ฟาบีโย กัวร์ตาราโร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟาบีโย กัวร์ตาราโร
กัวร์ตาราโรในปี 2015
สัญชาติฝรั่งเศส
เกิด (1999-04-20) 20 เมษายน ค.ศ. 1999 (24 ปี)
นิส, ฝรั่งเศส
ทีมปัจจุบันมอนสเตอร์เอเนอร์จียามาฮ่าโมโตจีพี
หมายเลขรถ20
เว็บไซต์FabioQuartararo.fr
สถิตินักแข่งอาชีพ
รายการ MotoGP ชิงแชมป์โลก
ปีร่วมแข่ง2019
ยี่ห้อรถที่ใช้ยามาฮ่า
จำนวนครั้งชนะ1 (2021)
อันดับฤดูกาล 20211st (278 แต้ม)
สตาร์ท ชนะ โพเดียม โพล แลป แต้ม
62 11 26 16 13 769
รายการ Moto2 ชิงแชมป์โลก
ปีที่ร่วมแข่ง20172018
ยี่ห้อรถที่ใช้คาเล็กซ์ (2017)
สปีดอัพ (2018)
จำนวนครั้งชนะ0
อันดับฤดูกาล 201810th (138 แต้ม)
สตาร์ท ชนะ โพเดียม โพล แลป แต้ม
36 1 2 1 1 202
รายการ Moto3 ชิงแชมป์โลก
ปีที่ร่วมแข่ง20152016
ยี่ห้อรถที่ใช้ฮอนด้า (2015)
คาเทเอ็ม (2016)
จำนวนครั้งชนะ0
อันดับฤดูกาล 201613th (83 แต้ม)
สตาร์ท ชนะ โพเดียม โพล แลป แต้ม
31 0 2 2 0 175

ฟาบีโย กัวร์ตาราโร (ฝรั่งเศส: Fabio Quartararo (ออกเสียง: [kwartaˈraːro]) เกิดเมื่อ 20 เมษายน ค.ศ. 1999 ฉายา El Diablo, เป็นนักแข่งมอเตอร์ไซค์กรังด์ปรีซ์ชาวฝรั่งเศสในโมโตจีพีให้กับทีม มอนสเตอร์เอเนอร์จียามาฮ่าโมโตจีพี หลังจากชนะโมโตจีพี ฤดูกาล 2021 เขาเป็นผู้ครองแชมป์คนล่าสุดและเป็นชาวฝรั่งเศสคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ได้แชมป์โลกในระดับพรีเมียร์คลาส[1]

ก่อนการแข่งขันในระดับกรังด์ปรีซ์ กัวร์ตาราโรเป็นแชมป์สแปนิชจูเนียร์แชมเปียนชิปถึง 6 สมัย รวมถึงประสบความสำเร็จคว้าแชมป์ CEV โมโต3 ในฤดูกาล 2013 และ 2014 ด้วยความวำเร็จของเขาในตอนที่อายุยังน้อย ทำให้เขาถูกคาดหวังไว้ว่าจะเป็นนักแข่งคนสำคัญในอนาคต[2] เขาถูกนำไปเปรียบเทียบกับแชมป์โลกหลายสมัยอย่างมาร์ก มาร์เกซ[3][4] และได้สร้างสถิติอายุไว้หลายสถิติระหว่างเส้นทางการพัฒนาตนเองเพื่อที่จะก้าวขึ้นสู้การแข่งขันระดับชิงแชมป์โลก เขาล้มเหลวในการบรรลุความคาดหมายที่สูงในโมโต3และ โมโต2ชิงแชมป์โลก แต่ได้ขยับขึ้นไปแข่งขันในระดับโมโตจีพีกับทีมเปโตรนาส ยามาฮ่า เอสอาร์ที และจบการแข่งขันในฐานะรุกกี้แห่งปีในฤดูกาล 2019 ด้วย 7 โพเดียมและจบในอันดับที่ 5 ของตารางคะแนนรวม หลังจากเก็บชัยชนะ 3 สนามรวดในฤดูกาล 2020 ที่เป็นฤดูกาลที่สั้นลงไป กัวร์ตาราโรย้ายขึ้นไปขับให้ทีมยามาฮ่าแฟคทอรีเรซซิงในฤดูกาล 2021 โดยมาแทนที่ของวาเลนตีโน รอสซี และได้แชมป์ในฤดูกาลแรกของเขากับทีมนี้ โดยเก็บชัยชนะไป 5 สนามและ 10 โพเดียม

เส้นทางอาชีพ[แก้]

ช่วงแรกของอาชีพ[แก้]

เกิดในเมืองนิส กัวร์ตาราโรเริ่มต้นอาชีพของเขาในฝรั่งเศสตั้งแต่อายุ 4 ปี ต่อมาเขาย้ายไปสเปนเพื่อเข้าร่วมการแข่งขัน Promovelocidad Cup การแข่งขันสำหรับนักแข่งเยาวชนที่ได้จัดขึ้นโดย the Real Automóvil Club de Cataluña (RACC).[5] เขาชนะการแข่งขันในรุ่น 50cc ในปี 2008, รุ่น 70cc ในปี 2009 และ รุ่น 80cc ในปี 2011 ก่อนที่จะขยับขึ้นไปแข่งในรุ่น Moto3 ในสเปน กัวร์ตาราโรชนะการแข่งขันรุ่น Mediterranean pre-Moto3 ในปี 2012 ซึ่งหมายความว่าเป็นแชมป์ของประเทศสเปนอีกด้วย[3][6]

ซีอีวี เรปโซล[แก้]

ย้ายมาร่วมการแข่งขันใน Moto3 คลาสของ CEV Repsol series 2013 กัวร์ตาราโร เข้าร่วมทีม Wild Wolf Racing บริหารโดยอดีตนักแข่งกรังด์ปรีซ์ ฆวน บอร์ฆา[7]  โดยขี่ฮอนด้า กัวร์ตาราโรจบการแข่งขันบนโพเดียมในการแข่งขันครั้งแรกของเขาในซีรีส์ วิ่งในสนามเปียก[7] จบการแข่งขันในอันดับที่ 2 ต่อจากเวย์น ไรอันจากสหราชอาณาจักรที่สนามซิร์กูอิตดาบาร์เซโลนา-กาตาลุนญา และในการแข่งขันรอบที่สองในสนามเดิมกัวร์ตาราโรจบการแข่งขันในอันดับที่ 6 และเป็นผลให้เขามีคะแนนสะสมเท่ากับผู้นำแชมเปียนชิปชาวดัตช์ ไบรอัน โชวเทิน ใน 4 สนามต่อมา กัวร์ตาราโรสามารถจบการแข่งขันใน 10 อันดับแรกได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น จากสนามที่เขาได้โพลโพซิชันที่นาบาร์รา ทำให้เขามีคะแนนสะสมแชมเปียนชิปตกลงไปอยู่อันดับที่ 8[7] 37 คะแนนตามหลังนักแข่งชาวสเปน มาร์โกส รามิเรซ อย่างไรก็ตามกัวร์ตาราโรจบฤดูการอย่างแข็งแกร่ง เขาชนะ 3 เรซสุดท้ายด้วยการออกตัวจากโพลโพซิชัน เป็นการชนะในรายการครั้งแรก เอาชนะรามิเรซไปด้วยเวลาเกือบ 10 วินาทีในเรซสุดท้ายที่เฆเรซ จากผลการแข่งขัน กัวร์ตาราโรกลายเป็นนักแข่งคนแรกที่ไม่ใช่ชาวสเปนตั้งแต่ สเตฟาน บราเดิลในปี 2007 ที่สามารถเป็นแชมป์รายการนี้ได้[8] และในขณะที่มีอายุ 14 ปี 218 วัน ซึ่งเป็นแชมป์ซีรีส์ที่มีอายุน้อยที่สุด สร้างสถิติใหม่แซงสถิติเก่าที่ทำไว้โดยอเล็กซ์ เอสปากาโร[8]

กัวร์ตาราโรยังคงทำการแข่งขันใน CEV Repsol Championship ในฤดูกาล 2014 เพราะว่าเขาอายุยังไม่มากพอที่จะเข้าร่วมการแข่งขันในระดับชิงแชมป์โลกได้[7] กฎ ประกาศในปี 2008 และบังคับใช้ในปี 2010 ได้ระบุไว้ว่านักแข่งจะต้องมีอายุ 16 ปี จึงสามารถเข้าร่วมการแข่งขันในระดับกรังด์ปรีซ์ได้[9] แต่ย้ายไปทีมEstrella Galicia 0,0 junior บริหารโดย เอมิลิโอ อัลซาโมรา แชมป์โลกรุ่น 125cc ปี 1999[10]กัวร์ตาราโรจบฤดูกาลด้วยการเป็นแชมป์แบบไร้คู่แข่ง[11] ชนะ 9 ใน 11 สนาม ของฤดูกาล และในอีกสองสนามจบในอันดับที่ 2 ตามหลังมาริอา เอร์เรราที่เฆเรซ และฆอร์เฆ นาบาร์โรที่อัลบาเซเต การเป็นแชมป์ของเขามีคะแนนนำห่างอันดับที่ 2 อย่างนาบาร์โรถึง 127 คะแนน[8] ซึ่งเข้าร่วมเป็นทีมเมทของเขาในการแข่งขันในสนามสุดท้ายของฤดูกาลที่บาเลนเซีย ในการแข่งขันสนามสุดท้าย กัวร์ตาราโรเอาชนะนักแต่งระดับชิงแชมป์โลกอย่างอเล็กซิส มาสโบวและจอห์น แมคฟี กับรถของทีมSaxoPrint-RTG ซึ่งลงมาแข่งเป็นเพียงแค่สนามเดียวเท่านั้นในรายการ[8]

ผลงานของกัวร์ตาราโรในสแปนิชซีรีส์เป็นที่กล่าวขานกันในระดับชิงแชมป์โลก ในการแข่งขันซัพพอร์ตเรซหลักในเฟรนช์กรังด์ปรีซ์ 2014ที่เลอม็อง กัวร์ตาราโรชนะโดยมีเวลานำเกือบ 4 วินาทีในการแข่งขัน 9 รอบ เป็นผู้นำเกือบตลอดทั้งการแข่งขันโดยออกสตาร์ทจากกริดที่ 2[12]ในเดือนสิงหาคม 2014 คณะกรรมการของกรังด์ปรีซ์ ประกอบไปด้วยตัวแทนจากดอร์นาสปอร์ต, สหพันธ์จักรยานยนต์ระหว่างประเทศ (FIM), สมาคมทีมแข่งรถจักรยานยนต์นานาชาติ (IRTA) และ Motorcycle Sports Manufacturers' Association (MSMA) ได้ประกาศการใช้กฎใหม่ ที่จะอนุญาตให้แชมป์ของการแข่งขัน FIM CEV Moto3 แชมเปียนชิป (ไม่ว่าอายุเท่าไรก็ตาม) สามารถเข้าร่วมการแข่งขัน Moto3 ชิงแชมป์โลกได้[13]

โมโต3 ชิงแชมป์โลก[แก้]

เอสเตรยา กาลิเซีย 0,0 (2015)[แก้]

กัวร์ตาราโรได้ถูกประกาศว่าจะเข้าร่วมการแข่งขันโมโต3 ชิงแชมป์โลกในเดือนตุลาคม ปี 2014 ด้วยการประกาศรายชื่อผู้เข้าร่วมการอข่งขันแชมป์เปียนชิปเบื้องต้น[14] เขาอยู่กับทีมเอสเตรยา กาลิเซีย 0,0 ต่อไป ได้ขับฮอนด้าอีกครั้ง ที่พาเขาคว้าแชมป์ของประเทศสเปน และฆอร์เฆ นาบาร์โร[14] ได้เขามาเป็นเพื่อนร่วมทีมของเขา ซึ่งเป็นคู่แข่งที่ใกล้เคียงกับเขาที่สุดในตารางคะแนนสะสมรวม เขาทดสอบมอเตอร์ไซค์แข่งของทีมโมโต3เป็นครั้งแรกในช่วงหลังจบฤดูกาลที่การขี่ทดสอบที่บาเลนเซีย แต่เวลาที่เขาทำได้ในการทดสอบไม่ได้ถูกเก็บข้อมูลเนื่องจากเขาขี่ทดสอบโดยไม่มีtransponder ในช่วงวันแรกของการขี่ทดสอบช่วงพรีซีซั่นอย่างเป็นทางการที่บาเบนเซียในปี 2015 กัวร์ตาราโรทำเวลาได้เร็วที่สุดในเซสชั่นที่ 3[15] หลังจากการขี่ทดสอบ 3 วันที่เฆเรซ กัวร์ตาราโรเป็นผู้ทำเวลาได้เร็วที่สุดใน 5 เซสชั่นจาก 9 เซสชั่น รวมถึงทำได้ดีที่สุดในวันทดสอบสุดท้าย[16]

เรซแรกของเขาในกาตาร์, กัวร์ตาราโรทำเวลาควอลิฟายได้ออกตัวจากแถวที่ 2 กริด ที่ 6 โดยทำเวลาห่างจากนักแข่งเพื่อนร่วมชาติอเล็กซานเดอร์ มาสบูที่ทำเวลาได้โพลโพซิชันเพียง 0.123 วินาที[17] ในเรซ กัวร์ตาราโรอยู่ในกลุ่มผู้นำเสมอ และได้เป็นผู้นำจนเหลือสองรอบสุดท้าย แต่ว่ารถของเขากับฟรันเชสโก บัญญายาได้มีการกระแทกกัน ทำให้นักแข่งทั้งสองคนต้องมีอันดับหล่นลงไป โดยที่กัวร์ตาราโรจบการแข่งขันด้วยอันดับที่ 7 การจบการแข่งขันได้ไม่ห่างกันมากนั้นเป็นเรื่องธรรมชาติของการแข่งรถ กัวร์ตาราโรมีเวลาห่างจากผู้ชนะการแข่งขันมาสบูเพียงแค่ 0.772 วินาที[18] เรซต่อมาที่ ออสติน, เท็กซัส กัวร์ตาราโรขึ้นโพเดียมได้สำเร็จเป็นครั้งแรก ดัวยอันดับที่ 2 ตามหลังแดนนี่ เค็นท์[19] เขาได้โพลโพซิชันครั้งแรกในสแปนิชกรังด์ปรีซ์ โดยมีเวลาดีกว่าเค็นท์ 0.100 วินาที[20] แต่จบการแข่งขันด้วยอันดับที่ 4 ในสนามบ้านเกิดที่เลอมองส์ กัวร์ตาราโรได้โพลโพซิชันอีกครั้ง โดยมีเวลาห่างจากเพื่อนร่วมทีมของเขานาวาร์โรเพียงมากกว่า 0.100 วินาที[21] เขาขึ้นนำการแข่งขันในข่วงต้นเรซ แต่ว่าเขาล้มไฮไซด์ในตอนที่เขากำลังอยู่ในอันดับที่ 4[22]


กัวร์ตาราโรได้กลับมาขึ้นโพเดียมด้วยด้วยการจบการแข่งขันในอันดับที่ 2 ที่Quartararo returned to the podium with a second-place finish at อัสเซิน,[23] หลังจากอยู่ในกลุ่มผู้นำได้ทั้งเรซ เขาจบการแข่งขันในอันดับที่ 2 โดยมีเวลาตามหลังผู้ชนะมิเกล โอลิเวราเพียง 0.066 วินาที ในอีก 4 สนามข้างหน้า กัวร์ตาราโรแข่งจบและไม่จบสลับกันไปโดยจบการแข่งขันในอันดับที่ 11 ที่อินเดียนาโปลิส และในอันดับที่ 4 ที่ซิลเวอร์สโตน ที่มีซาโน กัวร์ตาราโรล้มในช่วง FP2[24] ทำให้ข้อเท้าขวาของเขาหัก จากอาการบาดเจ็บเป็นผลให้เขาพลาดการแข่งขัน กัวร์ตาราโรยังพลาดลงทำการแข่งขันในสนามต่อมาที่อารากอนด้วย เขาถูกแทนที่ด้วยนักแข่งCEV โมโต3ของทีม เซนะ ยามาดะ.[25] กัวร์ตาราโรกลับมาทำการแข่งขันอีกครั้งในรายการเจแปนนีสกรังด์ปรีซ์ แต่ถอนตัวออกจากการแข่งขันหลังจากควอลิฟายได้ออกตัวจากกริดที่ 29 เนื่องจากยังคงรู้สึกเจ็บปวดจากอาการบาดเจ็บอย่างต่อเนื่อง[26] กัวร์ตาราโรถอนตัวออกจากการแข่งขันออสเตรเลียในกรังด์ปรีซ์ด้วย หลังจากควอลิฟายได้ออกสตาร์ทจากกริดที่ 19[27] ในที่สุด กัวร์ตาราโรก็จบฤดูกาลด้วยอันดับที่สิบ ด้วยคะแนนเก้าสิบสองแต้ม

ลีโอพาร์ด เรซซิง (2016)[แก้]

ในวันที่ 26 กันยายน 2015 ได้มีการประกาศว่ากัวร์ตาราโรจะออกจากทีมเอสเตรยา กาลิเซีย 0,0 และเข้าร่วมทีมลีโอพาร์ด เรซซิง ด้วยสัญญา 2 ปี เริ่มจากฤดูกาล 2016.[28] กัวร์ตาราโรถูกจัดให้อยู่กลุ่มตัวเต็งลุ้นแชมป์ของฤดูกาลเพราะผลงานของเขาในปีแรกและเป็นเพราะทีมลีโอพาร์ด เรซซิงเพิ่งจะคว้าแชมป์ปีที่แล้วด้วยกับแดนนี เค็นท์ แต่ฤดูกาลนี้กลายเป็นปีแห่วความหายนะของกัวร์ตาราโร ในสามสนามแรกเขาจบการแข่งขันด้วยอันดับที่ 13 ตามด้วยล้มที่ประเทศสเปน กัวร์ตาราโรจบในอันดับที่ 6 ในการแข่งขันในสนามบ้านเกิดที่เลอม็องส์ กัวร์ตาราโรจบการแข่งขันแบบไม่มีคะแนนเลย 6 สนาม และผลการแข่งขันที่เขาทำได้ดีที่สุดคืออันที่ 4 ที่ออสเตรีย

โมโต2 ชิงแชมป์โลก[แก้]

ปอนส์ เรซซิง (2017)[แก้]

กัวร์ตาราโรเปลี่ยนจากโมโต3 มาเป็น โมโต2 ในปี 2017 กับทีมปอนส์ เรซซิงเป็นเพื่อนร่วมทีมของเอ็ดการ์ ปอนส์ ในสนามแรกของเขา กัวร์ตาราโรจบการแข่งขันในอันดับที่ 7 ที่กาตาร์ ผลงานที่กว่านี้ในฤดูกาลนี้ของเขามีเพียงสนามเดียวเท่านั้นคือการจบการแข่งขันในอันดับที่ 6 ที่ซานมารีโน เขาจบฤดูกาลการแข่งขันดัวยคะแนน 64 แต้ม และอันดับที่ 13 ของตารางคะแนนรวม

สปีดอัพ เรซซิง (2018)[แก้]

สำหรับปี 2018 กัวร์ตาราโรย้ายไปอยู่กับทีมสปีดอัพ เรซซิง เขาได้ชัยชนะระดับกรังด์ปรีซ์ครั้งแรกที่กาตาลุญญา แต่ถึงแม้ว่าเขาจะประสบความสำเร็จในการแข่งขันสนามต่อมาด้วยการจบการแข่งขันในอันดับที่ 2 ที่อัสเซิน ช่วงเวลาที่เหลือของฤดูกาลเป็นช่วงเวลาที่ยากของเขา โดยไม่สามารถขึ้นโพเดียมได้อีก และจบด้วยคะแนน 138 แต้มในอันดับที่ 10 ของตารางคะแนนรวม

โมโตจีพี ชิงแชมป์โลก[แก้]

เปโตรนาส ยามาฮ่า เอสอาร์ที (2019–2020)[แก้]

2019[แก้]

ในเดือน สิงหาคม ปี 2018 ได้มีการประกาศว่ากัวร์ตาราโรได้เข้าร่วมกับฟรังโก มอร์บีเดลลีในทีมที่สร้างขึ้นมาใหม่เป็นทีมรอง ยามาฮ่า เปโตรนาส ยามาฮ่า เอสอาร์ที ในปี 2019.[29] เขาจะได้ขี่ยามาฮ่าสเป็คปี 2018 อย่างไรก็ตาม ยามาฮ่าได้ให้รถสเป็คทีมโรงงานยามาฮ่ากับเขา เป็นที่รู้จักในชื่อ "สเป็ค-บี"

เขาควอลิฟายได้ออกสตาร์ทจากตำแหน่งโพลโพซิชันในสแปนิชกรังด์ปรีซ์ และการได้โพลโพซิชันครั้งนี้เขาทำลายสถิติเป็นนักแข่งที่ได้โพลโพซิชันในโมโตจีพีที่มีอายุน้อยที่สุด โดยก่อนหน้านี้สถิติเป็นของมาร์ก มาร์เกซที่ทำไว้ตั้งแต่ปี 2013 เขายังควอลิฟายได้โพลโพซิชันที่กาตาลุญญาด้วย (ในที่สุดก็จบการแข่งขันในอันดับที่สอง) และเรซต่อมาที่อัสเซิน ได้สร้างสถิติเวลาที่เร็วที่สุดต่อรอบสนามใหม่และกลายเป็นนักแข่งที่มีอายุน้อยที่สุดที่สามารถควอลิฟายได้โพลพิซิชันสองสนามติดกันในประวัติศาสตร์ของโมโตจีพี[30] เขาจบการแข่งขันในอันดับที่ 3 ที่อัสเซิน ตามหลังมาเบริก บิญญาเลสและมาร์ก มาร์เกซ Tเรซต่อมาที่ซัคเซินริง เขาควอลิฟายได้ออกสตาร์ทจากกกริดที่ 2 ตามหลังมาร์เกซ ในช่วงการแข่งขันในรอบที่ 2 กัวร์ตาราโรล้มในโค้งที่ 3 ในขณะที่อยู่ด้านในกับเปตรุชชี เขาจบการแข่งขันลงที่ก้อนกรวด การล้มครั้งนี้เป็นการล้มครั้งแรกในฤดูกาลแรกของเขาในโมโตจีพี[31] กัวร์ตาราโรได้ขึ้นโพเดียมอีกครั้งด้วยการจบการแข่งขันในอันดับที่ 3 ที่ออสเตรีย และได้อันดับที่ 2 สี่ครั้งที่ซานมารีโน, ไทย, ญี่ปุ่น และบาเลนเซีย เขาออกสตาร์ทจากโพลโพซิชันที่ไทย, มาเลเซีย และบาเลนเซีย ในที่สุด กัวร์ตาราโรก็จบฤดูกาลการแข่งขันในอันดับที่ 5 ของตารางคะแนนรวม ด้วยคะแนน 192 แต้ม 7 โพเดียม และ 6 โพลโพซิชัน

2020[แก้]

เรซแรกในฤดูกาล 2020ที่เฆเรซถูกเลื่อนออกไป กัวร์ตาราโรควอลิฟายได้โพลโพซิชัน และคว้าชัยชนะครั้งแรกในการแข่งขันระดับพรีเมียร์ หลังจากตกลงไปอยู่ในอันดับที่ 5 ในรอบแรกของการแข่งขันได้เพียงชั่วครู่[32] ในสนามที่ 2 ที่เฆเรซที่จัดซ้ำอีกครั้ง กัวร์ตาราโรทำสิ่งที่ได้ในสนามแรกซ้ำอีกครั้งโดยควอลิฟายได้โพลโพซิชันและชนะการแข่งขัน ครั้งนี้นำตั้งแต่เริ่มออกสตาร์ท และสร้างระยะห่างถึง 8 วินาที เมื่อขี่ได้ 20 รอบ ก่อนที่จะเข้าเส้นชัยไปแบบสบาย ๆ โดยมีเวลานำมาเบริก บิญญาเลสอันดับที่ 2 ไป 4.5 วินาที[33][34] หลังจากความยากลำบากในการแข่งขันใน 5 สนามหลัง กัวร์ตาราโรได้เห็นว่าความได้เปรียบในการลุ้นแชมป์ของเขาริบหรี่ลงเมื่อผ่านมาถึงกลางฤดูกาล เขาคว้าชัยชนะครั้งที่ 3 ที่กาตาลุญญาทำให้เขามีคะแนนนำเป็นอันดับ 1 ในตารางคะแนนรวม[35] ในสนามอารากอน เขาได้รับบาดเจ็บที่สะโพกหลังจากการล้มไฮไซด์ใน FP3 แต่เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์อนุมัติให้เขาสามารถเข้าร่วมการแข่งขันในรอบควอลิฟาย และเขาควอลิฟายได้ตำแหน่งโพลโพซิชัน[36] ความเจ็บปวดที่ยังคงอยู่และปัญหากับยางหน้าในสภาพสนาม ทำให้เขามีอันดับตกลงไปอยู่ด้านหลังอย่างรวดเร็ว ในที่สุดก็จบการแข่งขันในอันดับที่ 18[37] เป็นการจบการแข่งขันแบบไม่ได้เป็นการออกจากการแข่งขันแล้วไม่มีคะแนนเป็นครั้งแรกในโมโตจีพีของเขานับตั้งแต่การแข่งขันสนามแรกในโมโตจีพีของเขาที่กาตาร์

มอนสเตอร์ เอเนอร์จี ยามาฮ่า โมโตจีพี (2021–ปัจจุบัน)[แก้]

หลังจากปีแรกในโมโตจีพี ยามาฮ่า แฟคทอรี่ เรซซิงได้ประกาศในวันที่ 29 มกราคม 2020 ว่า กัวร์ตาราโรจะเข้ามาแทนที่ของวาเลนตีโน รอสซี โดยเริ่มจากฤดูกาล 2021 และเข้าจะได้รับรถยามาฮ่ารุ่นเดียวกับทีมโรงงานในฤดูกาลที่เหลืออยู่ของเขาในเปโตรนาส ยามาฮ่า เอสอาร์ที[38]

กัวร์ตาราโรเริ่มต้นฤดูกาลในโลเซลด้วยการจบการแข่งขันในอันดับที่ 5 และอันดับที่ 1 ในการแข่งสองสัปดาห์ติดกันกันที่นี่[39][40] สองสัปดาห์ต่อมาในปอร์ติเมา เขาควอลิฟายได้โพลโพซิชัน (หลังจากเวลาของฟรันเชสโก บัญญายาถูกให้เป็นโมฆะ) และเขาขึ้นนำการแข่งขันในรอบที่ 17 ถึง 25 ในการคว้าชัยชนะเป็นครั้งที่สองของเขาในฤดูกาล[41][42] กัวร์ตาราโรได้โพลโพซิชันอีกครั้งที่เฆเรซ และเขากำลังขึ้นนำการแข่งขันมาได้ครึ่งทางอย่างสบาย ๆ แต่หลังจากนั้นเขาเริ่มได้รับบาดเจ็บจากอาการ arm pump ทำให้อันดับของเขาลงไปอยู่ข้างหลัง เขาจบการแข่งขันในอันดับที่ 13 ในขณะที่แจ็ค มิลเลอร์ได้รับชัยชนะในการแข่งขัน หลังจากได้รับการผ่าตัด กัวร์ตาราโรควอลิฟายได้โพลโพซิชันที่เลอมองส์ เป็นการได้โพลโพซิชันสามครั้งติดต่อกันของเขา หลังจากความยากลำบากในช่วงซ้อม ในระหว่างการแข่งขัน เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนไปอย่างไม่คาดคิด ฝนเริ่มตกลงมา กัวร์ตาราโรรวมถึงนักแข่งคนอื่น ๆ ได้เข้าไปเปลี่ยนรถ อย่างไรก็ตามเขาถูกลงโทษ long lap เพราะตอนที่เขาขี่เข้าไปเปลี่ยนรถที่การาจของมาเบริค บิญญาเลส แทนที่จะเป็นการาจของเขา ถึงแม้ว่าจะโดนลงโทษ แต่เขาก็สามารถจบการแข่งขันได้ในอันดับที่ 3 ในประเทศบ้านเกิดของเขา เพื่อนร่วมชาติโยฮันน์ ซาร์โกในอันดับที่ 2 และแจ็ค มิลเลอร์)ในอันดับที่ 1

กัวร์ตาราโรได้โพลโพซิชันอีกครั้ง ซึ่งเป็นการทำได้ 4 โพลโพซิชันติดต่อกัน ที่อิตาเลียนกรังด์ปรีซ์ที่มูเจลโล แต่ในช่วงสุดสัปดาห์นั้นถูกกลบไปด้วยการจากไปของนักแข่งโมโต3 เจสัน ดูปาสเกียร์ ซึ่งเสียชีวิตหลังจากเกิดอุบัติเหตุในช่วงควอลิฟาย กัวร์ตาราโรชนะการแข่งขัน เป็นชัยชนะครั้งที่ 3 ของเขาในฤดูกาล และอุทิศโพลโพซิชันและชัยชนะให้กับดูปาสเกียร์[43] ที่กาตาลุญญา กัวร์ตาราโรได้โพลโพซิชัน ซึ่งเป็นการได้โพลโพซิชันติดต่อกันเป็นครั้งที่ 5 ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีใครทำได้ในระดับพรีเมียร์คลาสมาตั้งแต่มาร์ก มาร์เกซที่ทำได้ในปี2014 เขาจบการแข่งขันในอันดับที่ 3 แต่โดนปรับลงมาได้อันดับที่ 4 เนื่องจากเขาถูกลงโทษโดยบวกเวลาเพิ่มไป 3 วินาที จากการที่เขาใช้ทางลัด และเขาถูกลงโทษบวกเวลาเพิ่มไปอีก 3 วินาทีหลังจบการแข่งขันอีก เนื่องจากเขาขี่รถทำการแข่งขันโดยที่ชุดสูทหนังของเขาเปิดอยู่ ซิปของชุดรูดลงมาและกัวร์ตาราโรถอด chest protector ของเขาออก เป็นการละเมิดกฎของการแข่งขันที่ต้องการให้นักแข่งใส่อุปกรณ์ป้องกันอย่างถูกต้องตลอดเวลา[44] ทำให้กัวร์ตาราโรถูกปรับอันดับลงไปอยู่ในอันที่ 6 กัวร์ตาราโรเพิ่มความแข็งแกร่งในการเป็นผู้นำชิงแชมป์โลกด้วยการจบการแข่งขันในอันดับที่ 3 ที่ซัคเซินริง ชนะอีกครั้งที่อัสเซิน และอันดับที่ 3 ที่ชปีลแบร์ก.

กัวร์ตาราโรชนะการแข่งขันเป็นครั้งที่ 5 ที่ซิลเวอร์สโตน และจบการแข่งขันด้วยอันดับที่ 2 อีกสองครั้งที่รีมีนี และออสติน เขามีคะแนนห่างจากฟรันเชสโก บัญญายา 52 คะแนน และเหลือการแข่งขันอีก 3 สนาม บัญญายาขึ้นนำการแข่งขันจนเหลือ 5 รอบสุดท้ายที่มีซาโน แต่ล้มออกจากการแข่งขันไป ทำให้หมดลุ้นแชมป์โลก ทำให้เป็นการยืนยันว่ากัวร์ตาราโรเป็นแชมป์โลกในขณะที่เหลือการแข่งขันอีก 2 สนาม[45]

ในวันที่ 2 มิถุนายน 2022 กัวร์ตาราโรต่อสัญญากับทีมออกไปอีกสำหรับปี 2022 และ 2024[46]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Quartararo – a World Champion's profile". MotoGP.com. Dorna Sports. 24 ตุลาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2021.
  2. Caron-Dawe, Joseph (31 ธันวาคม 2014). "Five young hotshots to watch out for in MotoGP". RedBull.com. Red Bull GmbH. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2015.
  3. 3.0 3.1 "Is Fabio Quartararo the next Marquez?". MotoGP.com. Dorna Sports. 12 มีนาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2015.
  4. "Quartararo: "Me alegra que me comparen con Márquez, pero todavía es muy pronto"" [Quartararo: "I am happy to be compared to Marquez, but it is too early"]. Marca (ภาษาสเปน). Unidad Editorial. 23 มีนาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2015.
  5. "Quartararo meets young Promo RACC riders". MotoGP.com. Dorna Sports. 12 ธันวาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2015.
  6. "Quartararo: "Me alegra que me comparen con Márquez, pero todavía es muy pronto"" [กัวร์ตาราโร: "ผมมีความสุขนะที่ถูกเปรียบเทียบกับมาร์เกซ แต่มันเร็วเกินไป"]. มาร์กา (ภาษาสเปน). Unidad Editorial. 23 มีนาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2015.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 "Fabio Quartararo: A new star is born". MotoGP.com. Dorna Sports. 27 พฤศจิกายน 2013. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2015.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 "Believing the hype - Fabio Quartararo". Crash.net. Crash Media Group. 23 มีนาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2015.
  9. Lostia, Michele; Elizalde, Pablo (23 ธันวาคม 2008). "FIM changes age limit from 2010". Autosport. Haymarket Publications. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2015.
  10. "Quartararo eligible after 2015 rule change". Crash.net. Crash Media Group. 17 สิงหาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2015.
  11. "Quartararo and Raffin, Moto3 and Moto2 champions. Morales, double winner in Superbike". MotoGP.com. Dorna Sports. 8 พฤศจิกายน 2014. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2015.
  12. "Quartararo dominates at Le Mans". MotoGP.com. Dorna Sports. 18 พฤษภาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2015.
  13. "Age limit exception introduced in Moto3". MotoGP.com. Dorna Sports. 19 สิงหาคม 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 พฤษภาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2015.
  14. 14.0 14.1 "2015 Moto3 Entry List Announced". MotoGP.com. Dorna Sports. 23 ตุลาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2015.
  15. "Quartararo tops timesheets on day one of Valencia test". MotoGP.com. Dorna Sports. 16 กุมภาพันธ์ 2015. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2015.
  16. "Moto3 Jerez 2015". MotoGP.com. Dorna Sports. 19 กุมภาพันธ์ 2015. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2015.
  17. "Masbou secures Moto3 pole in Qatar". Honda Pro Racing. Honda. 28 มีนาคม 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 เมษายน 2015. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2015.
  18. "Quartararo: "I have to be more relaxed on the final laps"". MotoGP.com. Dorna Sports. 2 เมษายน 2015. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2015.
  19. "Premier podium pour Fabio Quartararo!" [First podium for Fabio Quartararo!]. L'Équipe (ภาษาฝรั่งเศส). Éditions Philippe Amaury. 12 เมษายน 2015. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2015.
  20. "Quartararo takes first ever Moto3 pole". MotoGP.com. Dorna Sports. 2 พฤษภาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2015.
  21. "Quartararo secures pole for Le Mans Moto3". MotoGP.com. Dorna Sports. 16 พฤษภาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2015.
  22. Lewis, Lisa (17 พฤษภาคม 2015). "Fenati wins epic four man battle, Kent 4th". Crash.net. Crash Media Group. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2015.
  23. "Oliveira takes incredible Moto3 victory". MotoGP.com. Dorna Sports. 27 มิถุนายน 2015. สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2015.
  24. "Repsol pair Navarro and Quartararo sidelined". Crash.net. Crash Media Group. 11 กันยายน 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2015.
  25. "Yamada sustituirá a Quartararo en Aragón" [Yamada replaces Quartararo in Aragon]. MotoGP.com (ภาษาสเปน). Dorna Sports. 21 กันยายน 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 กันยายน 2022. สืบค้นเมื่อ 27 กันยายน 2015.
  26. Lewis, Lisa (11 ตุลาคม 2015). "Antonelli dominates for wet Motegi win". Crash.net. Crash Media Group. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 สิงหาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2015. Fabio Quartararo found Motegi a struggle on his injured foot and pulled out of the race.
  27. "Oliveira victory in Moto3 keeps title hopes alive". MotoGP.com. Dorna Sports. 18 ตุลาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2015. Estrella Galicia 0,0's Fabio Quartararo was forced to pull out of the race before the start on his comeback from injury, as the pain in his ankle proved to be too much for the French rider.
  28. "Leopard Racing signs Quartararo for 2016". MotoGP.com. Dorna Sports. 26 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 27 กันยายน 2015.
  29. Jamie Klein (13 สิงหาคม 2018). "Morbidelli, Quartararo chosen as SIC Yamaha riders". Motorsport.com.
  30. David Gruz (29 มิถุนายน 2019). "Quartararo blitzes Assen MotoGP lap record for Dutch TT pole". Autosport.com.
  31. Mark Bremer (7 กรกฎาคม 2019). "Marquez dominant naar tiende zege op rij op de Sachsenring". Motorsport.com.
  32. Duncan, Lewis (19 กรกฎาคม 2020). "Jerez MotoGP: Quartararo wins as Marquez crashes hard". www.motorsport.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 21 กรกฎาคม 2020.
  33. Duncan, Lewis (26 กรกฎาคม 2020). "Andalusia MotoGP: Quartararo dominates race of survival at Jerez". Autosport.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2020.
  34. "GRAN PREMIO RED BULL DE ANDALUCIA - MotoGP - Race - Analysis by Lap" (PDF). MotoGP.com. Dorna Sports. 26 กรกฎาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2020.
  35. Duncan, Lewis (27 กันยายน 2020). "Quartararo: Catalan MotoGP victory not motivated by Marquez comments". Autosport.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2020.
  36. Barstow, Ollie (17 ตุลาคม 2020). "Fabio Quartararo goes from stretcher to Aragon MotoGP pole; Crutchlow third". Crash.net (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2020.
  37. Barstow, Ollie (18 ตุลาคม 2020). "Rins resists Marquez for Aragon MotoGP win; Mir leads after Quartararo shocker". Crash.net (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2020.
  38. Tobin, Dominic (29 มกราคม 2020). "Fabio Quartararo to replace Rossi at Yamaha factory team in 2021". Motor Sport Magazine (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 21 กรกฎาคม 2020.
  39. Qatar MotoGP, Losail - Race Results (Round 1) crash.net, 28 March 2021 Retrieved 7 April 2021
  40. 2021 Doha MotoGP, Losail Circuit, Qatar - Race Results crash.net, 4 April 2021 Retrieved 7 April 2021
  41. Ducan, Lewis. "Portuguese MotoGP: Quartararo on pole as Bagnaia lap deleted". Motorsport.com. Motorsport Network. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2021.
  42. Duncan, Lewis. "Quartararo 'feels like 2019' after Portimao MotoGP win". Motorsport.com. Motorsport Network.
  43. "Quartararo dedicates Mugello MotoGP pole to Dupasquier". www.motorsport.com.
  44. Catalunya MotoGP: Fabio Quartararo penalised for open leathers, chest protector MotoGP, Peter McLaren, 6 June 2021
  45. "Emilia Romagna MotoGP: Quartararo seals title after Bagnaia crash". www.motorsport.com.
  46. "BREAKING: Quartararo signs new two-year deal with Yamaha". MotoGP.com (ภาษาอังกฤษ). Dorna Sports. 2 มิถุนายน 2022. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]