ภักดีหาญส์ หิมะทองคำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ภักดีหาญ หิมะทองคำ)
ภักดีหาญส์ หิมะทองคำ
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
(2 ปี 104 วัน)
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้าอนุตตมา อมรวิวัฒน์
ถัดไปพ.อ.(พ) สรรเสริญ แก้วกำเนิด
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด29 มีนาคม พ.ศ. 2516 (50 ปี)
กรุงเทพมหานคร
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมือง
คู่สมรสมัณฑนา โห่ศิริ

ดร.ภักดีหาญส์ หิมะทองคำ (เกิด 29 มีนาคม พ.ศ. 2516) ปัจจุบันดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นอดีตสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตวังทองหลาง อดีตพิธีกร​ และอดีตนักแสดงสังกัดดาราวิดีโอทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7

ประวัติ[แก้]

ดร.ภักดีหาญส์ หิมะทองคำ เกิดเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2516 โดยมีชื่อในวงการแสดงว่า หาญส์ หิมะทองคำ และมีชื่อเล่นว่า หาญส์

ดร.ภักดีหาญส์ จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนศรีวิกรม์, มัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนนานาชาติร่วมฤดี, ปริญญาตรีจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, ปริญญาโทจากรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และปริญญาเอกจากรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

การทำงาน[แก้]

นายภักดีหาญส์เคยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครในเขตวังทองหลาง และได้รับเลือก ซึ่งในขณะนั้นนายภักดีหาญส์สังกัดพรรคไทยรักไทย ต่อมาหลังจากศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้ยุบพรรคไทยรักไทย นายภักดีหาญส์จึงได้ย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชาชน

ในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย นายภักดีหาญส์ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในเขต 6 (หนองจอก, คลองสามวา, คันนายาว และ บึงกุ่ม) กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคพลังประชาชน[1] แต่ไม่ได้รับเลือก ต่อมานายภักดีหาญส์มีชื่อเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (สหัส บัณฑิตกุล)[2] แต่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เห็นว่าไม่เหมาะสมจึงแต่งตั้ง นางสาวศุภมาส อิศรภักดี อดีต ส.ส.กรุงเทพมหานคร ดำรงตำแหน่งแทน[3]

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกรสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 15 สังกัดพรรคเพื่อไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับ ณัฎฐ์ บรรทัดฐาน บุตรชายของ บัญญัติ บรรทัดฐาน สังกัดพรรคประชาธิปัตย์[4] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[5] แทนนางสาวอนุตตมา อมรวิวัฒน์ และพ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 หลังจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ได้เข้ามาควบคุมอำนาจการบริหารประเทศ

ต่อมา นายภักดีหาญส์ได้ย้ายมาสังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา ลำดับที่ 20[6] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง จากนั้นจึงได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคชาติไทยพัฒนาและย้ายมาสังกัด พรรคเศรษฐกิจไทย[7] และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 เขาได้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตของกรุงเทพมหานคร เขต 13 สังกัดพรรคพลังประชารัฐ[8]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

ผลงาน[แก้]

ละคร[แก้]

พิธีกร[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ภักดีหาญส์ หิมะทองคำ ผู้สมัครเขต 6 กทม. พลังประชาชน ต้องการรักษาฐานเสียงคุณหญิงสุดารัตน์[ลิงก์เสีย]
  2. ตั้งเลขาฯ-ที่ปรึกษารมต.วันนี้ "วัน (เฉลิม)"เลขาฯรมช.สธ.
  3. สมัคร รื้อเพียบโผที่ปรึกษา รมต.ขี้เหร่
  4. "ณัฏฐ์ บรรทัดฐาน"ไม่ติดหนวด เบื้องหลังโค่น"ภักดีหาญส์"ผมไม่อยากเห็นนักการเมืองเป็นตัวตลก
  5. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 50/2555 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (จำนวน 12 ราย)
  6. เปิด 67 รายชื่อผู้สมัคร ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ชาติไทยพัฒนา ‘วราวุธ ศิลปอาชา’ ขึ้นเบอร์ 1
  7. ฮือฮา! เศรษฐกิจไทยขนดาราลงส.ส. เปิดตัว'เมธี 'อดีตดาราแดงฮาร์ดคอร์
  8. "ถึงคิว 'พรรคพลังประชารัฐ' เปิดหมายเลข 33 ผู้สมัครส.ส.กรุงเทพ". 2023-04-03.
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2013-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๒๒๑, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอน ๓๕ ข หน้า ๑๙๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕