ฟีเนียส พี. เกจ
ฟีเนียส พี. เกจ Phineas P. Gage | |
---|---|
เกิด | 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1823 (พ.ศ. 2366) วันที่ยังไม่แน่นอน เทศมณฑลกราฟตัน รัฐนิวแฮมป์เชอร์ สหรัฐ[B] |
เสียชีวิต | 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1860 ในหรือใกล้ ๆ เมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ | (36 ปี)
สาเหตุเสียชีวิต | โรคลมชักชนิดต่อเนื่อง[C] |
สุสาน |
|
อาชีพ |
|
มีชื่อเสียงจาก | ความเปลี่ยนแปลงของบุคลิกภาพหลังจากการบาดเจ็บในสมอง |
คู่สมรส | ไม่มี |
บุตร | ไม่มี[2]: 319, 327 |
นาย ฟีเนียส พี. เกจ (อังกฤษ: Phineas P. Gage) (ค.ศ. 1823-1860) เป็นหัวหน้าคนงานก่อสร้างทางรถไฟชาวอเมริกัน ผู้ที่รู้จักกันเนื่องจากการรอดชีวิตอย่างไม่น่าเป็นไปได้[D] จากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในระหว่างการระเบิดหิน ที่แท่งเหล็กขนาดใหญ่พุ่งทะลุผ่านกะโหลกศีรษะของเขา ทำลายสมองกลีบหน้าด้านซ้ายโดยมาก และเนื่องจากผลที่เกิดขึ้นเพราะความบาดเจ็บ ต่อบุคลิกภาพและพฤติกรรมตลอดชีวิตอีก 12 ปีที่เหลือของเขา เป็นผลกระทบที่กว้างขวางลึกซึ้งจนกระทั่งว่า เพื่อนของเขา (อย่างน้อยก็เป็นช่วงเวลาหนึ่ง) เห็นว่าเขา "ไม่ใช่นายเกจอีกต่อไป"[1]: 339–40
โดยรู้จักกันมานานว่า "กรณีชะแลงอเมริกัน" (the American Crowbar Case)[3]: 54 [4] และครั้งหนึ่งได้มีคำอธิบายว่า "มากกว่ากรณีอื่น ๆ ทั้งหมด เป็นกรณีที่สร้างความอัศจรรย์ใจให้ ลดคุณค่าเรื่องการพยากรณ์โรค และแม้แต่ล้มล้างหลักสรีรวิทยา"[5] นายเกจมีอิทธิพลต่อการอภิปรายเรื่องจิตใจและสมองในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยเฉพาะในเรื่องของการแบ่งหน้าที่เฉพาะของเขตสมองในซีรีบรัม และอาจจะเป็นกรณีแรกที่บอกเป็นนัยว่า ความเสียหายต่อเขตบางเขตในสมอง อาจมีผลต่อบุคลิกภาพ[2]: บทที่7-9 [4]
นายเกจเป็นอนุสรณ์ที่มีมานานในการเรียนการสอนวิชาประสาทวิทยา จิตวิทยา และหมวดวิชาที่เกี่ยวข้องกับประสาทวิทยาศาสตร์อื่น ๆ และมักจะมีการกล่าวถึงบ่อย ๆ ทั้งในหนังสือและเอกสารการศึกษา เป็นแม้กระทั่งดาราย่อย ๆ ในสื่อ[6] ถึงแม้จะมีชื่อดังอย่างนี้[7] ความจริงที่ยืนยันได้เกี่ยวกับนายเกจว่าเขาเป็นคนเช่นไรก่อนและหลังอุบัติเหตุ ก็มีไม่มาก ดังนั้นจึงทำให้เกิด "การฟิตทฤษฎีที่ต้องการเกือบอะไรก็ได้กับข้อเท็จจริงนิดหน่อยที่มีอยู่"[2]: 290 คือได้มีการอ้างถึงกรณีนายเกจจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ เพื่อสนับสนุนทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับสมองที่เข้ากันไม่ได้ งานสำรวจเรื่องที่ตีพิมพ์เกี่ยวกับนายเกจ รวมทั้งสิ่งตีพิมพ์ทางวิทยาศาสตร์ พบว่า เรื่องราวเหล่านั้นเกือบทั้งหมดบิดเบือนความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของนายเกจจากความจริง คือ ถ้าไม่พูดเกินความจริง ก็จะกล่าวขัดแย้งกันเอง
มีการตีพิมพ์ภาพถ่ายสองภาพของนายเกจ[8][9] และรายงานการแพทย์เกี่ยวกับภาวะร่างกายและจิตใจในช่วงหลังแห่งชีวิตของเขา ในปี ค.ศ. 2009 และ 2010 หลักฐานใหม่นี้ชี้ว่า ความเปลี่ยนแปลงทางจิตใจที่มากที่สุดของนายเกจ อาจเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น คือว่า ในชีวิตช่วงหลังของเขา เขาสามารถทำกิจการงานต่าง ๆ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้ เกินกว่าที่ก่อนหน้านี้สันนิษฐานกันมา ในปี ค.ศ. 2008 นักจิตวิทยาแม็คมิลแลนได้เสนอ "สมมุติฐานการฟื้นตัวทางสังคม" ที่แสดงว่า งานเลี้ยงชีพของเขาเป็นคนขับรถม้าโดยสารในประเทศชิลี ได้ให้รูปแบบชีวิตประจำวันแก่เขา ทำให้เขาสามารถเรียนรู้ทักษะทางสังคมและทักษะอื่น ๆ ในชีวิตประจำวันได้ใหม่[10]
พื้นเพประวัติ
[แก้]นายเกจเป็นบุตรคนแรกในพี่น้อง 5 คนเกิดจากนายเจสซี อีตัน เกจ และนางแฮนนาห์ ทรัสเซล์ล เกจ (ชื่อเดิม สเว็ตแลนด์) ของเทศมณฑลกราฟตัน รัฐนิวแฮมป์เชอร์ สหรัฐ[B] ไม่มีใครรู้เรื่องการเลี้ยงดูและการศึกษาของนายเกจ แม้ว่า เขาน่าจะรู้หนังสืออย่างแน่นอน[2]: 17,41
นายเกจอาจจะได้ทักษะเกี่ยวกับวัตถุระเบิดในฟาร์มของครอบครัว หรือในเหมืองที่อยู่ใกล้ ๆ[2]: 17-18 และในช่วงที่เกิดอุบัติเหตุ เขาได้เป็นถึงหัวหน้าคนงานระเบิดหินในงานสร้างทางรถไฟแล้ว นายจ้างของเขามีความเห็นเกี่ยวกับเขา (ดังที่หมอประจำเมืองจอห์น มาร์ติน ฮาร์โลว์ กล่าวถึงในภายหลัง) ว่า "เป็นหัวหน้าคนงานที่มีประสิทธิภาพมีความสามารถมากที่สุดในคนงานทั้งหมด... เป็นนักธุรกิจที่หลักแหลมและฉลาด กระตือรือร้นและอดทนที่สุดในการปฏิบัติการไปตามแผนการทำงานของตน" จนกระทั่งว่า นายเกจให้ทำแท่งเหล็กตอกสั่งทำเฉพาะตน เป็นแท่งเหล็กที่ยาว 1.1 เมตร และมีหน้ากว้าง 3.2 เซนติเมตร เพื่อใช้ในการวางระเบิด
อุบัติเหตุ
[แก้]ในวันที่ 13 กันยายน ค.ศ. 1848 นายเกจ (อายุ 25 ปี)[B] กำลังอำนวยการระเบิดหินพร้อมกับลูกน้อง เพื่อทำฐานของทางรถไฟ Rutland Railway นอกเมืองแคเว็นดิช รัฐเวอร์มอนต์ ในขั้นตอนเพื่อจะวางระเบิด จะมีการเจาะรูลึกลงไปในส่วนของก้อนหินที่โผล่ออกมาจากพื้น เติมดินระเบิด ใส่ชนวนระเบิด และเติมทรายให้เต็ม แล้วอัดส่วนประกอบเหล่านี้เข้าไปโดยใช้แท่งเหล็กตอก[E] นายเกจกำลังทำงานนี้อยู่ในช่วงประมาณ 16.30 น. เมื่อ (ซึ่งอาจเป็นเพราะลืมใส่ทราย) เหล็กตอกได้จุดประกายไฟที่หินแล้วจึงเกิดการระเบิดขึ้น เหล็กตอกนั้นถูกยิงออกจากหลุมระเบิด และ "ทะลุเข้าไปที่หน้าด้านซ้ายของเขา... ทะลุผ่านด้านหลังของตาซ้าย แล้วทะลุออกที่เหนือศีรษะ"[15]
การอ้างอิงถึงนายเกจในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ว่า "กรณีชะแลงอเมริกัน" (the American Crowbar Case)[3]: 54 [4] สะท้อนถึงคำว่า "ชะแลง" ในยุคสมัยนั้น ที่หมายถึงแท่งเหล็กตรง ๆ คือ เหล็กตอกของเขาไม่ได้มีส่วนงอหรืออุ้งเล็บเหมือนกับชะแลงสมัยปัจจุบัน แต่ว่า มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก "กลมและใช้จนเกือบเรียบลื่น"[11]: 331 หมอฮาร์โลว์ได้กล่าวเกี่ยวกับแท่งเหล็กนี้ไว้ว่า
ปลายที่ทะลุเข้าไปที่แก้มของนายเกจเป็นส่วนแหลม มีระยะเรียวประมาณ 30 เซนติเมตร
ซึ่งเป็นเหตุที่อาจยังให้คนไข้รอดชีวิตมาได้ เหล็กแท่งนี้ไม่เหมือนใคร เพราะทำโดยช่างตีเหล็กตามจินตนาการของเจ้าของ[F]
โดยมีน้ำหนัก 6 กิโลกรัม "แขกผู้ไม่พูดพล่ามทำเพลงมีนิสัยบุกรุกแท่งนี้"[D] พบอยู่ประมาณ 25 เมตรห่างออกไปจากนายเกจ "เปื้อนไปด้วยทั้งเลือดและมันสมอง"[1]: 331
นายเกจ "กระเด็นหงายหลังไปเพราะแรงระเบิด โดยมีอาการชักกระตุกที่เท้าและมือ แต่สามารถพูดได้ภายใน 2-3 นาที" สามารถเดินไปโดยไม่ต้องช่วยเหลือ และนั่งตัวตรงโดยสารเกวียนลากไปด้วยวัวเป็นระยะทาง 1.2 กิโลเมตรกลับไปที่พักในเมือง[1]: 331 น.พ. เอ็ดวาร์ด เฮ็ช. วิลเลียมส์ มาหาภายใน 30 นาทีหลังเกิดเหตุการณ์ โดยกล่าวไว้ว่า
ผมสังเกตเห็นแผลที่ศีรษะเป็นสิ่งแรกก่อนที่จะลงมาจากรถม้าของผม
เพราะว่า การเต้นของมันสมองเห็นได้ชัดเจนมาก (แผล) บนศีรษะปรากฏเหมือนกับกรวยกลับด้าน เป็นเสมือนกับว่า วัตถุรูปร่างคล้ายลิ่มได้วิ่งผ่านจากด้านล่างขึ้นมาสู่ด้านบน (คือช่องข้างในใหญ่กว่ารูทางออก) ในขณะที่ผมกำลังเช็คแผลนี้อยู่ นายเกจได้เล่าเหตุการณ์ที่เขาได้รับความบาดเจ็บนี้ต่อคนที่อยู่ข้าง ๆ ในตอนนั้น ผมไม่เชื่อคำพูดของนายเกจ เพราะคิดว่า นายเกจนั้นถูกหลอก แต่นายเกจก็ยืนยันว่า แท่งเหล็กนั้นทะลุผ่านศีรษะเขาไปจริง ๆ แล้วนายเกจก็ลุกขึ้นอาเจียน
และแรงอาเจียนก็ดันมันสมองออกมาครึ่งถ้วยชา แล้วตกลงไปที่พื้น[G]
ส่วนหมอฮาร์โลว์รับช่วงต่อจากหมอวิลเลียมส์ที่ช่วง 18 น. และกล่าวว่า
คนไข้แสดงความอดทนต่อความเจ็บปวดของเขาด้วยความเข็มแข็งกล้าหาญอย่างที่สุด
เขาสามารถจำผมได้ทันที และกล่าวว่า เขาหวังว่า เขาไม่ได้รับความบาดเจ็บอะไรมาก เขามีสติสมบูรณ์ดี แต่ว่าเริ่มเหนื่อยล้าเพราะเลือดไหลออกมาก
ตัวของเขา พร้อมกับเตียงที่เขานอนอยู่ ล้วนเต็มไปด้วยเลือด[22]
การรักษาและการพักฟื้น
[แก้]ด้วยความช่วยเหลือจากหมอวิลเลียมส์ หมอฮาร์โลว์ได้โกนหนังศีรษะที่บริเวณแผลทางออกของเหล็กตอก และได้เอาเลือดที่จับเป็นก้อน ชิ้นกระดูกเล็ก ๆ และมันสมองประมาณ 1 เอานซ์ (28.35 กรัม) ออก หลังจากตรวจหาสิ่งแปลกปลอมและประกบคืนกระดูกกะโหลกขนาดใหญ่ที่หลุดออกมา 2 ชิ้น หมอฮาร์โลว์ก็ปิดแผลด้วยแถบผ้าชุบยางไม้ (ที่ทำหน้าที่เป็นกาว) [ต้องการอ้างอิง] ทิ้งบางส่วนให้เปิดอยู่เพื่อเป็นที่ระบาย ส่วนทางเข้าของแผลที่แก้มก็พันผ้าไว้อย่างหลวม ๆ เท่านั้นโดยเหตุผลเดียวกัน จากนั้น ก็ปิดด้วยผ้าอัดแผลที่เปียก ตามด้วยหมวกนอน (nightcap) ตามด้วยผ้าพันแผลเพื่อรัดเครื่องปิดแผลเหล่านั้นไว้ นอกจากนั้นแล้ว หมอฮาร์โลว์ก็ยังทำแผลที่มือและแขน (ซึ่งเหมือนกับที่ใบหน้า "[มีแผล] ไหม้ในระดับลึก") และสั่งให้ตั้งศีรษะไว้ในที่สูง ในช่วงเย็นวันนั้นหลังจากนั้น หมอฮาร์โลว์ได้บันทึกไว้ว่า "มีสติสัมปชัญญะดี บอกว่า 'ไม่ต้องการจะให้เพื่อนมาเยี่ยม เพราะจะกลับไปทำงานอีกใน 2-3 วัน'"[11]: 390-1 [1]: 333 [2]: 31-2,60-1
การฟื้นสภาพของนายเกจในช่วงต่อมาใช้เวลานานและมีความยากลำบาก แรงกดที่สมอง[H] ทำให้เขาอยู่ในอาการกึ่งโคม่าเริ่มตั้งแต่วันที่ 23 กันยายน โดยคุณหมอบันทึกไว้ว่า "พูดน้อยยกเว้นถ้าคนอื่นมาพูดด้วย และแม้กระนั้นก็ตอบรับด้วยคำที่มีพยางค์เดียวเท่านั้น" และโดยวันที่ 27 "เพื่อนและผู้ดูแลคิดว่า เขาจะตายภายในไม่กี่ชั่วโมงนี้ ได้ตระเตรียมโลงศพและเสื้อผ้า (สำหรับคนตาย) เรียบร้อยแล้ว" โดยรับแรงกดดันจากสภาพหมดอาลัยตายอยากเช่นนี้ หมอฮาร์โลว์ได้ "ตัดเอา fungi ที่งอกออกมาจากสมองส่วนบนออก โดยทำช่องแผลนั้นให้เต็ม และทาสารกัดที่ fungi เหล่านั้นอย่างไม่จำกัด ผมเปิดหนังหุ้ม (integuments) ระหว่างแผลทางออกกับบริเวณเหนือจมูกออกด้วยมีดผ่าตัด และทันใดนั้นเอง ก็มีหนองเสียไหลออกมาประมาณ 8 เอานซ์ (227 กรัม) พร้อมกับเลือด ซึ่งมีกลิ่นเหม็นอย่างสุด ๆ"[ต้องการอ้างอิง] (นักเขียนบาร์กเกอร์กล่าวว่า "นายเกจโชคดีที่เจอหมอฮาร์โลว์ มีหมอน้อยคนในปี ค.ศ. 1848 ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับฝีหนองในสมอง ที่หมอฮาร์โลว์ได้จาก[วิทยาลัยการแพทย์เจ็ฟเฟอร์สัน] ซึ่งเป็นทักษะที่น่าจะช่วยชีวิตของนายเกจไว้")[4]: 679-80 [I]
ในวันที่ 7 ตุลาคม นายเกจ "สามารถลุกขึ้นได้ด้วยตนเอง และเดินไปก้าวหนึ่งไปนั่งที่เก้าอี้" อีกเดือนหนึ่งต่อมา เขาสามารถเดิน "ขึ้นลงบันได ไปในที่ต่าง ๆ ในบ้าน และเดินไปที่ระเบียง" และในช่วงเวลาที่หมอฮาร์โลว์ไม่อยู่เป็นเวลาอาทิตย์หนึ่ง นายเกจ "เดินไปตามถนนทุก ๆ วันยกเว้นวันอาทิตย์" โดยมีความปรารถนาจะกลับไปหาครอบครัวของเขาในรัฐนิวแฮมป์เชอร์ที่ "เพื่อนของเขาไม่สามารถช่วยได้.. (และนายเกจ) เริ่มเกิดอาการเท้าเปียก และรู้สึกหนาว" หลังจากนั้นไม่นานก็เกิดเป็นไข้ แต่ภายในกลางเดือนพฤศจิกายน เขาก็ได้ "รู้สึกดีขึ้นในทุก ๆ ด้าน... สามารถเดินไปมาในบ้านได้อีก บอกว่าเขาไม่รู้สึกเจ็บปวดในศีรษะ" การพยากรณ์โรคของคุณหมอในช่วงนี้คือ นายเกจ "ปรากฏเหมือนกับจะฟื้นตัวดีขึ้น ถ้าสามารถควบคุมเขาได้"[11]: 392-3
ชีวิตต่อ ๆ มาและการเดินทาง
[แก้]อาการบาดเจ็บ
[แก้]ภายในวันที่ 25 พฤศจิกายน นายเกจแข็งแรงพอที่จะกลับไปยังบ้านบิดามารดาของเขาที่เมืองเลบานอน รัฐนิวแฮมป์เชอร์ เป็นที่ที่ภายในปลายเดือนธันวาคม เขาสามารถ "ขี่ม้าไปในที่ต่าง ๆ ได้ สุขภาพดีขึ้นทั้งทางใจทั้งทางกาย"[23] ในเดือนเมษายน ค.ศ.1849 เขากลับมาที่เมืองแคเว็นดิชอีกและมาเยี่ยมคุณหมอฮาร์โลว์ ซึ่งตั้งข้อสังเกตในตอนนั้นถึงความตาบอดและอาการหนังตาตก (ptosis) ที่ตาด้านซ้าย แผลเป็นขนาดใหญ่ที่หน้าผาก และ
ที่เหนือศีรษะ ...
มีรอยบุ๋มลึก ขนาดสองนิ้วคูณหนึ่งนิ้วครึ่ง (5 ซ.ม. x 4 ซ.ม) ซึ่งสามารถรู้สึกถึงการเต้นของสมองภายใต้แผลได้และใบหน้าซีกซ้ายเป็นอัมพาตบางส่วน สุขภาพทางกายของเขาดี และน่าจะกล่าวได้ว่า เขาได้หายแล้ว เขาไม่มีความรู้สึกเจ็บที่ศีรษะ แต่กล่าวว่า มันมีความรู้สึกแปลก ๆ ที่เขาไม่สามารถจะอธิบายได้[1]: 338-9
เขตนิวอิงแลนด์
[แก้]หมอฮาร์โลว์กล่าวว่า เพราะนายเกจไม่สามารถจะกลับไปทำงานสร้างทางรถไฟได้[1]: 339 จึงไปแสดงตัวที่พิพิธภัณฑ์ Barnum's American Museum[J] ในนครนิวยอร์กช่วงระยะเวลาหนึ่ง (เข้าใจว่า คนที่อยากรู้อยากเห็นพร้อมที่จะจ่ายเงินเพื่อจะดูนายเกจและอุปกรณ์ที่ทำให้เขาบาดเจ็บ)[7] แต่หลักฐานที่ปรากฏขึ้นเร็ว ๆ นี้[ต้องการอ้างอิง] กลับสนับสนุนคำพูดของหมอฮาร์โลว์ว่า นายเกจได้แสดงตนในที่สาธารณะใน "เมืองใหญ่ต่าง ๆ ในเขตนิวอิงแลนด์" (ไม่ใช่ที่นครนิวยอร์ก) ต่อจากนั้น เขาได้ทำงานที่คอกม้า (ที่รับและดูแลม้าให้กับลูกค้า) ในเมืองแฮนโนเวอร์ รัฐนิวแฮมป์เชอร์[1]: 340
ประเทศชิลีและรัฐแคลิฟอร์เนีย
[แก้]ในเดือนสิงหาคม ปี ค.ศ. 1852 นายเกจรับงานในประเทศชิลีทำงานเป็นคนขับรถม้าระยะไกล คือ "ดูแลม้า และบ่อยครั้งขับรถม้ามีของหนักที่ลากโดยม้า 6 ตัว" ในเส้นทาง "แวลพาไรโซ-ซานเตียโก" แต่หลังจากที่สุขภาพของเขาเริ่มแย่ลงราวปี ค.ศ. 1859[K] เมื่อนายเกจจากประเทศชิลีไปสู่เมืองซานฟรานซิสโก สหรัฐ เขาได้รักษาตัวภายใต้การดูแลจากมารดาและน้องสาวของเขา (ผู้ที่ได้ย้ายถิ่นไปจากรัฐนิวแฮมป์เชอร์ในช่วงเวลาที่นายเกจเดินทางไปประเทศชิลี) ในช่วงเวลา 2-3 เดือนต่อมา เขาได้ทำงานในฟาร์มในเทศมณฑลซานตาคลารา รัฐแคลิฟอร์เนีย[2]: 103-4 [1]: 340-1
การเดินทางและการเสียชีวิตต่อมา
[แก้]ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1860[K] นายเกจเริ่มมีอาการชักกระตุกที่รุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ [ต้องการอ้างอิง] เขาเสียชีวิตเพราะเหตุโรคลมชักชนิดต่อเนื่อง[C] ในหรือใกล้เมืองซานฟรานซิสโกในวันที่ 21 พฤษภาคม หลังจากอุบัติเหตุเกือบ 12 ปี และได้ฝังศพไว้ที่สุสาน Lone Mountain Cemetery ในซานฟรานซิสโก[K] (ถึงแม้ว่า ที่อ้างอิงบางแห่ง[25][26][27]จะกล่าวว่า มีการฝังแท่งเหล็กของเขาไว้ด้วยกัน แต่ยังไม่มีหลักฐานที่จะยืนยันเรื่องนี้)[L]
หัวกะโหลกและแท่งเหล็ก
[แก้]ในปี ค.ศ. 1866 หมอฮาร์โลว์ (ผู้ได้ "ขาดการติดต่ออย่างสิ้นเชิงกับนายเกจ และเกือบสิ้นหวังที่จะได้ยินข่าวจากนายเกจอีก") ด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง ได้ทราบถึงการเสียชีวิตของนายเกจในรัฐแคลิฟอร์เนีย และได้เขียนจดหมายไปหาครอบครัวของเขา ตามคำขอร้องของหมอฮาร์โลว์ ครอบครัวของเขาได้เปิดหลุมศพของนายเกจเป็นระยะเวลาพอที่จะเอากะโหลกศีรษะออกมา แล้วครอบครัวของเขาก็ได้ส่งกะโหลกด้วยตนเองไปให้กับหมอฮาร์โลว์ผู้อยู่ในเขตนิวอิงแลนด์ (ซึ่งอยู่ทิศตรงข้ามกันของทวีป)
ปีหนึ่งหลังจากประสบอุบัติเหตุ นายเกจได้มอบแท่งเหล็กของเขาให้กับพิพิธภัณฑ์กายวิภาควอร์เร็น (Warren Anatomical Museum) ของโรงเรียนแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด แต่ต่อมาได้เอาคืนมา[13]: 22n [21][2]: 46-7 และได้ทำสิ่งที่ตัวเขาเองเรียกว่า "แท่งเหล็กของผม" ให้เป็น "เพื่อนคู่ใจตลอดชีวิตที่เหลือของเขา"[1]: 339 ซึ่งในตอนนี้ครอบครัวก็ได้ส่งไปให้หมอฮาร์โลว์ด้วย หลังจากที่ได้ศึกษาวัตถุเหล่านั้นเพื่อเขียนบทความย้อนหลังประกาศชัยชนะ[D]เกี่ยวกับกรณีนายเกจ[1] หมอฮาร์โลว์ก็ได้คืนแท่งเหล็กนั้น คราวนี้พร้อมกับกะโหลกศีรษะของนายเกจด้วย ไปให้กับพิพิธภัณฑ์กายวิภาควอร์เร็น และได้อยู่ที่นั่นจนมาถึงทุกวันนี้[17]: v [29] แท่งเหล็กนั้นมีอักษรสลักดังต่อไปนี้ (แม้ว่าวันที่ของวันอุบัติเหตุนั้นจะผิดไปวันหนึ่ง และชื่อที่สะกดว่า Phinehas ไม่ใช่เป็นการสะกดชื่อที่ตัวนายเกจเองใช้)[10]: 839fig. :
This is the bar that was shot through the head of Mr Phinehas[sic] P. Gage at Cavendish, Vermont, Sept. 14,[sic] 1848. He fully recovered from the injury & deposited this bar in the Museum of the Medical College of Harvard University. Phinehas P. Gage Lebanon Grafton Cy N–H Jan 6 1850.
นี่เป็นแท่งเหล็กที่ยิงทะลุศีรษะของนายฟีเนียส พี. เกจ ที่เมืองแคเว็นดิช รัฐเวอร์มอนต์ ในวันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 1848 เขาได้ฟื้นตัวอย่างสมบูรณ์จากการบาดเจ็บ (ที่เกิดจากเหตุการณ์) นั้น และได้ฝากแท่งเหล็กนี้ไว้ในพิพิธภัณฑ์ของวิทยาลัยการแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (ลงชื่อ) ฟีเนียส พี. เกจ เมืองเลบานอน เทศมณฑลกราฟตัน รัฐนิวแฮมป์เชอร์ 6 มกราคม ค.ศ. 1850[30]
หลังจากนั้นอีกนาน ก็มีการย้ายซากที่เหลือที่ปราศจากศีรษะของนายเกจไปยังสุสาน Cypress Lawn Memorial Park โดยเป็นส่วนของการย้ายสุสานจากเมืองซานฟรานซิสโกไปยังที่ฝังศพต่าง ๆ นอกเมือง[2]: 119-20
ความเสียหายในสมองและความเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ
[แก้]ขอบเขตความเสียหายในสมอง
[แก้]ข้อถกเถียงว่า ได้เกิดความเสียหายที่เกิดจากการได้รับบาดเจ็บและการติดเชื้อต่อ ๆ มา ที่สมองกลีบหน้าทั้งสองข้าง หรือเพียงที่ซีกซ้ายซีกเดียว ก็เกิดขึ้นแทบจะทันทีหลังจากอุบัติเหตุ[11]: 389 คณะของ เฮ็ช. ดามาซีโอ[25] ในปี ค.ศ. 1994 สรุปว่า สมองกลีบหน้าทั้งสองซีกเกิดความเสียหาย โดยมีการจำลองสร้างแบบไม่ใช่ตามกะโหลกศีรษะของนายเกจ แต่ตามกะโหลกที่ "คล้ายของนายเกจ"[10]: 829-30
ในปี ค.ศ. 2004 ราชิวและคณะใช้การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ (CT scan) ของกะโหลกจริง ๆ ของนายเกจ[32][33]เพื่อจะยืนยันข้อสรุปของหมอฮาร์โลว์ (โดยที่คุณหมอใช้นิ้วตรวจแผลของนายเกจ)[28]: 9 ว่าสมองซีกขวาไม่ได้รับความเสียหาย ราชิวและคณะเป็นกลุ่มแรกที่ใช้ข้อมูลเกี่ยวกับรอยแตกเป็นเส้นเท่าผม ที่วิ่งจากด้านหลังของแผลทางออกลงไปยังด้านหน้าของกะโหลกของนายเกจ และใช้ข้อมูลเกี่ยวกับรูที่เพดานปากที่เชื่อมกับฐานของกระดูกหุ้มสมอง (ที่เกิดขึ้นเพราะแท่งเหล็กวิ่งผ่าน) ซึ่งมีด้านกว้างประมาณครึ่งหนึ่งของด้านกว้างแท่งเหล็ก โดยตั้งสมมุติฐานว่า กะโหลกศีรษะได้พับเปิดขึ้น (เหมือนบานพับ) เมื่อแท่งเหล็กวิ่งทะลุกระดูกหุ้มสมอง และหลังจากนั้นก็ได้พับปิดลงเนื่องจากความยืดหยุ่นของเนื้อเยื่ออ่อน หลังจากที่แท่งเหล็กออกไปทางเหนือศีรษะแล้ว[33][32][10]: 830
คณะของแวน ฮอร์น (ค.ศ. 2012) เห็นด้วยว่า สมองซีกขวาไม่มีความเสียหาย และทำการกะเกณฑ์อย่างละเอียดถึงศูนย์กลางและขอบเขตของความเสียหายต่อ white matter (ส่วนในสมองที่โดยมากประกอบด้วยแอกซอน) ที่บอกเป็นนัยว่า ความเสียหายส่วนนี้มีผลต่อความเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจของนายเกจ มากกว่าความเสียหายต่อเปลือกสมอง (คือส่วน gray matter)[N]
รายงานปฐมภูมิเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ
[แก้]นายเกจได้แสดงความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมหลังจากได้รับบาดเจ็บอย่างไม่ต้องสงสัย[28]: 12-15 แต่ว่า ลักษณะ ขอบเขต และระยะเวลา ของความเปลี่ยนแปลงนี้ ไม่ชัดเจนอย่างยิ่ง มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือน้อยมากว่านายเกจเป็นคนอย่างไร (ไม่ว่าจะก่อนหรือหลังอุบัติเหตุ) [ต้องการอ้างอิง] ความเปลี่ยนแปลงของจิตใจที่มีกล่าวไว้หลังจากเขาเสียชีวิตแล้ว เป็นสิ่งที่น่าทึ่งใจมากกว่าที่กล่าวไว้ตอนที่เขายังมีชีวิตอยู่ และบทความ 2-3 บทความที่มีการกล่าวพรรณนาที่ดูว่าน่าจะเป็นไปได้ ก็ไม่ได้ระบุช่วงเวลาหลังจากอุบัติเหตุที่พฤติกรรมเหล่านั้นเกิดขึ้น[ต้องการอ้างอิง]
รายงานของหมอฮาร์โลว์ในปี ค.ศ. 1848
[แก้]ในรายงานปี ค.ศ. 1848 ในขณะที่นายเกจกำลังใกล้จะฟื้นตัวเต็มที่ทางด้านร่างกาย หมอฮาร์โลว์กล่าวไว้โดยเป็นนัยเท่านั้นเกี่ยวกับอาการทางจิต คือ "สภาวะที่ปรากฏทางด้านจิตใจของคนไข้ ผมจะขอทิ้งไว้ก่อนในตอนนี้เพื่อจะกล่าวต่อไปในบทสื่อสารในอนาคต แต่ผมคิดว่า กรณีนี้...น่าสนใจอย่างยิ่งต่อนักกายวิภาคที่มีความคิดก้าวหน้า และนักปรัชญาผู้มีสติปัญญาทั้งหลาย"[O] และหลังจากที่ได้สังเกตการณ์เกี่ยวกับนายเกจเป็นเวลาหลายอาทิตย์ในปลายปี ค.ศ. 1849 ศ. ศัลยศาสตร์ เฮ็นรี่ บิกเกโลว์ ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (โดยยึดหลักประสบการณ์การศึกษาของเขาที่ต่อต้านไอเดียเกี่ยวกับการทำงานเฉพาะอย่างในเขตต่าง ๆ ของสมอง) [ต้องการอ้างอิง] กล่าวว่า นายเกจ "ได้กลับคืนสู่สภาพปกติทั้งทางกายและทางใจ" เหลือเพียงแต่ "inconsiderable disturbance of function (ความผิดปกติเล็กน้อยทางพฤติกรรมบางอย่าง)"[13]: 13-14
รายงานของหมอฮาร์โลว์ในปี ค.ศ. 1868
[แก้]ในปี ค.ศ. 1868 (หลังจากได้กะโหลกศีรษะ แท่งเหล็ก และชีวประวัติเบื้องปลายของนายเกจมา) หมอฮาร์โลว์ได้ส่ง "บทสื่อสารในอนาคต" ที่เขาได้สัญญาไว้เมื่อ 20 ปีก่อน แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจของนายเกจ ที่ปรากฏในการนำเสนอกรณีนี้ในยุคปัจจุบันโดยมาก (แม้ว่าจะอยู่ในรูปแบบที่พูดเกินเลยไปหรือบิดเบืยนจากความจริง ดูหัวข้อ ความเปลี่ยนแปลงทางใจที่บิดเบียนไปจากความจริง ข้างหน้า)
หมอฮาร์โลว์พรรณนาถึงนายเกจก่อนอุบัติเหตุว่า ขยัน มีความรับผิดชอบ และเป็น "นายคนโปรด" ของลูกน้อง โดยนายจ้างของเขามีความเห็นเกี่ยวกับเขาว่า "เป็นหัวหน้าคนงานที่มีประสิทธิภาพมีความสามารถมากที่สุดในคนงานทั้งหมด" แต่นายจ้างชุดเดียวกันนั้นแหละ หลังจากเกิดอุบัติเหตุ "เห็นว่า ความเปลี่ยนแปลงทางจิตใจมากเสียจนไม่สามารถให้ตำแหน่งเดิมคืนกับเขาได้" คือ
จะกล่าวก็คือ ความสมดุลกันระหว่างสติปัญญาและสัญชาตญาณสัตว์ ดูเหมือนจะถูกทำลายไป
เขาอยู่นิ่ง ๆ ไม่ได้ ปราศจากความเคารพยำเกรง บางครั้งกล่าวคำที่หยาบคายที่สุด (ซึ่งก่อนนี้ไม่ได้เป็นเช่นนี้) ไม่มีความเกรงใจต่อเพื่อนร่วมงาน ไม่มีความอดทนต่อกฏระเบียบและคำแนะนำถ้าขัดแย้งกับความต้องการของเขา บางครั้งดื้อรั้นอย่างสุด ๆ แต่ก็เอาแน่อะไรไม่ได้ เปลี่ยนใจไปเปลี่ยนใจมา วางแผนในอนาคตไว้อย่างมากมาย ซึ่งยังวางไม่ทันเสร็จก็ทิ้งไปเสียก่อนเพื่อจะวางแผนอื่นที่ดูเหมือนจะทำได้ง่ายกว่า มีสมรรถภาพทางปัญญาและมีสภาวะคล้ายกับเด็ก เขามีร่างกายของชายที่แข็งแรงแต่มีอารมณ์ความรู้สึกเหมือนกับสัตว์ ก่อนประสบการบาดเจ็บ แม้ว่าเขาจะไม่ได้เรียนหนังสือ แต่เขาก็มีจิตใจที่สมดุล ที่คนอื่นที่รู้จักเขามองเขาว่า เป็นนักธุรกิจที่หลักแหลมและฉลาด กระตือรือร้นและอดทนที่สุดในการปฏิบัติการไปตามแผนการทำงานของตน ดังนั้นจากมุมมองนี้ จิตใจของเขาได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง จนกระทั่งว่า เพื่อนและคนคุ้นเคยของเขากล่าวว่า "ไม่ใช่นายเกจอีกต่อไป"[1]: 339–40
คำพรรณนาที่ได้รับการอ้างอิงถึงบ่อย ๆ นี้[36]: 125 ดูเหมือนจะมีข้อมูลมาจากบันทึกของหมอฮาร์โลว์เอง ที่เขียนไว้ไม่นานหลังจากอุบัติเหตุ[2]: 90,375 แต่พฤติกรรมอื่นที่หมอฮาร์โลว์กล่าวไว้[2]: 117-8 [1]: 340,345 ดูเหมือนจะใช้ข้อมูลจากการติดต่อกันในภายหลังกับครอบครัวและเพื่อน ๆ ของนายเกจ[ต้องการอ้างอิง] และมันยากที่จะจับคู่พฤติกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ (ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมากมายที่ส่อถึงความเสียหายระดับต่าง ๆ ของการทำงานในสมอง)[P] กับช่วงชีวิตต่าง ๆ ของนายเกจหลังอุบัติเหตุ คือจับคู่ว่า พฤติกรรมไหนเกิดขึ้นเมื่อไร[2]: 90-5 นี้ทำให้ยากที่จะสร้างประวัติว่า พฤติกรรมของนายเกจแปรเปลี่ยนไปตามระยะเวลาอย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งในฐานที่มีการชี้บอกว่า พฤติกรรมในช่วงท้ายชีวิตของเขา แตกต่างกันอย่างมากจากพฤติกรรม (ที่หมอฮาร์โลว์กล่าวไว้ข้างบน) ทันทีในช่วงหลังอุบัติเหตุ[28]: 6-9
การฟื้นตัวทางสังคม
[แก้]ในปี ค.ศ. 2008 มีการค้นพบ (1) รายงานที่ระบุว่านายเกจไม่ปรากฏความเสียหายด้านจิตใจ ในช่วงปีสุดท้ายของเขาในประเทศชิลี (จากแพทย์คนหนึ่งที่นั่นที่รู้จักเขา "ดี") และต่อจากนั้น (2) บทความหนึ่งที่อาจจะพรรณนาถึงกิจกรรมประจำวันเกี่ยวกับงานขับรถม้าของเขา กับ (3) บทโฆษณาของการโชว์ตัวในที่สาธารณะที่ไม่มีใครเคยรู้กันมาก่อน หลักฐานใหม่เหล่านี้บอกเป็นนัยว่า นายเกจที่มีปัญหาอย่างรุนแรงกับการเข้ากับสังคมและการงานที่หมอฮาร์โลว์ได้พรรณนาไว้ มีอยู่แค่ชั่วคราวหลังจากอุบัติเหตุเท่านั้น คือ นายเกจในที่สุดก็สามารถ "หาวิธีดำรงชีวิตอยู่ต่อไปได้" ทั้ง ๆ ที่ประสบความบาดเจ็บนั้น[38]: 75 และในชีวิตภายหลัง มีสมรรถภาพในการทำกิจต่าง ๆ ได้ สามารถเข้าสังคมได้ ดีกว่าที่เคยคิดกันมาก่อน[10]: 831
นักจิตวิทยามัลคอล์ม แม็คมิลแลนตั้งสมมุติฐานว่า ความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้แสดงถึงการฟื้นตัวทางสังคมของนายเกจในช่วงเวลาสืบ ๆ มา โดยอ้างอิงถึงคนไข้อื่นที่มีลักษณะอาการบาดเจ็บที่คล้ายคลึงกัน ที่ "มีบุคคลบางคนหรืออะไรบางอย่างที่ให้โครงสร้างกฏเกณฑ์กับชีวิตของพวกเขา พอที่จะให้สามารถเรียนรู้ใหม่ซึ่งทักษะทางสังคมและทักษะส่วนตัวในชีวิตประจำวัน"[10] ซึ่งในกรณีของนายเกจ ก็คืองานที่มีกฎระเบียบสูงในประเทศชิลี การรอดชีวิตและการฟื้นตัวของนายเกจ แสดงทฤษฎีการฟื้นตัวอย่างหนึ่ง ที่มีอิทธิพลต่อการพยาบาลรักษาความเสียหายของสมองกลีบหน้าในปัจจุบัน ในการรักษาปัจจุบัน การตั้งโครงสร้างกฎระเบียบให้กับการทำกิจต่าง ๆ ของคนไข้ ยกตัวอย่างเช่น ให้ (คนไข้) จินตนาการเห็นรายการที่เขียนเอาไว้ ได้รับพิจารณาว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญในการผจญกับความเสียหายของสมองกลีบหน้า เพราะว่า งานของนายเกจที่เป็นคนขับรถม้า ได้ให้โครงสร้างกับชีวิตของเขาซึ่งช่วยในการฟื้นตัว[39] แม็คมิลแลนด์ระบุว่า ถ้าเป็นอย่างนี้จริง ๆ นอกจากจะมีผลต่อทฤษฏีต่าง ๆ แล้ว นี่ "จะเพิ่มพูนหลักฐานที่มีอยู่ว่า การฟื้นสภาพสามารถเป็นไปได้แม้ในกรณีที่ยาก ที่ต้องใช้เวลานาน"[10]: 831 แม็คมิลแลนด์ตั้งประเด็นต่อไปอีกว่า ถ้านายเกจสามารถมีอาการดีขึ้นอย่างนี้เองโดยไม่ได้อาศัยความช่วยเหลือทางการแพทย์ "แล้วอะไรล่ะ จะเป็นตัวจำกัด (ความฟื้นตัวที่เกิดจาก) โปรแกรมการฟื้นฟูสภาพที่ทำอย่างเต็มรูปแบบ (ทางการแพทย์)"[Q]
ความเปลี่ยนแปลงทางใจที่บิดเบียนไปจากความจริง
[แก้]คนมีศีลธรรม นายฟีเนียส เกจ
Tamping powder down holes for his wage
ตอกดินระเบิดลงไปในหลุมเพื่อเลี้ยงชีวิต
Blew his special-made probe
ที่ยิงเครื่องมือที่สั่งทำของเขา
Through his left frontal lobe
ทะลุผ่านสมองกลีบหน้าด้านซ้ายของเขา
Now he drinks, swears, and flies in a rage.
-- นิรนาม[2]: 307
นักจิตวิทยาแม็คมิลแลนได้ทำการวิเคราะห์บทความต่าง ๆ ที่กล่าวถึงเรื่องนายเกจ ทั้งที่เป็นบทความวิทยาศาสตร์และบทความนิยม[6] แล้วพบว่า เรื่องราวเหล่านั้นบิดเบือนและกล่าวเกินเลยถึงการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของนายเกจ ไม่ตรงกับคำที่บุคคลที่มีการติดต่อกับนายเกจได้พรรณนาไว้[ต้องการอ้างอิง] นักเขียนบาร์กเกอร์กล่าวไว้ว่า[4] "ยิ่งวันเวลาล่วงเลยไป กรณี (ของนายเกจ) ก็ยิ่งมีชีวิตเป็นของตนเอง เพิ่มพูนตำนานต่าง ๆ โดยที่ไม่มีหลักฐานความจริงอะไร" และแม้ในปัจจุบัน นักประวัติศาสตร์ Zbigniew Kotowicz ได้เขียนไว้ว่า "คนที่ให้ข้อคิดเห็น (เกี่ยวกับนายเกจ) โดยมาก ยังอาศัยคำเล่าลือและเรื่องที่คนอื่นกล่าวไว้เกี่ยวกับนายเกจ ซึ่งก็คือ หลังจากอุบัติเหตุ นายเกจได้กลายเป็น psychopath (คนอันธพาลมีความผิดปกติทางจิต)[R]..."[36]
ลักษณะต่าง ๆ ที่กล่าวถึงนายเกจหลังอุบัติเหตุ มักจะไม่ได้มีหลักฐานจาก หรือบางครั้งขัดแย้งกับ ข้อเท็จจริงที่มีอยู่ รวมทั้ง การทำทารุณกรรมกับภรรยาและลูก ๆ (ซึ่งนายเกจไม่มีทั้งสองอย่าง), พฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม, "ความไม่สามารถที่จะคำนึงถึงอนาคตได้โดยประการทั้งปวง", "มักโม้อวดแผลของเขา", ความไม่สามารถหรือการปฏิเสธที่จะรักษางาน (เลี้ยงชีวิต) ไว้, รวมทั้ง ขึ้เมา ขี้โม้ โกหก เล่นการพนัน ชอบชกต่อย หาเรื่องผู้อื่น ขี้ขโมย และมีพฤติกรรม "เหมือนกับไอ้คนโง่เง่า" นักจิตวิทยาแม็คมิลแลนแสดงให้เห็นว่า ไม่มีพฤติกรรมอะไร ๆ เลยในพฤติกรรมเหล่านี้ ที่มีการกล่าวถึงโดยบุคคลที่ได้พบเห็นนายเกจ หรือแม้แต่โดยครอบครัวของนายเกจเอง[ต้องการอ้างอิง] ดังที่ นักประวัติศาสตร์ Kotowicz ได้เขียนไว้ว่า "หมอฮาร์โลว์ไม่ได้แจ้งเหตุอะไร ๆ เลยที่นายเกจควรที่จะต้องอับอาย"[36]: 122–3
การใช้ ใช้ผิด และไม่ใช้ เรื่องนายเกจกับทฤษฎีต่าง ๆ
[แก้]แม้ว่า นายเกจจะได้รับการพิจารณาว่า เป็นกรณีดัชนีของความเปลี่ยนแปลงทางบุคลิกภาพเนื่องจากความเสียหายในสมองกลีบหน้า[4][41][42][27] คุณค่าทางวิทยาศาสตร์ของกรณีนี้ไม่สมบูรณ์ เพราะขอบเขตความเสียหายในสมองของเขาไม่มีความแน่นอน[42] และเพราะการไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของเขา[2]: 290 แทนที่คุณค่าเช่นนั้น นักจิตวิทยาแม็คมิลแลนได้เขียนไว้ว่า "เรื่องของนายเกจเป็นเรื่องที่น่าทรงจำไว้ เพราะว่า เป็นเรื่องที่แสดงถึงความง่ายดายในการเปลี่ยนข้อเท็จจริงที่มีเพียงเล็กน้อย ไปเป็นนิทานปรัมปราทางวิทยาศาสตร์และตำนานนิยมได้" หลักฐานที่มีอยู่น้อยนิดทำให้เกิด "การฟิตทฤษฎีที่ต้องการเกือบอะไรก็ได้กับข้อเท็จจริงนิดหน่อยที่มีอยู่"[2]: 290 ความเป็นห่วงเช่นนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1877 แล้ว เมื่อนักประสาทวิทยาชาวอังกฤษ น.พ. เดวิด เฟอร์ริเออร์ (โดยเขียนไปหา ศ. น.พ. เฮ็นรี่ พิกเกอริง บาวดิช ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดปรารถนาที่จะ "ทำกรณีนี้ให้ลงเอยอย่างชัดเจน") กล่าวบ่นว่า
เมื่อตรวจสอบรายงานต่าง ๆ เกี่ยวกับโรคและอาการบาดเจ็บทางสมอง
ผมล่ะอัศจรรย์ใจในความไม่ละเอียดและความบิดเบือนจากความจริงที่มาจากบุคคล
ที่มีทฤษฎีโปรดที่จะสนับสนุน (ทำให้) ข้อเท็จจริงนั้นเสียหายไปอย่างน่าเสียดาย...[43]
ในปี ค.ศ. 1995 ศ. น.พ. (ประสาทวิทยา) โอลิเวอร์ แซ็กซ์ กล่าวถึง "การตีความหมายและการตีความหมายผิด ๆ เริ่มต้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1848 จนถึงปัจจุบัน" เกี่ยวกับเรื่องราวของนายเกจ[44]
ด้วยเหตุนี้ สำหรับข้อถกเถียงของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ว่า "กิจหน้าที่ทางใจต่าง ๆ นั้น มีเขตจำเพาะอยู่ในเปลือกสมองหรือไม่" ทั้งสองพวกต่างก็ใช้เรื่องของนายเกจมาสนับสนุนทฤษฎีของตน[4][2]: ch9 ยกตัวอย่างเช่น ไม่นานหลังจาก Eugene Dupuy[45]ได้เขียนว่า นายเกจพิสูจน์ให้เห็นว่า สมองไม่มีเขตจำเพาะ ศ. น.พ. เฟอร์ริเออร์ก็อ้างนายเกจเป็นข้อพิสูจน์ว่า มีเขตจำเพาะ[46] แม้พวกนัก "วิชาการ" เกี่ยวกับ phrenology[M] ก็ใช้เรื่องของนายเกจเหมือนกัน โดยอ้างว่า ความเปลี่ยนแปลงทางจิตใจของเขาเกิดจากความเสียหายใน "อวัยวะแห่งความเคารพ" และ/หรือ "อวัยวะแห่งความเมตตากรุณา" ที่อยู่ใกล้ ๆ กัน[47]: 194 แม้ในปี ค.ศ. 1994 ศ. น.พ. ดร. แอนโทนีโอ ดามาซีโอ เพื่อจะสนับสนุนสมมุติฐาน somatic marker hypothesis (ซึ่งสัมพันธ์การตัดสินใจกับอารมณ์ความรู้สึกและกับรากฐานทางชีวภาพของอารมณ์ความรู้สึก) ของเขา ก็ได้เปรียบเทียบความคล้ายคลึงกันระหว่างพฤติกรรมที่เขาว่านายเกจมี กับพฤติกรรมของคนไข้ปัจจุบันที่มีความเสียหายใน orbitofrontal cortex และในอะมิกดะลา[26] ซึ่งนักประวัติศาสตร์ Kotowicz[36] (ปี ค.ศ. 2007) ได้วิจารณ์งานของ ศ. ดามาซีโอว่า การวาดภาพนายเกจของเขา เป็นการบิดเบือนเรื่องที่เกิดขึ้นจริง ๆ และการกล่าวถึงเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตในเดือนสุดท้าย ๆ ของนายเกจว่า "เป็นเรื่องกุวิตถาร"
หรือดังที่ Kihlstrom ได้กล่าวไว้ดังนี้ว่า
ผู้ให้ข้อคิดเห็นปัจจุบันหลายท่านพูดเกินความจริง เกี่ยวกับขอบเขตความเปลี่ยนแปลงทางบุคลิกภาพของนายเกจ
บางทีเป็นการสร้างเรื่องในอดีตใหม่ โดยใช้สิ่งที่เรารู้หรือคิดว่ารู้ในปัจจุบัน
เกี่ยวกับหน้าที่ของสมองกลีบหน้าในการควบคุมตนเอง[48]
ตามคำของกราฟแมน มีการใช้เรื่องของนายเกจ เพื่อแสดงตัวอย่างปัญหาสังคมจากคนไข้ที่มีรอยโรคที่คอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า (PFC) ส่วนล่างด้านใน (ventromedial) แต่ว่า ความบกพร่องที่เกิดขึ้นอาจจะได้รับการต่อเติมจากพวกนักเล่านิทาน[49]: 295
Psychosurgery และ lobotomy
[แก้]มักจะมีการกล่าวกันว่า[ต้องการอ้างอิง] เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับนายเกจมีผลกับการพัฒนาการรูปแบบต่าง ๆ ของการผ่าตัดแบบ psychosurgery[S] โดยเฉพาะอย่างยิ่ง lobotomy[T][50]: 341 นอกจากคำถามที่ว่า ทำไมความเปลี่ยนแปลงที่ไม่น่าพึงใจที่ยกให้กับนายเกจจึงจะดึงดูดใจให้ทำการเลียนแบบโดยการผ่าตัด นักจิตวิทยาแม็คมิลแลนกล่าวว่า ไม่มีความสัมพันธ์กัน[2]: 250 (ระหว่างเรื่องของนายเกจกับการพัฒนารูปแบบของ psychosurgery)
ภาพ
[แก้]ในปี ค.ศ. 2009 มีการค้นพบภาพแบบดาแกโรไทป์ของนายเกจ เป็นรูปภาพของนายเกจรูปแรกที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นรูปจริง ตั้งแต่ ศ. บิกเกโลว์ ได้ทำการหล่อหน้ากากหน้านายเกจเมื่อยังมีชีวิตอยู่ในปลายปี ค.ศ. 1849[13]: 22n [2]: ii เป็นรูปแสดงนายเกจที่ "แม้เสียโฉมแต่ก็ยังหล่ออยู่"[30] มีตาข้างหนึ่งปิดและมีแผลเป็นที่เห็นได้ชัด "แต่งตัวดี แสดงความมั่นใจ และแม้แต่ความภูมิใจ"[ต้องการอ้างอิง] โดยถือแท่งเหล็กของเขาอยู่ ซึ่งสามารถอ่านอักษรที่สลักไว้ได้โดยส่วนหนึ่ง[51] ความเป็นรูปแท้ได้รับการตรวจสอบโดยหลายวิธี รวมทั้งการเทียบภาพของอักษรสลักที่เห็นได้ในรูปกับอักษรบนแท่งเหล็กของจริงในพิพิธภัณฑ์กายวิภาควอร์เร็นของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และการเทียบแผลบาดเจ็บที่เห็นในรูปกับหน้ากากหล่อ (ที่ ศ. บิกเกโลว์ ทำขึ้น) ที่ยังได้เก็บไว้[8]
ในปี ค.ศ. 2010 มีการค้นพบรูปที่สองของนายเกจ รูปใหม่นี้ โดยยังมีก๊อปปี้อื่น ๆ อยู่ในการครอบครองของอย่างน้อยสองสายตระกูลของนายเกจ เป็นภาพแสดงคล้ายกับที่เห็นในรูปแรกที่พบในปี ค.ศ. 2009 (ตามคำพูดของผู้เชี่ยวชาญเรื่องของนายเกจที่สถาบันสมิธโซเนียนได้ปรึกษา[9][A])
การวิเคราะห์หลักฐานที่มา
[แก้]นักจิตวิทยาแม็คมิลแลนได้ทำการเปรียบเทียบเรื่องราวของนายเกจจากแหล่งต่าง ๆ[14]: C [2]: esp.116-19 ch13-14 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เป็นเวลาเกินกว่าศตวรรษ ที่แหล่งที่มาของเรื่องชีวิตนายเกจความจริงมีอยู่ไม่กี่แหล่ง รวมทั้งของหมอฮาร์โลว์ (ค.ศ. 1848, 1849, 1868)[11][23][1], ของ ศ. น.พ. บิกเกโลว์ (ค.ศ. 1850)[13], และของนักเขียนแจ็กสัน (ค.ศ. 1849, 1870)[53][17]
แม็คมิลแลน (ค.ศ. 2000) ขัดกับหมอฮาร์โลว์เรื่องวันเสียชีวิตของนายเกจ[2]: 108-9 คือ หมอฮาร์โลว์ (ค.ศ. 1868)[1] แสดงวันเสียชีวิตเป็นวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1861 แต่บันทึกของสัปเหร่อ[24] แสดงว่าได้ฝังนายเกจในวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1860 นอกจากนั้นแล้ว แม็คมิลแลนยังเปลี่ยนวันที่อื่น ๆ ในชีวิตช่วงสุดท้ายของนายเกจ คือ วันย้ายจากประเทศชิลีไปยังเมืองซานฟรานซิสโก และวันเริ่มการชักกระตุก เพื่อปรับวันที่ที่ไม่สอดคล้องกับบันทึกของสัปเหร่อ
เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 รูปปี ค.ศ. 2009 ที่ได้รับการตรวจสอบ ได้รับมาจากแจ็คและเบเวอร์ลี วิลกัส
ภาพดั้งเดิมนี้ โดยเหมือนกับรูปภาพแบบดาแกโรไทป์อื่น ๆ
แสดงบุคคลมีด้านซ้ายขวากลับข้าง
ทำให้ดูเหมือนว่าตาขวาของนายเกจเป็นตาที่บาดเจ็บ
แต่ว่า เป็นเรื่องแน่นอนว่า (Lena & Macmillan, 2010)[9]
อาการบาดเจ็บของนายเกจ รวมทั้งตาของเขาด้วย อยู่ทางด้านซ้าย
ดังนั้น ในการแสดงรูปในที่นี้
รูปได้ผ่านกระบวนการกลับด้านอีกครั้งหนึ่งเพื่อที่จะแสดงนายเกจเหมือนกับที่เขาปรากฏจริง ๆ
รูปที่ได้รับการยืนยันในปี ค.ศ. 2010 เป็นสมบัติของทารา เกจ มิลเลอร์แห่งรัฐเท็กซัส และรูปที่เหมือนกันอีกรูปหนึ่งเป็นของฟิลลิส เกจ ฮาร์ตลีย์แห่งรัฐนิวเจอร์ซีย์ (นายเกจไม่มีลูกเท่าที่รู้ ดู Macmillan 2000[2]: 319,327 บุคคลเหล่านี้เป็นเชื้อสายของญาติของเขา ดู Macmillan & Lena 2010[28]: 4 ) โดยต่างจากรูปของวิลกัส ซึ่งเป็นรูปดั้งเดิม รูปของมิลเลอร์และฮาร์ตลีย์เป็นภาพถ่ายก๊อปปี้จากรูปถ่ายดั้งเดิมที่ยังไม่พบ พิมพ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นรูปภาพแบบดาแกโรไทป์ หรือภาพถ่ายประเภทอื่นที่มีการกลับด้านซ้ายขวา (ซึ่งเป็นเรื่องสามัญในการถ่ายรูปในยุคแรก ๆ) และในภาพนี้ก็เช่นกัน ได้มีการกลับด้านซ้ายขวาให้เห็นได้เหมือนจริงแล้ว เสื้อเชิ้ตและเน็คไทที่นายเกจใส่ในภาพของมิลเล่อร์-ฮาร์ตลีย์ต่างจากที่เห็นในภาพของวิลกัส แม้ว่าเขาจะใส่เสื้อกั๊กตัวเดียวกัน และน่าจะเป็นเสื้อชั้นนอกตัวเดียวกันด้วย[52]
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 นักจิตวิทยาแม็คมิลแลน (ค.ศ. 2000)[2]: 14-17,31n5,490-1 ได้กล่าวถึงบรรพบุรุษของนายเกจและเรื่องที่รู้และไม่รู้เกี่ยวกับกำเนิดและต้นชีวิตของเขา
คือ บิดามารดาของเขาได้สมรสกันในวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 1823
ส่วนวันเกิดของนายเกจในวันที่ 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1823 (เป็นวันที่เดียวที่กล่าวไว้อย่างกำหนดวันในหลักฐานทั้งหมด) มาจากการลำดับตระกูลของนายเกจสืบโดยนักจิตวิทยาแม็คมิลแลน (ค.ศ. 2000)[2]: 16
ผู้ตั้งข้อสังเกตว่า แม้ว่าวันที่นี้จะไม่ปรากฏที่มา แต่ก็เป็นวันที่คล้องจองกับหลักฐานร่วมสมัยอื่น ๆ (ที่กล่าวถึงวันเวลา)[11]: 389 [12][13]: 13 [1]: 330
ที่ว่า นายเกจมีอายุ 25 ปีเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
และมีอายุ 36 ปีเมื่อเสียชีวิต ดังที่แสดงในบันทึกของสัปเหร่อหลังจากการสิ้นชีวิตของเขา ในวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1860[2]: 109
ในวัยเด็ก นายเกจได้อาศัยอยู่ที่เมืองต่าง ๆ รวมทั้งเมืองเลบานอน (หรือเมืองอีสต์เลบานอนที่อยู่ใกล้ ๆ) เมืองเอ็นฟิลด์ หรือ/และเมืองกราฟตัน (ซึ่งล้วนแต่อยู่ในเทศมณฑลกราฟตัน รัฐนิวแฮมป์เชอร์) แม้ว่าหมอฮาร์โลว์จะกล่าวถึงเมืองเลบานอนโดยตรงว่าเป็นถิ่นกำเนิดของนายเกจ[1]: 336 และเป็นบ้าน[1]: 338 (น่าจะเป็นของบิดามารดาของเขา) เป็นที่ที่นายเกจกลับไปหลังจากอุบัติเหตุ 10 อาทิตย์
ชัดเจนว่าอักษรแรกของชื่อกลางของนายเกจคือ "P"[10]: 839fig. [11]: 389 [13]: 13 [1]: 330 [2]: 490 แต่ว่า ไม่มีหลักฐานอะไรที่ชี้ว่า อักษรย่อ P นี้เป็นตัวแทนคำเต็มว่าอะไร (แม้ว่าปู่ของเขาจะมีชื่อเดียวกันว่า Phineas และน้องชายชื่อว่าเด็กซ์เตอร์จะมีชื่อกลางว่า พริตชาร์ด)[2]: 490 ชื่อแรกและชื่อกลางของมารดานายเกจบันทึกไว้ต่าง ๆ กันรวมทั้ง แฮนนาห์ หรือ ฮันนา, และ ทรัสเซล์ล, ทรูเซล, หรือ ทรัสเซล และชื่อก่อนสมรสมีการสะกดต่าง ๆ กันรวมทั้ง Swetland, Sweatland, หรือ Sweetland[2]: 490
- ↑ 3.0 3.1 โรคลมชักชนิดต่อเนื่อง (Status epilepticus) เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่สมองเกิดการชักไม่หยุด คำนิยามมีหลายอย่าง แต่โดยทั่ว ๆ ไปแล้วหมายถึงการชักที่ต่อเนื่องกันไม่หยุดหย่อนเกินกว่า 5 นาที หรือการชักที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ กันโดยไม่มีการฟื้นสติในระหว่างที่เกินกว่า 5 นาที
- ↑ 4.0 4.1 4.2 การใช้คำที่แสดงความอัศจรรย์ใจแบบขำ ๆ เป็นแบบการเขียนทางการแพทย์ที่ปกติในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 19 เกี่ยวกับเรื่องของนายเกจ
(และเกี่ยวกับผู้รับเคราะห์รายอื่น ๆ ที่มีอุบัติเหตุทางสมองที่ฟังแล้วไม่น่าเป็นไปได้
รวมทั้งที่เกิดเกี่ยวกับขวาน สลักเกลียว สะพาน ปืนระเบิด
ปืนลูกโม่ยิงทะลุจมูก[16]
และ "แม้กระทั่ง การตกลงใส่ของกิ่งต้นยูคาลิปตัส")[2]: 62,63-7
โดยตั้งข้อสังเกตแบบปราศจากอารมณ์ว่า "จุดเด่นของเรื่องนี้ก็คือความไม่น่าจะเป็นไปได้...
นี่เป็นอุบัติเหตุประเภทที่เห็นในภาพยนตร์ไร้เสียงในโรงหนัง แต่จะไม่เห็นในที่อื่น"
ศ. บิกเกโลว์ (ค.ศ. 1850) เน้นว่า แม้ว่า "ในตอนแรกผมไม่ค่อยจะเชื่อเรื่องนี้ แต่หลังจากนั้นก็ได้เกิดความแน่ใจเป็นการส่วนตัว"
และเรียกกรณีนี้ว่า "กรณีหาเรื่องอื่นเปรียบมิได้ในประวัติการณ์ศัลยศาสตร์"[13]: 13,19
การให้คำยืนยันอย่างนี้ของ น.พ. บิกเกโลว์ ผู้มีตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ศัลยศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ช่วยยุติการพูดเยาะเย้ยล้อเลียนเรื่องของนายเกจจากบุคคลในวงการแพทย์ทั้งหลาย
รวมทั้งบุคคลหนึ่งที่หมอฮาร์โลว์ (ค.ศ. 1868) ระลีกได้ว่า ได้กล่าวแบบไม่ไยดีในกรณีนี้ว่า "เป็นเรื่องกุขึ้นของพวกแยงกี้" (แยงกี้เป็นคำสแลงเรียกคนอเมริกัน)
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเกือบ 20 ปีก่อน ในเมืองชนบทที่ไม่มีใครรู้จัก...
ที่คนไข้ได้รับการดูแลและมีการรายงานโดยแพทย์ชนบทที่ไม่มีชื่อเสียงอะไร และได้รับการพิจารณาจากแพทย์ชาวเมืองด้วยความไม่ค่อยเชื่อ จนกระทั่งว่า แพทย์หลายท่านปฏิเสธอย่างเด็ดขาดว่า ชายคนนั้น (คือนายเกจ) ลุกขึ้นมาได้ จนกระทั่งได้จิ้มนิ้วของตนไปที่รูในศีรษะ (ของนายเกจ) [ดู ทอมัสกังขา ผู้ที่ไม่สามารถคลายความสงสัยได้นอกจากพิสูจน์ด้วยตนเอง] และแม้กระทั่งอย่างนั้น ก็ยังต้องเรียกร้องคำเป็นพยานหลักฐานจากหมอชนบท จากบาทหลวงและจากทนาย ก่อนที่จะสามารถเชื่อหรือก่อนที่จะเชื่อได้ ศัลย์แพทย์โด่งดังหลายท่านพิจารณาว่าเรื่องเช่นนี้ไม่สามารถเป็นไปได้โดยหลักสรีรวิทยา
และหลักฐานที่ปรากฏให้เห็นในคนไข้ก็ถูกอธิบายแก้ต่างไปโดยคำต่าง ๆ นา ๆ[1]: 329,344
สมจริงอย่างนั้น ผู้เขียนแจ็กสัน (ปี ค.ศ. 1870) กล่าวว่า "โชคร้ายจริง ๆ แม้เรื่องนี้จะมีหลักฐานที่หมอฮาร์โลว์ได้ให้ไว้ แต่โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้เห็นกะโหลก (ของนายเกจ) นั้นด้วยเอง ก็ยังเป็นเรื่องที่เกินกว่าคนอื่นจะเชื่อได้"[17]: v แม้จะมีกรณีที่เกิดขึ้นภายหลังติดตามกรณีของนายเกจต่อมา เช่นกรณีผู้ทำงานในเหมืองที่รอดชีวิตจากการมีท่อก๊าซวิ่งทะลุศีรษะ[2]: 66 [18] และกรณีหัวหน้าคนงานโรงตัดไม้ที่กลับไปทำงานไม่นานหลังจากที่เลื่อยวงเดือนได้ตัดกะโหลกศีรษะของเขาเป็นช่องลึก 8 เซนติเมตร จากระหว่างตาจนไปถึงข้างหลังศีรษะของเขา (โดยที่ศัลยแพทย์ต้องเอาออกจากช่องแผล "กระดูก 32 ชิ้น พร้อมกับขี้เลื่อยเป็นจำนวนมาก")[19] วารสารการแพทย์และศัลยศาสตร์บอสตัน (ค.ศ. 1869) ก็ยังแกล้งทำเป็นสงสัยว่า สมองทำหน้าที่อะไรบ้างหรือเปล่า โดยกล่าวว่า "ตั้งแต่เรื่องเล่นตลกเกี่ยวกับ แท่งเหล็ก ท่อก๊าซ และเรื่องคล้ายกันอื่น ๆ (ความมีเหตุผล) ความไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ ก็เริ่มอ่อนกำลังลง ไม่สามารถที่จะกล่าวคำอะไรได้ สมองดูเหมือนจะไม่มีความสำคัญอะไรในทุกวันนี้"[20] รายงานของสมาคมการแพทย์เวอร์มอนต์ (Smith 1886) ก็กล่าวเป็นเชิงตลกเช่นเดียวกันคือ (เลียนคำจากละครเรื่องแม็คเบ็ธ [Act III] ของวิลเลียม เชกสเปียร์) "แม็คเบ็ธกล่าวว่า 'เคยเป็นอย่างนี้มาตลอดว่า เมื่อสมองไหลออกมาแล้ว คนคนนั้นก็จะตาย แต่มาสมัยนี้ กลับลุกขึ้นมาได้อีก' เป็นไปได้ว่า อีกไม่นานเท่าไร พวกเราก็จะได้ยินเรื่องเกี่ยวกับศาสตราจารย์ชาวเยอรมัน (เหมือนกับ ศ. ในประเทศเยอรมันผู้สร้างแฟรงเกนสไตน์) ผู้ที่จะผ่าตัดสมองนั้นออก (และคนไข้ก็จะยังอยู่ต่อไปได้)"[3]: 53-54
ส่วนบทความที่อ้างอิงถึงถึงแท่งเหล็กของนายเกจว่า "แขกผู้ไม่พูดพล่ามทำเพลงมีนิสัยบุกรุก (อังกฤษ: abrupt and intrusive visitor)" ปรากฏในวารสารการแพทย์และศัลยศาสตร์บอสตัน[21] ในบทความปริทัศน์ต่อบทความที่หมอฮาร์โลว์นำเสนอ
- ↑ 5.0 5.1 5.2 ดูแม็คมิลแลน (ค.ศ. 2000)[2]: 25-7 และแม็คมิลแลน (PGIP)[14]: A เพื่อขั้นตอนการวางระเบิด ตำแหน่ง และเหตุการณ์ในช่วงที่เกิดอุบัติเหตุ รูวางระเบิด ซึ่งมีหน้ากว้างประมาณ 4.5 เซนติเมตร และลึก 4 เมตร อาจจะต้องใช้แรงงานผู้ชาย 3 คนเป็นวันเพื่อที่จะขุดโดยใช้เครื่องมือ (ไม่ได้ใช้เครื่องกล) วิจารณญาณเกี่ยวกับเรื่องแรงงานที่ต้องใช้ในการวางระเบิดแต่ละแห่ง เรื่องที่ต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการเลือกสถานที่ที่จะวางระเบิดและปริมาณดินระเบิดที่ต้องใช้ และความสัมพันธ์ระหว่างเจ้านาย-ลูกน้องที่บางครั้งสามารถระเบิดขึ้นได้ในงานประเภทนี้ ล้วนแต่แสดงความสำคัญของคำพูดของหมอฮาร์โลว์ว่า นายจ้างของนายเกจพิจารณานายเกจว่า "เป็นหัวหน้างานที่มีประสิทธิภาพมีความสามารถมากที่สุดในลูกจ้างทั้งหมด" ก่อนอุบัติเหตุ
- ↑ ศ. บิกเกโลว์กล่าวถึงส่วนเรียวของแท่งเหล็กนี้ว่า ยาว 7 นิ้ว แต่ขนาดจริงแล้ว ยาว 12 นิ้ว (ตามที่กล่าวในบทความ)[11]: 331 [2]: 26
- ↑ จากคำของหมอวิลเลียมส์[13]: 15–16
- ↑ หมอฮาร์โลว์ให้ข้อสังเกตในวันที่ 24 กันยายนว่า "พละกำลังตกลง ... ช่วงเวลาสามวันต่อมา อาการโคม่าหนักขึ้น ลูกตาซ้ายยื่นออกมามากขึ้น โดยมี fungus ขยายออกมาจากหางตา ... และมี fungus เป็นแผ่นใหญ่ขยายขึ้นไปอย่างรวดเร็วจากสมองส่วนที่ได้รับความบาดเจ็บ งอกออกมาที่บนศีรษะ[1]: 335 " ในที่นี้คำว่า fungus ไม่ได้หมายถึงเชื้อรา แต่หมายเอาความหมายที่พจนานุกรมอังกฤษอ๊อกซฟอร์ดให้ไว้ว่า "การเติบโตผิดปกติคล้ายฟองน้ำ เช่นการเติบโตเป็นเม็ด ๆ ในแผล" ซึ่งเป็นปฏิกิริยาของร่างกายต่อแผล[2]: 54,61-2
- ↑ Barker (1995) : "ความบาดเจ็บที่ศีรษะจากการตกลง จากถูกม้าเตะ และจากลูกปืน เป็นอาการที่รู้จักกันดีในอเมริกายุคก่อนสงครามกลางเมือง
และเล็กเช่อร์เกี่ยวกับศัลยศาสตร์ที่มีในสมัยนั้นทุกเล็กเช่อร์ ก็จะกล่าวถึงการวินิจฉัยและการเยียวยา" ของการบาดเจ็บเช่นนี้
แต่เป็นโชคของนายเกจ ศัลย์แพทย์โจเซ็ฟ แพนโคสต์ (ซึ่งเป็นศัลยแพทย์มือหนึ่งในสมัยนั้น)
ได้ทำ "การผ่าตัดที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของเขาต่ออาการบาดเจ็บที่ศีรษะ หน้าชั้นของหมอฮาร์โลว์ในโรงเรียนแพทย์
ทำการเจาะกะโหลกศีรษะโดยวิธี [trephining] เพื่อระบายหนองออก มีผลเป็นการฟื้นตัวของคนไข้อย่างชั่วคราว
แต่โชคไม่ดีว่า อาการได้กำเริบภายหลังจนคนไข้เสียชีวิต
การชันสูตรศพพบหนองที่กลับคั่งขึ้นมาอีก คือ เนื้อเยื่อแบบ granulation ได้ไปปิดช่องในเยื่อดูรา"
บาร์กเกอร์กล่าวต่อไปอีกว่า โดยเปิดทางออกของแผลเอาไว้
และให้ตั้งศีรษะไว้ในที่สูงเพื่อให้หนองไหลออกจากกระดูกหุ้มสมองผ่านรูที่เพดานปาก
หมอฮาร์โลว์ "ไม่ได้ทำข้อผิดพลาดของ ศ. แพนโคสต์ซ้ำอีก"[4]: 675
โดยตั้งข้อสังเกตว่า แม้ว่าหมอฮาร์โลว์จะเป็น "หมอพื้นที่ที่ยังไม่ค่อยมีประสบการณ์ ... พึ่งเรียนจบมาแค่ 4 1/2 ปี ก่อน" แต่นักเขียนแม็คมิลแลนก็ได้พูดถึงสิ่งที่หมอฮาร์โลว์ได้ทำว่าเป็น "การดัดแปลงวิธีการรักษาที่สืบกันมาได้อย่างเหมาะสม ที่ประกอบด้วยฝีมือและมีจินตนาการ" ได้กล่าวเพิ่มขึ้นถึงประเด็นการตัดสินใจ (โดยทำต่างไปจากคำสอนของอาจารย์ในวิทยาลัยแพทย์) เพื่อที่จะไม่หาชิ้นกระดูกอื่น ๆ อย่างละเอียดถี่ถ้วน ดังนั้น จึงหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่อการเสียเลือดและความบาดเจ็บเพิ่มขึ้นทางสมอง และถึงการใช้สารกัดในการรักษา fungi ดังนั้น จึงหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่อการต้องใช้วิธีรักษาอีกสองอย่าง คือ การตัดทิ้ง (ซึ่งเสี่ยงต่อการเสียเลือด) และดัน fungi ให้เข้าไปในแผล (ซึ่งเสี่ยงต่อการเพิ่มความกดดันแก่สมอง)[2]: 12,60-2
สำหรับบทบาทของตนต่อการรอดชีวิตของนายเกจ หมอฮาร์โลว์กล่าวเพียงว่า "ผมกล่าวเพียงได้ว่า ... เหมือนกับคุณหมอ Ambroise Paré ผม (เพียงแต่) ทำแผลให้เขา พระเจ้า (นั่นแหละ) เป็นคนรักษาเขา"[1]: 346 เป็นการประเมินตนที่นักจิตวิทยาแม็คมิลแลน (ค.ศ. 2000)[2]: 62 กล่าวว่าถ่อมตนเกินไป ดู Macmillan (ค.ศ. 2000)[2]: 12;ch4 Macmillan (ค.ศ. 2008)[10]: 828-9 และ Barker (ค.ศ. 1995)[4]: 675,679-80 เกี่ยวกับรายละเอียดอื่น ๆ ในเรื่องวิธีการบริหารของหมอฮาร์โลว์ในกรณีนี้
- ↑ Barnum's American Museum เป็นพิพิธภัณฑ์แสดงสิ่งของและบุคคลแปลก ๆ
- ↑ 11.0 11.1 11.2 นักจิตวิทยาแม็คมิลเลน (ค.ศ. 2000) ได้กล่าวถึงการเสียชีวิตของนายเกจและการฝังศพ (ดั้งเดิม) ให้ดู "Corrections to An Odd Kind of Fame (แก้ข้อผิดสำหรับหนังสือ An Odd Kind of Fame)" ของแม็คมิลแลนเกี่ยวกับวันที่เสียชีวิต[2]: 108-9 [14]: D หมอฮาร์โลว์ (ค.ศ. 1868)[1] ได้บันทึกวันเสียชีวิตของนายเกจว่าเป็นวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1861 แต่บันทึกของสัปเหร่อ[24] แสดงว่าฝังในวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1860 การที่หมอฮาร์โลว์ (แม้ว่าจะได้ติดต่อกับมารดาของนายเกจเมื่อกำลังเขียนหนังสือ) เขียนวันที่ผิดพลาดไป 1 ปีเต็ม บอกเป็นนัยว่า วันที่อื่น ๆ ที่คุณหมอกล่าวถึงเกี่ยวกับเหตุการณ์ปลายชีวิตของนายเกจ เช่นการย้ายไปอยู่ที่เมืองซานฟรานซิสโก สหรัฐ จากประเทศชิลี และการเริ่มอาการชักกระตุก ก็จะต้องผิดพลาดด้วย และน่าจะผิดพลาดเป็นระยะเวลาเท่ากัน (คือ 1 ปี) บทความนี้เขียนวันที่ตามนักจิตวิทยาแม็คมิลแลนที่แก้วันที่ผิดพลาดเหล่านั้น
- ↑ Macmillan & Lena กล่าวไว้ว่า: "มีแต่หมอฮาร์โลว์เท่านั้น[1]: 342 ที่กล่าวถึงเรื่องขุดศพขึ้นมาอีก และก็ไม่ได้บอกว่า ได้พบแท่งเหล็กตอกของนายเกจด้วย แม้ว่าสิ่งที่คุณหมอกล่าวจะมีความคลุมเครือบ้างเล็กน้อย แต่นั่นไม่ใช่เหตุแห่งการแสดงเหตุการณ์ที่ไม่มีในหลักฐานอื่นและไม่เข้ากับหลักฐานอื่น... ว่ามีการพบแท่งเหล็กตอกของนายเกจที่หลุมฝังศพ"[28]: 7
- ↑ 13.0 13.1 13.2 phrenology เป็นวิทยาศาสตร์เทียมที่เน้นเรื่องการวัดขนาดของกะโหลกศีรษะมนุษย์ โดยมีฐานความคิดว่า สมองเป็นอวัยวะของใจ และว่าเขตในสมองบางแห่งมีหน้าที่เฉพาะ
- ↑ คือโดยเฉพาะแล้ว คณะของแวน ฮอร์น[34]ให้ข้อสังเกตว่า แม้ว่าจะมี "ความเสียหายอย่างกว้างขวางต่อสมองกลีบหน้า, left temporal polar, และ insular cortex เส้นวิ่งของท่อนเหล็กที่ฟิตที่สุดไม่ได้แสดงว่า ท่อนเหล็กวิ่งทะลุส่วนเส้นกลาง (midline) เหมือนอย่างที่เสนอโดยผู้เขียนบางท่าน" (เช่นเฮ็ช. ดามาซีโอ) "เส้นประสาทที่เสียหายขยายเลยจากสมองกลีบหน้าด้านซ้าย ไปถึงสมองกลีบขมับ สมองกลีบข้าง สมองกลีบท้ายทอย (ทั้งหมดด้านซ้าย) รวมไปถึงปมประสาทฐาน (basal ganglia) ก้านสมอง และซีรีเบลลัม แม้เส้นประสาทเชื่อมต่อระหว่างซีกสมองของสมองกลีบหน้าและระบบลิมบิก รวมทั้งปมประสาทฐาน ก็ได้รับผลกระทบด้วย (คำอ้างอิงที่ยกมานี้ตัดคำที่ประมาณค่าความเสียหายต่อแต่ละส่วนของสมองออก)
- ↑ จากหมอฮาร์โลว์ (ค.ศ. 1848)[11]: 393 ส่วนนักจิตวิทยาแม็คมิลแลน (ค.ศ. 2000)[2]: 106-8,375-6 พูดถึงความลังเลใจที่อาจจะมีของหมอฮาร์โลว์ และของหมู่สหายและครอบครัวของนายเกจ ที่จะพูดถึงนายเกจในเชิงลบในช่วงที่เขายังมีชีวิตอยู่ และเสนอว่า[2]: 350-1 บทความนิรนามที่กล่าวถึงนายเกจในปี ค.ศ. 1850[35] ว่า "gross, profane, coarse, and vulgar (น่ารังเกียจ หยาบคาย สามหาว และปากตลาด)" ความจริงมาจากหมอฮาร์โลว์
- ↑ ยกตัวอย่างเช่น คำพรรณนาของหมอฮาร์โลว์ในปี ค.ศ. 1868 ว่า "เขาอยู่นิ่ง ๆ ไม่ได้ ปราศจากความเคารพยำเกรง...แต่ก็เอาแน่อะไรไม่ได้ เปลี่ยนใจไปเปลี่ยนใจมา"[1] ขัดแย้งกับลักษณะอาชีพของนายเกจในประเทศชิลี ซึ่งเป็นงานที่คนขับรถต้อง "ไว้วางใจได้ แก้ปัญหาได้ และมีความทนทานสูง แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือ ต้องมีบุคลิกภาพที่สามารถบริหารผู้โดยสารได้ด้วยดี" (Macmillan 2000[2]: 106 โดยอ้างอิง Austin 1977[37]) นอกจากนั้นแล้ว นักจิตวิทยาแม็คมิลแลนยังตั้งข้อสังเกตว่า นายจ้างของนายเกจได้จ้างนายเกจล่วงหน้า ตั้งแต่อยู่ในเขตนิวอิงแลนด์แล้ว (น่าจะหมายถึงหลังเกิดอุบัติเหตุ) เพื่อจะเป็นส่วนของกิจการรถม้าโดยสารใหม่ในประเทศชิลี[2]: 376-7 [10]: 831
- ↑ "what are the limits for those in formal rehabilitation programs?"[40]
- ↑ psychopathy เป็นความผิดปกติทางบุคลิกภาพที่มีอาการคือ ความบกพร่องทางอารมณ์ความรู้สึก (เช่นมีความกลัวที่ลดลง ไม่มีความเห็นใจผู้อื่น และไร้ความอดทนต่อความเครียด) ใจร้าย เห็นแก่ตัว มีเสน่ห์ผิวเผิน ใช้เล่ห์ชักใยผู้อื่น ไม่มีความรับผิดชอบ ไม่มีความยับยั้งชั่งใจ มักทำผิดกฎหมาย มีพฤติกรรมต่อต้านสังคม ปราศจากความสำนึกผิด และใช้ชีวิตเป็นกาฝาก
- ↑ psychosurgery เป็นการรักษาโรคจิตโดยการผ่าตัดสมอง ตัวอย่างเช่น lobotomy
- ↑ lobotomy เป็นการผ่าตัดสมองที่ตัดเส้นประสาทโดยมากที่ไปสู่หรือออกมาจากคอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า
อ้างอิงและอ่านเพิ่ม
[แก้]- ↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 1.16 1.17 1.18 1.19 1.20 1.21 1.22 1.23 1.24 1.25 1.26
Harlow, John Martyn (1868). "Recovery from the Passage of an Iron Bar through the Head". Publ Massachusetts Med Soc. 2: 327–347. - ↑ 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 2.12 2.13 2.14 2.15 2.16 2.17 2.18 2.19 2.20 2.21 2.22 2.23 2.24 2.25 2.26 2.27 2.28 2.29 2.30 2.31 2.32 2.33 2.34 2.35 2.36 2.37 2.38 2.39
Macmillan, Malcolm B. (2000). An Odd Kind of Fame: Stories of Phineas Gage. MIT Press. ISBN 0-262-13363-6 (hbk, 2000) ISBN 0-262-63259-4 (pbk, 2002). Appendices reproduce Harlow (1848, 1849, and 1868) and Bigelow (1850)
• See also "Corrections to An Odd Kind of Fame". - ↑ 3.0 3.1 3.2 Smith, William T (1886). "Lesions of the Cerebral Hemispheres]". TVermont Med Soc for the Year 1885. pp. 46–58.
- ↑ 4.00 4.01 4.02 4.03 4.04 4.05 4.06 4.07 4.08 4.09 Barker, F.G.II (1995). "Phineas among the phrenologists: the American crowbar case and nineteenth-century theories of cerebral localization". JNeurosurg. 82: 672–682. PMID 7897537.
- ↑ Campbell, H.F. (1851). "Injuries of the Cranium—Trepanning". Ohio Med& Surg J. 4 (1): 20–24. (crediting the Southern Med& Surg J (unknown date) .
- ↑ 6.0 6.1 John Hodges (2001). "Book review: An odd kind of fame. Stories of Phineas Gage". Journal of Neurology, Neurosurgery, and Psychiatry. 71 (1). doi:10.1136/jnnp.71.1.136c.
- ↑ 7.0 7.1 Mike McRae (2011). Tribal Science: Brains, Beliefs and Bad Ideas. University of Queensland Press. pp. 9–11. ISBN 0702247340.
- ↑ 8.0 8.1 Wilgus, B.&J (2009). "Face to Face with Phineas Gage". Journal of the History of the Neurosciences. 18 (3): 340–345. doi:10.1080/09647040903018402. PMID 20183215.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 Lena, M.L.; Macmillan, Malcolm B. (March 2010). "Picturing Phineas Gage (invited comment)". Smithsonian. p. 4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-29. สืบค้นเมื่อ 2014-03-21.
- ↑ 10.00 10.01 10.02 10.03 10.04 10.05 10.06 10.07 10.08 10.09
Macmillan, Malcolm B. (2008). "Phineas Gage—Unravelling the myth" (PDF). The Psychologist. British Psychological Society. 21 (9): 828–831. - ↑ 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 11.5 11.6 11.7 11.8
Harlow, John Martyn (1848). "Passage of an Iron Rod through the Head". Boston Medical and Surgical Journal. 39 (20): 389–393. (Transcription.) - ↑ "Incredible, but True Every Word". National Eagle. Claremont, New Hampshire. March 29, 1849. p. 2. Transcribed in Macmillan (2000), pp. 40–1
- ↑ 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 13.5 13.6 13.7
Bigelow, Henry Jacob (July 1850). "Dr. Harlow's Case of Recovery from the Passage of an Iron Bar through the Head". Am J Med Sci. 20: 13–22. Reproduced in Macmillan (2000) .[2] - ↑ 14.0 14.1 14.2 —— (2012). "The Phineas Gage Information Page". The University of Akron. สืบค้นเมื่อ 2016-05-16. Includes:
- ↑ "Horrible Accident". Boston Post. September 21, 1848.
- ↑ Sutton, W.L. (1850). "A Centre Shot". Boston Medical & Surgical Journal. 3: 151–2.
- ↑ 17.0 17.1 17.2 Jackson, J. B. S. (1870). A Descriptive Catalog of the Warren Anatomical Museum. Boston: A. Williams & Co. Frontis. and Nos. 949–51, 3106.
- ↑ Jewett, M. (1868). "Extraordinary Recovery after Severe Injury to the Head". Western Journal of Medicine. 43: 241.
- ↑ Folsom, A.C. (May 1869). "Extraordinary Recovery from Extensive Saw-Wound of the Skull". Pacific Medical and Surgical Journal. pp. 550–555.
- ↑ "Medical Intelligence. Extraordinary Recovery". Boston Medical& Surgical Journal. 3n.s. (13): 230–1. April 29, 1869.
- ↑ 21.0 21.1 "Bibliographical Notice". Boston Medical& Surgical Journal. 3n.s. (7): 116–7. March 18, 1869.
- ↑ มาจากคำของหมอฮาร์โลว์ (ค.ศ. 1848) หน้า 390.
- ↑ 23.0 23.1 Harlow, John Martyn (1849). "Medical Miscellany (letter)". Boston Medical and Surgical Journal. 39: 507. Reproduced in Macmillan (2000) .[2]
- ↑ 24.0 24.1 Volume 3: Lone Mountain register, 1850-1862, Halsted N.Gray – Carew& English Funeral Home Records (SFH 38), San Francisco History Center, San Francisco Public Library. p. 285.
- ↑ 25.0 25.1 Damasio, H.; Grabowski, T.; Frank, R.; Galaburda, A.M.; Damasio, A.R. (1994). "The return of Phineas Gage: Clues about the brain from the skull of a famous patient". Science. 264 (5162): 1102–1105. doi:10.1126/science.8178168. PMID 8178168.
- ↑ 26.0 26.1 Damasio A.R. (1994). Descartes' Error: Emotion, Reason, and the Human Brain. ISBN 0-14-303622-X. (2nd ed.:2005)
- ↑ 27.0 27.1 Hockenbury, Don H.; Hockenbury, Sandra E. (2008). Psychology. p. 74. ISBN 978-1-4292-0143-8.
- ↑ 28.0 28.1 28.2 28.3 28.4
Macmillan, Malcolm B.; Lena, M.L. (2010). "Rehabilitating Phineas Gage". Neuropsychological Rehabilitation. 20 (5): 641–658. doi:10.1080/09602011003760527. PMID 20480430. - ↑ "The Phineas Gage Case". Warren Museum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-16. สืบค้นเมื่อ 2013-01-10.
- ↑ 30.0 30.1 Twomey, S. (January 2010). "Finding Phineas". Smithsonian Magazine. 40 (10): 8–10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-09. สืบค้นเมื่อ 2014-03-21.
- ↑ Eliot, Samuel Atkins, บ.ก. (1911). "John M. Harlow". Biographical History of Massachusetts: Biographies and Autobiographies of the Leading Men in the State. Vol. 1. Massachusetts Biographical Society.
- ↑ 32.0 32.1 Ratiu, P.; Talos, I.F.; Haker, S.; Lieberman, D.; Everett, P. (2004). "The Tale of Phineas Gage, Digitally Remastered". Journal of Neurotrauma. 21 (5): 637–643. doi:10.1089/089771504774129964. PMID 15165371.
- ↑ 33.0 33.1 Ratiu, P.; Talos, I.F. (2004). "The Tale of Phineas Gage, Digitally Remastered". New England Journal of Medicine. 351 (23): e21. doi:10.1056/NEJMicm031024. PMID 15575047.
- ↑ 34.0 34.1 Van Horn, J.D.; Irimia, A.; Torgerson, C.M.; Chambers, M.C.; Kikinis, R.; Toga, A.W. (2012). "Mapping Connectivity Damage in the Case of Phineas Gage". PLoS ONE. 7 (5): e37454. doi:10.1371/journal.pone.0037454. PMC 3353935. PMID 22616011.
- ↑ "A most remarkable case". American Phrenological Journal. 13: 89. 1851.
- ↑ 36.0 36.1 36.2 36.3 Kotowicz, Z. (2007). "The strange case of Phineas Gage". History of the Human Sciences. 20 (1): 115–131. doi:10.1177/0952695106075178.
- ↑ Austin, K.A. (1977). A Pictorial History of Cobb and Co.: The Coaching Age in Australia, 1854–1924. Sydney: Rigby. ISBN 0-7270-0316-X.
- ↑ 38.0 38.1 Fleischman, J. (2002). Phineas Gage: A Gruesome but True Story About Brain Science. ISBN 0-618-05252-6.
- ↑ ——; Aggleton, John (March 6, 2011). "Phineas Gage: The man with a hole in his head". Health Check (Audio interview). สัมภาษณ์โดย Claudia Hammond; Dave Lee. BBC World Service. Originally broadcast December 7, 2008.
- ↑
Macmillan, Malcolm B. (July 2009). "More About Phineas Gage, Especially After the Accident". สืบค้นเมื่อ July 27, 2013. - ↑ Stuss, D.T.; Gow, C.A.; Hetherington, C.R. (1992). "'No longer Gage': Frontal lobe dysfunction and emotional changes". Journal of Consulting and Clinical Psychology. 60 (3): 349–359. doi:10.1037/0022-006X.60.3.349. PMID 1619089.
- ↑ 42.0 42.1 Fuster, Joaquin M. (2008). The prefrontal cortex. Elsevier/Academic Press. p. 172. ISBN 0-12-373644-7.
- ↑ Ferrier, David (1877–79). "Correspondence with Henry Pickering Bowditch".
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) Countway Library (Harvard Univ.) Mss., HMSc5.2. Transcribed in Macmillan (2000) .[2]: 464-5 - ↑ Sacks, Oliver (1995). An Anthropologist on Mars. pp. 59–61. ISBN 0-679-43785-1. OCLC 30810706.
- ↑ Dupuy, Eugene (1877). "A critical review of the prevailing theories concerning the physiology and the pathology of the brain: localisation of functions, and mode of production of symptoms. PartII". Med Times& Gaz. II: 356–8.
- ↑ Ferrier, David (1878). "The Goulstonian lectures of the localisation of cerebral disease. LectureI (concluded)". Br Med J. 1 (900): 443–7.
- ↑ Sizer, Nelson (1888). Forty years in phrenology; embracing recollections of history, anecdote, and experience. New York: Fowler& Wells.
- ↑ Kihlstrom, J. F. (2010). "Social neuroscience: The footprints of Phineas Gage". Social Cognition. 28 (6): 757–82. doi:10.1521/soco.2010.28.6.757. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-06.
- ↑ Grafman, J. (2002). "The Structured Event Complex and the Human Prefrontal Cortex". ใน Stuss, D. T.; Knight, R. T. (บ.ก.). Principles of Frontal Lobe Function. pp. 292–310. doi:10.1093/acprof:oso/9780195134971.003.0019. ISBN 978-0-19-513497-1.
- ↑ Carlson, N.R. (1994). Physiology of Behavior. p. 341. ISBN 0-205-07264-X.
- ↑ Wilgus, B.&J. "Meet Phineas Gage". สืบค้นเมื่อ October 2, 2009.
- ↑ Wilgus, B.&J. "A New Image of Phineas Gage". สืบค้นเมื่อ March 10, 2010.
- ↑ Jackson, J.B.S. (1849). Medical Cases 4. Case 1777. H MS b72.4 (v. 11), Harvard Medical Library in the Francis A. Countway Library of Medicine, pp. 712 (cont'd 680).
<ref>
ด้วยชื่อ "okf" ที่นิยามในกลุ่ม <references>
ไม่มีเนื้อหา แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Phineas Gage information page by the Center for the History of Psychology at the University of Akron
- Case of Phineas Gage at the Center for the History of Medicine
- Skull, life cast, and tamping iron of Phineas Gage เก็บถาวร 2021-12-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at the Warren Anatomical Museum of the Harvard Medical School
- Skull of Phineas Gage เก็บถาวร 2021-12-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at the National Institutes of Health 3D print exchange
- บทความที่ขาดแหล่งอ้างอิงเฉพาะส่วนตั้งแต่December 2013
- บทความที่ขาดแหล่งอ้างอิงเฉพาะส่วนตั้งแต่February 2014
- บทความที่ขาดแหล่งอ้างอิงเฉพาะส่วนตั้งแต่July 2013
- บทความที่ขาดแหล่งอ้างอิงเฉพาะส่วนตั้งแต่January 2014
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2366
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2403
- ประวัติประสาทวิทยาศาสตร์
- บุคคลผู้ได้รับบาดเจ็บที่สมอง
- ผู้ป่วยต้นปัญหา