พูดคุย:สำเนียง

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ความน่าเชื่อถือของหัวข้อ การเหยียดสำเนียงในภาษาไทยกลาง[แก้]

หัวข้อ การเหยียดสำเนียงในภาษาไทยกลาง ยังไม่มีแหล่งอ้างอิงในประเด็นต่อไปนี้

  • สำเนียงมาตรฐาน (โดยปกติแล้วน่าจะหมายถึงสำเนียงกรุงเทพ) เกิดจากสำเนียงผสมของชาวมอญกับสำเนียงอยุธยาเดิมจริงหรือ?
  • สำเนียงสุพรรณบุรี มีการกล่าวอ้างอย่างแพร่หลายว่าเคยเป็นสำเนียงหลักของกรุงศรีอยุธยา อย่างไรก็ตามยังไม่พบว่าในทางภาษาศาสตร์จะมีการพิสูจน์ประเด็นนี้แล้ว
  • ในบทความนี้มีการกล่าวถึงหน่วยเสียงของสำเนียงกรุงเทพ (คนละอย่างกับสำเนียงมาตรฐาน?) ยังไม่มีแหล่งอ้างอิงว่ามีการเปลี่ยนแปลงของหน่วยเสียงดังกล่าวจริงหรือไม่ (เท่าที่หาเองยังไม่พบ)
    • อนึ่ง งานวิจัยเก่าๆ อาจมีการพูดถึงเสียงสระอึ ว่าเป็น [ɨ] บ้าง หรือเป็น [ɯ] บ้าง, สระเออ ว่าเป็น [ɤ] บ้าง หรือเป็น [ə] บ้าง และสระแอว่าเป็น [ɛ] บ้าง หรือเป็น [æ] บ้าง แท้จริงแล้วสัญลักษณ์เหล่านั้นล้วนแต่เป็นหน่วยเสียงเดียวกัน แต่ใช้สัญลักษณ์คนละตัวขึ้นอยู่กับการตีความ ไม่ได้เป็นการเปลี่ยนแปลงทางเสียงที่เกิดจากการสัมผัสภาษาแต้จิ๋ว
    • เท่าที่มีการศึกษาระบบเสียงภาษาไทยกรุงเทพ ยังไม่พบว่ามีการกล่าวถึงหน่วยเสียง [ʦ] และ [ʦʰ]
    • หลายๆ หน่วยเสียงที่ถูกพูดถึงในบทความนี้ ที่อ้างว่าได้รับมาจากภาษาแต้จิ๋วและภาษาแคะ กลับไม่มีในภาษาต้นทาง

อย่างไรก็ดี ขอออกตัวก่อนว่าไม่ใช่คนในวงการ อาจจะมีผลการศึกษาใหม่ๆ ออกมาแล้วที่ยืนยันถึงระบบเสียงเหล่านี้ หากมีอยู่จริงโปรดนำมาอ้างอิงด้วย ขอบคุณครับ --ปาก่อน ไม่รู้ใครปาตาม (คุย) 20:38, 5 กรกฎาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]