พูดคุย:ภาพสามมิติแบบซ้อนเหลื่อม

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พูดคุย:ภาพเหลื่อม)

ส่วนที่ย้ายมาจากหน้าบทความ[แก้]

ภาพ 3 มิติ มีการสร้าง และดูภาพ หลายระบบ แต่ละระบบ ต่างกัน จาก หลักการของการบันทึก/ดูภาพ ค่าใช้จ่ายของระบบ ก็มีความแตกต่างกันอย่างมาก ในขณะที่ระบบถูก อาจไม่ต้องมีการลงทุนเพิ่มเติม แค่กล้องถ่ายรูปที่มีอยู่ และเทคนิคการถ่ายภาพ 3 มิติ ที่ถูกต้อง ก็เพียงพอ แต่ระบบ hi-tech อาจมีราคาสูงเป็นหลายๆ แสนบาท

ภาพคู่ (Stereo Pairs) Stereo Pairs คือการถ่ายภาพ 2 ภาพ ที่มีความห่างที่พอเหมาะ หลังจากการพิมพ์ภาพ เราสามารถดูภาพ 3 มิติ ได้หลายวิธี

1. การดูแบบสลับตาด้วยตาเปล่า (Cross-Eye View) การดูภาพ stereo pair นั้น สามารถดูได้โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องมือช่วย โดยการวางภาพขวา ไว้ด้านซ้าย และวางภาพซ้ายไว้ด้านขวา จากนั้น ใช้ตาขวาดูภาพด้านซ้าย และใช้ตาซ้ายดูภาพด้านขวา เมื่อเริ่มดูภาพ ภาพทั้งสองจะค่อยๆ เคลื่อนเข้าหากัน จนเกิดการ 'รวม (fused) ' ของภาพ และเกิดเป็นภาพ 3 มิติ

เนื่องจากการดูภาพด้วยตาเปล่านั้น อาจทำให้เกิดการล้าของกล้ามเนื้อตา และอาจเกิดการเวียน หรือปวดศีรษะได้ จึงควรค่อยๆ ฝึกไปจนชำนาญ คนบางคน มีความสามารถในการมองภาพ 3 มิติ ได้เร็วกว่าคนอื่น

เพื่อช่วยการฝึกหัดให้ง่ายขึ้น ให้มองภาพนี้ โดยให้ดั้งจมูกอยู่ตรงกลางระหว่างวงกลม ใช้นิ้วชี้ ชี้ไปที่กึ่งกลางภาพ ใช้ตาทั้งสอง จ้องมองปลายนิ้ว ค่อยๆเลื่อนนิ้วชี้เข้ามาหาดั้งจมูกอย่างช้าๆ โดยที่ตาทั้งสอง ยังจ้องมองปลายนิ้วอยู่ ภาพของวงกลมทั้งสอง จะค่อยๆเลื่อนเข้าหากัน จนกระทั่งรวมเป็นหนึ่ง จะเห็นดาวสีเหลือง ลอยอยู่เหนือ วงกลมสีน้ำเงินครับ

รายละเอียดภาษาอังกฤษ ที่ [www.3dphoto.net]

2. การดูแบบขนานด้วยตาเปล่า (Parallel View) การดูแบบขนานนี้ เป็นการดูภาพในลักษณะปกติ กล่าวคือ ภาพด้านซ้ายจะอยู่ทางซ้าย และดูด้วยตาซ้าย ส่วนภาพด้านขวาจะอยู่ทางขวา และดูด้วยตาขวา

เทคนิคการดูภาพแบบขนาน

เลื่อนหน้าเข้าไปจ้องภาพใกล้ๆ ค่อยๆ เลื่อนศีรษะถอยออกจากภาพอย่างช้าๆ ขณะเลื่อนศีรษะถอยหลัง ให้ใช้ตาทั้งสองข้าง มอง 'ทะลุ' ภาพไป เหมือนกับว่ามีจุดโฟกัสอยู่ด้านหลังของภาพ เมื่อเริ่มเห็นภาพ 3 ภาพ ให้พยายามจ้องไปยังภาพที่อยู่ตรงกลาง จนกระทั่งตาสามารถปรับได้ และมองเห็นภาพ 3 มิติ ถ้ายังมีปัญหาในการดูภาพชนิดนี้ ให้ลองใช้เครื่องมือช่วย ที่เรียกว่า Stereo Scope

ทดลองดูภาพ ได้ ที่นี่ ครับ

3. การดูแบบขนาน ด้วย Stereo Viewer Viewer ในท้องตลาด มีหลายแบบ และหลายราคา บางแบบ ใช้ดูภาพขนาดเล็ก เช่น 3R และ 4R ในขณะที่บางแบบ สามารถใช้ดูภาพ 3 มิติ ขนาดใหญ่ได้

หลักการของ viewer หรืออุปกรณ์ดูภาพ 3 มิติ ก็คือการแยกการมองของตาแต่ละข้าง ให้สามารถเห็น และโฟกัส รูปซ้าย-ขวา ที่เหมาะสม

ภาพถ่ายทางอากาศที่เป็น 3 มิติ ได้จากการถ่ายภาพในลักษณะตั้งฉากกับพื้นโลก ในลักษณะต่อเนื่อง ในแนวบิน ภาพที่อยู่ลำดับติดกัน จะมีพื้นที่ที่ซ้อนทับกันได้ เมื่อนำภาพ 2 ภาพนี้ มาวางเรียงกันในแนวซ้าย-ขวา และปรับระยะห่างให้พอเหมาะ ก็จะสามารถใช้แว่น 3 มิติ (แบบที่มีขา แสดงในภาพเล็ก) ดูออกมาเป็น 3 มิติได้

กล้องดูสไลด์ 3 มิติ น่าจะเป็นกล้องที่มีความสะดวกในการดูภาพมากที่สุดแบบหนึ่ง เนื่องจากผู้ดู ไม่ต้องกังวลกับระยะห่างระหว่างภาพ เหมือนกับการดูภาพถ่ายทางอากาศ แค่ใส่ภาพซ้าย-ขวา ให้ถูกต้อง ก็พอแล้ว

กล้องส่องจอคอมพิวเตอร์ 3 มิติ จะยุ่งยากกว่ากล้องดูภาพถ่ายทางอากาศ เนื่องจากต้องติดตั้งกับจอคอมฯ แล้วปรับให้แนวการดู ตั้งฉากกับพื้นจอ การดูภาพจากจอคอมฯ เป็นเวลานานๆ อาจทำให้ปวดตาได้ โดยเฉพาะจอที่มี refresh rate ที่ต่ำ

Viewer แบบต่างๆ ลองดูได้ที่ www.berezin.com อาทิ Hyper-View Large Format Stereo Print Viewer , Wheatstone Min-Scope , Card (print) Viewers

ตัวอย่างภาพ Stereo Pairs ที่ www.depthography.com

Stereo Scope แบบนี้ ใช้ดูภาพ 3 มิติ ที่พิมพ์ออกมาแล้ว และใช้ในการแปลภาพถ่ายทางอากาศ ที่เป็นภาพ 3 มิติ กล้องนี้ สำหรับใช้ดู slide 3 มิติ Screen Scope สำหรับดูภาพ 3 มิติ บนจอ monitor : ต่อกับจอ ขนาด 14" ถึง 21" ได้ทันที , ปรับได้ สามารถดูภาพได้หลายขนาด , ไม่มี screen flicker , ไม่ต้องปรับเปลี่ยน hardware และ software

สเตริโอสโคป : ขนาดเล็กแบบนี้ ใช้ดูภาพขนาดเล็กๆ ภาพจาก : IGN Saintmande ประเทศฝรั่งเศส สเตริโอสโคป : อันนี้ใหญ่หน่อย ใช้ดูภาพขนาดใหญ่ ภาพจาก : IGN Saintmande ประเทศฝรั่งเศส

ภาพเหลื่อม (Anaglyph Image) Du Hauron นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส เป็นผู้คิดค้นระบบภาพเหลื่อมนี้ ในปี ค.ศ. 1891 การสร้างภาพ Anaglyph คือการปรับสีภาพ stereo 2 ภาพ แล้วนำมาซ้อนเหลื่อมกัน การดูภาพ Anaglyph นี้ ต้องอาศัยแว่นตาพิเศษ ที่มีสองสี ตามมาตรฐานแล้ว มักใช้สีน้ำเงินสำหรับตาขวา และสีแดงสำหรับตาซ้าย

ภาพที่เป็น Anaglyph แท้ (Pure Anaglyph) นั้น ต้นแบบจะทำจากภาพ ขาว-ดำ 2 ภาพ ปรับสีให้เป็นสีแดง และน้ำเงิน ภาพสี ก็สามารถนำมาใช้ทำภาพ Anaglyph ได้ แต่ได้ผลออกมาไม่ดีนัก เนื่องจากสีจะเพี้ยน

Anaglyph Links

ตัวอย่างภาพ Anaglyph ของพื้นผิวดาวอังคาร ที่ถ่ายจาก Mars Pathfinder เทคนิคการสร้างภาพขาว-ดำ แบบ Anaglyph โดยใช้กล้องดิจิตอล และซอฟต์แวร์ปรับภาพ (image editor) ซอฟต์แวร์การวาดภาพ แบบ Anaglyph ภาพ Anaglyph ของ New York City แว่นตาดูภาพ Anaglyph ทำแว่นตาดูภาพ Anaglyph เอง : แบบที่ 1 , แบบที่ 2 , แบบที่ 3 3D Anaglyph Composer Software by ProMagic 3D Anaglyph Image Conversion

Page Flipped and Shutter Glasses การใช้ Shutter Glasses ในการดูภาพ 3 มิติ ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น แว่นตาดังกล่าว มี Electronic Shutter ที่จะ 'เปิด' และ 'ปิด' ในความถี่เดียวกัน กับ ภาพที่แสดงบนจอ Monitor การ เปิด/ปิด นี้ จะใช้ สัญญาณไฟฟ้า ในการทำให้ Liquid Crystals เปลี่ยนคุณสมบัติจาก 'โปร่งแสง' เป็น 'ทึบแสง' เพื่ออนุญาตให้ตาเพียงข้างเดียว มองเห็นภาพที่ถูกต้อง บนจอ Monitor

Shutter ด้านซ้ายของแว่น จะเปิด ในเวลาเดียวกันที่ ภาพด้านซ้าย แสดงบนจอภาพ จากนั้น Shutter ด้านขวาของแว่น จะเปิด ในเวลาเดียวกันที่ ภาพด้านขวา แสดงบนจอภาพ (Shutter ด้านซ้ายจะปิด)

ความถี่ของการสลับภาพ ต้องสูงพอที่จะ 'หลอก' ประสาทตา ให้มองเห็นภาพทั้งสอง ในเวลาเดียวกัน และเห็นเป็นภาพ 3 มิติ ในกรณีที่ความถี่ต่ำเกินไป เราจะเห็นการ 'กะพริบ (flickering) ' ของภาพแทน

รายละเอียดเพิ่มเติม ดูได้ที่ www.shortcourses.com


Line Alternate Images with Shutter Glasses and Mounted Displays ยังไม่ได้แปลครับ

Pulfrich Images (3D effect สำหรับ วิดีโอ) ระบบนี้ ฟังดูจะค่อนข้างแปลกหน่อย แต่ได้ผลนะครับ ถ้ามีการถ่ายวิดีโอของวัตถุ โดยที่กล้องวิดีโอมีการเคลื่อนที่ไปด้านข้าง ไม่ว่าทางซ้าย หรือขวา หรือ กรณีที่วัตถุที่ถ่ายกำลังหมุน (ในขณะที่กล้องอยู่กับที่)

แว่นตา 3 มิติ ที่ขายพร้อมกับ VCD สารคดี 3 มิติ แว่นตา 3 มิติ ของ UBC

เราสามารถดูวัตถุนั้น เป็น 3 มิติได้ โดยการใช้แว่นตา ที่ด้านหนึ่ง เป็น ฟิลเตอร์มืด ส่วนอีกด้านไม่มี ฟิลเตอร์

Effect นี้ มีชื่อเรียกว่า Pulfrich Effect มีการกล่าวถึง และวิเคราะห์ ครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1922 การที่เราสามารถเห็นภาพ 3 มิติ จากวิดีโอ 2 มิติ ได้นั้น เนื่องจาก สมองจะ 'แปล' ภาพที่มีแสงน้อย ได้ช้ากว่าภาพปกติ ดังนั้น กว่าที่สมองจะแปลภาพที่มองเห็นผ่าน filter ได้ สมองก็ได้รับภาพ 'ใหม่' จากตาอีกข้าง ที่ไม่มี filter แล้ว เมื่อสมอง 'เห็น' ภาพต่างกันระหว่างตาซ้าย กับตาขวา ก็จะทำการรวมภาพเข้าด้วยกัน และแปลผลออกมาเป็นภาพ 3 มิติ

ถ้าเราใช้ filter ตัดแสงบังตาด้านขวาไว้ จะพบว่า 1. วัตถุที่เคลื่อนที่เร็วกว่า ไปทางด้านขวา จะดูเหมือนกับอยู่ใกล้เข้ามา 2. วัตถุที่เคลื่อนที่เร็วกว่า ไปทางด้านซ้าย จะดูเหมือนกับอยู่ไกลออกไป

การทดลองง่ายๆ : ลองแขวนวัตถุสะท้อนแสง เช่น ช้อน หรือ ส้อมโลหะ แล้วทำให้แกว่งในแนวซ้ายขวา (ระยะห่างจากผู้ทดลองคงที่) สวมแว่นตากันแดดที่ถอดกระจกด้านซ้ายออก แล้วมองที่วัตถุ จะพบว่า วัตถุดูเหมือนว่าจะแกว่งเป็นวงกลม (ในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา เมื่อมองจากด้านบน) คือเหมือนกับใกล้เข้ามา ในขณะเคลื่อนที่จากซ้ายไปขวา และเหมือนกับไกลออกไป ในขณะที่เคลื่อนที่จากขวาไปซ้าย ถ้าลองสลับให้กระจกมืดอยู่ที่ตาข้างซ้าย จะดูเหมือนวัตถุแกว่งเป็นวงกลม ในทิศทางตรงกันข้าม

ลักษณะการเคลื่อนที่ของวัตถุ และกล้องวิดีโอ ที่มีผลต่อ pulfrich effect 1. การถ่ายวิดีโอในแนวตั้งฉาก กับทิศการเคลื่อนที่ จะทำให้เกิด pulfrich effect ที่ดี อย่างไรก็ตาม ความเร็วของการเคลื่อนที่ ต้องไม่สูงมากเกินไปจนทำให้ภาพเบลอ 2. การถ่ายวัตถุที่หมุนอยู่ เช่น คนเล่นสเก็ต จะทำให้เกิด pulfrich effect 3. การถ่ายโดยการหมุนกล้องรอบวัตถุ ไม่เหมาะกับการเกิด pulfrich effect

มีการใช้ pulfrich effect ในละครทีวี ตอนหนึ่ง ของอเมริกา ที่ชื่อว่า '3rd Rock from the Sun' ในเดือนพฤษภาคม 1997 ผู้ชม สามารถชมภาพ 3 มิติ ได้ โดยการดูผ่านเลนส์ของแว่นกันแดด ผ่านตาข้างขวา

ปัจจุบัน มีการนำเทคนิคดังกล่าว มาใช้ใน VCD ในท้องตลาดในเมืองไทย หลายเรื่องด้วยกัน VCD จะขายพร้อมกับแว่นตา ด้านหนึ่งสีเขียว ด้านหนึ่งสีเทา

ในเดือนมีนาคม 2546 ทางบริษัท UBC ได้นำภาพยนตร์ 3 มิติ ที่ใช้เทคนิคดังกล่าว ออกฉายทางช่อง UBC 37 และแจกแว่นตากระดาษ (สีของกระดาษแก้ว เป็นสีเดียว กันกับที่ใช้บนแว่น VCD) ถ้าต้องการแว่นตาเพิ่ม สามารถซื้อได้ ในราคาอันละ 20 บาท

ถ้าใครอยากลองสร้างวิดีโอ 3 มิติ ทำได้ง่ายๆ โดยการนั่งรถที่ความเร็วสัก 20 ก.ม.ต่อชั่วโมง ใช้กล้องวิดีโอ ถ่ายภาพด้านนอกรถทางขวามือ โดยเลือกวิว ให้มีวัตถุหลายๆ อย่าง อยู่ใกล้บ้าง ไกลบ้าง ตัวอย่างเช่น ต้นไม้ รั้ว อาคาร บ้าน เป็นต้น เมื่อถ่ายเสร็จ เปิดวิดีโอดูทางจอทีวี แล้วดูวิดีโอ โดยใช้แว่นกันแดด (น่าจะใช้สีเทา) กั้นตาขวา (ตาซ้าย ไม่ต้องดูผ่านแว่นกันแดด) ก็จะสามารถเห็นวัตถุต่างๆ ในวิดีโอเป็น 3 มิติได้ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Horus (พูดคุยหน้าที่เขียน) 23:04, 4 กรกฎาคม 2552 (ICT)