ฟู่คังอัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟู่คังอัน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดค.ศ. 1748
เสียชีวิต2 กรกฎาคม ค.ศ. 1796
บุพการี
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ราชวงศ์ชิง
สังกัดกองธงเหลืองขลิบ

ฟู่คังอัน (จีน: 福康安; พินอิน: Fukang'an;[1][2] ค.ศ. 1748 - 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1796) ชื่อรอง เหยาหลิน (瑤琳) เป็นขุนนางชาวแมนจูและขุนพลแห่งราชวงศ์ชิง เขามาจากตระกูลฟู่ฉา และกองธงเหลืองขลิบของแปดกองธง

ฟู่เหิงบิดาของฟู่คังอัน น้องชายของจักรพรรดินีเซี่ยวเสียนฉุน ดำรงตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีในช่วงกลางรัชสมัยของจักรพรรดิเฉียนหลง ฟู่คังอันดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ตลอดรัชสมัยของจักรพรรดิเฉียนหลง

การจลาจล Salar Jahriyya Sufi ในกานซูถูกปราบปรามโดยฟู่คังอัน พร้อมกับอากุ้ย และหลี่ ฉื่อเหยา (李世堯) ในปี ค.ศ. 1784[3][4] ในขณะที่เหอเชิน ถูกเรียกตัวกลับระหว่างการปราบปรามจลาจล[5]

ในปี ค.ศ. 1787 ผู้คน 300,000 คนเข้าร่วมในการกบฏของ Lin Shuangwen ในไต้หวันเพื่อต่อต้านราชสำนักชิง ฟู่คังอันสั่งทหาร 20,000 นายเข้าปราบปรามการก่อจลาจล[6] ในปี ค.ศ. 1790 กองทัพกูรข่าของเนปาลได้รุกรานทิเบต และองค์ทะไลลามะองค์ที่ 8 ชัมเป กยาโซ ได้หลบหนีออกจากลาซาและได้ร้องขอต่อราชสำนักชิงให้ช่วยเหลือ จักรพรรดิเฉียนหลงจึงแต่งตั้งฟู่คังอันให้เป็นผู้บัญชาการรบที่ทิเบต[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. Anonymous 1795, p. 84
  2. Academia Sinica. "Fuk'anggan". Academia Sinica. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-06. สืบค้นเมื่อ 2018-01-05.(ในภาษาจีน)
  3. "Fu-k'ang-an". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  4. "Li Shih-yao". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  5. "Ho-shên". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  6. "A-kuei". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  7. "Nepal and Tibetan conflict". Official website of Nepal Army. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-20. สืบค้นเมื่อ 2017-04-29.

แหล่งข้อมูล[แก้]