สื่อลามกเกย์
สื่อลามกเกย์ (อังกฤษ: gay pornography) คือ สื่อลามกที่นำเสนอพฤติกรรมทางเพศระหว่างผู้ชายกับผู้ชาย ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้ผู้รับชมเกิดอารมณ์ทางเพศในระหว่างการรับชม
สื่อลามกเกย์นี้ยังหมายถึงภาพยนตร์ลามกเกย์ในรูปแบบซอฟต์คอร์ ซึ่งเป็นสื่อลามกที่แสดงให้เห็นถึงฉากทางเพศแต่ไม่ได้มีการเปิดเผยเรือนร่างหรือพฤติกรรมทางเพศทั้งหมด[1] ทั้งนี้ ภาพยนตร์ประเภทนี้อาจจะมีการนำเสนอผู้ชายในลักษณะรูปแบบบีฟเค้ก ซึ่งสามารถตอบสนองอารมณ์ทางเพศของทั้งผู้หญิงรักต่างเพศและผู้ชายรักร่วมเพศ[2]
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่าสื่อลามกเกย์เกิดขึ้นตั้งแต่ยุคกรีซโบราณผ่านรูปภาพแนวโฮโมอีโรติกซึ่งเป็นงานศิลป์ที่สะท้อนให้เห็นถึงความหลงใหลในเพศเดียวกันผ่านรูปวาดของศิลปิน[3] อย่างไรก็ตามในปัจจุบันสื่อลามกเกย์ได้พัฒนาทั้งในรูปแบบแผ่นดีวีดี กล่องรับสัญญาณ และเครือข่ายสัญญาณไร้สาย ซึ่งถ่ายทอดผ่านทางอินเทอร์เน็ตในรูปแบบภาพและวิดีโอ
สื่อลามกเกย์ในสหรัฐ
[แก้]เริ่มแรกศิลปะในรูปแบบโฮโมอีโรติกถือเป็นสื่อลามกเกย์ชิ้นแรกที่ใช้กันมานานยาวนานจนกระทั่งได้เริ่มมีพัฒนาการของสื่อในด้านของรูปภาพและภาพยนตร์เกิดขึ้น ในช่วงแรกสื่อลามกทุกชนิดถือเป็นของใต้ดินเนื่องจากกฎหมายของสหรัฐที่ยังไม่รองรับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อที่นำเสนอภาพลักษณ์ของชายรักร่วมเพศอาจถูกดำเนินคดีอย่างรุนแรง ดังนั้นในช่วงทศวรรษที่ 1940 และ 1950 สื่อลามกเกย์โดยส่วนใหญ่จะเป็นรูปภาพของนักกีฬาเพาะกายผู้ชาย โดยรูปภาพอาจจะมีเปิดแบบเรือนร่างทั้งหมดหรือสวมใส่เพียงแค่ชุดชั้นในชาย The Athletic Model Guild (AMG) ถือเป็นสตูดิโอแห่งแรกในสหรัฐที่ผลิตสื่อลามกเกย์สำหรับเชิงพาณิชย์ที่ถูกก่อตั้งโดย Bob Mizer ในปีค.ศ. 1945 โดยสื่อลามกอนาจารเกย์ชิ้นแรกที่สตูดิโอแห่งนี้ผลิตคือนิตยสาร Physique Pictorial ในปี ค.ศ. 1951 นิตยสารหัวนี้ได้ใส่รูปภาพของทอมออฟฟินแลนด์เพิ่มเข้าไปหลายฉบับ[6]
ช่วงทศวรรษที่ 1960 และ 1970 การใช้กล้องฟิล์มขนาด 16 มม. ที่มีการใช้แพร่หลายมากขึ้นส่งผลทำให้สื่อลามกอนาจารเกย์เริ่มมีความหลากหลายมากขึ้นโดยเฉพาะในรูปแบบภาพยนตร์ การขายสื่อเหล่านี้นั้นส่วนใหญ่จะส่งขายผ่านทางไปรษณีย์หรือช่องทางที่ผู้คนไม่สามารถพบเห็นได้ ในช่วงแรกนักแสดงภาพยนตร์ลามกเกย์และค่ายภาพยนตร์จะนิยมออกเดินทางไปยังโรงแรมในเมืองต่าง ๆ ของสหรัฐอเมริกา เพื่อขายสื่อลามก โดยการรับรู้จะเป็นการบอกเล่าแบบปากต่อปาก หรือการโฆษณาผ่านทางนิตยสาร แต่ในระหว่างช่วงทวรรษที่ 1960 นั้นศาลสูงสุดของสหรัฐได้เริ่มมีการพิจารณาและให้การค้าขายสื่อลามกอนาจารถูกกฎหมายมากขึ้น ซึ่งภาพยนตร์เรื่อง Boys in the Sand ก็ถือเป็นภาพยนตร์ลามกเกย์เรื่องแรกในสหรัฐที่ได้เข้าฉายครั้งแรกในเดือนธันวาคม ค.ศ.1971 ที่โรงภาพยนตร์ในนิวยอร์ก ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ถือเป็นภาพยนตร์ลามกที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก[7]
การผลิตภาพยนตร์ลามกเกย์ในสหรัฐเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากในช่วงทศวรรษที่ 1970 ตามจำนวนที่เพิ่มขึ้นของโรงภาพยนตร์ลามกในสหรัฐ โดยการถ่ายทำส่วนใหญ่จะเป็นในสถานที่ที่ผู้ชายสามารถที่จะมีกิจกรรมทางเพศกับผู้ชายได้ ทั้งนี้เนื้อหาของภาพยนตร์จะเป็นสถานการณ์จำลองในสถานที่ต่าง ๆ เช่น โรงอาบน้ำเกย์, เซ็กซ์คลับ หรือ ชายหาด เป็นต้น
นับตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1970 ถึง ทศวรรษที่ 1980 วงการภาพยนตร์ลามกเกย์ถือเป็นอุตสาหกรรมภาพยนตร์ขนาดใหญ่ในสหรัฐ[8] และเริ่มมีการคัดเลือกนักแสดงอย่างจริงจังมากขึ้นโดยส่วนใหญ่ค่ายภาพยนตร์จะคัดเลือกในกลุ่มชายรักร่วมเพศก่อนแต่ก็มีชายรักร่วมเพศน้อยคนมากที่จะหันมาเล่นภาพยนตร์ลามกเกย์ในยุคนั้นเนื่องจากความเกรงกลัวที่จะถูกสังคมประณามและเสี่ยงต่อการถูกเปิดเผย
ในช่วงทศวรรษที่ 1980 ภาพยนตร์ลามกเกย์ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบมาเป็นวิดีโอคาสเซ็ตมากขึ้นและจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสเอชไอวีและโรคเอดส์ทำให้กิจกรรมทางเพศในพื้นที่สาธารณะนั้นได้รับความนิยมลดลงเป็นอย่างมากจากทั้งหมดทำให้โรงภาพยนตร์ลามกเสื่อมความนิยมอย่างรวดเร็ว โดยจากสถานการณ์ดังกล่าวก็ทำให้ภาพยนตร์ลามกมีต้นทุนที่ต่ำลงรวมทั้งราคาขายซึ่งก็สามารถที่จะเข้าถึงกลุ่มคนดูได้อย่างแพร่หลายในสหรัฐ โดยภาพยนตร์ลามกเกย์ในสหรัฐนั้นไม่มีแค่เพียงกลุ่มชายรักร่วมเพศในอุตสาหกรรมเท่านั้นแต่มีกลุ่มชายรักต่างเพศร่วมด้วย โดย Chi Chi Larue ผู้กำกับภาพยนตร์ลามกเกย์ในยุคนั้นได้ออกมาเปิดเผยว่าผู้ชายที่แสดงในภาพยนตร์ลามกเกย์ร้อยละ 60 จะเป็นกลุ่มชายรักต่างเพศหรือเกย์-ฟอร์-เพย์ ซึ่งประเด็นนี้ก็ถือเป็นประเด็นที่ยังมีการถกเถียงกัน[9]
ต่อมาในช่วงทศวรรษที่ 1990 อุตสาหกรรมภาพยนตร์ลามกเกย์ได้เริ่มมีความหลากหลายในตัวสื่อมากขึ้น โดย Kristen Bjorn ก็ถือเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ลามกเกย์ที่ยกระดับทั้งคุณภาพของวิดีโอ, การดูแลนักแสดง และเทคนิคการถ่ายทำให้มีคุณภาพมากขึ้น โดยทั้งหมดก็ทำให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์ลามกเกย์ในสหรัฐมีการแข่งขันที่ถูกมากขึ้น ทั้งนี้ในความหลากหลายก็เกิดกลุ่มตลาดเฉพาะขึ้นในวงการภาพยนตร์ลามกเกย์เป็นอย่างมาก เช่น ภาพยนตร์ลามกเกย์ในลักษณะของผู้ชายตามชาติพันธุ์, ผู้ชายข้ามเพศ, ผู้ชายในเครื่องแบบ หรือในลักษณะ BDSM
และช่วงศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมาวงการภาพยนตร์ลามกเกย์ถือเป็นหนึ่งอุตสาหกรรมบันเทิงที่มีผลตอบแทนสูงสุดอีกหนึ่งอุตสาหกรรมโดยจะเห็นได้จากการทำภาพยนตร์ลามกเกย์ได้นำผู้ชายรักต่างเพศมาแสดงโดยเฉพาะ อาทิ Sean Cody, Active Duty หรือ Bel Ami จากความหลากหลายของวงการทำให้ภาพยนตร์ลามเกย์ได้มีการแพร่หลายและทำการตลาดในอินเทอร์เน็ตมากขึ้น
สื่อลามกเกย์ในไทย
[แก้]สำหรับประเทศไทยนั้นก็ผลิตและเผยแพร่สื่อลามกอนาจารยังถือเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตามสื่อลามกอนาจารเกย์ในประเทศไทยเริ่มมีอย่างแพร่หลายในช่วงทศวรรษที่ 1980 จากการที่นิตยสารมิถุนาได้เริ่มปรากฏขึ้นโดยเนื้อหานิตยสารในช่วงแรกจะมีทั้งรูปภาพผู้ชายและผู้หญิงในลักษณะเปลือยกายประกอบด้วย ก่อนที่ภายหลังจะมีแต่รูปภาพผู้ชายแต่เพียงอย่างเดียวจากการที่สำนักพิมพ์ได้ทำการสำรวจกลุ่มลูกค้าแล้วพบว่าโดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ชายที่มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งนี้ทางสำนักพิมพ์ก็ได้มีนิตยสารมิถุนา จูเนียร์ออกมาเพื่อในสะดวกต่อการจัดเก็บมากขึ้นต่อผู้คน ในราคา 30 บาท จากกระแสของนิตยสารมิถุนาทำให้ในช่วงนั้นได้มีนิตยสารภาพผู้ชายในประเทศไทยอย่างมากมายไม่ว่าจะเป็น นิตยสารนีออน, นิตยสารมรกต, นิตยสารมิดเวย์ เป็นต้น[10]
ทั้งนี้นอกจากรูปแบบนิตยสารแล้วสื่อลามกอนาจารเกย์ในประเทศไทยในยุคนั้นยังมีส่งรูปภาพโป๊ปลือยของผู้ชายผ่านจากไปรษณีย์ราวละ 5 ถึง 6 รูปภาพ ในราคาประมาณ 100 บาท ซึ่งโดยส่วนใหญ่รูปภาพดังกล่าวจะเป็นรูปภาพเบื้องหลังของนายแบบในนิตยสารในแต่ละฉบับ ซึ่งนิตยสารเหล่านี้โดยส่วนใหญ่จะถูกตั้งขายแบบซุกซ่อนเพื่อไม่ให้คนเห็น ต่อมานิตยสารภาพผู้ชายได้มีการปรับราคาที่สูงมากขึ้นจากปัจจัยต่างๆทำให้นิตยสารภาพผู้ชายในประเทศไทยทยอยหายไปในที่สุด[10]
ในปัจจุบันจากการที่อินเทอร์เน็ตสามารถเข้าถึงได้อย่างง่ายดายมากยิ่งขึ้นทำให้รูปแบบสื่อลามกอนาจารเกย์ในประเทศไทยทั้งในรูปแบบรูปภาพหรือวิดีโอได้ถูกเผยแพร่ไปยังอินเทอร์เน็ตซึ่งผู้ที่ทำการลงสื่อเหล่านี้ของตนเองมักจะถูกนิยามว่า “แอคเค่อ”[11]
เพศศึกษา
[แก้]จากการศึกษาพบว่าสื่อลามกอนาจารอาจจะเป็นสื่อในการเรียนรู้เกี่ยวกับในเรื่องเพศศึกษาและความสัมพันธ์ ในกรณีที่บางคนไม่สามารถเรียนรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกันทั้งจากในโรงเรียน, ครอบครัว, เพื่อน หรือ สังคมรอบข้าง เป็นต้น สื่อลามกเกย์ซึ่งเป็นสื่อที่แสดงพฤติกรรมทางเพศระหว่างผู้ชายกับผู้ชายอาจจะสื่อหลักในการเรียนรู้เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกันซึ่งเป็นประเด็นที่นอกเหนือจากจุดประสงค์หลักคือการให้ผู้รับชมเกิดอารมณ์ทางเพศ[12] โดยมุมมองบางส่วนได้มีความคิดเห็นว่าสื่อลามกเกย์ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อย่างแท้จริง แต่ทั้งนี้ก็มีผลการศึกษาออกมาว่าสื่อลามกเกย์แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทั้งในด้านร่างกายและคำพูด [13]
เกย์-ฟอร์-เพย์
[แก้]เกย์-ฟอร์-เพย์ (อังกฤษ: Gay-for-pay) ในปัจจุบันประเด็นเกย์ฟอร์เพย์ถือเป็นประเด็นที่มีการถกเถียงเป็นอย่างมากแม้กระทั่งกลุ่มของชายรักร่วมเพศ Escoffier ได้ออกมานิยามเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวนี้ว่าตราบใดที่นักแสดงผู้ชายรักต่างเพศสามารถมีอารมณ์ทางเพศและถึงจุดสุดยอดพฤติกรรมเหล่านี้ถือเป็นพฤติกรรมรักร่วมเพศและถือเป็นภาพยนตร์ลามกและภาพยนตร์ลามกเกย์อย่างแท้จริง[8] ขณะที่ Simon และ Gagnon จะมีความคิดเกี่ยวกับประเด็นต่างออกไปจากการศึกษาบทละครในเรื่องจะพบว่านักแสดงจะแค่แสดงไปตามบทละครที่ได้รับมอบหมายและแสดงพฤติกรรมทางเพศตามที่ตนเองได้เรียนรู้มา ดังนั้นจึงไม่มีภาพยนตร์ลามกใดเป็นภาพยนตร์ลามกอย่างแท้จริง [8]
จากคำว่า “เกย์ฟอร์เพย์” ถือเป็นคำนิยามของผู้ชายรักต่างเพศที่ต้องการเข้ามาในอุตสาหกรรมนี้เพื่อแรงจูงใจทางด้านการเงินเท่านั้น ซึ่ง Escoffier มองว่าการนิยามดังกล่าวเป็นการนิยามที่ไม่เหมาะสม โดยเหตุผลในการเข้าวงการภาพยนตร์ลามกเกย์ของพวกเขาอาจจะเป็นเหตุผลอื่นซึ่งนอกอื่นจากเหตุผลทางด้านการเงิน ทั้งเหตุผลทางด้านความอยากรู้อยากเห็นหรือเหตุผลการที่พวกเขากำลังค้นหาตัวเอง เป็นต้น[8]
ในบรรดานักแสดงชายรักต่างเพศในวงการนี้จะมีความพึงพอใจในบทบาทของการเป็นฝ่ายรุกและฝ่ายรับที่แตกต่างกันออกไป โดยเป็นเรื่องปกติที่พวกเขาจะเข้าสู่วงการนี้จากการเล่นเป็นฝ่ายรุกก่อนที่จะเริ่มเป็นฝ่ายรับจากกระแสตอบรับของแฟนคลับหรือค่ายภาพยนตร์ได้ยื่นคำเสนอมาให้ เกย์ฟอร์เพย์โดยส่วนใหญ่จะมีความพึงพอใจกับการเป็นฝ่ายรุกมากกว่าจากพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นถึง “ความเป็นเกย์ที่น้อยกว่า” เนื่องจากพฤติกรรมในการร่วมเพศมีความคล้ายคลึงกับพฤติกรรมการร่วมเพศของรักต่างเพศ แต่ในขณะเดียวกันก็มีเกย์ฟอร์เพย์บางส่วนที่เลือกจะเป็นฝ่ายรับจากเหตุผลที่ว่าพวกเขาสามารถทำมันได้และอวัยวะเพศของพวกเขาไม่จำเป็นต้องแข็งตัวอยู่ตลอดเวลา จากเหตุผลทั้งหมดเป็นการแสดงให้เห็นถึงการที่พวกเขาพยายามจะทำให้ตนเองรู้สึกถึง “ความเป็นเกย์ที่น้อยกว่า” ในขณะที่ร่วมฉากกับผู้ชายอีกฝ่าย[8]
และถึงแม้ว่าพวกเขาจะทำงานในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ลามกเกย์แต่ก็ยังมีนักแสดงผู้ชายรักต่างเพศบางรายที่มีจุดยืนต่อต้านเพศทางเลือกในสังคมและทำให้ส่งผลกระทบต่อการทำงานเป็นอย่างมากในแต่ละครั้ง ซึ่งนักแสดงภาพยนตร์ลามกเกย์ที่เป็นผู้ชายเพศทางเลือกบางคนมักจะรู้สึกมีความหนักใจเมื่อจะแสดงร่วมกับนักแสดงชายรักต่างเพศเนื่องจากขาดอารมณ์ร่วมระหว่างกันและกัน Tommy Cruise นักแสดงภาพยนตร์ลามกเกย์ซึ่งมีรสนิยมทางเพศเป็นไบเซ็กชวลได้ออกมาเปิดเผยว่า “มีผู้ชายรักต่างเพศหลายคนในวงการนี้ที่ไม่อยากจะให้ผมแตะเนื้อต้องตัวพวกเขา ซึ่งผมก็มีความรู้สึกว่าถ้าแบบนี้พวกคุณจะเข้ามาในวงการนี้ทำไม?” แต่ในขณะเดียวกันนักแสดงภาพยนตร์ลามกเกย์ที่เป็นผู้ชายที่มีความหลากหลายทางเพศก็รู้สึกสนุกกับการร่วมงานกับผู้ชายรักต่างเพศ อาทิ Buddy Jones ซึ่งเขาก็ได้ออกมาเปิดเผยว่าตราบใดที่การมีเพศสัมพันธ์ออกมาดี มันก็ไม่จำเป็นต้องสนใจว่าพวกเขาเป็นอะไร[8]
แบร์แบ็ก
[แก้]การแบร์แบ็ก (อังกฤษ: Bareback) คือการร่วมเพศทางทวารหนักโดยไม่สวมใส่ถุงยางอนามัยป้องกัน ในช่วงทศวรรษที่ 1970 และ 1980 จากการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ ทำให้ผู้กำกับภาพยนตร์ลามกเกย์หลายค่ายหันมาให้นักแสดงสวมใส่ถุงอนามัยในขณะที่ร่วมเพศมากขึ้นเพื่อสุขภาพของตัวนักแสดงและเป็นตัวอย่างให้กับผู้รับชมในการปฏิบัติ โดยในช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 นั้นภาพยนตร์ลามกเกย์เริ่มมีการให้นักแสดงสวมใส่ถุงยางอนามัยในขณะร่วมฉากเป็นส่วนใหญ่[14] แต่ทั้งนี้ค่ายภาพยนตร์บางส่วนก็ยังไม่มีการให้นักแสดงสวมถุงยางอนามัยขณะร่วมเพศ อาทิ ค่าย Treasure Island ที่ได้มีการให้นักแสดงมีเพศสัมพันธ์แบบแบร์แบ็กตั้งแต่ปีค.ศ.1999 หรือค่ายภาพยนตร์ลามกเกย์ขนาดใหญ่อย่าง Kristen Bjorn Productions ก็ได้มีการให้นักแสดงมีเพศสัมพันธ์แบบแบร์แบ็กเฉพาะกับคู่นักแสดงที่กำลังคบหาดูใจในชีวิตจริง ส่วนค่ายภาพยนตร์อื่นๆอย่าง Falcon Entertainment ก็ได้มีการนำภาพยนตร์ที่มีการมีเพศสัมพันธ์แบบแบร์แบ็กก่อนน่านั้นมาออกใหม่[15] ซึ่งค่ายภาพยนตร์ลามกเกย์บางค่ายจะนิยมใช้เทคนิกการตัดต่อไม่ให้เห็นถุงยางอนามัยและทำเหมือนเป็นการมีเพศสัมพันธ์แบบแบร์แบ็ก ซึ่งความเป็นจริงคือนักแสดงได้มีการป้องกันและสวมใส่ถุงอนามัยขณะร่วมเพศ แต่ทั้งนี้ก็ยังมีบางค่ายที่ใช้วิธีนี้แต่นำเสนอการมีเพศสัมพันธ์แบบป้องกันในรูปแบบอื่น เช่น การถ่ายไปที่กล่องถุงยางอนามัยด้วย เป็นต้น
นักวิชาการบางส่วนได้ลงความเห็นเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวนี้ว่าแม้ว่าคำว่า “แบร์แบ็ก” กับ “ยูเอไอ (UAI)” จะมีความหมายที่ตรงกันแต่แฝงไว้ด้วยความแตกต่าง โดยคำว่า “แบร์แบ็ก” ซึ่งแปลว่าเปลือยเปล่าได้ถูกนำมาใช้มากขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ทางการตลาด โดยเหตุผลก็เพราะว่า “ยูเอไอ (UAI)” หรือ “Unprotected Anal Intercourse” ซึ่งแปลว่าการมีเพศสัมพันธ์ทางรูทวารหนักโดยไม่มีการป้องกัน จากคำดังกล่าวอาจจะทำให้ผู้อ่านนึกถึงการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่มีการป้องกันซึ่งมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ได้ และทำให้วงการภาพยนตร์ลามกเกย์ไม่นิยมใช้คำดังกล่าวในการนิยาม อย่างไรก็ตามแม้ว่าคำว่า “แบร์แบ็ก” จะถูกใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ลามกเกย์แต่จากผลการศึกษาพบว่าทั้ง 2 คำให้ความรู้สึกในเชิงลบต่อผู้ที่ทำการทดลองเหมือนกัน [16]
ผู้รับชม
[แก้]ในเดือนสิงหาคม ค.ศ.2005 เจนนา เจมสัน ได้ทำการเปิดตัวเว็บไซต์ "Club Thrust" ซึ่งเนื้อหาภายในเว็บไซต์ได้มีสื่อเกี่ยวกับภาพยนตร์ลามกเกย์ประกอบด้วย จากทั้งหมดทำให้เห็นว่ากลุ่มผู้หญิงก็มีความสนใจในภาพยนตร์ลามกเกย์ด้วยเช่นกัน[17][18] ทั้งนี้ผู้หญิงที่มีรสนิยมทางเพศทั้งในรูปแบบรักร่วมเพศ และรักร่วมสองเพศ บางส่วนก็มีความชื่นชอบสื่อลามกเกย์โดยเฉพาะแนวยะโอะอิ[19] และจากสถิติของนิตยสาร Mother Jones พบว่าประเทศปากีสถานเป็นประเทศที่มีการค้นหาเกี่ยวกับภาพยนตร์ลามกเกย์เยอะมากที่สุดในโลก[20]
ดูเพิ่มเติม
[แก้]เอกสารประกอบ
[แก้]เอกสารวิชาการ
[แก้]- Adams-Thies, Brian (July 2015). "Choosing the right partner means choosing the right porn: how gay porn communicates in the home". Porn Studies. 2 (2–3): 123–136. doi:10.1080/23268743.2015.1060007.
- Bronski, Michael (2003). Pulp friction: uncovering the golden age of gay male pulps. New York: St. Martin's Griffin. ISBN 9780312252670.
- Burger, John R. (1995). One-handed histories: the eroto-politics of gay male video pornography. New York: Haworth Press. ISBN 9781560238522.
- Cante, Richard C. (2008), "Chapters 4, 5 and 6", ใน Cante, Richard C. (บ.ก.), Gay men and the forms of contemporary US culture, Burlington, Vermont: Ashgate Publishing, ISBN 9780754672302.
- Delany, Samuel R. (1999). Times Square Red, Times Square Blue. New York: New York University Press. ISBN 9780814719206.
- Dyer, Richard (Spring 1994). "Idol thoughts: orgasm and self-reflexivity in gay pornography". Critical Quarterly. 36 (1): 49–62. doi:10.1111/j.1467-8705.1994.tb01012.x.
- Dyer, Richard (2002) [1992], "Coming to terms: gay pornography", ใน Dyer, Richard (บ.ก.), Only entertainment (2nd ed.), New York: Routledge, pp. 138–150, ISBN 9780415254977.
- Eisenberg, Daniel (1990), "Pornography (definition)", ใน Dynes, Wayne R.; Johansson, Warren; Percy, William A; Donaldson, Stephen (บ.ก.), Encyclopedia of homosexuality, Garland reference library of social science 492, New York: Garland Pub, pp. 1023–1028, ISBN 9781558621473, OCLC 835916402. Pdf. Abridged pdf.
- Kendall, Christopher N. (2004). Gay male pornography: an issue of sex discrimination. Vancouver, British Columbia, Canada: UBC Press. ISBN 9780774851152.
- Kendall, Christopher N.; Funk, Rus Ervin (January 2004). "Gay male pornography's "actors": when "fantasy" isn't". Journal of Trauma Practice. 2 (3–4): 93–114. doi:10.1300/J189v02n03_05. S2CID 141304973.
- Kendall, Christopher N. (2011), "The harms of gay male pornography", ใน Tankard Reist, Melinda; Bray, Abigail (บ.ก.), Big Porn Inc.: exposing the harms of the global pornography industry, North Melbourne, Victoria: Spinifex Press, pp. 53–62, ISBN 9781876756895.
- Moore, Patrick (2004). Beyond shame: reclaiming the abandoned history of radical gay sexuality. Boston: Beacon Press. ISBN 9780807079577.
- Morrison, Todd G. (2004). Eclectic views on gay male pornography: pornucopia. Binghamton, New York: Harrington Park Press. ISBN 9781560232919.
- Neville, Lucy (July 2015). "Male gays in the female gaze: women who watch m/m pornography" (PDF). Porn Studies. 2 (2–3): 192–207. doi:10.1080/23268743.2015.1052937. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-02-16. สืบค้นเมื่อ 2024-01-26.
- Ryberg, Ingrid (July 2015). "Carnal fantasizing: embodied spectatorship of queer, feminist and lesbian pornography". Porn Studies. 2 (2–3): 161–173. doi:10.1080/23268743.2015.1059012.
- Slade, Joseph W. (2001). Pornography and sexual representation: a reference guide. Westport, Connecticut: Greenwood Press. ISBN 9780313315213.
- Stevenson, Jack (Fall 1997). "From the bedroom to the bijou: a secret history of American gay sex cinema". Film Quarterly. 51 (1): 24–31. doi:10.2307/1213528. JSTOR 1213528.
- Thomas, Joe A. (2000). "Gay male video pornography: past, present, and future". ใน Weitzer, Ronald (บ.ก.). Sex for sale: prostitution, pornography, and the sex industry. New York: Routledge. pp. 49–66. ISBN 9780415922951.
- Waugh, Thomas; Walker, Willie (2004). Lust unearthed: vintage gay graphics from the DuBek collection. Vancouver, British Columbia, Canada: Arsenal Pulp Press. ISBN 9781551521657.
- Waugh, Thomas (1996). Hard to imagine: gay male eroticism in photography and film from their beginnings to Stonewall. New York: Columbia University Press. ISBN 9780231099981.
- Williams, Linda (2004). Porn studies. Durham, North Carolina: Duke University Press. ISBN 9780822333128.
ชีวประวัติ
[แก้]- Edmonson, Roger (2000). Clone: The Life and Legacy of Al Parker, Gay Superstar. Alyson Books. ISBN 978-1-55583-529-3.
- Edmonson, Roger; Jerry Douglas (1998). Boy in the Sand: Casey Donovan, All-American Sex Star. Alyson Books. ISBN 978-1-55583-457-9.
- Isherwood, Charles (1996). Wonder Bread & Ecstasy : The Life and Death of Joey Stefano. Alyson Books. ISBN 978-1-55583-383-1.
- Larue, Chi Chi; John Erich (1997). Making It Big: Sex Stars, Porn Films and Me. Alyson Publications. ISBN 978-1-55583-392-3.
สารคดี
[แก้]- Beyond Vanilla (Claes Lilja, 2001)
- Gay Sex in the 70s. (Joseph F. Lovett, 2005)
- That Man: Peter Berlin. (Jim Tushinski, 2005)
- Island. (Ryan Sullivan, 2010)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Meaning of soft-core in English". Cambridge Dictionary.
- ↑ e.g. DNA (magazine), Blueboy (magazine)
- ↑ สุนทรพิพิธ, พันธุ์ชนะ (17 April 2018). "'Homoeroticism' ความหลงใหลต่อเพศเดียวกันใน Call Me By Your Name". GQ Thailand.
- ↑ Bolger, Doreen; Barry, Claire M. (March 1994). "Thomas Eakins's 'Swimming Hole.' – 1885 painting in the Amon Carter Museum, Fort Worth, Texas". Magazine Antiques. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-08-27. สืบค้นเมื่อ January 6, 2009.
- ↑ Bolger, Doreen; Cash, Sarah; et al. Thomas Eakins and the Swimming Picture. Amon Carter Museum, 1996. ISBN 0-88360-085-4
- ↑ Ramakers, Mischa. Dirty Pictures: Tom of Finland, Masculinity and Homosexuality. New York: Saint Martin's Press, 2001. ISBN 0-312-20526-0
- ↑ Burger, John R. One-Handed Histories: The Eroto-Politics of Gay Male Video Pornography. New York: Harrington Park Press, 1995. ISBN 1-56023-852-6
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 Escoffier, Jeffrey (2003). "Gay-for-Pay: Straight Men and the Making of Gay Pornography". Qualitative Sociology. 26 (4): 531–555. doi:10.1023/B:QUAS.0000005056.46990.c0. S2CID 144886310.
- ↑ Escoffier, Jeffrey (2003). "Gay-for-Pay: Straight Men and the Making of Gay Pornography". Qualitative Sociology. 26 (4): 531–555. doi:10.1023/B:QUAS.0000005056.46990.c0. S2CID 144886310.
- ↑ 10.0 10.1 ""ดงกาม" ในตำนานนิตยสารเกย์(ไทย)". ผู้จัดการออนไลน์. 16 March 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 January 2022.
- ↑ ดงทอง, สุธาวัฒน์ (27 November 2020). "แอคเค่อและการนัดยิ้ม 101". Spectrum. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-07. สืบค้นเมื่อ 2022-01-20.
- ↑ Grubbs, J. B.; Wright, P. J.; Braden, A. L.; Wilt, J. A.; Kraus, S. W. (February 20, 2019). "Internet pornography use and sexual motivation: A systematic review and integration". Annal of the International Communication Association. 43 (2): 117–155. doi:10.1080/23808985.2019.1584045. S2CID 150764824.
- ↑ Newton, James D. A.; Halford, W. Kim; Barlow, Fiona K. (September 26, 2020). "Intimacy in Dyadic Sexually Explicit Media Featuring Men Who Have Sex with Men". The Journal of Sex Research. 58 (3): 279–291. doi:10.1080/00224499.2020.1817837. PMID 32975464. S2CID 221918661.
- ↑ Holt, Madeleine (March 4, 2008). "HIV scandal in gay porn industry". BBC. สืบค้นเมื่อ May 10, 2008.
- ↑ "Bareback Classics" (FVS 301) is an example of such a re-issue by Falcon.
- ↑ Mowlabocus, Sharif; Harbottle, Justin; Witzel, Charlie (2014). "What We Can't See? Understanding the Representations and Meanings of UAI, Barebacking, and Semen Exchange in Gay Male Pornography". Journal of Homosexuality. 61 (10): 1462–1480. doi:10.1080/00918369.2014.928581. PMID 25068695. S2CID 10053248.
- ↑ "Sex advice: Is it unusual for a straight woman in a happy marriage to enjoy watching gay porn?". The Times. February 4, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-11. สืบค้นเมื่อ 2022-01-06.
- ↑ Gay Porn Blog: Free Gay Movies, Gay Sex Pics and XXX Nude Tube Videos เก็บถาวร สิงหาคม 7, 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Sensor Glitch – Amusing Toronto Star Article
- ↑ Despite strong intolerance of gays, Pakistan leads in world for gay porn searches เก็บถาวร มิถุนายน 20, 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน retrieved 14 June 2013