พูดคุย:รายชื่อสถาบันแพทยศาสตร์ในประเทศไทย

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รายชื่อสถาบันแพทยศาสตร์ในประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ รายชื่อสถาบันแพทยศาสตร์ในประเทศไทย หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
รายชื่อ บทความนี้อยู่ที่ระดับรายชื่อ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
รายชื่อสถาบันแพทยศาสตร์ในประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งของ สถานีย่อย:สถาบันอุดมศึกษาไทย มีจุดมุ่งหมายที่จะรวบรวมเรื่องทุกอย่างเกี่ยวกับสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย
ถ้าต้องการมีส่วนร่วมกับโครงการ สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยเข้าไปที่ โครงการวิกิสถานศึกษา และ หน้าสถานีสถาบันอุดมศึกษาไทย
รายชื่อ บทความนี้อยู่ที่ระดับรายชื่อ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
รายชื่อสถาบันแพทยศาสตร์ในประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิแพทยศาสตร์และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับการแพทย์ โรคและการรักษา รวมทั้งกายวิภาคศาสตร์และอวัยวะต่าง ๆ ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ รายชื่อสถาบันแพทยศาสตร์ในประเทศไทย หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
รายชื่อ บทความนี้อยู่ที่ระดับรายชื่อ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

เรียงรายชื่อ[แก้]

การเรียงรายชื่อ เรียงจากตัวอักษร คณะ มาก่อน วิทยาลัย มาก่อน สำนักวิชา จากนั้นเรียงตามชื่อมหาวิทยาลัยนะ จะแก้กลับไปกลับมากันทำไม

 คุณจะลบโครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ทำไม อย่างน้อยเราก็ยังจะได้ประโยชน์จากข้อมูลนี้ ว่าในอนาคตอันใกล้นี้ จะมีมหาวิทยาลัยที่เตรียมจะเปิดคณะแพทยศาสตร์เพิ่มอีก ผมอยากให้ลองมองอีกมุมนี้ด้วยนะครับ
 ผมว่าน้องๆนักเรียน ที่กำลังสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ จะได้รู้ว่าอนาคตจะมีคณะแพทย์เปิดใหม่ ที่จะต้องได้รับอนุมติจากแพทยสภาแล้ว

เพื่อเขาจะได้วางแผนได้ เพราะคนอยากเรียนเยอะ แต่มีที่นั่งเข้าเรียนน้อย อย่างน้อยข้อมูลของโครงการจัดตั้งก็ยังทำให้ทุกคนมีความหวัง ว่าอนาคตจะมีที่เรียนเพิ่มแน่ๆในเด็กนักเรียนรุ่นต่อๆไปครับ

@Kritsana2522: ขออภัยที่ไม่ได้แก้ไขให้ชัดเจนครับว่าในนี้เป็นที่รวบรวมรายชื่อทั้งหมดที่ได้รับการรับรองโดยแพทยสภา (ซึ่งเป็นข้อมูลทางการที่สุดแล้วว่าที่ใดเปิดสอนหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิตบ้าง) และเพื่อไม่ให้สับสนเรื่องตัวอักษร เลยเรียงใหม่ตามลำดับปีที่ได้รับการรับรองจากแพทยสภาแล้วครับ ตามลำดับที่แสดงในรายชื่อของแพทยสภา --Chainwit. [ พูดคุย ] 13:54, 6 สิงหาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]
ม.นเรศวร รับนักศึกษาหลักสูตร พบ. ก่อน ม.สุรนารี หลายปีครับครับ มีหลักสูตรแพทย์มาก่อนครับ ช่วงแรกม.สุรนารี มีแต่สำนักวิชาแพทยศาสตร์ แต่ไม่มีหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ครับ https://www.tmc.or.th/pdf/tmc-stat-29-12-22-02.pdf ข้อวูลจากแพทยสภาครับ
ส่วนศูนย์แพทย์ ทั้ง 4 หลังม.นเรศวร แต่ก่อนเป็นของมหาวิทยาลัยมหิดล รวมกันในชื่อ แพทยศาสตร์พระบรมราชชนก ครับ ต่อมาตั้งคณะเอง เป็น คณะแพทยศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก ครับ รับนศ. ปี 66 ดังนั้น อันดับ 12 จึงควรเป็น ม.นเรศวร 13 สถาบันพระบรมราชชนก 14 ม.สุรนารี 15 ม.อุบล 16 ม.มหาสารคาม 17 ม.บูรพา 18 นราธิวาส 19 วลัยลักษณ์ 20 พะเยา 21 แม่ฟ้าหลวง(รุ่นแรกปี56) 22 สยาม(ปี56) 23 ว.นานาชาติ มธ (รุ่นแรกปี57) ประมาณนี้ครับ Kunut61 (คุย) 15:55, 11 กันยายน 2566 (+07)[ตอบกลับ]
 คุณ Chainwit : ผมว่าในเวปวิกิพีเดีย หัวข้อคณะแพทยศาสตร์นี้ น่าจะมีการเพิ่ม หมายเหตุ: ตรงข้างล่างว่ามี 

โครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ เพื่อให้ทุกคนได้เห็นว่ามีบางมหาวิทยาลัย กำลังดำเนินการเพื่อจัดตั้งและขออนุมัติ จากแพทยสภาอยู่ครับ ส่วนแหล่งอ้างอิงข้อมูล เราสามารถใช้เวปของมหาวิทยาลัยนั้นๆที่ระบุไว้ในวิกิพีเดีย ก็จะระบุ คณะต่างๆไว้รวมถึงโครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ ไว้ด้วยนะครับ เหตุผลหรือประโยชน์ที่เราจะได้รับ จากการระบุโครงการจัดตั้งไว้ด้วย คือ ด้วยเหตุดังที่ผมเคยอธิบายไว้ในหัวข้อความคิดเห็นข้างบนครับ ฝากพิจารณาด้วยนะครับ

    คุณ Chainwit : คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ล่าสุดได้ผ่านการประเมินจากแล้ว รายละเอียดข้างล่าง ผมคัดลอกมา คุณดูได้ในเวปเลยครับ

ความคืบหน้าของการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2564 ล่าสุด กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท) ได้เปิดเผยผลการตรวจประเมินหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตและสถาบันผลิตแพทย์ ที่ผ่านการตรวจประเมินจากสถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาแพทยศาสตร์ (สมพ.) ว่า ได้ดําเนินการตรวจประเมินหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตและสถาบันผลิตแพทย์ ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2564 ตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา แพทยศาสตร์ เสร็จสิ้นแล้ว โดยคณะกรรมการบริหาร สมพ. ในการประชุมครั้งที่ 3/2564 วันที่ 16 สิงหาคม 2564 ได้มีมติดังนี้

การรับรองหลักสูตร

เห็นชอบ (รับรองมาตรฐานถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2570) โดยมีโรงพยาบาลราชพิพัฒน์ เป็นสถานฝึกปฏิบัติทางคลินิกหลัก

ทั้งนี้ให้มีการตรวจติดตามทุกปีก่อนเปิดปีการศึกษา จนกว่าจะมีบัณฑิตผู้สําเร็จการศึกษา

การรับรองสถาบัน

ผ่านการประเมิน (รับรองมาตรฐานถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2570)

ศักยภาพในการรับนักศึกษา ณ ปัจจุบัน จํานวน 20 คน

ศึกษาชั้นคลินิกที่โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ จำนวน 20 คน

 จาก Kritsana2522


@Kritsana2522: (1) ชื่อบทความคือรายชื่อ "สถาบันแพทยศาสตร์" ไม่ใช่ "อนาคต" หรือ "โครงการจัดตั้ง" สถาบันแพทยศาสตร์นะครับ ผมว่าชื่อบทความชัดเจนนะครับ (2) เปรียบเทียบบทความเดียวกันบนวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ (ที่นี่) และบทความเทียบเท่า (รายชื่อสถาบันแพทยศาสตร์ในประเทศอื่น ๆ เช่น ในญี่ปุ่น, ในออสเตรเลีย, ในรัสเซีย) และรายชื่อในสหราชอาณาจักร (ซึ่งได้รับคัดเลือกเป็นรายชื่อคัดสรร; คือได้รับการตรวจสอบแล้วว่ามีคุณภาพ) ก็ไม่ปรากฏใส่ "อนาคต" หรือ "โครงการจัดตั้ง" ครับ ขอบคุณครับ ปล พิมพ์เสร็จรบกวนใส่เครื่องหมายตัวหนอนสี่ตัว (~~~~) เพื่อลงชื่อทุกครั้งด้วยครับ ปล 2 ลิงค์บทความจะลิงค์ไปตามชื่อบทความครับ ดังนั้นถ้าไปใส่ตัวเลขนำหน้า (1.มหาวิทยาลัย) ก็ไม่ขึ้นลิงค์ครับ เพราะบทความชื่อ มหาวิทยาลัย เป็นต้น --Chainwit. [ พูดคุย ] 22:48, 6 >พูดคุย ] 22:48, 6 สิงหาคม 2564 (+07) 2564 (+07)[ตอบกลับ]
@Chainwit: เวปวิกิพีเดีย ผมเข้าใจหัวข้อว่าชัดเจนครับ แต่ก็มีหัวข้อต่างๆ เช่น คณะทันตแพทย์ หรือคณะพยาบาลศาสตร์ เขาก็ยังมีลงหัวข้อโครงการจัดตั้งได้ ผมว่าคุณน่าจะลองมองอีกมุมด้วยนะครับ อย่างน้อยคนที่เข้ามาดู เขาจะได้เห็นภาพในอนาคตอันใกล้ที่ตอนนี้กำลังมี มหาวิทยาลัยหลายๆแห่งกำลังดำเนินการจัดตั้งอยู่ครับ [Kritsana2522] 23:30, 6 สิงหาคม 2564
@Kritsana2522: ตามที่อธิบายข้างต้นครับ ถอดแบบจากรายชื่อในสหราชอาณาจักร (ซึ่งได้รับคัดเลือกเป็นรายชื่อคัดสรร; คือได้รับการตรวจสอบแล้วว่ามีคุณภาพ) ก็ไม่มีครับ ส่วนหน้ารายชื่อของคณะอื่นที่มีเดี๋ยวไปแก้ไขครับ -- Chainwit. [ พูดคุย ] 01:25, 29 สิงหาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]