พูดคุย:ระดับน้ำสูงขึ้นโดยพายุ
เพิ่มหัวข้อ
|
ชื่อบทความ
[แก้]- Storm Surge ยังไม่มีคำแปลไทยที่แน่ชัด
การแปลว่า "คลื่นพายุยก" น่าจะเป็นคำแปลจากกระบวนการเกิดของคลื่นขนาดใหญ่ที่เกิดจากระดับน้ำถูกยกขึ้นจากพายุหมุน
แต่คำ "คลื่นพายุยก" ก็ไม่ได้แสดงลักษณะของ Storm Surge ทันทีที่อ่านหรือได้ยิน
ผมเห็นมีคนให้ความหมายอื่นว่า "คลื่นพายุหมุน" น่าจะเห็นภาพชัดขึ้นว่าเป็นคลื่นที่เกิดขึ้นและมาจากพายุหมุน
ผมขอแสดงความคิดเห็นว่าน่าใช้คำว่า "คลื่นยักษ์พายุหมุน" แทนความหมายของคำ Storm Surge
เพราะ Surge แปลว่า คลื่นยักษ์, คลื่นที่รุนแรง
และ Storm แปลว่า พายุมีเป็นพายุหมุนรุนแรง ที่ยกน้ำขึ้นสูงจนเป็นคลื่นยักษ์
"คลื่นยักษ์พายุหมุน" น่าจะแทนความหมาย "Storm Surge" ได้ทั้งตวามหมายและมโนภาพของคำ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Qazse (พูดคุย • หน้าที่เขียน) 06:54, 20 สิงหาคม 2551 (ICT)
- คำว่า "พายุหมุน" คงต้องตัด "หมุน" ออกนะครับ เพราะไม่ว่าพายุที่ไหนก็หมุนทั้งนั้น เราไม่ได้ตั้งชื่อหนังกันนะครับ --Octra Dagostino 14:34, 20 สิงหาคม 2551 (ICT)
- พายุเขตร้อนแบ่งชนิดได้ดังนี้
1. ดีเปรสชัน (Depression) สัญลักษณ์ D ความเร็วสูงสุด 33 นอต (17 เมตร/วินาที) (62 กิโลเมตร/ชั่วโมง) ไม่นับเป็นพายุหมุน 2. พายุเขตร้อน (Tropical Storm) สัญลักษณ์ S ความเร็วสูงสุด 34-63 นอต (17-32 เมตร/วินาที) (63-172 กิโลเมตร/ชั่วโมง) ไม่นับเป็นพายุหมุน --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Octahedron80 (พูดคุย • หน้าที่เขียน) 09:14, 20 สิงหาคม 2551 (ICT) 3. พายุหมุนเขตร้อน ความเร็วสูงสุด 64-129 นอต (17 เมตร/วินาที) (118-239 กิโลเมตร/ชั่วโมง) นับเป็นพายุหมุน
- การตั้งพายุหมุน ไม่ได้ตั้งเป็นชื่อหนังหรอกครับ แต่คำ "พายุหมุน" แสดงความเร็วของพายุหมุนเขตร้อน เช่น Cycrone หรือ Typhoon (ไต้ฝุ่น) --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Qazse (พูดคุย • หน้าที่เขียน) 08:21, 20 สิงหาคม 2551 (ICT)
- ในเมื่อไม่มีคำไทยที่แน่ชัด ก็น่าจะใช้คำไทยที่มีการตีพิมพ์ออกมาแล้ว หรือ ทับศัพท์ไปเลยจะไม่ดีกว่าเหรอครับ ตัวอย่างเช่น บทความ Activity Based Costing ที่ไม่มีการใช้คำไทยเลยไงครับ ไว้ถ้ามีการบัญญัติคำไทยเป็นที่แน่ชัดแล้ว จะเปลี่ยนตอนนั้นก็ยังไม่สายนี่ครับผม --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง จงเหวิน) 15:35, 20 สิงหาคม 2551 (ICT)
- ดูรายการข่าวในโมเดิร์นไนน์ กราฟิกที่เขาเขียนคือ "สตอมเซอจ" --Sry85 16:06, 20 สิงหาคม 2551 (ICT)
- ผมเห็นสื่อต่างๆ ใช้คำว่า "(ปรากฏการณ์) คลื่นพายุซัดฝั่ง" นะครับ ดูข่าวทางทีวีมาก็ได้ยิน ลองค้นด้วยกูเกิลก็เจอเยอะ ผมขอเปลี่ยนเลยแล้วกันครับ ด้วยเหตุผลว่าเป็นชื่อที่นิยม --Octra Dagostino 16:08, 20 สิงหาคม 2551 (ICT)
- คำว่า "คลื่นพายุซัดฝั่ง" น่าจะบัญญัติจาก เพราะ Storm Surge จะเกิดในทะเลน้ำตื้น
อภิปรายเรื่องที่สองคือ ผมอ่านแล้วงง ลองเทียบกับต้นฉบับแล้วขอเสนอสำนวนในย่อหน้าแรกคือ
Storm surge หรือ tidal surge คือคลื่นที่เกิดจากการยกตัวของน้ำทะเลนอกชายฝั่งที่สัมพันธ์กับบริเวณ ความกดอากาศต่ำ[1] ของระบบภูมิอากาศ ซึ่งปกติเกิดจากพายุหมุนเขตร้อน
Storm surge ขั้นตอนแรกเกิดจากลมความเร็วสูงที่พัดผลักดันผิวมหาสมุทร ลมจะทำให้น้ำยกตัวสูงขึ้นจากระดับน้ำทะเลปกติ ขั้นตอนที่สองคือความกดอากาศต่ำที่ศูนย์กลางพายุ(ตาพายุ)ก็มีผลเพิ่มยกระดับน้ำขึ้นอีกเล็กน้อย และอีกสาเหตุคือ ชั้นความลึก (bathymetry) ของทะเล ผลกระทบรวมจากปรากฏการณ์ความกดอากาศต่ำร่วมกับการพัดของลมพายุเหนือทะเลน้ำตื้นนี้เอง ที่เป็นต้นเหตุของอุทกภัย Storm Surge
คำว่า “Storm surge” มีอีกคำที่ใช้แบบไม่เป็นทางการ (ไม่ใช่ศัพท์ทางวิทยาศาสตร์) คือ “storm tide” นั่นเพราะ มันเกี่ยวโยงกับการยกขึ้นของน้ำทะเลจากพายุ, ภาวะน้ำขึ้นหนุน (plus tide), คลื่นเคลื่อนยกตัว (wave run-up), และการท่วมหลากของน้ำจืด เมื่อเอ่ยถึงอ้างอิงความสูงของ storm surge สิ่งสำคัญคือความชัดเจนของจุดอ้างอิง จากรายงานพายุหมุนเขตร้อนของศูนย์พายุหมุนแห่งชาติ (National Hurricane Center -NHC)[2] รายงานอ้างอิง storm surge จากความสูงระดับของน้ำที่สูงเหนือจากระดับน้ำขึ้นจากการพยากรณ์ทางอุตุนิยม และความสูงระดับน้ำที่ถูกพายุยกขึ้นเหนือจากสถิติระดับน้ำทะเลที่อ้างอิงใน พ.ศ. 2472 (NGVD-29)[3] --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Qazse (พูดคุย • หน้าที่เขียน) 09:46, 20 สิงหาคม 2551 (ICT)
- ผมคิดว่าก่อนจะแก้ไขชื่อบทความควรได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรืออภิปรายกันก่อน เหตุผมใช้ชื่อ "คลื่นพายุยก" นี้ไปก่อนเนื่องจากเห็นว่ายังไม่มีการบัญญัติศัพท์วิทยาศาสตร์สาขาอุตุนิยมอย่างเป็นทางการ ได้ลองหลายชื่อแล้วก็ไม่ใคร่ตรงนักเช่น:-
- - "คลื่นพายุซัดฝั่ง" ปกติพายุอะไรหรือลมธรรมดาคลื่นก็ซัดฝั่งอยู่แล้ว
- - "ปรากฏการณ์น้ำทะเลยกตัว" ดังที่ออกของข่าวสำนักเตือนภัย? ก็เป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ คือน้ำขึ้น-น้ำลง ซึ่งยกตัววันละ 2 ครั้งเป็นปกติอยู่
- - "คลื่นยักษ์พายุหมุน" อันนี้พอจะเข้าเค้าเพราะไม่สับสนกับ "คลื่นยักษ์สึนามิ" ความจริงการยกตัวฉับพลันของน้ำ (surge -แปลว่าการยกตัวสูงฉับพลันจากระดับปกติชั่วครู่เช่นระดับน้ำหรือกระแสไฟฟ้า) ที่เกิดจากความแตกต่างของความกดอากาศระหว่างบริเวณ "ตา" พายุที่ต่ำกับที่ความกดดันบริเวณขอบพายุที่สูงผนวกกับความเร็วลมที่มากพอ ณ ระดับหนึ่งขึ้นไปจึงจะเป็นเหตุให้เกิดการยกตัวของระดับน้ำทะเลที่สูงมาก แต่ก็นั่นแหละ ถ้าพายุหมุนไม่ขึ้นฝั่ง ไปสลายตัวนอกฝั่งเสีย เราก็ไม่เดือดร้อน
ดังนั้น ถ้าจะให้สมบูรณ์ก็อาจต้องเรียกว่า "คลื่นยักษ์พายุหมุนยกซัดฝั่ง" หรือจะเอา "ยักษ์" ออกเป็น "คลื่นพายุหมุนยกซัดฝั่ง" นั่นแหละจึงน่าพอจะครอบคลุมใกล้เคียงกระบวนการ ซึ่งยาวไปรุ่มร่ามหน่อย แต่อย่างไรก็ดี ผมคิดว่าเร็วๆ นี้ราชบัณฑิตยสถานคงจะบัญญัติศัพท์คำนี้ออกมาซึ่งท่านก็คงจะถกเถียงกันนานที่เดียวถ้าจะให้ชื่อสั้น จึงเสนอว่าตอนนี้ควรใช้ชื่อที่ใกล้เคียงที่สุดลำลองไปก่อนจะดีหรือไม่ เอาไว้แก้ตามทีหลังHeuristics 18:23, 20 สิงหาคม 2551 (ICT)
- ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งกับคุณ Heuristics แม้วิกิพิเดียจะเปิดเสรีให้เข้าร่วมมาแก้ไข แต่ควรให้เกียรติเจ้าของ ให้เข้ามาร่วมอภิปรายก่อนการแก้ไขใด ๆ ขึ้นมา และบทความนี้เป็นเรื่องใหม่ในสังคมไทย รวมกับเป็นบทความทางวิชาการที่เป็นเรื่องยากต่อการแปลและถ่ายทอดเป็นภาษาไทย ประเด็นการอภิปรายที่ผมตั้งคือ 1. ชื่อ 2. แก้ไขสำนวนเพื่อง่ายแก่ความเข้าใจ วานคุณ Heuristics อ่านตรวจสอบดูที ผู้ใช้:Qazse --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 58.64.47.138 (พูดคุย | ตรวจ) 12:52, 20 สิงหาคม 2551 (ICT)
เห็นด้วย เห็นด้วยกับการเปลี่ยนชื่อบทความเป็น คลื่นพายุหมุนยกซัดฝั่ง ตามที่คุณ Heuristics อธิบาย ดูครอบคลุมและใกล้เคียง
ขอเสนอปรับสำนวนในย่อหน้า กลไก ให้พิจารณา
[แก้]กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงขอระดับน้ำในระหว่างพายุมีอย่างน้อย 5 กระบวนการ: ผลจากความกดอากาศ, ผลโดยตรงจากลมพายุ, ผลจากการหมุนตัวของโลก, ผลจากคลื่น, และผลจากฝนที่ตก[1]
ผลกระทบจากความกดอากาศของพายุหมุนเขตร้อนจะทำให้ระดับของน้ำในทะเลเปิดยกตัวสูงขึ้นในเขตที่บรรยากาศมีความกดอากาศต่ำ และลดระดับต่ำลงในเขตบรรยากาศมีความกดอากาศสูง กระดับน้ำที่ยกตัวสูงขึ้นจะแปรผกผันกับความกดอากาศที่ต่ำลง เพื่อที่จะทำให้ความกดโดยรวมที่ระนาบของใต้ผิวน้ำคงที่ ผลกระทบนี้ทำให้ประมาณได้ว่าระดับน้ำทะเลจะเพิ่มสูงขึ้น 10 มิลลิเมตร (0.4 นิ้ว) ต่อทุกๆ 1 มิลลิบาร์[4] ที่ลดลงของความกดอากาศ[1]Qazse
- ขอบคุณคุณ Qazse ครับ
โปรดแก้ไขหรือเกลาสำนวนให้ดีขึ้นได้เลย ไม่ต้องเกรงใจ การแปลความรู้นอกสาขาที่แปลเอาความไปก่อนก็มักเป็นเช่นนี้ แปลมากๆ ไปมันมึน ต้องอาศัยคนอื่นมาช่วยอ่านแล้วเกลาสำนวนให้ ที่แปลเพราะเห็นว่าเป็นเรื่องที่กำลังมีคนให้ความสนใจ ผมเองก็สนใจ แต่ไม่รู้ว่าจริงๆ เป็นอย่างไร หาดูในเว็บก็กระท่อนกระแท่นและไม่เห็นมีผู้เชี่ยวชาญมาให้ข้อมูลสาธารณะเชิงวิทยาศาสตร์ที่พอเชื่อถือได้ จึงคิดว่าวิกิพีเดียไทยน่าจะพอปูพื้นให้ได้บ้างก็เลยรีบแปลจากวิกิอังกฤษ โปรดช่วยดูแก้ไขและเกลาสำนวนส่วนอื่นๆ ทั้งหมดได้เต็มที่นะครับ เพราะเป็นคนละประเด็นกับการเปลี่ยนชื่อที่มีข้อโต้เถียงกันได้มากเพราะไม่มีชื่อไทยมาก่อน
ขอขอบคุณอีกครั้งที่สนใจเข้ามาร่วมช่วยกันสร้างวิกิพีเดียไทยสำหรับเด็กไทยทั่วประเทศ Heuristics 00:01, 21 สิงหาคม 2551 (ICT)
ปรับแก้สำนวนในหัวข้อ กลไก ตามที่คุณ Qazse เสนอแนะ แล้วนะครับ --Sry85 01:33, 21 สิงหาคม 2551 (ICT)
- ขอความคิดเห็นและความช่วยเหลือในการแปล
ในการแปลถ่ายทอดเรื่อง Storm Surge นั้น มีคำศัพท์ให้ช่วยบัญญัติกันหน่อยเพื่อใช้ในบทความ คือคำ surge = the swell or heave of the sea (หากนึกภาพไม่ออกให้ดูรูปประกอบในบทกลไก ที่เป็นรูปคลื่นที่ยกตัวขึ้นจากลมหรือความกดดัน) เพื่อใช้แยกออกให้ชัดเจนจากคำคลื่นทั่วไป(wave) --Qazse 18:43, 21 สิงหาคม 2551 (ICT)