ภัยพิบัติสนามกีฬากันจูรูฮัน

พิกัด: 08°09′01″S 112°34′26″E / 8.15028°S 112.57389°E / -8.15028; 112.57389
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภัยพิบัติสนามกีฬากันจูรูฮัน
เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลเข้าตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุในสนามกีฬากันจูรูฮัน
แผนที่
วันที่1 ตุลาคม ค.ศ. 2022 (2022-10-01)
ที่ตั้งสนามกีฬากันจูรูฮัน อำเภอมาลัง จังหวัดชวาตะวันออก ประเทศอินโดนีเซีย
พิกัด08°09′01″S 112°34′26″E / 8.15028°S 112.57389°E / -8.15028; 112.57389
เสียชีวิต131 คน[1][2]
บาดเจ็บไม่ถึงตาย547 คน[3]

เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เกิดเหตุเบียดเสียดและเหยียบกันจนเสียชีวิตระหว่างการแข่งขันฟุตบอลที่สนามกีฬากันจูรูฮันในอำเภอมาลัง จังหวัดชวาตะวันออก ประเทศอินโดนีเซีย หลังจากที่สโมสรฟุตบอลอาเรมาแพ้เปอร์เซบายาซูราบายา ผู้สนับสนุนของอาเรมาบุกเข้าสนามและก่อการจลาจล โจมตี และทำร้ายตำรวจกับผู้เล่นของเปอร์เซบายา ตำรวจควบคุมจลาจลพยายามควบคุมสถานการณ์ด้วยการยิงแก๊สน้ำตาในสนาม ผู้คนในสนามจึงพากันหลบหนีออกจากสนามและเป็นผลให้เกิดการเหยียบกันเสียชีวิต[4]

จำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บที่รายงานคือ 547 ราย ณ วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2565[5] รายชื่อผู้เสียชีวิต 131 รายได้รับการเปิดเผยในวันที่ 4 ตุลาคม[2] เหตุการณ์นี้ถือเป็นภัยพิบัติเกี่ยวกับกีฬาฟุตบอลที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในอินโดนีเซีย ในเอเชีย และอันดับที่สองของโลก รองจากภัยพิบัติที่สนามกีฬาแห่งชาติในเปรู เมื่อ พ.ศ. 2507 ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 328 คน[6]

ภูมิหลัง[แก้]

อันธพาลฟุตบอลมีมาอย่างยาวนานในประเทศอินโดนีเซีย และมีแฟนบอลเสียชีวิตหลายสิบคนมาตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1990 แฟนคลับของทีมฟุตบอลหลายทีมในอินโดนีเซียมี "ผบ." (komandan) เป็นผู้นำ ในการแข่งขันหลายนัดจะมีตำรวจควบคุมจลาจลประจำการอยู่ และพร้อมเข้าควบคุมสถานการณ์หากแฟนบอลบุกรุกเข้าสนาม[7] ใน พ.ศ. 2561 เกิดเหตุการณ์จลาจลที่สนามกีฬากันจูรูฮันหลังนัดการแข่งขันระหว่างสโมสรฟุตบอลอาเรมากับเปอร์ซิบบันดุง เป็นผลให้มีผู้เสียชีวิตหลังจากที่ตำรวจพยายามสลายจลาจลด้วยแก๊สน้ำตา[8]

เหตุการณ์[แก้]

ตลอดการแข่งขัน สถานการณ์ความปลอดภัยเป็นไปอย่างราบรื่นปกติ[9] แต่เมื่อการแข่งขันสิ้นสุดลง เปอร์เซบายาเอาชนะอาเรมาด้วยคะแนน 3–2 เป็นผลให้มีแฟนบอลของอาเรมาราว 3,000 คน บุกรุกเข้าไปในสนาม[10][11] พวกเขาตามหาตัวผู้เล่นและเจ้าหน้าที่ของทีมเพราะต้องการคำอธิบายว่าเหตุใดจึงแพ้ให้แก่คู่แข่งอย่างเปอร์เซบายา "หลังจากที่ไม่เคยแพ้ในบ้านมาตลอด 23 ปี"[12] เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและตำรวจพยายามกันไม่ให้แฟนบอลของอาเรมาลงมาในสนามเพิ่ม แต่ไม่สำเร็จ[9] แฟนบอลของอาเรมาเริ่มขว้างปาสิ่งของ ทุบทำลายรถตำรวจ และจุดไฟในสนาม[10] เป็นผลให้ผู้เล่นของเปอร์เซบายาต้องรีบไปหลบซ่อนตัวในห้องเปลี่ยนชุด[9] จากนั้นต้องเข้าไปหลบภายในรถยนต์หุ้มเกราะของตำรวจเป็นเวลาเกือบชั่วโมงก่อนจะสามารถออกจากสนามได้[9] ตำรวจเริ่มยิงแก๊สน้ำตาเพื่อสลายจลาจลในสนาม แต่ยังยิงแก๊สน้ำตาเข้าไปที่อัฒจันทร์ 12, อัฒจันทร์ 14, อัฒจันทร์ใต้ และอัฒจันทร์เหนือด้วย[10][13][14][15][10] ทำให้บรรดาแฟนบอลของอาเรมาตื่นตระหนกและวิ่งกรูกันไปยังทางออกทางเดียว (คือประตู 12) เพื่อหนีแก๊สน้ำตา[16] จนเกิดการเบียดเสียดและเหยียบกันเสียชีวิตขึ้น[17] นอกจากนี้ยังมีรายงานการยิงแก๊สน้ำตานอกสนามด้วย[18]

อ้างอิง[แก้]

  1. Baraputr, Valdya; Davis, Matthew. "Indonesia: At least 125 dead in football stadium crush". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2022. สืบค้นเมื่อ 2 October 2022.
  2. 2.0 2.1 Pythag Kurniati, บ.ก. (4 October 2022). "Ini Nama-nama 131 Korban Tewas dalam Tragedi Kanjuruhan". Kompas.com (ภาษาอินโดนีเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 October 2022. สืบค้นเมื่อ 4 October 2022.
  3. Budi, Mulia. "Update Data Korban Tragedi Kanjuruhan: 131 Orang Meninggal, 547 Luka". detiknews (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 2022-10-07.
  4. "Stadium tragedy exposes Indonesia's troubled soccer history". Associated Press. 3 October 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2022. สืบค้นเมื่อ 4 October 2022.
  5. Budi, Mulia. "Update Data Korban Tragedi Kanjuruhan: 131 Orang Meninggal, 547 Luka". detiknews (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 2022-10-07.
  6. "Fakta-Fakta Tragedi Kanjuruhan Tewaskan 125 Orang, Ratusan Terluka" [Facts About the Kanjuruhan Tragedy: 125 Killed, Hundreds of Others Injured]. CNN Indonesia (ภาษาอินโดนีเซีย). 3 October 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2022. สืบค้นเมื่อ 3 October 2022.
  7. Cave, Damien (1 October 2022). "Riots at Indonesian Soccer Match Leave Several Fans Dead". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2022. สืบค้นเมื่อ 2 October 2022.
  8. "Terulang, Tragedi Kelam 'Kanjuruhan Disaster' 2018 Silam". VIVA.co.id (ภาษาอินโดนีเซีย). 2 October 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2022. สืบค้นเมื่อ 2 October 2022.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 "Kronologi Kerusuhan Usai Arema vs Persebaya yang Tewaskan 127 Orang". CNN Indonesia (ภาษาอินโดนีเซีย). 2 October 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2022. สืบค้นเมื่อ 2 October 2022.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 "Kericuhan di Kanjuruhan, Pemain Arema FC Bantu Evakuasi Korban". KOMPAS.com (ภาษาอินโดนีเซีย). 1 October 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2022. สืบค้นเมื่อ 2 October 2022.
  11. "Dari 127 Korban Tewas, 34 Orang Meninggal di Stadion Kanjuruhan dalam Kerusuhan di Laga Arema FC vs Persebaya Surabaya". Okezone (ภาษาอินโดนีเซีย). 2 October 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2022. สืบค้นเมื่อ 2 October 2022.
  12. "Indonesia soccer match death toll clims to 174 die as tear gas triggers crush". www.cbsnews.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-10-02.
  13. Aminudin, Muhammad. "Alasan Polisi Tembakkan Gas Air Mata di Stadion Kanjuruhan: Suporter Sudah Anarkis". detikjatim (ภาษาอินโดนีเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2022. สืบค้นเมื่อ 2 October 2022.
  14. Media, Kompas Cyber (2022-10-02). "Tragedi Kanjuruhan Malang, Tofan Selamat, Sempat Sesak Napas Usai Hirup Gas Air Mata dan Sulit Dapat Jalan Keluar". KOMPAS.com (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 2022-10-02.
  15. Media, Kompas Cyber (2022-10-02). "Kesaksian Suporter Arema Melihat Korban "Pergi" Sebelum Kembali Halaman all". KOMPAS.com (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 2022-10-02.
  16. Media, Kompas Cyber (2022-10-02). "Tragedi Kanjuruhan Malang, Tofan Selamat, Sempat Sesak Napas Usai Hirup Gas Air Mata dan Sulit Dapat Jalan Keluar Halaman 2". KOMPAS.com (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 2022-10-02.
  17. "Dilarang FIFA, Kenapa Ada Tembakan Gas Air Mata di Stadion Kanjuruhan?". CNN Indonesia (ภาษาอินโดนีเซีย). 2 October 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 October 2022. สืบค้นเมื่อ 2 October 2022.
  18. Media, Kompas Cyber (2022-10-02). "Kesaksian Suporter Arema Melihat Korban "Pergi" Sebelum Kembali Halaman all". KOMPAS.com (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 2022-10-02.