ฟรันซิสโก มาซิอัส อึงเกมา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟรันซิสโก มาซิอัส อึงเกมา
มาซิอัส อึงเกมาในค.ศ. 1968
ประธานาธิบดีอิเควทอเรียลกินีคนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
12 ตุุลาคม ค.ศ. 1968 – 3 สิงหาคม ค.ศ. 1979
รองประธานาธิบดี
รองประธานาธิบดี
ก่อนหน้าตำแหน่งถูกก่อตั้ง (การปกครองโดยสเปน)
ถัดไปเตโอโดโร โอเบียง อึงเกมา อึมบาโซโก
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 มกราคม ค.ศ. 1924(1924-01-01)
อึงเฟงกา, กินีของสเปน
เสียชีวิต29 กันยายน ค.ศ. 1979(1979-09-29) (55 ปี)
แบล็กบีช, มาลาโบ, อิเควทอเรียลกินี
สาเหตุการเสียชีวิตถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้า
ที่ไว้ศพสุสานมาลาโบ
พรรคการเมืองสหพรรคแรงงานแห่งชาติ
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
Popular Idea of Equatorial Guinea (จนถึงค.ศ. 1970)
บุตรมอนิก,[1][a] มาริเบล, ปาโก และบุตรชายอย่างน้อย 1 คน[3]

ฟรันซิสโก มาซิอัส อึงเกมา (สเปน: Francisco Macías Nguema, 1 มกราคม ค.ศ. 1924 – 29 กันยายน ค.ศ. 1979) หรือบางครั้งเรียกเพียง มาซิอัส[4] เป็นนักการเมืองชาวอิเควทอเรียลกินี ผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอิเควทอเรียลกินีคนแรกตั้งแต่ประเทศได้รับเอกราชในค.ศ. 1968 จนกระทั่งถูกโค่นอำนาจในค.ศ. 1979 มาซิอัสถือเป็นหนึ่งในเผด็จการที่โหดร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์

มาซิอัสเกิดในครอบครัวชาวแฟงในเมืองอึงเฟงกา[5] เขาทำงานหลายอย่างในช่วงสเปนปกครองกินี ก่อนจะได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีเมื่ออิเควทอเรียลกินีได้รับเอกราชในวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 1968 มาซิอัสรวบรวมอำนาจโดยสร้างลัทธิบูชาบุคคลอย่างสุดโต่งและปกครองประเทศแบบพรรคเดียวที่มีสหพรรคแรงงานแห่งชาติของเขาปกครอง ในค.ศ. 1972 มาซิอัสประกาศตนเป็นประธานาธิบดีตลอดชีพและได้รับความเห็นชอบจากการออกเสียงประชามติในปีต่อมา การปกครองที่โหดร้ายและการบริหารเศรษฐกิจที่ผิดพลาดส่งผลให้ผู้คนหลายหมื่นหนีออกนอกประเทศ ขณะที่นานาชาติขนานนามอิเควทอเรียลกินีในช่วงที่มาซิอัสปกครองว่า "ดัคเคาแห่งแอฟริกา" ตามชื่อค่ายกักกันดัคเคาของนาซีเยอรมนี การปกครองของเขายังก่อให้เกิดภาวะสมองไหลเนื่องจากปัญญาชนและผู้มีการศึกษาตกเป็นเป้า ในค.ศ. 1979 มาซิอัสถูกรัฐประหารโดยเตโอโดโร โอเบียง อึงเกมา อึมบาโซโก ผู้เป็นหลานชาย ก่อนถูกดำเนินคดีและประหารชีวิต[6]

ระหว่างที่มาซิอัสปกครอง เชื่อว่ามีผู้คนราว 50,000 – 80,000 คนถูกสังหาร มาซิอัสมักถูกเปรียบเทียบกับพล พต ผู้นำเขมรแดงเนื่องจากความโหดร้าย คาดการณ์ไม่ได้และต่อต้านปัญญาชน[7] ในค.ศ. 1978 สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐเสนอข้อมติประณามมาซิอัสที่เบียดเบียนทางศาสนาและก่อพันธุฆาต[8]

หมายเหตุ[แก้]

  1. มักเรียกผิดเป็น "มอนิกา" ซึ่งอาจมาจากชื่อเกาหลีของเธอ เกาหลี: 모니카 마시아스, อักษรโรมัน: Monika Masiaseu[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. "How I unintentionally ended up spending 15 years of my life in North Korea". NK News - North Korea News. 21 February 2014. สืบค้นเมื่อ 2021-11-20.
  2. "'평양에서 16년, 내게 김일성은 제2의 아버지였다'". BBC News 코리아. 2 March 2019. สืบค้นเมื่อ 2021-11-20.
  3. Choe Sang-Hun (11 October 2013). "Fond Recollections of Dictators, Colored Later by the Lessons of History". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 12 August 2017.
  4. Kenyon 2018, p. 262.
  5. Pauron, Michael (12 October 2018). "Ce jour-là : le 12 octobre 1968, le Tigre de Malabo arrive au pouvoir" (ภาษาฝรั่งเศส). JeuneAfrique.com. สืบค้นเมื่อ 8 May 2019.
  6. "Equatorial Guinea 'stops coup attempt by mercenaries'". BBC News. 3 January 2018. สืบค้นเมื่อ 29 January 2019.
  7. Suleiman, Rashid. "Macias Nguema: Ruthless and bloody dictator". Afroarticles.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2014. สืบค้นเมื่อ 1 December 2014.
  8. Dornan, Robert K. "H.J.Res.1112 - A resolution to provide an end to the persecution of religion and genocide in Equatorial Guinea". congress.gov. United States House of Representatives. สืบค้นเมื่อ 4 December 2021.