พูดคุย:โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิสถานศึกษา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับสถานศึกษา อันประกอบด้วย โรงเรียน วิทยาลัยและมหาวิทยาลัย รวมถึงสถาบันการศึกษาอื่น ๆ ให้เป็นไปในมาตรฐานเดียวกัน ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา หรือแวะไปที่หน้าโครงการเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

พระเกี้ยว[แก้]

ในเมื่อมีข้อโต้แย้งจึงได้ย้ายมาอภิปรายในนี้แทน ซึ่งจะเป็นการสะดวกกว่า

พระเกี้ยวเตรียมอุดมศึกษานั้นแตกต่างจากพระเกี้ยวของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพราะมีเพียง 19 แฉกเท่านั้น ทั้งนี้แม้ว่าจะไม่มีเอกสารใดๆ แต่โดยพฤตินัยแล้วใช้แตกต่างกัน ซึ่งสามารถเห็นได้จาก พระเกี้ยวทองและเงินที่ประดับบนอกของนักเรียนเตรียมฯ สมุดและเอกสารของทางโรงเรียน หรือป้ายหน้าโรงเรียนหลังโรงเรียน ก็ใช้พระเกี้ยว 19 แฉกเท่านั้น -- V i P En Avance → 16:53, 15 ตุลาคม 2551 (ICT)


ข้อสังเกตเรื่องพระเกี้ยว[แก้]

รูปแบบและลักษณะของพระเกี้ยว ไม่ได้มีกำหนดไว้ตายตัว

หลายคนรวมทั้งเราเองเคยได้ยินกันมาว่า จำนวนรัศมีของพระเกี้ยวหมายถึงจำนวนคณะในจุฬาฯ

แต่ถ้าตั้งใจสังเกตให้เห็นกันชัดๆ เพื่อหาข้อรับรองตามคำบอกเล่าเหล่านั้นแล้ว

จะพบว่า ตราพระเกี้ยวของมหาวิทยาลัย แบบที่นิยมใช้ในปัจจุบันนั้น มีรัศมีจำนวน 31 แฉก (ข้างละ 15 และตรงกึ่งกลางอีก 1)

และถ้าจะนำข้อมูลนี้มาตีความกันแล้ว อาจมองได้เป็น 2 แบบ คือ

แบบที่ 1 นับ 31 แฉก แล้วคาดว่าจุฬาฯ มี 31 คณะ แบบที่ 2 จาก 31 แฉก นับเพียง 16 แฉก เพราะมองว่ารัศมีอีกด้านหนึ่งเป็นเงาสะท้อน(นับด้านข้าง 15 รวมกับตรงกึ่งกลางอีก 1 ) แล้วคาดว่าจุฬาฯ มี 16 คณะ


ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ปัจจุบันนี้ จุฬาฯ มี 19 คณะ(รวมบัณฑิตวิทยาลัย) และอีก 1 สำนักวิชา (มีฐานะเทียบเท่าคณะ)

เราจึงขอแสดงข้อสังเกตส่วนตัวดังกล่าว มา ณ ที่นี้ ด้วยความหวังว่า พวกเรา เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ จะได้นำข้อมูลนี้ มาวิเคราะห์เทียบเคียงกับความเข้าใจเดิม

และเท่าที่เรารู้มานะ

โรงเรียนของเรา ใช้สัญลักษณ์เหมือนอย่างมหาวิทยาลัย

เพราะเป็นโรงเรียนเตรียมฯ ของจุฬาฯ พระเกี้ยว เป็นสัญลักษณ์ของจุฬาฯ โรงเรียนเตรียมฯ จึงมีพระเกี้ยว เป็นสัญลักษณ์ ตั้งแต่แรกเริ่มตั้งโรงเรียนแล้ว และยังคงได้สิทธินั้นต่อเนื่องสืบมา


ข้อสังเกตเพิ่มเติม

  • พวกเราหลายคนชอบคิดกันว่า พระเกี้ยวที่มีรัศมี 19 แฉก เป็นพระเกี้ยวโรงเรียนเตรียมฯ

แต่ถ้าลองนับให้ดี พระเกี้ยวที่ใช้ในเอกสาร หรือตามสถานที่ต่างๆ ของโรงเรียน หลายครั้งจะพบว่าไม่ได้มีรูปแบบ และรัศมีที่เหมือนกันหรือเท่ากันเสมอไป

  • และหลายคนก็ชอบคิดว่า พระเกี้ยวของมหาวิทยาลัยต้องมีรัศมี 31 แฉก

ซึ่งความจริงแล้ว อยากให้ลองสังเกต ดังนี้

- เข็มพระเกี้ยวของนิสิตในปัจจุบัน เป็นรูปแบบที่มีขึ้นใหม่ ไม่ได้ใช้อย่างนั้นตั้งแต่แรก นิสิตบางคนใช้เข็มแบบเก่าก็มี

- แม้แต่เอกสารของทางมหาวิทยาลัยเอง ยังมีพระเกี้ยวใช้หลายรูปแบบ (แบบที่พวกเราชินตาบนหน้าปกสมุดโรงเรียน ก็มีให้เห็นอยู่ไม่น้อย) เช่นเดียวกับตราพระเกี้ยวด้านข้างรถยนต์ทั้งเก่าและใหม่ของแต่ละคณะ

และล่าสุด เรื่องเอกสารเก่าของโรงเรียน

เราพบหลักฐานสำคัญแล้ว

จากหนังสือ ประมวลระเบียบของโรงเรียน ที่พิมพ์เป็นอภินันทนาการแด่ผู้ปกครองนักเรียน พ.ศ.2484 พบว่า พระเกี้ยวบนหน้าปกของหนังสือเล่มนี้ มีรัศมี 21 แฉก และมีรูปแบบแตกต่างจากที่เห็นทั่วไปในปัจจุบัน

และจากหนังสือ ระเบียบการโรงเรียน ที่จุฬาฯ พิมพ์แจกในงานทอดพระกฐินพระราชทาน พ.ศ.2482 พบว่า พระเกี้ยวมีรัศมี 31 แฉก แต่ก็มีลักษณะการจัดเรียงรัศมีและ รูปแบบของพระเกี้ยว ไม่เหมือนกับ พระเกี้ยว 31 แฉก ที่เห็นในปัจจุบัน อีกเช่นกัน

ทั้งนี้ จากหนังสือทั้งสองเล่มนี้ ได้ระบุชัดเจนว่า โรงเรียนรับสมัครนักเรียนเข้าเรียนในประเภทวิชาต่างๆ รวมทั้งสิ้น 10 ประเภทวิชา

เราจึงขออนุมานว่า รูปแบบและลักษณะของพระเกี้ยว ไม่ได้มีกำหนดไว้ตายตัว ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามสมัยนิยมในช่วงหนึ่งๆ เท่านั้น

--tomato* ต.อ.67 --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 118.174.139.6 (พูดคุย | ตรวจ) 05:07, 20 ตุลาคม 2551 (ICT)

ตอบ: พระเกี้ยว[แก้]

ขอบคุณครับพี่ tomato สำหรับบทวิเคราะห์เกี่ยวกับพระเกี้ยว กระนั้น ในบทความไม่ได้มีการกล่าวถึงหัวข้อนี้โดยเฉพาะ นอกจากมีเพียงพระเกี้ยวแสดงสัญลักษณ์โรงเรียนที่กล่องข้อมูลด้านขวาเท่านั้น

ลักษณะของพระเกี้ยวนั้นไม่ได้ตายตัวจริง มีการออกแบบภาพพระเกี้ยวในสื่อต่างๆ โดยเฉพาะของจุึฬาฯ เพื่อใช้ในกิจการเฉพาะแต่ละส่วนอยู่เรื่อยไป

แต่ขอกล่าวถึงข้อสังเกตบางประการดังนี้

  • ข้อมูลที่นำมาสนับสนุนว่า พระเกี้ยวจุฬาฯ ไม่จำเป็นต้องมี 31 แฉกนั้น ดูจะไม่สมเหตุสมผล เพราะเหตุผลที่ยกมานั้น ล้วนแต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้สัญลักษณ์เก่าที่ทำมานานแล้วแต่ยังไม่ได้เปลี่ยนตามเท่านั้น (เพราะไม่จำเป็นต้องไปเช่าองค์ใหม่/ตัดสติกเกอร์ใหม่/ออกแบบสัญลักษณ์ประจำคณะใหม่)
  • เอกสารทางการของโรงเีรียน โดยเฉพาะจดหมายและข้อสอบ จะใช้พระเกี้ยว 19 แฉก เอกสารโรงเรียนหลายอย่างที่ใช้พระเกี้ยว 31 แฉกนั้น ข้าพเจ้าพบว่าส่วนใหญ่จะเป็นปกเอกสารประกอบการสอนที่โรงเรียนทำเอง และเท่าที่สังเกตแล้ว นักเรียนจะเป็นคนทำให้ครู และไปดาวน์โหลดพระเกี้ยวจากอินเทอร์เน็ตมาแปะ โดยไม่สนใจจำนวนแฉกดังที่ได้กล่าวไว้ สังเกตได้จากภาพเกรนแตกในหนังสือหลายเล่ม อนึ่ง ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นโรงเรียนรวบรวมไฟล์ภาพพระเกี้ยวให้หยิบใช้ในเอกสารได้สะดวก (โดยเฉพาะกับนักเรียน) จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะต้องไปตามหาเอาเอง (พระเกี้ยว 19 แฉก หาดาวน์โหลดยากพอดู) นอกจากนี้ สมุดโรงเรียนที่ข้าพเจ้าใช้ทุกเล่ม ใช้พระเกี้ยว 19 แฉก
  • ที่กล่าวว่าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาใช้พระเกี้ยว 19 แฉก เพราะใช้ตามตั้งแต่สมัยที่จุฬาฯ ตั้งโรงเรียน นั่นคือช่วงที่กำหนดให้โรงเรียนใช้ โรงเรียนจึงได้ใช้พระเกี้ยว 19 แฉกตั้งแต่บัดนั้นมา

นี่เป็นเพียงความคิดของข้าพเจ้า กระนั้น ข้อคิดเห็นนี้ไม่ได้ส่งผลกับบทความมากไปกว่าที่ว่า ให้คงพระเกี้ยว 19 แฉกในกล่องข้อมูลไว้ดีแล้ว

--Wap 23:06, 17 ตุลาคม 2551 (ICT)

หนังสือที่ใช้เป็นหลักฐานนั้น น่าจะเป็นเพียงหนังสือเล่มหนึ่งที่อาจมีการเขียนรูปพระเกี้ยวแตกต่างออกไป อย่าลืมว่าในสมัยนั้น การลอกแบบยังไม่ใช่สิ่งที่ทำได้ง่ายเหมือนปัจจุบัน การวาดใหม่แล้วไม่เหมือนเดิมจึงไม่ใช่เรื่องแปลก และอาจจะมีข้อจำกัดด้านเทคโนโลยีทางการพิมพ์ในสมัยนั้นด้วย --Wap 00:09, 21 ตุลาคม 2551 (ICT)

สีประจำโรงเรียน[แก้]

ผมเป็นศิษย์เก่าครับ แต่จบนานแล้ว (ต.อ. 62) ผมเลยไม่แน่ใจว่าสีประจำโรงเรียนเป็นสี ชมพู-เทา หรือ แค่ ชมพู อย่างเดียวครับ แต่เท่าที่ผมจำได้เป็น ชมพู-เทา ครับ--Robosorne 12:22, 11 สิงหาคม 2554 (ICT)

บุคคลสำคัญ[แก้]

ผมว่ามันเยอะเกินไปแล้ว ดูรกมาก บางคนก็เขียนอธิบายซะละเอียด (ไปเขียนในหน้าบุคคลดีกว่าไหม?) บางคนก็ไม่มีข้อมูลแสดง notability เลย แล้วพอมีคนนึง คนอื่น ๆ ก็ตามมา นี่มันบทความโรงเรียนนะ

ผมตัดข้อมูลเอามาไว้ตรงนี้นะครับ

* [[ปาณิสรา พิมพ์ปรุ]]:  นักแสดง พิธีกร นักร้อง และดีเจ
* [[ชุติมา ทีปะนาถ]]: นักแสดง
*   อาภาภัทร มีแสง: นางสาวสงกรานต์ประจำปี 2555และนักแสดงวัยรุ่น
* [[อาภาภัทร กัญจนพฤกษ์]]:อดีตพิธีกรสตรอเบอร์รี่ชีสเค้ก
* [[ชนิสาร์ บังคมเนตร|อุ้ม ชนิสาร์ บังคมเนตร]] (ต.อ.67) :[[นักแสดง]]สังกัด[[สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3]]
* [[ณภศศิ สุรวรรณ]]:นักแสดง
* [[ณิชชารีย์ กิจวิริยะ]] และ [[ณัชชารีย์ กิจวิริยะ]]:ศิลปินวงโอลีฟส์ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
* [[ณัฐวรา หงษ์สุวรรณ]]:นักแสดงช่อง 7
* [[อิสรีย์ ทองธรรมโรจน์]]:ศิลปินจาก AF6
* [[วาโย อัศวรุ่งเรือง]]:นักแสดง ศิลปินจาก The star 6 นักแสดงค่ายเอ็กซ์แซกท์
* [[ปวีณ์สุดา จันทร์เกษ]]:นักแสดง ศิลปินจาก The star 4 นักแสดงค่ายเอ็กซ์แซกท์
* [[พีรชยา พิณเมืองงาม]]:ศิลปินจาก The star 3
* [[พิชญา เชาวลิต]]:นักแสดงค่ายเอ็กซ์แซกท์
*   สมศรี ธรรมสารโสภณ:ครูกวดวิชาภาษาอังกฤษชื่อดัง"คุณครูสมศรี"
* [[กิจมาโนชญ์ โรจนทรัพย์]]:ครูกวดวิชาภาษาไทยชื่อดัง"ครูลิลลี่"
* [[วรรษพร วัฒนากุล]] :นักแสดงสังกัดช่อง 7
* [[หม่อมราชวงศ์เบญจาภา ไกรฤกษ์]] (ต.อ. 28)
* [[การุญ จันทรางศุ|รองศาสตราจารย์ ดร. การุญ จันทรางศุ]] (ต.อ. 29)
* [[พรหมพร ยูวะเวส]]: ผู้ประกาศข่าว และพิธีกรรายการโทรทัศน์
* [[กษิติ กมลนาวิน]]: ผู้ประกาศข่าว ผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5

จะดำเนินการอะไรต่อก็แล้วแต่ครับ --Nullzero (พูดคุย) 00:03, 25 มกราคม 2556 (ICT)

คำขอแก้ไขกึ่งป้องกัน เมื่อ 8 พฤศจิกายน 2563[แก้]

ขอเปลี่ยนชื่อผู้ก่อตั้งจาก จอมพล ป.พิบูลย์สงคราม เป็น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และลบรูปจอมพล ป. พร้อมคำอธิบาย ให้ตรงตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทั่วไปและความจริงแห่งพฤติกรรม เพราะสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มีมติให้จัดตั้ง "โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา" เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2480 ขณะนั้นพันเอกหลวงพิบูลย์สงครามเป็นอธิการบดีจุฬาฯ จะต้องดำเนินการจัดตั้งตามหน้าที่ ไม่สามารถไม่จัดตั้งได้ ไม่ได้เป็นผู้คิดริเริ่ม และไม่ได้เป็นผู้เข้าไปดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนด้วยตัวเองแต่อย่างใดทั้งสิ้น แต่มอบหมายให้ ม.ล.ปิ่น มาลากุล ผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นผู้ดำเนินการทุกอย่าง และเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนนานถึง 7 ปี จุฬาฯ เองก็ไม่ได้จัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ ทำให้ ม.ล.ปิ่นต้องหาทางกู้เงินจากจุฬาฯ สร้างตึกเรียนเองด้วยซ้ำ ชื่อผู้ก่อตั้ง จึงควรเป็นจุฬาฯ หรือ ม.ล.ปิ่น มาลากุล มากกว่า จอมพล ป.พิบูลย์สงคราม

การที่มีผู้แก้ไขข้อมูลในส่วนนี้ พร้อมทั้งลงรูปจอมพล ป. และเขียนบรรยายว่าเป็นผู้ก่อตั้ง โดยอ้างถึงคำว่า "จัดตั้ง" ในประโยคเพียงประโยคเดียวในเอกสารฉบับหนึ่งซึ่งเป็นของรัฐบาลจอมพล ป. ที่ใช้เพื่อโฆษณายกย่องจอมพล ป. ที่เป็นนายกรัฐมนตรี จึงเป็นข้ออ้างอิงที่เชื่อถือไม่ได้ ข้ดแย้งกับบันทึกทางประวัติศาสตร์มากมาย เป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และแม้ว่ามีผู้ที่แก้ไขกลับคืนมาหลายครั้ง ผู้ใช้ผู้นี้ก็แก้ไขกลับมาเป็นจอมพล ป. อีกทุกครั้ง และครั้งสุดท้ายได้ล็อคไม่มีผู้อื่นแก้ไขได้อีก!

จึงขอให้ผู้รับผิดชอบวิกิในพื้นที่นี้พิจารณาแก้ไขตามคำขอนี้เพื่อให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงและเป็นธรรมกับโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาที่ตลอด 82 ปีไม่เคยถือว่าจอมพล ป. เป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียน และไม่เคยมีปรากฎในเอกสารใด ๆ นอกจากที่ผู้แก้ไขได้ยกมาอ้างเท่านั้น 110.169.223.224 21:44, 8 พฤศจิกายน 2563 (+07)[ตอบกลับ]

 ไม่สำเร็จ แปลกดีนะครับ พยายาม discredit reference ขนาดนี้ (พยายามใช้เหตุผลวิบัติประเภท shoot down the messenger โดยไม่พูดถึงเนื้อหาใด ๆ) แต่ตัวเองกลับไม่มี contribution reference ของตัวเองเลย พยายามผิดที่ผิดทางแบบนี้เขาไม่ใช้กันในแวดวงวิชาการนะคัรบ --Horus (พูดคุย) 21:47, 8 พฤศจิกายน 2563 (+07)[ตอบกลับ]
หรือก็คือให้นำหลักฐาน(ทุติยภูมิ)มาแย้งครับ -- Just Sayori OK? (have a chat) 21:57, 8 พฤศจิกายน 2563 (+07)[ตอบกลับ]

คำขอแก้ไขกึ่งป้องกัน เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2563[แก้]

"ขอเปลี่ยน ก่อตั้งเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2480 (นับแบบเก่า) โดยพันเอก หลวงพิบูลสงคราม อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขณะนั้น เป็น ก่อตั้งเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2480 (นับแบบเก่า) โดยหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ท่านดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการท่านแรก 5 ปีต่อมา“ Palipaliskp (คุย) 01:43, 13 พฤศจิกายน 2563 (+07)[ตอบกลับ]

@Palipaliskp: รบกวนแสดงแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ (เช่น หนังสือ เว็บไซต์ที่เป็นข้อมูลทุติยภูมิ ฯลฯ) เพื่อใช้ในการอ้างอิงครับ --Geonuch (คุย) 06:38, 13 พฤศจิกายน 2563 (+07)[ตอบกลับ]
 ไม่สำเร็จ ขาดการตอบสนอง --Geonuch (คุย) 19:45, 5 ธันวาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]

เสนอรวมบทความ[แก้]

ในกรณีที่ไม่มีการปรับปรุงบทความเพื่อแก้ไขในเรื่องความโดดเด่นขององค์กร แก้ไขเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมและอาจละเมิดลิขสิทธิ์ เสนอให้ย้ายเนื้อหาในบทความนี้ไปรวมกับบทความโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาครับ --Geonuch (คุย) 14:33, 30 พฤศจิกายน 2562 (+07)[ตอบกลับ]

ขอให้ยกเลิกการเปลี่ยนเส้นทาง (ครั้งที่ 2 เนื่องจากคำขอเดิมถูกลบทิ้งเมื่อคืน โดยไม่แจ้งให้ทราบเหตุผล)[แก้]

หน้าข้อมูลของสมาคมนักเรียนเก่าเตรียมอุดมศึกษา ได้ถูกเปลี่ยนเส้นทางไปที่หน้าของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ซึ่งเป็นคนละนิติบุคคล ไม่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องและไม่เป็นผลดีต่อระบบฐานข้อมูลสาธารณะอย่าง wikipedia โดยทำให้หน้าข้อมูลของสมาคมฯ หายไปจากการสืบค้น ผมจึงส่งคำร้องนี้มาเพื่อให้คณะ admin ทวบทวนแก้ไขความไม่ถูกต้องนี้มาในที่นี้

อนึ่ง ผมไม่รู้ระเบียนของ wikipedia แต่พยายามหาช่องทางเพื่อท้วงติงความผิดพลาด ถ้าที่ตรงนี้ไม่ได้มีไว้สำหรับเรื่องร้องเรียนนี้ กรุณาตอบหัวข้อนี้แนะนำช่องทางที่ถูกต้องให้ด้วยก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง หวังว่าครั้งนี้จะไม่ถูกลบทิ้งอีกครั้งโดยไม่ทำความเข้าใจกันเสียก่อน --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 110.169.223.131 (พูดคุย | ตรวจ) 08:32, 6 มิถุนายน 2564 (ICT)

สวัสดีครับ
  1. เนื่องจากหน้าแจ้งผู้ดูแลระบบมีไว้สำหรับการดำเนินการที่ต้องอาศัยสิทธิผู้ดูแลระบบตามที่ได้อธิบายในส่วนบนของหน้า การยกเลิกการเปลี่ยนทางสามารถกระทำได้โดยไม่ต้องอาศัยสิทธิผู้ดูแลระบบทำให้ทางผู้ดูแลระบบก่อนหน้าทำการลบคำร้องออกตามการใช้งานหน้าดังกล่าวครับ (โปรดดูส่วนหัวด้านบน) และก็ได้มีการระบุสาเหตุในความย่อการแก้ไขแล้วครับ
  2. โปรดตั้งเรื่องอภิปรายที่หน้านี้ โดยยกเหตุผลอันสมควรที่ไม่ขัดต่อนโยบายและแนวปฏิบัติของวิกิพีเดียเพื่อค้านการกระทำที่คุณเห็นว่าไม่ถูกต้องครับ
  3. วิกิพีเดียไม่ได้เป็นระบบฐานข้อมูลสาธารณะ แต่เป็นของเอกชนที่ดำเนินการโดยมูลนิธิวิกิมีเดียครับ
  4. ศึกษาการใช้งานวิกิพีเดียได้ที่ วิกิพีเดีย:สอนการใช้งาน หรือดำเนินการสมัครบัญชีผู้ใช้จะมีฟังก์ชันช่วยเหลือผู้ใช้ใหม่ให้พอสมควรครับ ถ้ามีอะไรไม่เข้าใจก็สามารถสอบถามได้
--Geonuch (คุย) 10:08, 6 มิถุนายน 2564 (+07)[ตอบกลับ]
ให้ดูเนื้อหารุ่นเก่าก่อนถูกรวมนะครับ จะเห็นว่ามีการใช้คำและสำนวนการเขียนไม่เป็นลักษณะสารานุกรม (เช่น หลุดเงียบไป, เชิญชวนรุ่นน้องๆ, ก็เพราะบรรดาศิษย์เก่าทุกคนได้ร่วมแรงร่วมใจสามัคคีกัน) บางข้อความเขียนในลักษณะส่งเสริม (WP:ADVERT) และแหล่งอ้างอิงก็ไม่ได้มีทำให้ขาดการพิสูจน์ยืนยันได้ (WP:V) และไม่ผ่านเงื่อนไขเกี่ยวกับความโดดเด่นขององค์กร (WP:ORG) สุดท้ายมีการตั้งเรื่องเสนอรวมบทความตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2562 แต่ก็ไม่ได้มีการอภิปราย คัดค้านหรือปรับปรุงบทความตามที่ได้แจ้งไปจนได้รับการพิจารณาให้รวมเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564‎ ซึ่งก็เป็นระยะเวลาปีกว่าครับ ทั้งนี้ การเขียนใหม่สามารถกระทำได้ แต่ต้องผ่านเงื่อนไขตามข้อกำหนดของวิกิพีเดียและไม่ควรด้อยคุณภาพไปกว่าเดิมครับ --Geonuch (คุย) 10:33, 6 มิถุนายน 2564 (+07)[ตอบกลับ]