พูดคุย:รายพระนามและชื่อภรรยาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รายพระนามและชื่อภรรยาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ บทความเฉลิมพระเกียรติ ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการได้โดยการช่วยกันพัฒนาบทความ รายพระนามและชื่อภรรยาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือแวะไปที่หน้าโครงการเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
รายชื่อ บทความนี้อยู่ที่ระดับรายชื่อ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
รายพระนามและชื่อภรรยาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ รายพระนามและชื่อภรรยาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
รายชื่อ บทความนี้อยู่ที่ระดับรายชื่อ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

from http://www.pantip.com/cafe/library/topic/K4475158/K4475158.html

แต่แรกเริ่มเดิมทีนั้น ร.5 ทรงรับพระองค์เจ้าทักษิณชาฯ เป็นพระราชภรรยาเจ้าพระองค์แรก แต่เนื่องจากทรงเสียพระทัยจากการที่เจ้าฟ้าพระราชโอรสพระองค์แรกสิ้นพระชนม์ ทำให้ไม่อาจทรงรับราชการต่อไปได้

ร.5 จึงโปรดรับหม่อมเจ้าหญิงปิ๋ว เป็นพระราชภรรยาอีกพระองค์ แต่เนื่องจาก หม่อมเจ้าหญิงปิ๋วกราบบังคมทูลขอให้ทรงรับหม่อมเจ้าหญิงบัว พระเชษฐภคินีร่วมพระครรโภทรเดียวกันกับพระองค์ เป็นพระราชภรรยาด้วย ด้วยเหตุที่ว่าทรงถือว่า น้องจะออกเรือนก่อนพี่นั้นหาควรไม่ ฉะนั้นในคราวนั้น จึงได้รับทรงรับทั้ง หม่อมเจ้าหญิงบัวและหม่อมเจ้าหญิงปิ๋วเป็นพระอัครชายาเธอทั้ง 2 พระองค์ (ซึ่งต่อมาก็ได้ทรงรับหม่อมเจ้าหญิงสายพระขนิษฐาแท้ๆของพระอัครชายาทั้ง 2 พระองค์นั้นเป็นพระอัครชายาอีกพระองค์หนึ่ง)

กล่าวคือ ถึงตอนนี้มีพระราชภรรยาชั้นลูกหลวง(พระราชธิดากษัตริย์พระองค์ก่อนๆ) 1 พระองค์ แต่ไม่อาจทรงรับราชการได้ และมีพระราชภรรยาชั้นหลานหลวงอีก 2 พระองค์ โดยก่อนที่จะทรงรับหม่อมเจ้าหญิงสายเป็นพระอัครชายาอีกพระองค์หนึ่งนั้น ก็ทรงรับพระองค์เจ้าหญิงชั้นลูกหลวงอีก 4พระองค์เป็นพระราชภรรยาเรียงตามพระชันษาดังนี้

พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ (สมเด็จพระนางเรือร่ม) พระองค์เจ้าสุขุมาลย์มารศรี (สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า) พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา (สมเด็จพระพันวัสสา) พระองค์เจ้าเสาภาผ่องศรี (สมเด็จพระพันปีหลวง)

ซึ่งลำดับการสืบราชสันตติวงศ์นั้นจะเลือกจากสายของพระราชภรรยาชั้นลูกหลวงก่อน

ทั้ง 4 พระองค์มีพระประสูติการพระหน่อชั้นเจ้าฟ้าไล่ๆ กันดังนี้

พระองค์เจ้าสุขุมาลย์มารศรี ทรงมีประสูติการพระหน่อพระราชธิดา เจ้าฟ้าหญิงสุทธาทิพยรัตน์

พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา ทรงมีประสูติการ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ

พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ทรงมีประสูติการ เจ้าฟ้าหญิงกรรณาภรณ์เพชรัตน์ฯ

พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี มีพระประสูติการ เจ้าฟ้าหญิงพาหุรัดมณีมัยฯ

พระหน่อทั้ง 4 พระองค์มีพระประสูติการไล่ๆ กัน ร.5 โปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิศริยยศแก่พระราชภรรยาทั้ง 4 เป็นพระนางเธอพระองค์เจ้าฯ

และต่อมาโปรดเกล้าฯ สถานนาพระนางเธอพระองค์เจ้าสว่างวัฒนาขึ้นเป็น พระนางเจ้าฯพระราชเทวี ในฐานะพระมารดาของเจ้าฟ้าชั้นเอกพระองค์ใหญ่(ก่อนหน้านี้เจ้าฟ้าที่ประสูติแด่พระองค์เจ้าทักษิณชาฯ เป็นเจ้าฟ้าพระองค์ใหญ่แต่สิ้นพระชนม์ไปแล้ว)

จนกระทั่ง พระนางเธอพระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ สิ้นพระชนม์ด้วยอุปัทวเหตุเรือล่ม ร.5 โปรดเกล้าฯ ให้สถานาพระนางฯ หลังจากสิ้นพระชนม์แล้วขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ที่พระอัครมเหสี นับเป็นสมเด็จพระอัครมเหสีพระองค์แรก

และต่อมาก็โปรดเกล้าฯ สถาปนา พระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระราชเทวีขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระราชเทวี(เพิ่มคำว่า"สมเด็จ") ที่พระอัครมเหสี พระองค์ที่ 2

และต่อมาเฉลิมพระนางอีกครั้งเป็น สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชเทวี(เพิ่มคำว่า"บรม") โดยที่ ร.5 โปรดเกล้าฯ สถาปนา สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรก

ขณะเดียวกันพระมเหสีเทวีพระองค์อื่นๆ ก็ทรงได้รับโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยยศสูงขึ้น ตามการให้ประสูติการพระหน่อ

พระนางเธอพระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี ทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระนางเจ้าฯ พระราชเทวี และ พระนางเจ้าฯ พระวรราชเทวีในเวลาต่อมา

พระนางเธอพระองค์เจ้าสุขุมาลย์มารศรี ทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระนางเจ้าฯ พระราชเทวี

จนต่อมา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ทิวงคต พระราชโอรสลำดับต่อมาในสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี คือ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย แต่ในบรรดาสมเด็จเจ้าฟ้าในขณะนั้น สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ในพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี มีพระชนม์มากที่สุดคือ ทรงรองจาก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรก ฉะนั้น ร.5 โปรดเกล้าสถานา เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมารพระองค์ที่ 2 (ร.6 ในเวลาต่อมา) ด้วยมีพระราชดำริว่า เจ้าฟ้าฯในพระนางเจ้าทั้ง 2 พระองค์ถือว่าทรงเป็นลูกแม่เดียวกัน ให้นับเรียงตามพระชันษา

เมื่อเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ทรงรับสถาปนาเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ แล้ว ร.5 จึงโปรดสถานาพระมารดาคือ พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระอัครราชเทวี

สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ต่อมามักจะทรงเลี่ยงไม่เสด็จออกในฐานสมเด็จพระอัครมเหสี แต่มักจะทรงเลี่ยงให้ สมเด็จพระนางเจ้าฯพระอัครราชเทวี เสด็จออกแทนเสมอ ด้วยมีพระราชดำริว่า พระมารดาขององค์รัชทายาทควรจะต้องมีความสำคัญกว่า แต่อย่างไรก็ตาม สมเด็จพระบรมราชเทวี ก็ยังทรงพระยศพระอัครมเหสีเอกอยู่

ตราบจน ร.5 เสด็จประพาสยุโรป โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระอัครราชเทวี ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินต่างพระเนตรพระกรรณ หลังจากเสด็จนิวัติประเทศไทย จึงทรงดำริ สถาปนา พระยศพระอัครราชเทวีให้สูงขึ้น แต่อย่างไรก็ดี สมเด็จพระบรมราชเทวี พระอัครมเหสีเอก ยังทรงดำรงพระอิสริยยศสูงสุดอยู่ ทรงมิอาจสถาปนาให้ตำแหน่งซ้อนกันได้ จึงทรงคิดตำแหน่งใหม่ขึ้นมาคือ "พระบรมราชินีนาถ" เป็นคำเฉพาะถือว่าสูงกว่า พระบรมราชเทวีโดยปริยาย ฉะนั้นในช่วงปลายรัชกาล สมเด็จพระอัครมเหสีเอก จึงเปลี่ยนเป็น สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ จากนั้นจึงเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี

จนต่อมา รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้า ให้ตรากฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ให้เป็นระเบียบแบบแผนยิ่งขึ้นกล่วคือ ให้อัญเชิญเจ้านายขึ้นครองราชย์เป็นสายๆไป

เมื่อตอนนั้นอยู่ในสาย ร.5 กับ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ก็ให้สืบสายจนหมดก่อน จึงจะขึ้นสาย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชเทวี จากนั้นจึงเป็น พระนางเจ้าพระราชเทวี พระอัครชายาเธอตามลำดับ นั่นเอง

ร.6 มิมีพระราชโอรส มีพระราชอนุชาหลายพระองค์ เกือบทุกพระองค์ทิวงคตไปก่อนพระองค์ทั้งสิ้น จึงต้องมาดูที่พระโอรสในพระราชอนุชาเหล่านั้น

พระราชอนุชาพระองค์ใหญ่ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯ อภิเษกกับสตรีรัสเซีย ฉะนั้นทรงถูกข้ามไปโดยปริยาย เนื่องจากกฎมณเฑียรบาลว่าไว้

พระราชอนุชาองค์ต่อมา เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ ไม่มีพระโอรส

เจ้าฟ้าจุฑาธุชฯ มีพระโอรสพระองค์เดียวแต่ ประสูติแด่พระมารดาซึ่งเป็นสามัญชน และมิได้เป็นสะใภ้หลวง ร.6 จึงให้ทรงข้ามไปแต่ต้น

เจ้าฟ้าประชาธิปก พระราชอนุชาพระองค์เล็กสุด จึงทรงรับราชสมบัติไปในที่สุด

จนเมื่อ ร. 7 ทรงสละราชสมบัติ สายสมเด็จพระบรมราชินีนาถ จึงสิ้นสุดลง ขึ้นสาย สมเด็จพระบรมราชเทวีนั่นเอง

อนึ่ง สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถนั้นต่อมา ทรงรับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชนนีพระพันปีหลวง ผู้คนทั่วไปจึงมักเรียกพระองค์ท่านว่า "พระพันปีหลวง" ซึ่งหมายถึง สมเด็จพระบรมราชชนนีซึ่งเป็นพระราชภรรยาในกษัตริย์พระองค์ก่อน (ต่อมาเฉลิมพระนามใหม่ ตัดว่าคำว่าพระบรมราชชนนีพระพันปีหลวงออก ในร.8-9)

สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ในรัชกาลที่ 6 ทรงเฉลิมนามเป็น สมเด็จพระมาตุจฉาเจ้าฯ พระบรมราชเทวี ร.7 สถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสามาตุจฉาเจ้า ต่อมาร.8-9 เฉลิมพระนามท้ายเป็น พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า (พระพันวัสสา หมายถึง พระราชภรรยาใหญ่อีกพระองค์ของพระราชบิดาซึ่งเป็นกษัตริย์รัชกาลก่อน อย่างในกรณี ร.7 ทรงสถาปนาพระบรมราชเทวี ขึ้นเป็น สมเด็จพระพันวัสสา เพราะเป็นพระอัครมเหสีอีกพระองค์ของ ร.5 พระบรมราชชนก)

ทั้ง 2 คำนี้ในสมัยอยุธยาหมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน

พระนางเจ้าสุขุมาลย์มารศรี พระราชเทวี ร.7 โปรดสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าฯ พระอัครราชเทวี คนส่วนใหญ่จึงเรียกว่า สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า

สำหรับพระราชภรรยาชั้นหม่อมเจ้าทั้ง 3 พระองค์ใน ร.5 นั้นทรงสถาปนาขึ้นเป็น พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าฯ บางพระองค์ได้ทรงกรม มีอยู่พระองค์หนึ่งคือ หม่อมเจ้าหญิงสาย หรือ พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ ร.7 โปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น พระวิมาดาเธอพระองค์เจ้าฯ กรมพระสุทธาสินีนาฎ ปิยมหาราชปดิวรัดา พระวิมาดาเธอนั้นหมายความว่า พระราชมารดาเลี้ยง คนส่วนใหญ่จึงเรียกพระอัครชายาพระองค์นี้ว่า "พระวิมาดาเธอ"

เจ้าจอมมารดา หม่อมราชวงศ์แข พึ่งบุญ[แก้]

จากผู้ใช้ 202.44.135.35 (เดิมเขียนไว้ที่หน้า เจ้าจอมมารดา หม่อมราชวงศ์แข พึ่งบุญ)

สำหรับเจ้าจอมพระองค์แรกในพระพุทธเจ้าหลวงนั้นมิใช่เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์แข หากแต่เป็นเจ้าคุณพระประยูรวงศ์หรือเจ้าจอมมารดาแพ หรือคุณแพหลานสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)ซึ่งเป็นเจ้าจอมองค์แรกของพระพุทธเจ้าหลวง นับเป็นเมียแรกหรือเมียคู่ทุกข์คู่ยากของพระพุทธเจ้าหลวงซึ่งพระพุทธเจ้าหลวงนั้นรับคุณแพเป็นหม่อมตั้งแต่ยังไม่เสด็จขึ้นครองราชย์

ในบทความน่าจะถูกแล้วครับ ลองดูที่ http://www.sulak-sivaraksa.org/th/index.php?option=com_content&task=view&id=209&Itemid=27 -- Lerdsuwa 11:22, 16 ธันวาคม 2006 (UTC)