ฟาโรห์ซามาเจิกที่ 3

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ฟาโรห์พซัมติกที่ 3)

ซามาเจิกที่ 3 (อียิปต์โบราณ: ꜥnḫ-kꜣ-n-Rꜥ Psmṯk, ออกเสียงว่า Psamâṯək[1]) หรือที่ในภาษากรีกโรมันเป็นรู้จักในพระนามว่า ซัมแมตีโคส (กรีกโบราณ: Ψαμμήτιχος) หรือ ซัมแมนีโตส (กรีกโบราณ: Ψαμμήνιτος) เป็นฟาโรห์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่ยี่สิบหกแห่งอียิปต์ ซึ่งทรงครองราชย์ตั้งแต่ 526 ปีก่อนคริสต์ศักราชจนถึง 525 ปีก่อนคริสต์ศักราช สิ่งที่ทราบเกี่ยวกับการครองราชย์และพระชนม์ชีพส่วนใหญ่ของพระองค์ได้รับการบันทึกโดยเฮโรโดตัส ซึ่งเป็นนักประวัติศาสตร์ชาวกรีกในช่วงศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราช และเฮโรโดตัสได้บีนทึกไว้ว่า ฟาโรห์ซามาเจิกที่ 3 ทรงปกครองดินแดนอียิปต์เพียงระยะเวลาหกเดือนก่อนที่พระองค์จะต้องเผชิญกับการรุกรานพระราชอาณาจักรของพระองค์โดยจักรวรรดิอะเคมินิด ซึ่งนำโดยกษัตริย์แคมไบซีสที่ 2 แห่งเปอร์เซีย[2] โดยพระองค์ทรงพ่ายแพ้ในยุทธการที่เปลูเซียมและทรงลี้ภัยไปยังเมืองเมมฟิสที่ซึ่งพระองค์ถูกคุมตัว หลังจากนั้นพระองค์ทรงถูกนำตัวพระองค์ไปยังพระนครซูซา และทรงทำอัตวินิบาตกรรมในเวลาต่อมา

พระราชวงศ์[แก้]

ฟาโรห์ซามาเจิกที่ 3 เป็นพระราชโอรสในฟาโรห์อามาซิสที่ 2 กับพระนางเทนต์เคตา ซึ่งเป็นหนึ่งในพระมเหสีของพระองค์ พระองค์ทรงขึ้นทรงครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาในช่วง 526 ปีก่อนคริสต์ศักราช เมื่อฟาโรห์อามาซิสที่ 2 เสด็จสวรรคตหลังจากทรงครองราชย์รัชสมัยที่ยาวนานและรุ่งเรืองถึงระยะเวลา 44 ปี พระองค์ทรงมีพระราชโอรสพระนามว่า อามาซิส และพระมเหสีและพระราชธิดา ซึ่งไม่ปรากฏพระนามของทั้งสองพระองค์ในเอกสารทางประวัติศาสตร์ตามที่เฮโรโดตัสได้บันทึก

ความพ่ายแพ้และคุมตัว[แก้]

ฟาโรห์ซามาเจิกที่ 3 ทรงปกครองดินแดนอียิปต์ไม่เกินหกเดือน ไม่กี่วันหลังจากการจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกก็เกิดฝนก็ตกลงมาที่เมืองธีบส์ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ยากซึ่งทำให้ชาวอียิปต์บางคนหวาดกลัว ซึ่งตีความว่าเป็นลางร้าย ฟาโรห์ที่มีพระชนมพรรษาน้อยและไม่มีประสบการณ์ทรงไม่สามารถต่อกรกับชาวเปอร์เซียที่เข้ามาบุกรุกพระราชอาณาจักรได้ หลังจากที่ชาวเปอร์เซียภายใต้นำทัพโดยกษัตริย์แคมไบซีสที่ 2 ได้เดินทางข้ามทะเลทรายบริเวณคาบสมุทรไซนายด้วยความช่วยเหลือของชาวอาหรับ การต่อสู้อันขมขื่นก็เกิดขึ้นใกล้เมืองเปลูเซียม ซึ่งเป็นเมืองที่ตั้งบนพรมแดนด้านตะวันออกของอียิปต์ในฤดูใบไม้ผลิช่วง 525 ปีก่อนคริสต์ศักราช[2] ชาวอียิปต์ได้พ่ายแพ้ที่เปลูเซียมและฟาโรห์ซามาเจิกทรงถูกทรยศโดยฟาเนสแห่งฮาลิคาร์นัสซุส ซึ่งเป็นหนึ่งในพันธมิตรของพระองค์ ดังนั้น ฟาโรห์ซามาเจิกและกองทัพของพระองค์จึงยกทัพหนีไปยังเมืองเมมฟิส และต่อมาชาวเปอร์เซียก็ยึดเมืองได้หลังจากการล้อมเมืองที่ยาวนานและคุมตัวพระองค์ได้ หลังจากนั้นไม่นานกษัตริย์แคมไบซีสได้ทรงสั่งให้ประหารชีวิตประชาชนจำนวนสองพันคนในที่สาธารณะ รวมถึง (ว่ากันว่า) พระราชโอรสของพระองค์ด้วย

การพบกันระหว่างกษัตริย์แคมไบซีสที่ 2 แห่งเปอร์เซียและกับฟาโรห์พซัมเมติคัสที่ 3 แห่งอียิปต์

การถูกจองจำและอัตวินิบาตกรรม[แก้]

ฟาโรห์ซามาเจิกที่ 3 ทรงยอมจำนนต่อกษัตริย์แคมไบซีส (ภาพวาดจากช่วงคริสตศตวรรษที่ 19)

การถูกจองจำของฟาโรห์ซามาเจิกที่ 3 และการสำเร็จโทษในภายหลังนั้นได้อธิบายไว้ในงานเขียนของเฮโรโดตัสที่มีชื่อว่า เดอะ ฮิสทรีส์ (The Histories) เล่มที่ 3 ตอนที่ 14 และ 15 โดยอธิบายไว้ว่า พระราชธิดาของฟาโรห์ซามาเจิกที่ 3 ร่วมถึงบุตรสาวของเหล่าขุนนางชาวอียิปต์ทั้งหมดเป็นทาส และพระราชโอรสของพระองค์ตลอดจนบุตรชายของเหล่าขุนนางอีกจำนวนสองพันคนถูกตัดสินประหารชีวิตในการตอบโต้เหตุฆาตกรรมอัครราชทูตชาวเปอร์เซียและลูกเรืออีกสองร้อยคนในเรือของพระองค์[2] และ "ชายชราที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นพันธมิตรของกษัตริย์" ได้ถูกลดหย่อนโทษให้เป็นคนขอทาน[3] คนเหล่านี้ทั้งหมดถูกนำตัวมาต่อหน้าของฟาโรห์ซามาเจิกเพื่อทดสอบปฏิกิริยาของพระองค์ และพระองค์ก็ทรงกริ้วทันทีเมื่อทรงทอดพระเนตรสภาพของคนขอทานเหล่านั้น

ความเวทนาของพระองค์ต่อเหล่าคนขอทานทำให้พระองค์รอดพระชนม์ชีพ แต่พระราชโอรสของพระองค์ก็ได้ถูกสำเร็จโทษไปแล้วก่อนหน้านั้น ฟาโรห์ที่ถูกปลดออกจากพระราชบัลลังก์นั้นได้รับการดูแลให้อยู่ในคณะผู้ติดตามของกษัตริย์เปอร์เซีย[4] อย่างไรก็ตามหลังจากนั้นไม่นาน ฟาโรห์ซามาเจิกทรงพยายามที่จะก่อกบฏขึ้นในหมู่ชาวอียิปต์ เมื่อกษัตริย์แคมไบซีสทรงทราบเรื่องนี้ พระองค์ก็เสวยโลหิตวัวกระทิง (กำมะถันแดง) และเสด็จสวรรคตในทันทีตามที่เฮโรโดตัสได้บันทึกไว้[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. Ray, J. D. (1990). "The names Psammetichus and Takheta". The Journal of Egyptian Archaeology. 76: 196–199. doi:10.2307/3822031. สืบค้นเมื่อ 19 August 2022.
  2. 2.0 2.1 2.2 The New Encyclopædia Britannica: Micropædia, Vol.9 15th edition, 2003. p.756
  3. The Histories, by Herodotus, Book III.14, Penguin Classics
  4. "Herodotus, The Histories, book 3, chapter 15, section 1". www.perseus.tufts.edu.
  5. The Histories, by Herodotus, Book III.15, Penguin Classics

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]