ภาวะสารูปสนิทดี
ภาวะสารูปสนิทดี (อังกฤษ: goodness of fit) ของแบบจำลองทางสถิติ เป็นการอธิบายว่าแบบจำลองดังกล่าวสนิทดีกับชุดการสังเกตหรือไม่ การวัดภาวะสารูปสนิทดีเป็นการสรุปข้อแตกต่างระหว่างค่าที่สังเกตได้กับค่าที่คาดหมายภายใต้แบบจำลองที่กำลังกล่าวถึง[1] การวัดเช่นนี้อาจใช้ได้ในการทดสอบสมมติฐานทางสถิติ เช่น ใช้เพื่อทดสอบการแจกแจงปกติของความคลาดเคลื่อน เพื่อทดสอบว่าตัวอย่างสองตัวอย่างมาจากการกระจายอย่างเดียวกันหรือไม่ (เช่น การทดสอบโคลโมโกรอฟ-สมีร์นอฟ) หรือความถี่ของผลลัพธ์เข้ากับการกระจายแบบหนึ่งหรือไม่ (เช่น การทดสอบไคกำลังสองของเพียร์สัน)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Bernd Rönz; Hans G. Strohe, บ.ก. (1994). Lexikon Statistik (ภาษาเยอรมัน). Gabler Verlag. ISBN 978-3-409-19952-0.
![]() |
บทความนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล หมายเหตุ: ขอแนะนำให้จัดหมวดหมู่โครงให้เข้ากับเนื้อหาของบทความ (ดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:โครงการจัดหมวดหมู่โครงที่ยังไม่สมบูรณ์) |