ฟุตบอลทีมชาติอิรัก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทีมชาติอิรัก
Shirt badge/Association crest
ฉายาاسود الرافدين Usood Al Rafidain
(สิงโตแห่งเมโสโปเตเมีย)
สิงโตแห่งสองแม่น้ำ (ในภาษาไทย)
สมาคมสมาคมฟุตบอลอิรัก
(IFA)
สมาพันธ์ย่อยสหพันธ์ฟุตบอลเอเชียตะวันตก
(WAFF)
สมาพันธ์เอเอฟซี (ทวีปเอเชีย)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนบาซิม กอซิม อิรัก
กัปตันโมฮัมเหม็ด กาสสิด
ติดทีมชาติสูงสุดยูนิส มะห์มูด (148)
ทำประตูสูงสุดฮุสเซ็น ซะอีด มุฮัมมัด (78)
สนามเหย้าสนามศูนย์กีฬาบัสเราะห์
รหัสฟีฟ่าIRQ
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน77 เพิ่มขึ้น 1 (กรกฎาคม 2017)
อันดับสูงสุด39 (ตุลาคม 2001)
อันดับต่ำสุด139 (กรกฎาคม 1996)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
โมร็อกโก โมร็อกโก 3 - 3 อิรัก อิรัก
(เลบานอน; 19 ตุลาคม 2500)
ชนะสูงสุด
อิรัก อิรัก 13 - 0 เอธิโอเปีย เอธิโอเปีย
(กรุงอัมมาน, จอร์แดน; 18 สิงหาคม 1992)
แพ้สูงสุด
ธงชาติตุรกี ตุรกี 7–1 อิรัก อิรัก
(อาดานา, ตุรกี; 6 ธันวาคม, 1959)
บราซิล บราซิล 6 - 0 อิรัก อิรัก
สเวดแบงค์ สเตเดี้ยม
(มัลเมอ, สวีเดน; 11 ตุลาคม 2012)
ชิลี ชิลี 6 - 0 อิรัก อิรัก
บรอนด์บี้ สเตเดี้ยม
(โคเปนเฮเกน, เดนมาร์ก; 14 สิงหาคม 2013)
ฟุตบอลโลก
เข้าร่วม1 (ครั้งแรกใน 1986)
ผลงานดีที่สุดรอบแรก 1986
เอเชียนคัพ
เข้าร่วม8 (ครั้งแรกใน 1972)
ผลงานดีที่สุดชนะเลิศ 2007
กีฬาโอลิมปิก
เข้าร่วม4 (ครั้งแรกใน 1980)
ผลงานดีที่สุดอันดับ 4 2004
คอนเฟเดอเรชันส์คัพ
เข้าร่วม1 (ครั้งแรกใน 2009)
ผลงานดีที่สุดรอบแรก, 2009

ฟุตบอลทีมชาติอิรัก (منتخب العراق لكرة القدم) เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนของสาธารณรัฐอิรัก อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของสมาคมฟุตบอลอิรัก (IFA) ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1948 และได้เข้าร่วมเป็นชาติสมาชิกของฟีฟ่า ในปี 1950 จากนั้นได้เข้าเป็นสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (AFC) ในปี 1970 และเป็นสมาชิกของสหพันธ์ฟุตบอลเอเชียตะวันตก (WAFF) ในปี 2000

ทีมชาติอิรักถือว่าเป็นทีมที่ประสบความสำเร็จอย่างมากชาติหนึ่งในกลุ่มประเทศแถบอาหรับ เคยเข้าแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก 4 ครั้ง (1980,1984,1988,2004) โดยผลงานดีที่สุดของทีมชาติอิรักในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกคือการคว้าอันดับ 4 ในโอลิมปิก 2004 ที่ประเทศกรีซ และเคยผ่านเข้าไปเล่นฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย 1 ครั้ง ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 1986 ที่ประเทศเม็กซิโก

สำหรับผลงานในระดับทวีปเอเชียนั้นทีมชาติอิรักเคยได้เหรียญทองในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ 1982 ที่กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย และสามารถสร้างประวัติศาสตร์คว้าแชมป์เอเชียนคัพ ซึ่งเป็นรายการใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชียได้ 1 สมัย ในปี 2007

ส่วนในการแข่งขันในระดับภูมิภาค ทีมชาติอิรักเคยชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์เอเชียตะวันตก ในปี 2002 รวมถึงคว้าแชมป์ฟุตบอลรายการ อาหรับ เนชันส์คัพ ได้ถึง 4 สมัย (ปี 1964,1966,1984,1988)

นอกจากนี้ทีมชาติอิรักยังเคยได้รับเลือกจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (AFC) ให้เป็นทีมชาติยอดเยี่ยมประจำทวีปเอเชียถึง 2 ครั้ง (ปี 2003 และ 2007) โดยเป็นชาติเดียวในเอเชียตะวันตกที่เคยได้รับรางวัลนี้

ประวัติ

ยุคแรก

อิรักลงแข่งขันฟุตบอลในระดับชาติครั้งแรกกับทีมชาติโมร็อกโก โดยแข่งขันกันที่ประเทศเลบานอน ในปี ค.ศ. 1957 ซึ่งเสมอกันไป 3–3 จากนั้นได้เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกเป็นครั้งแรก ในการคัดเลือกฟุตบอลโลก 1974

ยุค 1970–1980 ถือเป็นยุครุ่งเรืองของวงการฟุตบอลในประเทศอิรัก โดยอิรักสามารถผ่านเข้าไปเล่นฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายได้สำเร็จเป็นครั้งแรก ในฟุตบอลโลก 1986 ที่สหรัฐเม็กซิโก และผ่านเข้าไปเล่นในโอลิมปิก 3 ครั้งติดต่อกันในโอลิมปิกฤดูร้อน 1980 ที่กรุงมอสโก สหภาพโซเวียต, โอลิมปิกฤดูร้อน 1984 ที่ลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกาและโอลิมปิกฤดูร้อน 1988 ที่กรุงโซล เกาหลีใต้

นอกจากนี้อิรักยังคว้าแชมป์เอเชียนเกมส์ 1982 , แชมป์อาหรับเนชันส์คัพ 4 สมัย ,แชมป์กัลฟ์คัพ 3 สมัย และคว้าอันดับ 4 ในเอเชียนคัพ 1976

ฟุตบอลโลก 1986

ในฟุตบอลโลก 1986 รอบคัดเลือกรอบสุดท้าย โซนเอเชีย อิรักต้องแข่งขันกับทีมชาติซีเรีย โดยนัดแรกที่ดามัสกัสทั้งสองทีมเสมอกันไป 0–0 และนัดที่สองที่เมืองทาอิฟ อิรักสามารถเอาชนะไป 3–1 และผ่านเข้าสู่ฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์

ในฟุตบอลโลก 1986 อิรักลงเล่นภายใต้การคุมทีมของ เอวาริสตู เดอ มาเชดู อดีตกองหน้าทีมชาติบราซิล ที่เคยค้าแข้งกับสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาและเรอัลมาดริด โดยถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มบี ร่วมกับทีมชาติปารากวัย, ทีมชาติเบลเยียม และทีมชาติเม็กซิโก โดยอิรักลงเล่นฟุตบอลโลกนัดแรกเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ.1986 ด้วยการแพ้ทีมชาติปารากวัย 1–0 ที่สนามเนเมซิโอ ดิเอซ เมืองโตลูกา และมายิงประตูในฟุตบอลโลกได้เป็นครั้งแรกในการแข่งขันนัดที่สองที่แพ้ให้กับทีมชาติเบลเยียม 1–2 โดย อาเหม็ด รอฎีย์ ได้รับการบันทึกว่าเป็นผู้ยิงประตูแรกและประตูเดียวให้กับทีมชาติอิรักได้ในฟุตบอลโลก จากนั้นทีมชาติอิรักได้ลงแข่งนัดสุดท้ายในรอบแบ่งกลุ่มกับเจ้าภาพอย่างเม็กซิโก และแพ้ไป 1–0 ตกรอบไปในที่สุด

ยุคมืด (1990-99)

ในช่วงยุครัฐบาลซัดดัม ฮุสเซน นั้น ทีมชาติอิรักควบคุมโดยลูกของประธานาธิบดีซัดดัม คือ อูเดย์ ฮุสเซน โดยภายใต้การควบคุมนั้น จะมีการลงโทษและข่มขู่อย่างแรง ไม่ว่าจะโดนให้ตัดขาถ้าขาดซ้อม หรือจับขังคุก เตะลูกบอลเหล็ก รวมไปถึงถูกเฆี่ยนด้วยแส้ด้วยไฟฟ้า ซึ่งการลงโทษนี้รวมไปถึง นักฟุตบอลที่ยิงลูกจุดโทษพลาดในการแข่งขันนัดสำคัญ [1] ซึ่งภายหลังจากที่ประเทศถูกคุมคามจากสหรัฐอเมริกาในช่วงปี 2546 ทีมชาติได้มีผู้จัดการคนใหม่เข้ามา คือ อัดนัน ฮามัด ซึ่งมีผลงานทำให้ทีมชาติอิรัก ผ่านรอบคัดเลือกในการแข่งขัน โอลิมปิก 2004 โดยชนะ ทีมชาติคอสตาริกา ทีมชาติโปรตุเกส และทีมชาติออสเตรเลีย โดยได้อันดับที่ 4 ในการแข่งขัน

ผู้เล่น

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

  • 23 ผู้เล่นที่ถูกเรียกมาติดทีมชาติในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย รอบที่ 2 (นัดที่ 4):
  • วันที่: 17 พฤศจิกายน ค.ศ.2015
  • คู่แข่งขัน: จีนไทเป ไต้หวัน
  • สนาม: เนชันนัล สเตเดียม
    (เกาสง, ไต้หวัน)
  • จำนวนนัดที่ลงเล่นให้ทีมชาติและจำนวนประตูที่ยิงได้นับถึงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2015 หลังแข่งกับ ทีมชาติไต้หวัน (ชนะ 2–0)
0#0 ตำแหน่ง ผู้เล่น วันเกิด (อายุ) ลงเล่น ประตู สโมสร
1 1GK คาร์รา อิบรอฮีม (1993-07-01) 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1993 (30 ปี) 0 0 อิรัก อัลมินา
12 1GK มุฮัมมัด กอสสิด (1986-12-13) 13 ธันวาคม ค.ศ. 1986 (37 ปี) 55 0 อิรัก อัลซอรา
22 1GK นูร ซอบรี อับบาส (1984-06-06) 6 มิถุนายน ค.ศ. 1984 (39 ปี) 97 0 อิรัก นัฟต์ อัลวะสัฏ

2 2DF อะหมัด อิบรอฮีม (1992-02-25) 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1992 (32 ปี) 53 1 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อัลดาฟรา
3 2DF ดุรกอม อิสมาอีล (1994-05-23) 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1994 (29 ปี) 32 3 ตุรกี ไรซ์สปอร์
4 2DF มุศเฏาะฟา นาดิม (1993-09-23) 23 กันยายน ค.ศ. 1993 (30 ปี) 13 3 อิรัก นัฟต์ อัลวะสัฏ
6 2DF อะลี อัดนาน (1993-12-19) 19 ธันวาคม ค.ศ. 1993 (30 ปี) 38 2 อิตาลี อูดิเนเซ
14 2DF สลาม ชากีร (1986-07-31) 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1986 (37 ปี) 90 4 ซาอุดีอาระเบีย อัลฟะติฮ์
15 2DF อะลี เรห์มา (1983-08-08) 8 สิงหาคม ค.ศ. 1983 (40 ปี) 111 2 ประเทศกาตาร์ อัลวักเราะห์
18 2DF คาร์รา โมฮัมเหม็ด (1989-12-06) 6 ธันวาคม ค.ศ. 1989 (34 ปี) 0 0 อิรัก อัลซอรา
23 2DF ฟัยศ็อล ญัสซิม (1986-07-01) 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1986 (37 ปี) 1 0 อิรัก อัลมินา

5 3MF ยาซิร กอซิม (1991-05-10) 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1991 (32 ปี) 17 3 อังกฤษ สวินดอน ทาวน์
8 3MF คาร์รา ญัสซิม (1987-03-15) 15 มีนาคม ค.ศ. 1987 (37 ปี) 64 6 อิรัก นัฟต์ อัลวะสัฏ
11 3MF ฮุมาม ฏอริก (1996-02-10) 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1996 (28 ปี) 32 1 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อัลอะห์ลี
16 3MF อะลี ฮุสนี ฟัยศอล (1994-10-01) 1 ตุลาคม ค.ศ. 1994 (29 ปี) 9 1 อิรัก อัลมีนา
19 3MF มะฮ์ดี กามีล (1995-01-06) 6 มกราคม ค.ศ. 1995 (29 ปี) 13 0 อิรัก อัลชอร์ตา
20 3MF อะลี กอซิม (1996-03-05) 5 มีนาคม ค.ศ. 1996 (28 ปี) 5 1 อิรัก อัลมินา
21 3MF ซาอัด อับดุล อะมีร (1992-01-19) 19 มกราคม ค.ศ. 1992 (32 ปี) 52 1 ซาอุดีอาระเบีย อัลกอดิซียะฮ์

7 4FW จัสติน มีรอม ฮิกมะฮ์ อะซิส (1988-12-04) 4 ธันวาคม ค.ศ. 1988 (35 ปี) 17 2 สหรัฐ โคลัมบัส ครูว์
8 4FW มุฮันนัด อับดุล-รอฮีม (1993-09-22) 22 กันยายน ค.ศ. 1993 (30 ปี) 21 4 อิรัก อัลซอรา
10 4FW ยูนิส มะห์มูด (1983-02-03) 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1983 (41 ปี) 145 57 อิรัก อัฏเฏาะละบะฮ์
17 4FW อะลา อับดุลซะรอฮ์ (1987-12-22) 22 ธันวาคม ค.ศ. 1987 (36 ปี) 87 14 อิรัก อัลซอรา

ชุดแข่งขัน

ช่วงปี ผู้สนับสนุน
1984–1986 อังกฤษ อัมโบร
1986–1994 เยอรมนี อาดิดาส
1996 เยอรมนี พูมา
2004–2005 เดนมาร์ก แจ็ค แอนด์ โจนส์
2006 เยอรมนี อาดิดาส
2007 อังกฤษ อัมโบร
2008–2014 จีน พีค
2014–ปัจจุบัน เยอรมนี จาโค

ผลงาน

  • ตัวหนา คือผลงานที่ดีที่สุดในรายการนั้นๆ

ฟุตบอลโลก

  • 1930 ถึง 1970 - ไม่ได้เข้าร่วม
  • 1974 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
  • 1978 - ถอนตัว
  • 1982 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
  • 1986 - รอบแรก
  • 1990 ถึง 2014 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก

เอเชียนคัพ

  • 1956 ถึง 1968 - ไม่ได้เข้าร่วม
  • 1972 - รอบแรก
  • 1976 - อันดับ 4
  • 1980 ถึง 1992 - ไม่ได้เข้าร่วม
  • 1996 - รอบก่อนรองชนะเลิศ
  • 2000 - รอบก่อนรองชนะเลิศ
  • 2004 - รอบก่อนรองชนะเลิศ
  • 2007 - ชนะเลิศ
  • 2011 - รอบก่อนรองชนะเลิศ
  • 2015 - อันดับ 4

เอเชียนเกมส์

  • 1951 ถึง 1970 - ไม่ได้เข้าร่วม
  • 1974 - รอบแรก
  • 1978 - อันดับ 4
  • 1982 - เหรียญทอง
  • 1986 - รอบก่อนรองชนะเลิศ
  • 1990 ถึง 2002 - ไม่ได้เข้าร่วม
  • 2006 - เหรียญเงิน
  • 2010 - ถูกแบน
  • 2014 - เหรียญทองแดง

เวสต์เอเชียนฟุตบอลเฟเดอเรชันแชมเปียนชิพ

  • 2000 - อันดับ 3
  • 2002 - ชนะเลิศ
  • 2004 - อันดับ 4
  • 2007 - รองชนะเลิศ
  • 2008 - ถอนตัว
  • 2010 - รอบรองชนะเลิศ
  • 2012 - รองชนะเลิศ

อาหรับเนชันส์คัพ

  • 1963 - ไม่ได้เข้าร่วม
  • 1964 - ชนะเลิศ
  • 1966 - ชนะเลิศ
  • 1985 - ชนะเลิศ
  • 1988 - ชนะเลิศ
  • 1992 ถึง 2002- ถูกแบน
  • 2012 - อันดับสาม

อดีตผู้เล่นคนสำคัญ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น