ฟัดอมตะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟัดอมตะ
ใบปิดภาพยนตร์
กำกับกอร์ดอน ชาน
เขียนบท
  • เบนเนตต์ โจชัว เดฟลิน
  • อัลเฟรด เจิง
  • กอร์ดอน ชาน
  • พอล วีเลอร์[1]
  • เบย์ โลแกน
อำนวยการสร้างอัลเฟรด เจิง
นักแสดงนำ
กำกับภาพอาร์เธอร์ หว่อง
ตัดต่อ
ดนตรีประกอบ
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่าย
วันฉาย15 สิงหาคม ค.ศ. 2003 (2003-08-15)(ฮ่องกง)
22 สิงหาคม 2003 (สหรัฐ)
ความยาว88 นาที
ประเทศ
  • ฮ่องกง
  • สหรัฐ
ภาษาอังกฤษ
ทุนสร้าง35-41 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[1][2]
ทำเงิน34.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[3]

ฟัดอมตะ (อังกฤษ: The Medallion; จีน: 飛龍再生/免死金牌) เป็นภาพยนตร์สุขนาฏกรรมแอกชันใน ค.ศ. 2003 ที่กำกับโดยกอร์ดาน ชาน โดยประสบความสำเร็จน้องกว่าภาพยนตร์อเมริกันอื่น ๆ ที่เฉินหลงเล่น เช่น ชุดภาพยนตร์ คู่ใหญ่ฟัดเต็มสปีด, คู่ใหญ่ฟัดข้ามโลก และภาคต่อ คู่ใหญ่ ฟัดทลายโลก ภาพยนตร์นี้เผยแพร่ในฮ่องกงเมื่อวันที่ 15 สงหาคม ค.ศ. 2003 และในสหรัฐโดยไตรสตาร์พิคเจอร์สเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ. 2003

ภาพยนตร์นี้ได้รับเสียงวิจารณ์จากนักวิจารณ์ในแง่ลบ ถึงแม้ว่าภาพยนตร์ในบ็อกซ์ออฟฟิศสหรัฐมีมากพอให้โซนี่/ไตรสตาร์พิคเจอร์สมีรายได้[4][5] แต่ตัวภาพยนตร์กลับมีรายได้เพียง 34 ล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก ต่องบประมาณที่ 41 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

เนื้อเรื่องย่อ[แก้]

ในภาพยนตร์เรื่องนี้ เฉินหลง พระเอกนักฟัดขวัญใจชาวโลก กลับมารับบทตำรวจนอกเครื่องแบบ ของรัฐบาลฮ่องกงนาม เอ็ดดี้ หยาง เข้าร่วมภารกิจสำคัญกับนักสืบสากลแสนสวยนาม นิโคล (แคลร์ ฟอร์ลานี จาก Meet Joe Black และ The Rock) และ วัตสัน (ลี อีแวน จาก Mouse Hunt และ There´s Something About Marry) นักสืบจิตป่วน แต่แล้ว ภารกิจที่พวกเขาไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น เมื่อพวกเขาได้เข้าช่วยเหลือเด็กชายชาวจีน คนหนึ่งจากเงื้อมมือของอาชญากรระดับโลก นาม สเนคเฮด (จูเลียน แซม จาก Warlock´s) โดยบังเอิญ ภายหลังจากที่ เอ็ดดี้ และพวกเข้าช่วยเหลือเด็ก ไว้ได้ ส่งผลให้พวกเขาต้องเข้าไปพัวพันกับปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติต่างๆ[6]

นักแสดงนำ[แก้]

สมุนของสเนคเฮด[แก้]

การผลิต[แก้]

ด้วยงบประมาณ 35 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ในเวลานั้น ภาพยนตร์นี้กลายเป็นภาพยนตร์ราคาแพงที่สุดเท่าที่เคยผลิตในฮ่องกง[7][8][9]

การถ่ายทำ[แก้]

มีการถ่ายทำภาพยนตร์นี้ที่ดับลิน ประเทศไอร์แลนด์ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2001 โดยหยุดถ่ายทำช่วงหนึ่ง เนื่องจากเฉินหลงไปถ่ายทำฉากในสวมรอยพยัคฆ์พิทักษ์โลก และเริ่มถ่ายทำต่อในปีถัดมาในทวีปเอเชีย[10][9] โดยมีการถ่ายทำภาพยนตร์ในปราสาทดับลินและย่านชนบทวิกโลว์[11] เดิมทีผู้กำกับภาพยนตร์วางแผนถ่ายทำในออสเตรเลีย แต่ภายหลังไปถ่ายที่ดับลินแทน[9]

คำตอบรับ[แก้]

บ็อกซ์ออฟฟิศ[แก้]

ในสหรัฐ ช่วงสัปดาห์ภาพยนตร์ฟัดอมตะตั้งอยู่ในอันดับที่ 5 ก่อนที่จะตกลงมาเรื่อย ๆ ในช่วงที่เผยแพร่ 10 สัปดาห์ โดยรวมแล้ว ภาพยนตร์นี้ทำรายได้ 22.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป็นภาพยนตร์ศิลปะการต่อสู้อันดับที่ 42 จากทั้งหมดในสหรัฐ และอันดับที่ 8 ในภาพยนตร์ของเฉินหลงที่เผยแพร่ในสหรัฐ[3]

หมายเหตุ[แก้]

  1. Screen Gems จำหน่ายภาพยนตร์ในรูปแบบโฮมมีเดีย

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Hansen, Jeremy (30 May 2001). "Chan pic 'Binds' new helmer". Variety.
  2. "The Medallion (2003) - Financial Information". The Numbers (website).
  3. 3.0 3.1 "The Medallion". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ 3 December 2006.
  4. Martin Grove (August 24, 2003). "A summer stinker at the box office". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 January 2004. สืบค้นเมื่อ 2022-01-01. "We break even in the mid-teens," a Sony spokesman said, referring to millions of dollars.
  5. "Slashers' stash". Variety.com. 24 August 2003.
  6. https://www.themoviedb.org/movie/10610-the-medallion?language=th
  7. "Chan, Yeoh return to teach & preach". Variety.com. 6 February 2002.
  8. "EMG's Chan sees no borders in future pix". Variety.com. 18 May 2002.
  9. 9.0 9.1 9.2 "Wacky Jackie". The Irish Times. 8 September 2001. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 August 2019.
  10. "Jackie Chan's 'Highbinders' Starts Principal Photography". IFTN. 2 August 2001.
  11. "'Highbinders' Is First Big Budget Asian Shoot In Ireland". IFTN. 27 August 2001.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]