ภาพกราฟิกส์แรสเตอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เมื่อขยายหน้ายิ้มมุมซ้ายบนของภาพซึ่งเป็นภาพภาพบิตแมป RGB เป็นภาพใหญ่ทางขวา จะเห็นว่าแต่ละสี่เหลี่ยมคือจุดภาพ หรือ pixel เมื่อวิเคราะห์ให้ลึกเข้าไปอีก สีต่างๆของ pixel เกิดจากการผสมแสงสีแดง เขียวและน้ำเงินเข้าในสัดส่วนต่างๆกัน

ภาพกราฟิกส์แรสเตอร์ (อังกฤษ: raster graphics) หรือ ภาพบิตแมป (อังกฤษ: bitmap) หรือ คือภาพที่ประกอบด้วยจุดสีต่างๆที่มีจำนวนคงที่ตายตัว มีข้อดีคือ เหมาะกับภาพที่ต้องการระบายสี สร้างสี กำหนดสีที่ต้องการความละเอียดได้ง่าย ข้อเสีย คือเมื่อมีจุดสีที่คงที่นั่น ทำให้เวลาขยายภาพนั้นจะมีความละเอียดน้อยลงมาก และถ้าเพิ่มขนาดความละเอียดให้แก่ภาพ จะทำให้ไฟล์ภาพมีขนาดที่ใหญ่ และเปลืองพื้นที่ความจำ ไฟล์ภาพพวกนี้มีหลายรูปแบบ อาทิ เช่น BMP, TIF, JPG, PCT ฯลฯ โปรแกรมที่ใช้ เช่น โฟโต้ชอป, กิมป์ ฯลฯ

ลักษณะเฉพาะ[แก้]

  1. รูปแบบการเขียนข้อมูล ประมวลผลเชิงกราฟิกที่ใช้ตารางสี่เหลี่ยม หรือ Pixel (จุดภาพ หรือหน่วยของภาพ)ซึ่งสามารถเคลื่อนตำแหน่งได้ ผกผันค่าที่ตำแหน่งนั้นไปกลับได้ หรือ รวมค่าที่ตำแหน่งต่างๆ ไว้ด้วยกันได้ แล้วแสดงผลออกมา
  2. การแสดงภาพกราฟิก โดยใช้กลุ่มของจุดเล็กๆ แยกต่างหากกัน หรือเรียกว่า แผนที่บิต (Bitmap) ความละเอียดของภาพจะจำกัดโดยลักษณะของจอภาพหรืออุปกรณ์ เรียกได้อีกอย่างว่า บิตแมพกราฟิก
  3. ภาพดิจิทัล ที่เก็บข้อมูลเป็นอาร์เรย์ของจุดภาพสำหรับแสดงและแก้ไขปรับปรุงภาพ ในข้อมูลแรสเตอร์จะไม่มีเส้นตรง วงกลม หรือ รูปหลายเหลี่ยม แต่จะมีจุดภาพหลาย ๆ จับกลุ่มเกิดเป็นลักษณะรูปที่ต้องการ
  4. วิธีการสร้างภาพ เป็นกลุ่มของจุดที่เป็นอิสระกัน ขนาดเล็กๆ (จุดภาพ) เรียงลำดับกันลักษณะของแถว กับสดมภ์
  5. กระบวนการสร้างแผนที่บิต ในการสร้างแฟ้มภาพดิจิทัลโดยมีการเก็บข้อมูลแต่ละบิตของภาพต้นฉบับแทนการเก็บเป็นเส้นตรงระหว่างจุด แฟ้มแบบแรสเตอร์จะเก็บรายละเอียดข้อมูลและความลึกสีได้สูง แต่จะแก้ไขดัดแปลงยากหากไม่ต้องการให้สูญเสียคุณภาพ ส่วนมากเครื่องสแกนจะนำเข้าภาพเป็นภาพแรสเตอร์
  6. รูปภาพ ที่กำหนดเป็นเซตของจุดภาพ หรือ จุดในรูปแบบของแถว และ สดมภ์

ดูเพิ่ม[แก้]