ข้ามไปเนื้อหา

ฟุตบอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย รุ่นอายุไม่เกิน 20 ปี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟุตบอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย รุ่นอายุไม่เกิน 20 ปี
ผู้จัดเอเอฟซี
ก่อตั้งค.ศ. 2002; 23 ปีที่แล้ว (2002)
ภูมิภาคเอเชีย
จำนวนทีม12
ทีมชนะเลิศปัจจุบัน เกาหลีเหนือ (สมัยที่ 2)
ทีมที่ประสบความสำเร็จที่สุด ญี่ปุ่น (6 สมัย)
ฟุตบอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย รุ่นอายุไม่เกิน 20 ปี 2024

ฟุตบอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย รุ่นอายุไม่เกิน 20 ปี (อังกฤษ: AFC U-20 Women's Asian Cup) เป็นการแข่งขันฟุตบอลสำหรับทีมชาติหญิงอายุไม่เกิน 20 ปี จัดโดย สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (เอเอฟซี) ทุก ๆ สองปี และทำหน้าที่เป็นการแข่งขันรอบคัดเลือกของฟุตบอลโลกหญิงอายุไม่เกิน 20 ปี การแข่งจัดขั้นครั้งแรกใน ค.ศ. 2002 ในชื่อ ฟุตบอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย รุ่นอายุไม่เกิน 19 ปี โดยกำหนดอายุสูงสุดไว้ที่ 19 ปี ก่อนจะเพิ่มกำหนดอายุสูงสุดไว้ที่ 20 ปี ตั้งแต่ ค.ศ. 2022[1][2]

ผู้ชนะเลิศปัจจุบันคือ เกาหลีเหนือ โดยชนะญี่ปุ่นด้วยผลประตู 2–1 ในนัดชิงชนะเลิศ 2024 ประเทศที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในรายการนี้คือญี่ปุ่น โดยชนะเลิศหกสมัย

รูปแบบ

[แก้]

ไม่มีการแข่งขันรอบคัดเลือกในปี 2002 และ 2004 โดยทีมทั้งหมดได้เข้าร่วมในรอบแบ่งกลุ่มโดยตรง รอบคัดเลือกนำมาใช้ในการแข่งขันปี 2006 โดยมีแปดทีมที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย แปดทีมจะแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มละสี่ทีม ทีมที่จบสองอันดับแรกของกลุ่มจะผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศ จำนวนทีมลดลงเหลือหกทีมในปี 2011 และ 2013 โดยทุกทีมแข่งขันแบบพบกันหมด รูปแบบการแข่งขันก่อนปี 2011 นำกลับมาใช้อีกครั้งตั้งแต่การแข่งขันในปี 2015 เป็นต้นไป การแข่งขันจะขยายจำนวนทีมจาก 8 เป็น 12 ทีม ตั้งแต่ปี 2026 เป็นต้นไป[3]

ผลการแข่งขัน

[แก้]
ชื่อการแข่งขัน
  • ค.ศ. 2002–2019: ฟุตบอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย รุ่นอายุไม่เกิน 19 ปี
  • ค.ศ. 2022–ปัจจุบัน: ฟุตบอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย รุ่นอายุไม่เกิน 20 ปี
ครั้งที่ ปี เจ้าภาพ นัดชิงชนะเลิศ นัดชิงอันดับที่สาม
ชนะเลิศ ผลประตู รองชนะเลิศ อันดับที่สาม ผลประตู อันดับที่สี่
1 2002  อินเดีย
ญี่ปุ่น
2–1
จีนไทเป

จีน
4–1
เกาหลีเหนือ
2 2004  จีน
เกาหลีใต้
3–0
จีน

เกาหลีเหนือ
4–0
ไทย
3 2006  มาเลเซีย
จีน
1–0
เกาหลีเหนือ

ออสเตรเลีย
3–2
ญี่ปุ่น
4 2007  จีน
เกาหลีเหนือ
1–0
ญี่ปุ่น

จีน
1–0
เกาหลีใต้
5 2009  จีน
ญี่ปุ่น
2–1
เกาหลีใต้

เกาหลีเหนือ
1–0
จีน
6 2011  เวียดนาม
ญี่ปุ่น
พบกันหมด
เกาหลีเหนือ

จีน
พบกันหมด
เกาหลีใต้
7 2013  จีน
เกาหลีใต้
พบกันหมด
เกาหลีเหนือ

จีน
พบกันหมด
ญี่ปุ่น
8 2015  จีน
ญี่ปุ่น
0–0 (ต่อเวลาพิเศษ)
(ดวลลูกโทษ 4–2)

เกาหลีเหนือ

เกาหลีใต้
4–0
จีน
9 2017  จีน
ญี่ปุ่น
1–0
เกาหลีเหนือ

จีน
3–0
ออสเตรเลีย
10 2019  ไทย
ญี่ปุ่น
2–1
เกาหลีเหนือ

เกาหลีใต้
9–1
ออสเตรเลีย
2022  อุซเบกิสถาน ยกเลิกเนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19[4]
11 2024  อุซเบกิสถาน
เกาหลีเหนือ
2–1
ญี่ปุ่น

ออสเตรเลีย
1–0
เกาหลีใต้

ผลงานแบ่งตามชาติ

[แก้]
ชาติ ชนะเลิศ รองชนะเลิศ อันดับที่สาม อันดับที่สี่
 ญี่ปุ่น 6 (2002, 2009, 2011, 2015, 2017, 2019) 2 (2007, 2024) 2 (2006, 2013)
 เกาหลีเหนือ 2 (2007, 2024) 6 (2006, 2011, 2013, 2015, 2017, 2019) 2 (2004, 2009) 1 (2002)
 เกาหลีใต้ 2 (2004, 2013) 1 (2009) 2 (2015, 2019) 3 (2007, 2011, 2024)
 จีน 1 (2006) 1 (2004) 5 (2002, 2007, 2011, 2013, 2017) 2 (2009, 2015)
 จีนไทเป 1 (2002)
 ออสเตรเลีย 2 (2006, 2024) 2 (2017, 2019)
 ไทย 1 (2004)

ดูเพิ่มเติม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "AFC Women's Football Committee approves AFC Women's Club Championship". AFC. 27 September 2019.
  2. "AFC rebrands age group championships to AFC Asian Cups". AFC. 2 October 2020.
  3. "AFC unveils breakthrough reforms to strengthen Women's National Team Competitions". Asian Football Confederation. 13 September 2024. สืบค้นเมื่อ 14 September 2024.
  4. "Latest update on the AFC National Team Competitions in 2021 and 2022". the-afc.com. Asian Football Confederation. 5 July 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]