พูดคุย:สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Genetically Modified Organisms คำว่า Genetically modified organisms หรือ จีเอ็มโอ ความหมายตรงตัวคือ สิ่งมีชึวิตดัดแปลงพันธุกรรม หมายความถึงการที่สารพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ถูกเปลี่ยนแปลงไปโดยวิธีการทางพันธุวิศวกรรม ซึ่งวิธีการเปลี่ยนแปลงนั้น จะใช้กระบวนการการสร้างดีเอ็นเอสายผสมในหลอดทดลอง จากโมเลกุลดีเอ็นของสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกัน จากยีนของตัวหนึ่งทำให้เกิดยีนใหม่ในอีกตัวหนึ่ง จากนั้นก็นำดีเอ็นเอสายผสมไปถ่ายฝากให้กับสิ่งมีชีวิต ทำให้มันสร้างลักษณะใหม่ ๆ แตกต่างจากสายพันธุ์ดั้งเดิม

จีเอ็มโออะไร? 1.) สินค้าการเกษตร (1.) เพื่อให้มีปริมาณมากขึ้น เช่น ฟักทอง (2.) เพื่อต่อต้านศัตรู และโรคพืช เช่น ฝ้ายพันธุ์ BT, มะละกอที่ทนต่อ Ring spot virus ,… (3.) เพื่อทนต่อสารกำจัดวัชพืช (4.) เพื่อพัฒนาคุณภาพ เช่นการเพิ่มไลซีนในข้าว หรือการเพิ่มวัคซีนในกล้วย (5.) เพื่อให้ทนต่อสภาวะแวดล้อมวิกฤติ เช่นพืชทนแล้ง ทนเค็ม ทนน้ำท่วมขังระยะยาว (6.) เพื่อสร้างลักษณะใหม่ตอบสนองความต้องการของตลาด เช่น ปลาเรืองแสง สัตว์เรืองแสงต่าง ๆ เช่น ดอกกุหลาบสีน้ำเงิน, หมูเรืองแสง .... (7.) เพิ่มผลผลิต เช่นวัวพันธุ์ Belgien ที่ทำให้สร้างกล้ามเนื้อมากขึ้นโดยการยับยั้งยีนควบคุมการเติบโตของกล้ามเนื้อ การถ่ายยีน PEPC(phosphoenolpyruvate Carboxylase) จากข้าวโพดเข้าสู่มันฝรั่ง เพื่อให้สังเคราะห์แสงแบบพืช C4 ให้ผลผลิตมากขึ้น 2.) ด้านการแพทย์ (1.) เพื่อสร้างยา หรือฮอร์โมนบางอย่าง เพื่อรักษาโรค ภาวะพร่องที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น น้ำนมที่มีโปรตีน Lactoferrin ที่เกี่ยวข้องกับการดูดซึมธาตุเหล็กในทารก เมื่อขาดแล้วจะเกิดโรคโลหิตจาง จากวัวดัดแปลงพันธุ์ (2.) การใช้เทคโนโลยี gene therapy ในการตัดต่อเซลล์ของผู้ป่วยเพื่อการรักษาทดแทน ซ่อมแซม ยีนที่ก่อให้เกิดโรค (3.) ยาปฏิชีวนะที่สร้างจากจุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรม (4.) อาหารเสริมภูมิคุ้มกัน 3.) อุตสาหกรรมต่าง ๆ (1.) เอ็นไซม์ในผงซักฟอก เนยแข็ง ซอสมะเขือเทศ (2.) เพื่อใช้ในการกำจัดสารพิษโดยวิธี พฤกษบำบัด (Phytoremediation) เช่นการสร้างยาสูบ GM ที่สามารถกำจัดสาร TNT ที่ตกค้างอยู่มากในเขตซ้อมรบของทหารได้ (3.) การผลิตพลาสติกชีวภาพ(Bioelastic Protien-Based Polymer)จากยาสูบ GM ที่สามารถย่อยสลายเองได้ จากยีน EGI21 (4.) พืช GM ที่สามารถสังเคราะห์โปรตีน Spidroin ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของใยแมงมุม ซึ่งมีความเหนี่ยวและยืดหยุ่นกว่าเส้นใยสังเคราะห์ที่มนุษย์สามารถผลิตได้ เรียกว่า เหล็กกล้าชีวภาพ

ทำไมต้อง จีเอ็มโอ ทุกตัวตนมีความแตกต่าง บ้างดีอย่าง บ้างเสียอย่าง ดังคำนักปราชญ์ที่ว่า ไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ (No one is perfect) จะดีไหมถ้าเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม สามารถผลิตพืชหรือสัตว์ดัดแปลงพันธุ์ ที่ถูกเพิ่มส่วนดี ละทิ้งส่วนเสีย ก่อให้เกิดพืชหรือสัตว์ที่สมบูรณ์แบบดังที่ได้มีการดัดแปลงที่กล่าวมาข้างต้น นอกจากนี้ข้อจำกัดทางทรัพยากรของโลก พื้นที่เพาะปลูกอันมีจำกัด ในขณะที่จำนวนประชากรโลกเติบโตขึ้นทุกวัน บริโภคทุกนาที ทุกวินาที จึงจำเป็นต้องหาเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการของโลก GMOs จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ซึ่งหากมีการศึกษาถึงผลกระทบในทุกด้าน และหาทางป้องกันได้อย่างครบถ้วนแล้ว จะเป็นเทคโนโลยีที่นอกจากเพิ่มผลผลิตแล้ว ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และลดการใช้สารเคมีอีกด้วย

ทำไมต้องไม่เอา จีเอ็มโอ อวิชชา ก่อให้เกิดโทษ นั่นก็คือความไม่รู้ หรือรู้ไม่หมด อาจก่อให้เกิดผลเสียมหาศาลที่ไม่สามารถแก้ไขได้ ทุกวันนี้ GMOs กลายเป็นเรื่องของอาหารจานด่วนที่ถูกเร่งผลิตออกมาเพื่อหวังผลกำไร โดยไม่ศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมให้ดีก่อนแพร่กระจาย ทำให้น่าวิตกว่าผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพในระยะยาว อาจเกิดขึ้นและไม่สามารถเรียกคืนแก้ไขได้ เข้าทำนองที่ว่า เสพก่อนถอนทีหลัง จากวัฒนธรรมอเมริกา ที่รอให้มีข้อพิสูจน์ว่าไม่ดี จึงค่อยถอนคืน ยับยั้งในภายหลัง ซึ่งบางทีอาจสายเกินแก้ การผูกขาดจากบริษัทข้ามชาติที่นอกจากจะดึงเราให้เป็นทาสทางเทคโนโลยีแล้ว ยังรุกล้ำความเป็นไททางการเกษตรของไทย ที่ชักนำให้ตกเป็นทาสของพืชพันธุ์ GMOs จากต่างชาติ และชี้นำให้การเกษตรเป็นการผลิตเพื่อขายมากกว่า ซึ่งเพิ่มภาวะพึ่งพิงตลาดของเกษตรกรให้มากยิ่งขึ้น เกิดช่องว่างชนชั้นสูงขึ้นและยิ่งห่างไกลเศรษฐกิจพอเพียงมากขึ้นอีก ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่คนไทยจะต้องตื่นตัวศึกษาข้อมูล หาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับ GMOs เพื่อศึกษาข้อดี ข้อเสีย เลือกปรับใช้กับสถานการณ์ปัจจุบัน นอกจากนี้ยังควรเร่งส่งเสริมเทคโนโลยี GMOs เพื่อให้รู้ทันถึงพิษภัย วิธีการไข ทางเลือก ทางเลี่ยง และรู้ทันกับดักเชิงกลไกของต่างชาติ สร้างความได้เปรียบจากพืชพันธุ์ที่หลากหลายของประเทศมากกว่าที่จะเดินตามการลากจูงของกระแสโลก


แล้วจีเอ็มโอต้องทำอย่างไร ตามที่ในหัวข้อที่ผ่านมาได้อธิบายไว้ จีเอ็มโอเกิดจากเทคนิคการตัดต่อโครงสร้างของยีนจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งสู่จีโนมของอีกสิ่งมีชีวิตหนึ่ง ซึ่งเทคนิคนี้เรียกว่า เทคนิคทางพันธุวิศวกรรม พันธุวิศวกรรมไม่ได้ถูกใช้เพื่อการสร้างจีเอ็มโอเท่านั้น แต่ยังนำมาใช้ในการศึกษา เก็บข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต ซึ่งขั้นตอนโดยรวมดังนี้ 1. หายีนที่สนใจในสิ่งมีชีวิต 2. เพิ่มจำนวนยีนนั้น ๆ ด้วยวิธีการต่าง ๆ 3. ถ่ายยีนสู่ผู้รับด้วยพาหะ หรือวิธีการต่าง ๆ 4. ตรวจสอบการถ่ายยีนด้วยยีนเครื่องหมาย (marker) --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 158.108.224.14 (พูดคุย | ตรวจ) 11:19, 30 ตุลาคม 2551 (ICT)

--158.108.224.14 18:23, 30 ตุลาคม 2551 (ICT)จตุพร นครศรี