ฟาโรห์เนเฟอร์เคาฮอร์ คูวิฮาปิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ฟาโรห์คูวิฮาไป)

เนเฟอร์เคาฮอร์ คูวิฮาปิ เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณจากราชวงศ์ที่แปดในสมัยต้นช่วงระหว่างที่หนึ่ง (ระหว่าง 2181 – 2055 ปีก่อนคริสตกาล) ในช่วงเวลานี้ อียิปต์อาจถูกแบ่งแยกออกเป็นระหว่างหลายศูนย์กลางการปกครอง ฟาโรห์เนเฟอร์เคาฮอร์เป็นฟาโรห์พระองค์ที่สิบหกและพระองค์สุดท้าย[3] แห่งราชวงศ์ที่แปด และด้วยเหตุนี้เองพระองค์จึงได้ปกครองเหนือบริเวณเมมฟิส[4][5] พระองค์ครองราชย์เป็นเวลาเพียง 2 ปี[6] และเป็นหนึ่งในฟาโรห์ที่มีหลักฐานรับรองยืนยันที่ดีที่สุดในช่วงเวลานี้นี้จากบันทึกพระราชโองการแปดฉบับที่หลงเหลืออยู่ในสภาพชำรุดไม่เป็นชิ้นเป็นอันมาจนถึงปัจจุบัน[7]

หลักฐานรับรองในบันทึกพระนามกษัตริย์[แก้]

พระนามของฟาโรห์เนเฟอร์เคาฮอร์ปรากฏอยู่ในรายการที่ 55 ของบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งอไบดอส[5] ซึ่งเป็นบันทึกพระนามที่บันทึกขึ้นในช่วงรัชสมัยของฟาโรห์เซติที่ 1 เมื่อประมาณ 900 ปีหลังจากการสววรคตของฟาโรห์เนเฟอร์เราฮอร์[5] เชื่อกันว่ามีพระนามของพระองค์ยังอยู่ในบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูรินเช่นกัน ถึงแม้ว่าพระนามจะหายไปในส่วนที่เสียหายบริเวณคอลัมน์ที่ 5 บรรทัดที่ 12 ของบันทึกพระนามฯ (หลังการตีความใหม่ของคิม รีฮอล์ต)[5][6] อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาในการครองราชย์ของพระองค์ยังหลงเหลือโดยบันทึกไว้เป็นระยะเวลา "2 ปี 1 เดือน 1 วัน"[6]

บันทึกพระราชโองการแห่งเนเฟอร์เคาฮอร์[แก้]

บันทึกพระราชโองการทั้งหมดแปด[5]ฉบับที่พบในวิหารแห่งเทพมินที่คอปโตสที่มาจากรัชสมัยของฟาโรห์เนเฟอร์เคาฮอร์ และยังหลงเหลือมาได้จนถึงทุกวันนี้ในสภาพที่ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน[8] บันทึกพระราชโองการสี่ฉบับที่จารึกไว้บนแผ่นหินปูนถูกมอบให้กับพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิแทนโดยเอ็ดเวิร์ด ฮาร์คเนสในปี ค.ศ. 1914 ซึ่งปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่แกลเลอรี 103[9]

บันทึกพระราชโองการเจ็ดในแปดฉบับออกประกาศภายในวันเดียวกัน[5] ในปีแรกแห่งการครองราชย์ของฟาโรห์เนเฟอร์เคาฮอร์ บางทีอาจจะเป็นวันที่พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์[7] ปีที่เป็นปัญหามีชื่อว่า "ปีแห่งการรวมสองแผ่นดิน" ในบันทึกพระราชโองการฉบับแรก ฟาโรห์เนเฟอร์เคาฮอร์ได้พระราชทานตำแหน่งให้กับพระราชธิดาพระนามว่า เนบเยท ซึ่งเป็นภริยาของราชมนตรีนามว่า เซไมย์ โดยพระราชทานให้เป็นราชองครักษ์ และผู้บัญชาการทหารคาเรดนิ (Khrod-ny)[10] และสั่งให้สร้างเรือศักดิ์สิทธิ์สำหรับเทพเจ้าที่เรียกว่า "สองพลัง (Two-Powers)" บางทีอาจเป็นเทพฮอรัส-มินในรูปที่รวมกัน[7][10]

บันทึกพระราชโองการฉบับที่สองและมีอยู่ในสภาพที่ดีที่สุด โดยบันทึกเกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งไอดิ บุตรชายของเชไมย์ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการอียิปต์ตอนบน โดยปกครองเหนือแคว้นทางใต้สุดทั้งเจ็ดตั้งแต่เกาะแอลเลเฟนไทน์ไปจนถึงไดโอสโพลิส ปาร์วา:[11][7]

ฮอรัส เนทเจอร์บาว ถูกประทับต่อหน้าฟาโรห์ในเดือนที่ 2 [ของฤดูเพเรต วันที่ 20] บันทึกพระราชโองการถึงขุนนาง ผู้ดูแล [นักบวช ไอดิ]: เจ้าได้รับพระราชทานแต่งตั้งให้เป็นผู้ว่าการอียิปต์บน ผู้ดูแลนักบวชในอียิปต์บนเดียวกันซึ่ง [อยู่ภายใต้] การกำกับดูแลของเจ้าไปทางใต้ยังนิวเบีย ไปทางเหนือยังแคว้นซิสตรัม ทำหน้าที่เป็นขุนนาง, ผู้นำของนักบวช, หัวหน้าผู้ปกครองเมืองที่อยู่ในการดูแลของเจ้า, แทนบิดาของเจ้า, บิดาแห่งพระเจ้า, ที่รักแห่งพระเจ้า, องค์ชายรัชทายาท, เจ้าเมืองแห่งพีระมิด, หัวหน้าผู้พิพากษา, ราชมนตรี, ผู้ดูแลจดหมายเหตุของกษัตริย์, [ขุนนาง, ผู้ว่าราชการอียิปต์บน, ผู้ดูแลนักบวช, เซไมย์ ไม่] มีใครอื่น [จะมีสิทธิเรียกร้องโดยชอบธรรมกับมัน]...

บันทึกพระราชโองแห่งคอปโตส พี และคิว ที่ประกอบติดกันไดส่งไปยังถึงไอดและน้องชายของเขาที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิแทน มหานครนิวยอร์ก (Acc. No. 14.7.12)

บันทึกพระราชโองการฉบับที่สามและสี่อยู่ในสภาพที่ดีไว้เพียงบางส่วนในชิ้นเดียวกัน พวกเขาบันทึกว่า ฟาโรห์เนเฟอร์เคาฮอร์พระราชทานตำแหน่งให้น้องชายของไอดิในวิหารแห่งเทพมินและอาจแจ้งให้ไอดิทราบเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วย[7] บันทึกพระราชโองการฉบับสุดท้ายนี้บันทึกว่า ทำไมจึงพบบันทึกพระราชโองการในวิหารแห่งเทพมิน:[11][7]

[พระองค์ทรงมีพระราชโองการให้ประกาศ] ถ้อยคำ [แห่งพระราชโองการนี้ที่ประตู] ทางเข้าของวิหารแห่งเทพมิน [ในคอปโตสไว้อยู่ชั่วกัลปาวสาน] และตลอดไป อินเตฟ บุตรชายของเฮมิ สหายคนเดียวที่ส่งไปเกี่ยวกับเรื่องนี้ ถูกประทับต่อหน้า [พระองค์] ในปีแห่งการรวมสองแผ่นดิน เดือนที่ 2 ของฤดูเพเรต วันที่ 20"

บันทึกพระราชโองการฉบับที่เหลือบันทึกเกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งนักบวชประจำพิธีฝังพระศพไปยังวิหารแห่งเนบเยทและเชไมย์ รวมถึงการสั่งรายการสินค้าที่วิหารแห่งเทพมิน[5]

หลักฐานรับรองอื่น[แก้]

นอกเหนือจากบันทึกพระราชโองการที่กล่าวไว้ในข้างต้นแล้ว ฟาโรห์เนเฟอร์เคาเรยังปรากฏในจารึกสองแห่งบนกำแพงในหลุมฝังศพของเชไมย์ มีการระบุเวลาในปีแรกในรัชสมัยของพระองค์ เดือนที่ 4 แห่งฤดูเชมู วันที่ 2[12] จารึกได้บันทึกการนำหินมาจากวาดิ ฮัมมามัต (โดยคอปโตสเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการเดินทางไปยังวาดิแห่งนี้) แต่จารึกบางส่วนถูกทำลาย แต่ดูเหมือนจะกล่าวถึงงานที่ทำเสร็จภายใน 19 วัน จากวาดิ ฮ้มมามัตเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าศิลาจารึกสามแผ่นที่รายงานการนำมาของหิน จารึกชิ้นหนึ่งลงวันที่ภายใต้ปีที่หนึ่งของฟาโรห์นิรนามและ ในจารึกอีกสองฉบับมีการกล่าวถึงไอดิด้วย ถ้าไอดินี้เหมือนกับที่ทราบจากบันทึกพระราชโองการ จารึกก็ยังแสดงให้เห็นถึงการเดินทางภายใต้รัชสมัยของพระองค์ด้วย[13]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Kurt Sethe: Urkunden des Alten Reichs (= Urkunden des ägyptischen Altertums. Abteilung 1). 1. Band, 4. Heft. 2., augmented edition, Hinrichs'sche Buchhandlung, Leipzig 1933, see p. 297-299, available online.
  2. Translation after Thomas Schneider: Lexikon der Pharaonen, Albatros, Düsseldorf 2002, ISBN 3-491-96053-3, p. 175.
  3. Jürgen von Beckerath: The Date of the End of the Old Kingdom, Journal of Near Eastern Studies 21 (1962), p.143
  4. Jürgen von Beckerath: Handbuch der ägyptischen Königsnamen, Münchner ägyptologische Studien, Heft 49, Mainz : P. von Zabern, 1999, ISBN 3-8053-2591-6, available online เก็บถาวร 2015-12-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน see p. 68
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, p. 271-272
  6. 6.0 6.1 6.2 Kim Ryholt: "The Late Old Kingdom in the Turin King-list and the Identity of Nitocris", Zeitschrift für ägyptische, 127, 2000, p. 99
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 William C. Hayes: The Scepter of Egypt: A Background for the Study of the Egyptian Antiquities in The Metropolitan Museum of Art. Vol. 1, From the Earliest Times to the End of the Middle Kingdom , MetPublications, 1978, pp.136-138, available online
  8. William C. Hayes: Royal Decrees from the Temple of Min at Coptos, JEA 32(1946), pp. 3–23.
  9. The fragments of the decrees on the catalog of the MET: fragment 1, 2 and 3.
  10. 10.0 10.1 Margaret Bunson: Encyclopedia of Ancient Egypt, Infobase Publishing, 2009, ISBN 978-1438109978, available online, see p. 268 and p. 284 for Kha’redni.
  11. 11.0 11.1 Kurt Sethe: Urkunden des Alten Reichs (= Urkunden des ägyptischen Altertums. Abteilung 1). 1. Band, 4. Heft. 2., augmented edition, Hinrichs'sche Buchhandlung, Leipzig 1933, see p. 297-299, available online.
  12. Nigel C. Strudwick, :Texts from the Pyramid Age, Writings from the Ancient World, Ronald J. Leprohon (ed.), Society of Biblical Literature 2005, ISBN 978-1589831384, available online, see pp.345-347
  13. Maha Farid Mostafa: The Mastaba of SmAj at Naga' Kom el-Koffar, Qift, Vol. I, Cairo 2014, ISBN 978-977642004-5, p. 88-111