พูดคุย:เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนมงกุฎ

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หน้านี้เป็นหน้าพูดคุยสำหรับการแสดงความเห็นเพื่อพัฒนาบทความ เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนมงกุฎ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนมงกุฎ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศญี่ปุ่นและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่น ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนมงกุฎ หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนมงกุฎ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิอิสริยาภรณ์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับเครื่องอิสริยาภรณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของแต่ละประเทศ โดยแต่ละบทความนั้นจะต้องมีข้อมูลครบถ้วน ถูกต้อง และสมบูรณ์ และใช้ไปอ้างอิงได้ ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนมงกุฎ หรือแวะไปที่หน้าโครงการเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

寶/宝[แก้]

寶/宝 แปลได้ทั้ง อัญมณี (jewel; รัตน-) และ มีค่ามาก (precious; มหรรฆ-) หากดูตามชื่อภาษาอังกฤษที่เป็นทางการ Orders of the Precious Crown ควรใช้ มหรรฆมงกุฎ มากกว่า --浓宝努 13:31, 12 กันยายน 2555 (ICT)

คำว่า "รัตน" ไม่ได้แปลว่า "อัญมณี" อย่างเดียว แต่หมายถึง "สิ่งมีค่า" "สิ่งประเสริฐ" ด้วย (ดูได้จากพจนานุกรม) ดังนั้นคำว่า "รัตน" จึงมีความหมายเท่ากับ "寶/宝" ทุกประการ แต่คำว่า "มหรรฆ" แปลว่า "มีค่ามาก" เท่านั้น ไม่หมายรวม "อัญมณี" ด้วย ขอให้คุณ Octahedron80 พิจารณาด้วยนะครับ ^_^ --พุทธามาตย์ (พูดคุย) 09:03, 13 กันยายน 2555 (ICT)
รัตน มีความหมายมากกว่าหนึ่ง แต่ มหรรฆ มีความหมายเดียว ผมเห็นว่าควรเลือกใช้คำที่เจาะจงจะตรงความหมายมากกว่า ไม่แปลสองแง่สองง่ามไปเป็นอย่างอื่นครับ --浓宝努 13:20, 13 กันยายน 2555 (ICT)
ผมก็เห็นด้วยที่ควรใช้ คำที่เจาะจงจะตรงความหมายมากกว่า ผมจึงคิดว่าควรใช้ รัตน เพราะตรงความหมายเจาะจง 宝 มากที่สุด เหมือน 三宝 ก็แปลว่า ไตรรัตน์/รัตนตรัย ในภาษาไทยในบาลีสันสกฤษ และ Precious Triad ในภาษาอังกฤษ และไม่ทราบว่าที่ 宝 แปลว่า มหรรฆ นี้เอามาจากตำราใด คำว่า มหรรฆ คือ มห+อรรฆ แปลว่า มีค่ามาก แต่ในภาษาอังกฤษก็ไม่ใช่ very precious ทำไมไม่เอามาแต่ อรรฆ เฉย ๆ ดังนั้น มหรรฆ จึงไม่ตรงกับคำว่า precious ครับ --พุทธามาตย์ (พูดคุย) 13:45, 13 กันยายน 2555 (ICT)
มหรรฆ อยู่ในพจนานุกรมครับเป็นคำนี้เลย ซึ่งเป็นการสะกดครั้งแรกของบทความนี้ แต่ผมก็เห็นด้วยถ้าจะใช้ อรรฆ เพื่อตัดคำว่า "มาก" ออก (ไม่นึกว่าจะมีคำนี้ด้วย) ความหมายเจาะจง หมายความว่า มีความหมายเดียวและตรง ไม่ใช่หมายความว่า มีสองความหมายเหมือนกัน มิฉะนั้นความคลุมเครือก็จะยังอยู่ --浓宝努 13:47, 13 กันยายน 2555 (ICT)
เกี่ยวกับเรื่อง ไตรรัตน์/รัตนตรัย มันมีที่มาตรงข้ามกัน เพราะดั้งเดิมเป็นบาลีสันสกฤต แล้วจึงถูกแปลเป็นภาษาอื่นภายหลัง ส่วนเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้เป็นภาษาอื่นก่อน แล้วเราจะแปลเป็นบาลีสันสกฤต ดังนั้นจึงเอามาเทียบกันไม่ได้ครับ --浓宝努 13:54, 13 กันยายน 2555 (ICT)
ถ้าอย่างนั้นการที่เราจะแปล 宝 ว่า อรรฆ ก็มีปัญหาเดียวกันนะครับ เพราะต่างก็เอาคำสันสกฤตไปแปลคำญี่ปุ่นอยู่ ประเด็นที่ผมเน้นคือมีคำว่า รัตน คำเดียวที่ใช้แปลเจาะจงคำว่า 宝 แล้วก็ใช้แปลกันเช่นนี้มานานแล้วในคัมภีร์ฝ่ายมหายาน ครับ --พุทธามาตย์ (พูดคุย) 14:20, 13 กันยายน 2555 (ICT)
ผมได้ตรวจใน U. Wogihara's Sanskrit-Chinese-Japanese Dictionary จัดพิมพ์ปี 1979 โดย Suzuki Research Foundation แล้วพบการแปลดังนี้ mahārgha (มหารฺฆ) แปลว่า (หน้า 1020) ส่วน ratna (รตฺน) แปลว่า (หน้า 1110) จึงขอเปลี่ยนชื่อบทความเพื่อให้การแปลเป็นไปตามอ้างอิงนี้ครับ --พุทธามาตย์ (พูดคุย) 16:14, 14 กันยายน 2555 (ICT)