ฟ็อคเคอ-วุล์ฟ เอ็ฟเว 200

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟ็อคเคอ-วุล์ฟ เอ็ฟเว 200
บทบาทเครื่องบินโดยสาร
เครื่องบินลาดตระเวน
เครื่องบินทิ้งระเบิด
ชาติกำเนิด ไรช์เยอรมัน
บริษัทผู้ผลิตฟ็อคเคอ-วุล์ฟ
บินครั้งแรก27 กรกฎาคม ค.ศ. 1937
ผู้ใช้งานหลักลุฟท์วัฟเฟอ
ลุฟต์ฮันซา
ซิงจีกาตูกงโดร์
ช่วงการผลิตค.ศ. 1937 ถึง 1944
จำนวนที่ผลิต276 ลำ

ฟ็อคเคอ-วุล์ฟ เอ็ฟเว 200 ค็อนดอร์ (เยอรมัน: Focke-Wulf Fw 200 Condor) เป็นเครื่องบินปีกชั้นเดียวสี่เครื่องยนต์ทำจากโลหะทั้งลำ พัฒนาขึ้นโดยบริษัทฟ็อคเคอ-วุล์ฟของเยอรมนีเพื่อใช้เป็นเครื่องบินพาณิชย์พิสัยไกล ลุฟท์วัฟเฟอเองก็กำลังต้องการเครื่องบินลาดตระเวน/ทิ้งระเบิดพิสัยไกลเช่นกันในขณะนั้น

ควร์ท ทังค์ เสนอแผนงานเอ็ฟเว 200 แก่ ดร.รูด็อล์ฟ ชตึสเซิล แห่งสายการบินลุฟต์ฮันซา เพื่อใช้เป็นเครื่องบินพาณิชย์ขนส่งผู้โดยสารข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกไปยังสหรัฐอเมริกา[1] โดยไม่ต้องจอด ในยุคนั้นสายการบินต่าง ๆ ยังใช้เครื่องบินทะเลเพื่อข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกอยู่ เอ็ฟเว 200 ได้รับการออกแบบให้มีเพดานบินเหนือ 3,000 เมตรเพื่อประหยัดน้ำมัน ซึ่งเป็นระดับความสูงสุดที่เครื่องบินจะบินได้โดยไม่ต้องติดตั้งห้องโดยสารปรับความดัน ในขณะที่เครื่องบินของสายการบินต่าง ๆ ในยุคนั้นบินที่ระดับไม่เกิน 1,500 เมตรเท่านั้น

หลังเปิดตัวใน ค.ศ. 1937 เอ็ฟเว 200 ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นเครื่องบินพาณิชย์ที่ทันสมัยที่สุดของโลก ก่อนที่จะเสียตำแหน่งแก่โบอิง 307 ที่เปิดตัวใน ค.ศ. 1940 สาเหตุที่เครื่องบินนี้มีฉายาว่า ค็อนดอร์ (Condor) เนื่องจากมีลักษณะเหมือนแร้งคอนดอร์

คุณลักษณะ (รุ่นย่อย Fw 200 C-3/U4)[แก้]

เครื่องบินเอ็ฟเว 200 ส่วนตัวของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์

ข้อมูลจาก เครื่องบินทหารของลุฟท์วัฟเฟอ [2]

ลักษณะทั่วไป

  • ลูกเรือ: ห้านาย
  • Capacity: นายทหารพร้อมรบ 30 นาย
  • ความยาว: 23.45 เมตร (76 ฟุต 11 นิ้ว)
  • ช่วงระหว่างปลายปีก: 32.85 เมตร (107 ฟุต 9 นิ้ว)
  • ความสูง: 6.30 เมตร (20 ฟุต 8 นิ้ว)
  • พื้นที่ปีก: 119.85 ตารางเมตร (1,290 ตารางฟุต)
  • น้ำหนักบรรทุกเปล่า: 17,005 กิโลกรัม (37,490 ปอนด์)
  • น้ำหนักทะยานสูงสุด: 22,714 กิโลกรัม (50,057 ปอนด์)
  • ขุมพลัง: BMW/Bramo 323R-2 เครื่องยนต์หม้อน้ำหล่อเย็นแถวเดี่ยวเก้าลูกสูบ จำนวน 4 เครื่องยนต์, กำลัง 895 กิโลวัตต์ (1,200 แรงม้า) ของแต่ละเครื่อง

ศักยภาพ

อาวุธ

  • ปืน:
    • ปืนกล MG 15 ขนาด 7.92 มม. หนึ่งกระบอก ตำแหน่งป้อมบนเยื้องหน้า อัตรายิง 1,125 นัดต่อนาที
    • ปืนกล MG 31 ขนาด 13 มม. หนึ่งกระบอก ตำแหน่งป้อมบนเยื้องหลัง อัตรายิง 1,000 นัดต่อนาที
    • ปืนใหญ่อากาศ MG 151 ขนาด 20 มม. หนึ่งกระบอก ตำแหน่งป้อมท้องเยื้องหน้า อัตรายิง 800 นัดต่อนาที
    • ปืนกล MG 15 ขนาด 7.92 มม. หนึ่งกระบอก ตำแหน่งป้อมท้องเยื้องหลัง อัตรายิง 750 นัดต่อนาที
    • ปืนกล MG 15 ขนาด 7.92 มม. สองกระบอก ตำแหน่งป้อมปืนอิสระด้านข้างซ้ายขวาบริเวณถังเชื้อเพลิง อัตรายิง 1,500 นัดต่อนาที
  • ลูกระเบิด: บรรทุกภายในสูงสุด 1,000 กิโลกรัม หากติดตั้งรางบรรทุกภายนอกจะได้ถึง 5,400 กิโลกรัม[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. Karl-Dieter Seifert "Der Deutsche Luftverkehr 1926 - 1945" Bernard & Graefe Verlag, Bonn 1996 ISBN 3-7637-6118-7 (in German) p. 303-304
  2. Donald 1994, p. 90
  3. Green 1967, p. 79
  4. "Focke-Wulf FW 200 C-3/U4". สืบค้นเมื่อ 27 March 2018.[ลิงก์เสีย]