คลื่นความเย็นในทวีปยุโรป พ.ศ. 2555

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นี่คือรายชื่อของ ผลกระทบจากอากาศหนาวจัด พ.ศ. 2555

จุดเริ่มต้นเหตุการณ์[แก้]

นับจากวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555 ถึง 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ยอดผู้เสียชีวิตจากภัยหนาวในยุโรปเพิ่มขึ้นเป็น 600 ราย[1] โดยยูเครนมีผู้เสียชีวิตมากที่สุด 131 คน โปแลนด์อีก 107 ศพ ฮังการี 35 ศพ เซอร์เบีย 20 ศพ และอีก 10 ศพในคอซอวอ และฟินแลนด์ มีอุณหภูมิลดต่ำ -40 องศาเซลเซียส ช่วงกลางคืน ส่วนทางตะวันตกเฉียงใต้ของสาธารณรัฐเช็ก อุณหภูมิดิ่งลงไปแตะ -38.1 องศาเซลเซียส

ในช่วงสัปดาห์ดังกล่าวชาวบ้านเกือบ 1,600 ราย ต้องเข้ารักษาโรคน้ำแข็งกัดและภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำตามสถานพยาบาลต่างๆ ขณะเดียวกันประชาชนอีกหลายหมื่นคนต้องพากันหลบหนีลมหนาวไปหาความอบอุ่นและอาหารร้อนๆทานตามศูนย์พักพิงชั่วคราว 2,000 แห่งทั่วประเทศ ขณะที่สนามบินในหลายประเทศประสบปัญหาในการขึ้นและลงจอกทำให้เที่ยวบินล่าช้าหรือยกเลิกเที่ยวบิน หรือทำการลงจอดในสนามบินใกล้เคียง

ทวีปยุโรป[แก้]

สภาพอากาศหนาวเย็นคุกคามยุโรปต่อเนื่อง และยอดผู้เสียชีวิตพุ่งเป็นกว่า 550[2] รายนับจากปลายเดือน ม.ค. ถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 โดยที่แม่น้ำดานูบกลายเป็นน้ำแข็งและในหลายประเทศประกาศห้ามใช้เดินเรืออย่างเด็ดขาด[3]โดยเจ้าหน้าที่การท่าเรือของเบลเกรด ยูโกสลาเวีย เปิดเผยในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ว่า แพน้ำแข็งที่มีความหนาประมาณ 1.7 ฟุตได้ปกคลุมแม่น้ำดานูบเป็นระยะทางยาวหลายร้อยกิโลเมตร จากความยาวทั้งหมด 1,780 กิโลเมตร โดยครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 6 ประเทศ จากทั้งหมด 9 ประเทศที่แม่น้ำนี้ไหลผ่าน และส่งผลให้เรือจำนวนมากติดอยู่ตามท่าเรือต่าง ๆ ของแม่น้ำสายที่มีความจอแจที่สุดในยุโรปสายนี้[4]

ประเทศเอสโตเนีย[แก้]

ประเทศเอสโตเนียต่างแถลงในสัปดาห์เดียวกันว่าพบเหยื่ออากาศหนาวรายแรกของประเทศ โดยในเอสโตเนีย พบชายคนหนึ่งนอนหนาวตายบนถนนในเมืองทาลลินน์ ส่วนที่ฝรั่งเศส ชายวัย 82 ปี เสียชีวิตจากภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำในหมู่บ้านเลมแบร์ก ทางเหนือของประเทศ

ประเทศมอนเตเนโกร[แก้]

มอนเตเนโกรประกาศภาวะฉุกเฉินหลังหิมะปิดกั้นถนนและทางรถไฟเกือบทั่วประเทศ โดยมีผู้เสียชีวิตแล้ว 3 คน ส่วนประชาชนกว่า 50 คนต้องติดค้างอยู่บนขบวนรถไฟทางตอนเหนือมานานกว่า 2 วันแล้ว ท่ามกลางความพยายามเข้าไปช่วยเหลือของหน่วยกู้ภัย

ประเทศฝรั่งเศส[แก้]

ในฝรั่งเศส ด้วยสภาพอากาศที่หนาวเหน็บทำให้ประชาชนต้องพึ่งระบบทำความร้อนมากขึ้น ดังนั้นจึงคาดหมายว่าในปีนี้ตัวเลขการใช้ไฟฟ้าน่าจะทุบสถิติสูงสุดที่ทำไว้เมื่อปี 2010 ขณะที่เจ้าหน้าที่ต้องร้องขอผู้บริโภคในบางแคว้นให้งดใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างน้อย 4 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อป้องกันปัญหาไฟดับ นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสได้แถลงข่าวผู้เสียชีวิตรายแรกจากอากาศหนาวเช่นกัน โดย เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ มีสถิติผู้เสียชีวิต 6 ราย

ประเทศเนเธอร์แลนด์[แก้]

เนเธอร์แลนด์ อุณหภูมิก็ลดต่ำลงเหลือเพียง -21 องศาเซลเซียส ซึ่งนับเป็นสถิติที่ต่ำที่สุดในรอบ 27 ปี ส่งผลให้เที่ยวบินหลายสิบเที่ยวที่ลงจอดที่สนามบินนานาชาติชิโพล กรุงอัมสเตอร์ดัม ต้องประสบปัญหาล่าช้า

สหราชอาณาจักร[แก้]

สภาพอากาศหนาวจัดส่งผลให้สนามบินนานาชาติฮีทโทรว์ กรุงลอนดอน ต้องยกเลิกเที่ยวบินถึง 1300เที่ยวหรือประมาณร้อยละ 30 ในขณะที่การจราจรบนท้องถนนประสบปัญหาอย่างหนัก เนื่องจากมีหิมะกีดขวางบนพื้นผิวการจราจรจนประชาชนสัญจรไปมาได้อย่างยากลำบาก

ประเทศลิทัวเนีย[แก้]

มีอุณหภูมิติดลบ 31 องศา ยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็น 23 ราย

ประเทศโปแลนด์[แก้]

ยอดผู้เสียชีวิตในโปแลนด์เพิ่มเป็น 107 ราย จากอุณหภูมิที่ติดลบ 27 องศา และกระทรวงมหาดไทยขอให้ประชาชนตรวจสอบเครื่องทำความอุ่น หลังจากมีบางคนเสียชีวิตเพราะสูดดมก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เข้าไปในระบบหายใจระบบเครื่องทำความอุ่นที่ผิดพลาดจากอากาศหนาวจัด ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุไฟไหม้บ้านพักและอพาร์ตเมนต์ของประชาชนโดยมีผู้เสียชีวิตไป 8 ราย

ประเทศคอซอวอ[แก้]

เกิดหิมะถล่มเข้าใส่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในหุบเขา ทำให้ชาวบ้าน 10 คนติดอยู่ใต้หิมะสูง 10 เมตรหิมะ โดยมีผู้เสียชีวิต 1 ราย[5] กองกำลังรักษาสันติภาพของนาโตส่งเฮลิคอปเตอร์ไปช่วยชาวบ้าน แต่ไม่สามารถลงจอดได้เพราะหมอกหนา

ประเทศโรมาเนีย[แก้]

โรมาเนียรายงานผู้เสียชีวิต 68 รายนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหม และรัฐมนตรีมหาดไทยบินไปยังแคว้นบูโซ ทางภาคตะวันออก ซึ่งเป็นพื้นที่หนึ่งที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก พร้อมเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่เร่งมือเพื่อลำเลียงอาหารทางอากาศไปยังหมู่บ้านบางแห่งที่อาหารกำลังร่อยหรอ

ทางการเจ้าหน้าที่คาดว่าชาวบ้าน 30,000 คนในโรมาเนียยังถูกตัดขาด และอีกกว่า 110,000 คนในประเทศแถบคาบสมุทรบอลข่านก็ถูกตัดขาดเช่นกัน รวมถึง 60,000 คนในมอนเตเนโกร หรือคิดเป็นเกือบ 10% ของประชากรทั้งประเทศ

ประเทศฮังการี[แก้]

ฮังการีมีผู้เสียชีวิต 35 ราย

ประเทศรัสเซีย[แก้]

โฆษกกระทรวงสาธารณสุขรัสเซียแถลงว่า มีผู้เสียชีวิตจากสภาพอากาศหนาวเย็นในประเทศแล้วอย่างน้อย 110 คนนับตั้งแต่ต้นปี ซึ่งข้อมูลผู้เสียชีวิตดังกล่าวไม่นับรวมเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ขณะที่มีรายงานโรงเรียนหลายแห่งถูกปิด และประชาชนจำนวนมากไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้ ท่ามกลางอุณหภูมิหนาวเย็นจัด โดยอุณหภูมิทั่วรัสเซียเมื่อเช้านี้อยู่ที่ระหว่างลบ 22 องศาเซลเซียส-ลบ 33 องศาเซลเซียส[6]

ประเทศอิตาลี[แก้]

ถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 อิตาลีมีผู้เสียชีวิต 17 ราย[7]

ประเทศบัลแกเรีย[แก้]

หมู่บ้านไบเซอร์ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของบัลแกเรีย เขื่อนที่อยู่ใกล้หมู่บ้าน เกิดแตก ทำให้ทั้งหมู่บ้านจมอยู่ใต้น้ำเย็นจัดที่สูงถึง 2.5 เมตร ส่วนอีก 4 คนเสียชีวิตขณะอยู่ในรถยนต์ที่ถูกพัดตกจากสะพาน ลงไปในแม่น้ำ

ประเทศเซอร์เบีย[แก้]

ด้านกรุงเบลเกรด เมืองหลวงเซอร์เบีย ดำเนินมาตรการจำกัดการใช้ไฟฟ้าเพราะไฟฟ้าทำท่าจะขาดแคลน โดยได้มีการขอร้องบริษัทต่างๆ ให้ลดกิจกรรมลงให้เหลือน้อยที่สุด ทั้งยังประกาศให้วันศุกร์ที่ผ่านมา (10 ก.พ.) เป็นวันที่ไม่ต้องทำงาน เพิ่มเติมจากวันหยุดเนื่องในวันชาติเมื่อวันพุธและพฤหัสบดี (8-9 ก.พ.) มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 20 รายโดยนักเศรษฐศาสตร์ระบุว่าสภาพอากาศที่หนาวเย็นอาจทำให้เซอร์เบียมีความเสียหายคิดเป็นมูลค่ากว่า 500 ล้านยูโร หรือราว 2 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้อุตสาหกรรมกว่า 2,000 แห่งต้องหยุดชะงักและต้องสั่งปิดโรงเรียนทั้งหมดไปจนถึงวันที่ 20 กุมภาพันธ์นี้ โดยพายุหิมะยังคงพัดถล่มเซอร์เบียทำให้ถนนหนทางต่างๆถูกปิดและการจราจรบนทางหลวงหลักก็เคลื่อนตัวได้อย่างช้าๆ[8]วันที่ 20กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 น้ำแข็งที่ละลายในแม่น้ำบูลดานูบได้ละลายเป็นก้อนจำนวนมหาศาลส่งผลให้น้ำแข็งเคลื่อนที่ไปตามกระแสน้ำและกระแทกสร้างความเสียหายกับเรือรวมถึงวัตถุอื่น ๆ และสายน้ำที่เกิดจากภาวะน้ำแข็งละลายได้ซัดให้เรือหลายลำเคลื่อนกระแทกกันก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ[9]

ทวีปเอเชีย[แก้]

ประเทศญี่ปุ่น[แก้]

รัฐบาลญี่ปุ่น ต้องส่งเจ้าหน้าที่ช่วยกวาดหิมะตามบ้านเรือนและสถานที่ต่างๆ ในเมืองซูนัง จังหวัดนีงาตะ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เกิดหิมะตกหนัก โดยมีหิมะสูง 3.40 เมตร เบื้องต้นมีรายงานผู้เสียชีวิตมากกว่า 50 คน[10] ส่วนใหญ่เป็นคนสูงอายุ ขณะที่ผู้เสียชีวิตส่วนหนึ่งเกิดจากพลัดตกจากหลังคาเพราะขึ้นไปกวาดหิมะป้องกันหลังคาถล่ม แบ่งเป็นจังหวัดนีงาตะ 12 ราย จังหวัดฮกไกโด 10 ราย จังหวัดอาโอโมริ 9 ราย บาดเจ็บ 700 รายทางตะวันตกของประเทศ และเจ้าหน้าที่แสดงความกังวลอย่างมากต่อประชาชนทางตอนเหนือจำนวนมาก ที่ยังคงต้องอาศัยอยู่ในสถานพักพิงชั่วคราว หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงและสึนามิเมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้วมีรายงานว่าในบางพื้นที่ของจังหวัดนีงาตะมีหิมะปกคลุมสูงเกือบ 3.3 เมตร ผลกระทบที่ญี่ปุ่น เก็บถาวร 2012-02-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

ส่วนทางการเผยว่าได้เตรียมพร้อมงบประมาณรับมือภัยพิบัติฉุกเฉินเพื่อใช้ในการเก็บกวาดหิมะ พร้อมเตือนประชาชนให้พร้อมรับมือหิมะตกหนักระลอกใหม่ และเรียกร้องให้ผู้ที่ออกไปเก็บกวาดหิมะ ทำงานเป็นกลุ่มและสวมใส่อุปกรณ์นิรภัยเพื่อป้องกันหิมะถล่มทับ

คำสั่งเตรียมพร้อมดังกล่าวมีออกมาหลังจากนักพยากรณ์อากาศเตือนว่าจะยังคงมีหิมะตกหนักในหลายจังหวัดตามแนวชายฝั่งทะเลของญี่ปุ่นต่อไปอีกหลายวัน

เป็นที่น่าสังเกตว่าภาวะหิมะตกหนักที่ญี่ปุ่น ชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เป็นสถานการณ์คล้ายกับที่กำลังเกิดขึ้นในอีกซีกโลกหนึ่ง


ต่อมาวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ภาคเหนือของญี่ปุ่นกำลังเผชิญกับหิมะตกหนักเพิ่มขึ้นในวันดังกล่าว ขณะที่สภาพอากาศหนาวจัดในช่วงฤดูหนาวยังคงทำให้เกิดความเดือดร้อนในหลายพื้นที่ของประเทศ และมีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 83 คน ด้านนักพยากรณ์อากาศคาดว่า หิมะจะตกหนักมีความหนาถึง 60 เซนติเมตรในหลายพื้นที่ทางเหนือของเกาะฮกไกโดและทางเหนือของเกาะฮอนชูในช่วง 24 ชั่วโมง ขณะที่เมืองซุกายุ ในจังหวัดเอโอโมริ ซึ่งมีอุณหภูมิติดลบ 12.8 องศาเซลเซียสวันนี้ จะมีหิมะตกเพิ่มขึ้นถึง 4 เมตร[11]

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 สืบเนื่องจากนักศึกษาชาวญี่ปุ่นราว 60 คนมีอาการเป็นไข้หวัด เจ้าหน้าที่ของประเทศนิวซีแลนด์ได้ดำเนินการกักตัวผู้โดยสารทั้งหมด 274 คนไว้บนเครื่องบินราว 3ชั่วโมงและส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบเบื้องต้นพบเป็นไข้หวัดตามฤดูกาลเท่านั้น[12]

ประเทศจีน[แก้]

วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555 มณฑลกว่างโจว ทางภาคใต้ของจีน เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากสภาพอากาศที่หนาวจัด พื้นที่ส่วนใหญ่ถูกปกคลุมด้วยน้ำแข็ง เมืองและตำบล กว่า 100 แห่ง ต้องออกประกาศเตือนภัยจากสภาวะน้ำแข็งที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ยังมีฝนตกลงมาอีก ทำให้เกิดหมอกลงหนาจัด ส่งผลต่อทัศนวิสัยที่เลวร้าย ผู้ใช้รถต้องขับขี่ด้วยความระมัดระวัง และทางการต้องระดมเจ้าหน้าที่ออกกวาดหิมะออกจากพื้นถนนขณะที่ มณฑลกวางตุ้งคาดว่าจะมีฝนตกอีกหลายวัน ท่ามกลางสภาพอากาศที่หนาวเย็นจากอุณหภูมิที่ลดต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส ในบริเวณทางหลวงที่เชื่อมต่อระหว่างกรุงปักกิ่ง เกาะฮ่องกง และมาเก๊า[13]

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 หลายพื้นที่ทางภาคเหนือของจีน ต้องประสบกับอากาศที่หนาวเย็นจัดในรอบหลายสิบปี อุณหภูมิติดลบถึง 40 องศาเซลเซียส น้ำในแม่น้ำลำคลองจับตัวกันเป็นก้อนน้ำแข็ง ขณะที่ทางการมีคำเตือนว่า มวลอากาศระลอกใหม่กำลังจะแผ่ปกคลุมในช่วง 2 วันนี้ โดยอุณหภูมิจะลดลงอีก 6-8 องศาเซลเซียส ในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออก แต่ในบางพื้นที่ของเขตมองโกเลียใน และทางตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิจะลดต่ำลงได้ถึงลบ 14 องศาเซลเซียส ขณะที่ในเขตปกครองตนเองทิเบตมีรายงานว่า ฝูงปศุสัตว์พากันล้มตายไปแล้วกว่า 2,600 ตัว[14]

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 น้ำตกหู้โขว์ในจีน แข็งตัวเนื่องจากอากาศที่หนาวจัด เนื่องจากอากาศหนาวอุณหภูมิลบ 17 องศา[15]

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมณฑลจี๋หลินมณฑลเจียงซีมณฑลอานฮุยในภาคตะวันตกเฉียงเหนือเผชิญกับหิมะตกหนักบางพื้นที่มีหิมะตกหนักถึง 200 มิลลิเมตรและมีหมอกลงจัด สภาพอากาศที่เหลวร้ายทำให้ต้องปิดทางด่วน ส่วนท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่ผู่ตง มีเที่ยวบินยกเลิกจำนวน 138 เที่ยวบิน [16]

ประเทศไทย[แก้]

นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่า ขณะนี้มีพื้นที่ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยหนาว) 33 จังหวัด 423 อำเภอ 3,494 ตำบล 125,689 หมู่บ้าน แยกเป็น ภาคเหนือ 13 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก น่าน ตาก พะเยา ลำปาง ลำพูน เพชรบูรณ์ และกำแพงเพชร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 17 จังหวัด ได้แก่ สกลนคร เลย หนองคาย นครพนม อุบลราชธานี มหาสารคาม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ บึงกาฬ อุดรธานี หนองบัวลำภู ขอนแก่น สุรินทร์ ชัยภูมิ และนครราชสีมา ภาคกลาง 3 จังหวัด ได้แก่ สุพรรณบุรี ราชบุรี และนครปฐม[17]ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 พบผู้เสียชีวิต 1 ราย ที่จังหวัดสกลนคร ได้แก่ นายสาคร ราชบัญดิษฐ์ อายุ 39 ปี[18]

ประเทศอัฟกานิสถาน[แก้]

อากาศหนาวจัดติดลบ 16 องศาเซลเซียสและมีหิมะตกหนักที่สุดใน 15 ปี และภัยหนาวตลอดหนึ่งเดือนนี้ทำให้มีเด็กเสียชีวิต 24 ราย เกิดไฟฟ้าดับและการจราจรหยุดชะงัก[19]วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. มีรายงานผู้เสียชีวิต 41 รายจากอากาศเย็นจัดในเมือง 3 แห่ง ได้แก่ คาบูล กอร์ และบาดัคชาน โดยผู้เสียชีวิตที่กรุงคาบูล มีจำนวน 24 คน ส่วนใหญ่เป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในศูนย์อพยพหนีการสู้รบจากพื้นที่ต่างๆ ศูนย์พยากรณ์อากาศ รายงานว่า กรุงคาบูลเผชิญกับสภาพอากาศหนาวรุนแรงที่สุดและหิมะตก [20]

ประเทศอิสราเอล[แก้]

สภาพอากาศแปรปรวน ยังเกิดขึ้นในแถบตะวันออกกลางและอิสราเอล โดยพื้นที่ทางตอนเหนือของอิสราเอล หิมะทับถมสูงถึง 70 เซนติเมตร จนทางการต้องประกาศหยุดเรียน ส่วนถนนก็ใช้การไม่ได้หลายสาย[21]

ปาเลสไตน์[แก้]

ทั้งในเขตเวสต์แบงค์ และนครเยรูซาเล็ม ตื่นตาตื่นใจเมื่อมีหิมะโปรยปรายปกคลุมท้องถนน และบ้านเรือนขาวโพลนเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี แม้หิมะจะส่งผลทำให้การคมนาคมหยุดชะงัก กระทั่งกวาดหิมะเสร็จ แต่เด็กๆ ทั้งยิว และปาเลสไตน์กลับสนุกสนานเพราะได้เล่นหิมะเต็มที่ เช่นเดียวกับที่เมืองรามัลเลาะห์ในเขตเวสต์ แบงค์ ทั้งวัยรุ่น และเจ้าหน้าที่ต่างขว้างหิมะเล่นกันเต็มที่ โดยมีรายงานว่าพื้นที่นี้ไม่มีหิมะตกเลยในรอบ 4ปีที่ผ่านมา[22]

ทวีปแอฟริกาเหนือ[แก้]

ประเทศแอลจีเรีย[แก้]

โดยมีรายงานผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุท้องถนนลื่น หรืออื่นๆ ที่มาจากสภาพความหนาวเย็นในแอลจีเรีย 16 ราย[23]

ประเทศลิเบีย[แก้]

ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ มีหิมะตกหนักในเมืองตริโปลีซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่หายากมาก[24]

การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน[แก้]

  • ประเทศบอสเนีย รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในกรุงซาราเจโว
  • ประเทศเซอร์เบีย ทางการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินใน 32 เขตพื้นที่เทศบาล
  • ประเทศกรีซ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่ เกาะไอคาเรีย และเกาะชิออส [25]ต่อมาประกาศเพิ่มในภูมิภาคเอฟรอส[26]
  • ประเทศอิตาลี ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินด้านพลังงาน[27]
  • ประเทศรัสเซีย ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในภูมิภาคครัสโนดาร์[28]
  • ประเทศมอนเตเนโกรประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั้งประเทศ[29]

ปฏิกิริยา[แก้]

ผู้คนจำนวนหนึ่งพากันไปเล่นสเกตในช่วงที่แม่น้ำลำคลองและทะเลสาบกลายเป็นน้ำแข็ง รวมถึงชาวเยอรมนีหลายพันคนที่พากันไปยังทะเลสาบอัสเซนนัลสเตอร์ในเมืองฮัมบวร์ค ซึ่งกลายเป็นน้ำแข็งครั้งแรกในรอบ 15 ปี ด้านนักท่องเที่ยวสาธารณรัฐเช็กพากันไปที่หมู่บ้านวิลดา ซึ่งเป็นจุดหนึ่งที่หนาวที่สุดในประเทศ เพื่อสัมผัสอุณหภูมิติดลบ 39 องศาเซลเซียส เช่นเดียวกับบางพื้นที่ของสวิตเซอร์แลนด์ที่หนาวเป็นประวัติการณ์ด้วยอุณหภูมิลบ 2 องศา และหน่วยงานด้านการท่องเที่ยวกล่าวว่าหิมะที่ปกคลุมทะเลสาบฟรายบูร์ก หนาพอที่เครื่องบินจะลงจอดได้ ขณะเดียวกัน แม่น้ำดานูบในประเทศบัลแกเรียก็กลายเป็นน้ำแข็งเป็นครั้งแรกในรอบ 27 ปี จากก่อนหน้านี้ที่หลายประเทศต้องปิดเส้นทางเดินเรือบนแม่น้ำสายนี้เป็นระยะทางหลายร้อยกิโลเมตรเพราะน้ำกลายเป็นน้ำแข็งหนา

อ้างอิง[แก้]

  1. "Cold snap has killed more than 600 people in eastern Europe". Associated Press in Bucharest. the Guardian. 15 February 2012.
  2. http://www.suthichaiyoon.com/detail/22499[ลิงก์เสีย]
  3. http://www.nationchannel.com/main/news/foreign/20120209/27819541/ยุโรปวิกฤติหลายชาติเผชิญภัยหนาว/[ลิงก์เสีย]
  4. http://thainews.prd.go.th/view.php?m_newsid=255502090397&tb=N255502&return=ok&news_headline="น้ำแข็งความหนากว่า[ลิงก์เสีย] 1.7 ฟุตแผ่ปกคลุมแม่น้ำดานูบใน 6 ประเทศในยุโรป ส่งผลให้มีเรือจำนวนมากต้องจอดทิ้งไว้ตามท่าเรือต่าง ๆ "
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-14. สืบค้นเมื่อ 2012-02-13.
  6. http://thainews.prd.go.th/view.php?m_newsid=255502080435&tb=N255502&return=ok&news_headline="สภาพอากาศหนาวเย็นคร่าชีวิตประชาชนในรัสเซียไปแล้วอย่างน้อย[ลิงก์เสีย] 110 คนนับตั้งแต่ต้นปี"
  7. http://www.moneychannel.co.th/Menu6/NewsUpdate/tabid/89/newsid491/168197/Default.aspx[ลิงก์เสีย]
  8. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2012-02-14.
  9. http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9550000023383[ลิงก์เสีย]
  10. "ยอดเสียชีวิตในญี่ปุ่น 50ราย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-05. สืบค้นเมื่อ 2012-02-06.
  11. http://thainews.prd.go.th/view.php?m_newsid=255502100160&tb=N255502[ลิงก์เสีย]
  12. http://www.nationchannel.com/main/news/foreign/20120213/27819702/นิวซีแลนด์...แตกตื่นกัก60นักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่น/[ลิงก์เสีย]
  13. http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9550000012648[ลิงก์เสีย]
  14. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-05. สืบค้นเมื่อ 2012-02-24.
  15. http://news.thaipbs.or.th/video/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%82%E0%B8%82%E0%B8%A7%E0%B9%8C%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99-%E0%B9%81%E0%B8%82%E0%B9%87%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94[ลิงก์เสีย]
  16. http://news.thaipbs.or.th/video/%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B8%AD-%E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B0[ลิงก์เสีย]
  17. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-02-11.
  18. http://www.legendnews.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=539361813&Ntype=96
  19. http://www.nationchannel.com/main/news/foreign/20120211/27819608/อัฟกานิสถานหนาวสุดใน15ปี/[ลิงก์เสีย]
  20. http://www.mcot.net/cfcustom/cache_page/333210.html[ลิงก์เสีย]
  21. http://news.thaipbs.or.th/content/%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B9%8C-%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A-4-%E0%B8%9B%E0%B8%B5[ลิงก์เสีย]
  22. http://news.thaipbs.or.th/content/%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B9%8C-%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A-4-%E0%B8%9B%E0%B8%B5[ลิงก์เสีย]
  23. "แอลจีเรียเสียชีวิต 16 ราย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-09. สืบค้นเมื่อ 2012-02-07.
  24. "Snow in Tripoli, but little chance in Malta".
  25. กรีซประกาศภาวะฉุกเฉิน[ลิงก์เสีย]
  26. กรีซประกาศภาวะฉุกเฉินในภูมิภาคเอฟรอส[ลิงก์เสีย]
  27. อิตาลีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน[ลิงก์เสีย]
  28. "รัสเซียประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-10. สืบค้นเมื่อ 2012-02-10.
  29. http://www.nationchannel.com/main/news/foreign/20120213/27819685/พายุฤดูหนาวถล่มยุโรป..../[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]