรากฏใช้โดยทั้งโฮเมอร์ และ ฮิปพอคราทีส[1] ภาวะเซื่องซึมมีอาการคล้ายกับความเมา (ภาวะพิษเหตุแอลกอฮอล์) หรือการสูดเอาไนตรัสออกไซด์ ภาวะเมาไนโตรเจนอาจพบได้ในการดำน้ำที่ความตื้นแต่มักไม่ปรากฏชัดเจนเท่าการดำน้ำที่ความลึกมากกว่า 30 เมตร

นอกจากฮีเลียม (และอาจรวมถึงนีออน) อากาศที่หายใจล้วนมีผลกดประสาท ซึ่งแตกต่างกันไปตามความดันของก๊าซแต่ละชนิด[2][3] เข้าใจกันว่าเกิดจากความสามารถในการละลายในลิพิด อย่างไรก็ตามทฤษฎีนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ แต่มีหลักฐานชัดเจนว่าลักษณะทั้งสองประการมีความเกี่ยวเนื่องกันในทางฟิสิกส์[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. Askitopoulou, Helen; Ramoutsaki, Ioanna A; Konsolaki, Eleni (April 12, 2000). "Etymology and Literary History of Related Greek Words". Analgesia and Anesthesia. International Anesthesia Research Society. 91 (2): 486–491. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-25. สืบค้นเมื่อ 2010-06-09.
  2. 2.0 2.1 Bennett & Rostain (2003), p. 305.
  3. Bauer, Ralph W.; Way, Robert O. (1970). "Relative narcotic potencies of hydrogen, helium, nitrogen, and their mixtures".

บรรณานุกรม[แก้]

  • Bennett, Peter; Rostain, Jean Claude (2003). "Inert Gas Narcosis". ใน Brubakk, Alf O; Neuman, Tom S (บ.ก.). Bennett and Elliott's physiology and medicine of diving (5th ed.). United States: Saunders. ISBN 0-7020-2571-2. OCLC 51607923.
  • Lippmann, John; Mitchell, Simon J. (2005). "Nitrogen narcosis". Deeper into Diving (2nd ed.). Victoria, Australia: J. L. Publications. pp. 103–8. ISBN 0-9752290-1-X. OCLC 66524750.
  • U.S. Navy Supervisor of Diving (2008). U.S. Navy Diving Manual (PDF). SS521-AG-PRO-010, revision 6. U.S. Naval Sea Systems Command. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-12-10. สืบค้นเมื่อ 2014-01-21.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

การจำแนกโรค