ฟรานซิส รอว์ดอน-เฮสติงส์ ลอร์ด เฮสติงส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มาร์ควิสแห่งเฮสติงส์
ภาพเหมือนตนเองโดยมาร์ติน อาร์เชอร์ ชี
ผู้สำเร็จราชการอินเดีย
ดำรงตำแหน่ง
4 ตุลาคม ค.ศ. 1813 – 9 มกราคม ค.ศ. 1823
กษัตริย์จอร์จที่ 3
จอร์จที่ 4
ก่อนหน้าThe Lord Minto
ถัดไปจอห์น อาดัม
ในฐานะรักษาการผู้สำเร็จราชการ
ผู้ว่าการมอลตา
ดำรงตำแหน่ง
22 มีนาคม ค.ศ. 1824 – 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1826
กษัตริย์จอร์จที่ 4
ก่อนหน้าโทมัส เมตแลนด์
ถัดไปอเล็กซานเดอร์ จอร์จ วูดฟอร์ด
ในฐานะรักษาการผู้ว่าการ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด9 ธันวาคม ค.ศ. 1754(1754-12-09)
เทศมณฑลดาวน์  ไอร์แลนด์
เสียชีวิต28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1826(1826-11-28) (71 ปี)
ที่ทะเลนอกเนเปิลส์
เชื้อชาติบริติช
คู่สมรสFlora Campbell, 6th Countess of Loudoun
(1780–1840)
บุตร6
บุพการีJohn Rawdon, 1st Earl of Moira
Elizabeth Hastings, 13th Baroness Hastings
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ บริเตนใหญ่
สังกัดกองทัพบกสหราชอาณาจักร
ยศนายพล
บังคับบัญชาจอมทัพแห่งอินเดีย
ผ่านศึก สงครามประกาศอิสรภาพอเมริกา
สงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่หนึ่ง
สงครามอังกฤษ-เนปาล
สงครามอังกฤษ-มราฐีครั้งที่สาม

ฟรานซิส รอว์ดอน-เฮสติงส์ ลอร์ด เฮสติงส์ (9 ธันวาคม 2297 - 28 พฤศจิกายน 2369) เป็นนักการเมืองชาวแองโกล-ไอริช และนายทหารที่รับราชการเป็นผู้สำเร็จราชการประจำอินเดีย จากปี พ.ศ. 2356 ถึงปี พ.ศ. 2366 เขารับใช้กองทัพอังกฤษเป็นเวลาหลายปีระหว่างสงครามปฏิวัติอเมริกา และระหว่างสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่หนึ่ง ในปี พ.ศ. 2337 เขาได้ใช้นามสกุล "เฮสติงส์" ในปี พ.ศ. 2333 ตามความประสงค์ของ ฟรานซิส เฮสติงส์ เอิร์ลแห่งฮันติงดอน ลุงฝั่งแม่ของเขา[1] ซึ่งลอร์ดเฮสติงส์ผู้นี้คือคนเดียวกับที่ส่ง จอห์น ครอว์เฟิร์ด เข้ามายังสยาม

ความเป็นมา การศึกษา และอาชีพทหารขั้นต้น[แก้]

เฮสติ้งส์เกิดที่ มอยรา เคาน์ตีดาวน์ เป็นบุตรชายของจอห์น โรว์ดอน เอิร์ลแห่งมอยราคนที่ 1 และเอลิซาเบธ เฮสติ้งส์ บารอนเนสคนที่ 13 แห่งเฮสติ้งส์ ซึ่งเป็นธิดาของ เอิร์ลคนที่ 9 แห่งฮันติงดอน[2] เขารับบัพติศมา ที่โบสถ์เซนต์ออเดียน ดับลิน เมื่อวันที่ 2 มกราคม ค.ศ. 1755[3] เขาเติบโตในมอยราและในดับลิน[4] เขาเข้าร่วมกองทัพอังกฤษเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม ค.ศ. 1771 เป็นร้อยตรีในกองร้อยทหารราบที่ 15 นับแต่นั้นมาตลอดชีวิตของเขาก็ได้รับใช้ชาติไปโดยสมบูรณ์[5] เขาเรียนที่โรงเรียนแฮร์โรว์และสอบเข้ามหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด[1] แต่ลาออก เขากลายเป็นเพื่อนกับ Banastre Tarleton ที่นั่นกับลุงฝั่งแม่ของเขา ลอร์ด ฮันติงดอน พวกเขาเดินทางจารึกไปทั่วยุโรป[6] เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 1773 เขาได้รับการเลื่อนยศเป็นร้อยโทในกองร้อยทหารราบที่ 5 เขากลับไปอังกฤษเพื่อเข้าร่วมกองทหารของเขา และแล่นเรือไปทวีปอเมริกาเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1774

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Beevor, p. 58.
  2. Chisholm 1911, p. 53.
  3. "Registers of St Audoen's Church". Irish Genealogy. สืบค้นเมื่อ 19 October 2019.
  4. (Paul David Nelson 2005, p. 21)
  5. Chisholm 1911, pp. 53–54.
  6. (Paul David Nelson 2005, p. 22)

ข้อมูล[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]