ฟอลเคิร์ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ถนนใหญ่ในฟอลเคิร์ก

ฟอลเคิร์ก (อังกฤษ: Falkirk; /ˈfɔːlkɜːrk/; สกอต: The Fawkirk; แกลิกสกอต: An Eaglais Bhreac) เป็นเมืองใหญ่ที่ตั้งอยู่ในที่ลุ่มตอนกลาง (Central Lowlands) ของสกอตแลนด์ มันตั้งอยู่ในหุบเขาโฟร์ธ (Forth Valley) ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเอดินบะระไป23.3 ไมล์ (37.5 กิโลเมตร) และทางตะวันออกเฉียงเหนือของกลาสโกว์ไป20.5 ไมล์ (33.0 กิโลเมตร)

ในสำมโนประชากรของสหราชอาณาจักรปีค.ศ.2001 ฟอลเคิร์กมีประชากรอยู่ 32,422 คน และในปี 2008 ประชากรได้เพิ่มขึ้นถึง 34,570 คน ฟอลเคิร์กเป็นทั้งเมืองหลักและศูนย์บริหารของเขตสภาฟอลเคิร์ก (Falkirk council area) ซึ่งมีประชากรรวมอยู่ประมาณ 156,800 คน[1]

สถานที่ท่องเที่ยวทั้งในและรอบฟอลเคิร์กได้แก่ วงล้อฟอลเคิร์ก, เดอะเฮลิกซ์, เดอะเคลปีส์ (The Kelpies), สวนและบ้านคาลเลนดาร์ (Callendar House and Park) และส่วนที่เหลือของกำแพงแอนโทนิน (Antonine Wall)

ประวัติ[แก้]

map of Antonine wall with forts
ท่าเรือและท่าเรือย่อยที่เชื่อมกับกำแพงแอนโทนินจากตะวันตกถึงตะวันออก: บิชอปตัน, โอลด์คิลแพทริก, ดันทูเชอร์, เคลดแดนส์, คาสเซิลฮิลล์, แบร์สเดน, ซัมเมอร์สตัน, บัลมุยดี, พื้นที่เพาะปลูกที่รกร้างว่างเปล่า, แคดเดอร์, สะพานกลาสโกว์, คิรคินทิลลอค, ออเคนเดวีย์, บาร์ฮิลล์, ครอยฮิลล์, เวสเตอร์วูด, คาสเซิลแครี, ซีเบกส์, เราฮ์คาสเซิล, แคมลอน, วัตลิงลอจ, ฟอลเคิร์ก, มัมริลล์ส, อินเวราวอน, คินเนล, แคร์ริเดน

An Eaglais Bhreac เป็นคำที่ประสมของภาษาสกอตแกลลิกที่มาจากคำว่า Ecclesbrith ของบริตตันนิกว่า "โบสถ์ที่ถูกแต้มจุด"[2] ซึ่งอ้างอิงถึงการสร้างโบสถ์ที่มักใช้หินหลากสี ชื่อในภาษาสกอตแกลลิกถูกแปลเป็นภาษาสกอต กลายเป็นคำว่า Fawkirk (แปลตรงตัว "โบสถ์หลายสี"[3]) แล้วหลังจากนั้นจึงถูกแก้ไขเป็นภาษาอังกฤษสมัยใหม่ว่า ฟอลเคิร์ก (Falkirk) ส่วนชื่อภาษาลาตินว่า Varia Capella ก็มีความหมายเดียวกัน[2]

กำแพงแอนโทนิน ที่ตั้งพาดตลอดแถวภาคกลางของสกอตแลนด์ ได้ทะลุผ่านเมือง และส่วนที่เหลือยังคงเห็นได้ที่สวนคาลเลนดาร์ กำแพงนี้คล้ายกับกำแพงเฮเดรียน แต่มันถูกสร้างจากดินที่มีหญ้าติดมากกว่าหิน จึงทำให้มันหลงเหลืออยู่น้อยมาก มันตั้งอยู่ที่ชายแดนทางตอนเหนือของจักรวรรดิโรมัน ระหว่างเฟิร์ธออฟฟอร์ธกับเฟิร์ธออฟไคลด์ในปีคริสตทศวรรษที่ 140s.[4] [5] ท่าเรือโรมันยืนยันว่าถูกค้นพบโดยจีออฟ บาร์ลีย์ (Geoff Bailey) ที่ฟอลเคิร์กในปีค.ศ.1991.[6]

ภูมิศาสตร์[แก้]

Falkirk and Stenhousemuir, as seen from above
ฟอลเคิร์กกับสเตนเฮาส์มุยร์ (Stenhousemuir)

ฟอลเคิร์กตั้งอยู่บนพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ระหว่างที่ราบสูงสลาแมนนันและต้นแม่น้ำของเฟิร์ธออฟฟอร์ธ บริเวณทางตอนเหนือของฟอลเคิร์กคือบริเวณที่น้ำท่วมถึงของแม่น้ำแคร์รอน ซึ่งเกิดจากแม่น้ำสองสายคือ - อีสต์เบิร์น และ เวสต์เบิร์น[7] ตั้งเมืองตั้งอยู่ระหว่าง 50 เมตร (164 ฟุต) และ 125 เมตร (410 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเล[8]

สภาพอากาศ[แก้]

ข้อมูลภูมิอากาศของฟอลเคิร์ก สูงจากน้ำทะเล: 0 m หรือ 0 ft, ค.ศ.1981–2010
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 7.0
(44.6)
7.5
(45.5)
9.6
(49.3)
12.1
(53.8)
15.2
(59.4)
17.7
(63.9)
19.7
(67.5)
19.5
(67.1)
16.9
(62.4)
13.2
(55.8)
9.7
(49.5)
7.0
(44.6)
12.9
(55.2)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 4.0
(39.2)
4.4
(39.9)
6.0
(42.8)
8.0
(46.4)
10.8
(51.4)
13.6
(56.5)
15.5
(59.9)
15.3
(59.5)
12.9
(55.2)
9.6
(49.3)
6.4
(43.5)
3.9
(39)
9.2
(48.6)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 1.0
(33.8)
1.2
(34.2)
2.4
(36.3)
3.9
(39)
6.3
(43.3)
9.4
(48.9)
11.2
(52.2)
11.0
(51.8)
8.9
(48)
5.9
(42.6)
3.1
(37.6)
0.8
(33.4)
5.4
(41.7)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 114.4
(4.504)
81.3
(3.201)
81.0
(3.189)
45.5
(1.791)
51.8
(2.039)
62.9
(2.476)
64.2
(2.528)
75.4
(2.969)
81.5
(3.209)
102.2
(4.024)
92.8
(3.654)
96.2
(3.787)
949.2
(37.37)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) 15.4 11.8 13.6 9.4 10.8 10.3 11.1 11.6 12.2 13.3 14.3 13.5 147.2
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 40.2 69.8 96.7 126.1 169.8 150.2 153.6 143.9 111.8 81.9 52.8 32.0 1,228.6
แหล่งที่มา: Met Office[9]

ประชากร[แก้]

ในสำมโนประชากรสหราชอาณาจักรปีค.ศ.2001 รายงานว่าเมืองนี้มีประชากรอยู่ 32,422 คน[10] และในปีค.ศ. 2008 มีประชากรประมาณ 34,570 คน[11] ซึ่งทำให้ตัวเมืองมีประชากรเป็นอันดับ 20 ของสกอตแลนด์ ส่วนบริเวณรอบฟอลเคิร์ก ซึ่งรวมไปถึงแกรนจ์เมาธ์ (Grangemouth), ลาร์เบิร์ท (Larbert) และสเตนเฮาส์มุยร์ (Stenhousemuir) มีประชากรโดยรวมถึง 98,940 คน ทำให้มันเป็นชุมชนเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 รองจากกลาสโกว์, เอดินบะระ, แอเบอร์ดีน และดันดี.[12] ประชากรในเมืองและบริเวณรอบตัวเมืองคาดการว่าจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในอีก 10 ปี, โดยมีสาเหตุหลักจากการอพยพเข้ามาจากส่วนอื่นของสกอตแลนด์และสหราชอาณาจักร[13]

ศาสนา[แก้]

ในสัมมโนค.ศ. 2001[14] แสดงให้เห็นว่าประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ โดย 48% นับถือเชิร์จออฟสกอตแลนด์, 12% นับถือโรมันคาทอลิก และ 5% นับถือนิกายอื่นของศาสนาคริสต์. และ 29% ไม่นับถือศาสนา กับประมาณ 1% นับถือรูปปั้น.

เมืองแฝด[แก้]

ฟอลเคิร์กเป็นเมืองแฝดของ:

อ้างอิง[แก้]

  1. "Falkirk factsheet" (PDF). gro-scotland.gov.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 4 October 2013. สืบค้นเมื่อ 3 October 2013.
  2. 2.0 2.1 placesnamesF-J, Iain Mac an Tàilleir www.scottish.parliament.uk. Retrieved 2008-07-12
  3. "Scots Online". Scots Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-29. สืบค้นเมื่อ 20 March 2018.
  4. Frontiers of the Roman Empire - History www.antoninewall.org. Retrieved 2011-04-29
  5. THE ROMAN COIN HOARD AND THE FALKIRK TARTAN www.falkirklocalhistorysociety.co.uk. Retrieved 2011-04-29
  6. "THE ROMANS". Falkirk Local History Society. สืบค้นเมื่อ 28 November 2017.
  7. Milne et al. (1975) p1
  8. Milne et al. (1975) p2
  9. "Falkirk 1981–2010 averages". Station, District and regional averages 1981–2010. Met Office. สืบค้นเมื่อ 7 August 2017.
  10. No 3 - 2001 Census Population of settlements and wards เก็บถาวร 3 มิถุนายน 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน www.falkirk.gov.uk. Retrieved 2011-04-29
  11. "Mid-2008 Population Estimates – Localities in alphabetical order" (PDF). 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 14 June 2011. สืบค้นเมื่อ 2011-02-13.
  12. "Mid-2008 Population Estimates – Settlements in alphabetical order" (PDF). 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 19 March 2012. สืบค้นเมื่อ 2011-02-13.
  13. "Falkirk as a Location, Statistical Information on the Council Area" (PDF). Falkirk Council. December 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 22 August 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-03-22.
  14. "Insight 2001 census no2" (PDF). Falkirk Council. 1 February 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 21 June 2011. สืบค้นเมื่อ 2008-04-18.
  15. 15.0 15.1 Falkirk Twinning Association เก็บถาวร 23 มีนาคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, www.falkirktwinning.org Retrieved 2011-05-07
  16. "British towns twinned with French towns [via WaybackMachine.com]". Archant Community Media Ltd. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2013. สืบค้นเมื่อ 2013-07-20.

สารานุกรม[แก้]

  • Dowds, T (2003): "The Forth and Clyde Canal - A History". Tuckwell Press. ISBN 1-86232-232-5
  • Macleod, I (2004): "The Illustrated Encyclopaedia of Scotland". Lomond Books, Edinburgh. ISBN 1-84204-028-6
  • Milne, D; Leitch, A; Duncan, A; Bairner, J & Johnston, J (1975): "The Falkirk and Grangemouth Area". Paper for the Scottish Association of Geography Teachers' (SAGT) conference, October 1975. Moray House College of Education, Edinburgh.
  • Nimmo W (1880): "The History of Stirlingshire, Third Edition" Vol II. Hamilton, Adams and Company, Glasgow.
  • Smith, R (2001): "The Making of Scotland". Canongate Books, Edinburgh. ISBN 1-84195-170-6

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]