ภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาควิชามนุษยศาสตร์ เป็น 1 ใน 4 ภาควิชาที่สังกัด คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวคือ ภาควิชามนุษยศาสตร์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ ภาควิชาศึกษาศาสตร์ และภาควิชาสังคมและสุขภาพ ผู้บุกเบิกก่อตั้งภาควิชานี้ขึ้นมา คือ รศ.ดร.พินิจ รัตนกุล ซึ่งเคยเป็นผู้อำนวยการ วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

ภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นภาควิชาที่เป็นที่รู้จักในฐานะเป็นแหล่งผลิตงานวิจัยในแนวประยุกต์ศาสนาต่าง ๆ ให้เข้ากับสังคมสมัยใหม่ ภาควิชานี้ ไม่ได้เปิดสอนระดับปริญญาตรี โดยเปิดรับเฉพาะนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเท่านั้น ซึ่งหลักสูตรที่ภาควิชานี้เปิดสอน มี 5 หลักสูตร คือ

  • ปริญญาโท


  • หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศาสนากับการพัฒนา ทั้งอาจารย์และนักศึกษาประจำภาควิชานี้ จะค้นคว้าวิจัยทางด้านศาสนาทั้งในแนวตำราและแนวประยุกต์ โดยส่วนใหญ่บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากภาควิชานี้มักจะเน้นทำวิจัยในแนวประยุกต์ ศาสนาหลัก ๆ ที่มีการเปิดสอนเป็นประจำได้แก่วิชาพระพุทธศาสนา, ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู, ศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม
  • หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจริยศาสตร์เพื่อการพัฒนาองค์การ (ภาคพิเศษ) เน้นศึกษาระบบจริยศาสตร์ของปรัชญาสำนักต่าง ๆ ทั้งในประเทศทางตะวันตกและตะวันออกเพื่อเน้นวิจัยปัญหาทางจริยธรรมที่พบเห็นในสังคมไทยสมัยใหม่ พร้อมทั้งเสนอแนะวิธีแก้ ตลอดจนการประยุกต์ใช้หลักจริยศาสตร์เพื่อการพัฒนาองค์การต่าง ๆ


  • ปริญญาเอก


  • จริยศาสตร์เพื่อการพัฒนาองค์การ (ภาคพิเศษ)
  • ศาสนากับการพัฒนา
  • พุทธศาสนศึกษา (นานาชาติ)

เกียรติภูมิ[แก้]

ภาควิชานี้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป ก็คือ เน้นทำวิจัยปัญหาสังคมอันเกิดจากการขาดการปฏิบัติตามหลักธรรมทางศาสนา และปัญหาการขาดจริยธรรมของคนในสังคมไทยร่วมสมัยเพื่อเสนอแนะวิธีแก้ ดังนั้น งานวิจัยต่าง ๆ ที่ผลิตออกมาโดยมากจึงเป็นการวิจัยในเชิงประยุกต์หลักศาสนธรรมกับสังคมไทยร่วมสมัย

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]