พูดคุย:ทักษิณ ชินวัตร/กรุ 1

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ทักษิณ ชินวัตร เป็นข้อมูลที่บิดเบือนความเป็นจริงอย่างมากเกี่ยวกับทักษิณ

ต่อไปนี้เป็นรายละเอียดคดีต่างๆที่เสร็จสิ้นแล้วและอยู่ระหว่างการดำเนินการของ ป.ป.ช.
         1. เรื่องกล่าวหาที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. รับมอบโอนจากคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2551  มาดำเนินการ มีดังนี้
         1.1  การอายัดเงิน จำนวน 70,000 ล้านบาทเศษ ของ พ.ต.ท. ทักษิณ เป็นกรณีสืบเนื่องจากในระหว่างการไต่สวนของ คตส. ซึ่งได้ใช้อำนาจตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็ นประมุข (คปค.)ฉบับที่ 30 มีคำสั่งอายัดเงินหรือทรัพย์สินของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร (คู่สมรส) และที่ครอบครัวบุตร บริวาร ของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ที่ได้ มาจากการขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) ให้แก่กลุ่มกองทุน เทมาเส็ก ประเทศสิงค์โปร์ โดยมูลค่าเงินหรือทรัพย์สินที่สั่งอายัด จำนวน73,667,987,902.60 บาท แต่จำนวนเงินที่ได้รับแจ้งยืนยันการอายัด จำนวน 66,762,927,024.25 บาท ทั้งนี้ คตส. ได้ให้บุคคลใดที่กล่าวอ้างว่า เป็นเจ้าของที่แท้จริงของทรัพย์ที่อายัดตามคำสั่งดังกล่าว และมิใช่ทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำผิด หรือมิได้เป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการรํ่ารวยผิดปกติยื่นคำร้องเพื่อพิสูจน์ต่อ คตส. ภายใน 60 วัน นับแต่วันออกคำสั่ง และได้มีผู้ยื่นคำร้องต่อ คตส. และคตส. ได้พิจารณาคำร้องดังกล่าวแล้ว เมื่อ คตส. ได้ดำเนินการไต่สวน เรื่องกล่าวหาพ.ต.ท. ทักษิณ กระทำการอันเป็นการเอื้อ ประโยชน์ต่อธุรกิจของตนเองและพวกพ้อง ทำให้มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมากหรือได้ทรัพย์สินมาโดยไม่สมควรสืบเนื่องจากการปฏิบัติตามหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่อันเป็นการรํ่ารวยผิดปกติเสร็จสิ้น จึงได้ มีมติส่งเรื่องให้ อัยการสูงสุดยื่นคำร้ องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อขอให้ศาลสั่งให้ ทรัพย์สิน จำนวน 76,621,603,061.05 บาทตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่า ้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 80 หลังจากนั้น  อัยการสูงสุดยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาฯ กรณีรํ่ารวยผิดปกติดังกล่าว เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2551 เป็นคดีหมายเลขดำที่อม.14/2551 โดยได้ยื่นรายละเอียดรายการทรัพย์สินที่ คตส. ได้มีคำสั่งอายัดไว้จำนวน 70,000 ล้านบาทเศษต่อศาลด้วย ซึ่งศาลได้รับฟ้องไว้พิจารณา และตรวจสอบพยานหลักฐานเสร็จสิ้นแล้ว นัดสืบพยานตั้ง แต่วันที่16 กรกฎาคม 2552 เป็นต้นไป โดยสืบพยานของฝ่ายผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านก่อน ปัจจุบันคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
         1.2 คดีหมายเลขดำที่ อม.1/2550 หมายเลขแดงที่ อม.1/2550 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อัยการสูงสุด โจทก์ กล่าวหา พ.ต.ท. ทักษิณ จำเลยที่ 1 และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร จำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินโดยไม่ชอบ (คดีที่ดินรัชดา) ศาลได้ มีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2551 ว่า พ.ต.ท. จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ฯ มาตรา 100 (1) วรรคสาม และมาตรา 122 วรรคหนึ่ง ให้ลงโทษจำคุก 2 ปี ส่วนความผิดฐานอื่น และคำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก และยกฟ้องโจทก์สำหรับคุณหญิงพจมาน จำเลยที่ 2โดย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร จำเลยที่ 1 หลบหนี ศาลจึงออกหมายจับ และขณะนี้อยู่ในระหว่างการติดตามตัวให้มารับโทษ
         1.3  คดีหมายเลขดำที่ อม.1/2551 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง  คตส. เป็นโจทก์ กล่าวหา พ.ต.ท. ทักษิณกับพวก รวม 47 คน กระทำความผิดเกี่ยวกับโครงการออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย 3 ตัว และ 2 ตัว ของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล (คดีสลากเลขท้าย 3 ตัว 2 ตัว) ต่อมาคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้รับอนุญาตให้เข้าเป็นโจทก์แทนคตส. ในการพิจารณาคดีครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2551 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จำเลยที่ 1 ไม่มาศาล ศาลจึงสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราวและออกหมายจับเฉพาะจำเลยที่ 1 สำหรับจำเลยที่เหลือ จำนวน46 คนที่มาศาล ได้มีการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีต่อไป ปัจจุบันคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล
         1.4  คดีหมายเลขดำที่ อม. 3/2551 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คตส. เป็นโจทก์ กล่าวหา พ.ต.ท. ทักษิณ กรณีทุจริตการอนุมัติให้เงินกู้แก่รัฐบาลสหภาพพม่า จำนวน 4,000 ล้านบาท (คดี Exim Bank)
         ต่อมาคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้รับอนุญาตให้เข้าเป็นโจทก์แทน คตส. ในการพิจารณาคดีครั้ง แรกเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2551 พ.ต.ท. ทักษิณ  จำเลยไม่มาศาล ศาลจึงสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราว และออกหมายจับจำเลย
         1.5 คดีหมายเลขดำที่ อม.9/2551 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมือง อัยการสูงสุด โจทก์ กล่าวหา พ.ต.ท. ทักษิณ ว่า เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทที่รับสัมปทานจากรัฐ และปฏิบัติหน้าที่เอื้อประโยชน์แก่บริษัทที่ตนถือหุ้นโดยแปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิต
         ศาลนัดพิจารณาคดีครั้งแรก เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2551 พ.ต.ท. ทักษิณ จำเลยไม่มาศาล ศาลจึงสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราว และออกหมายจับจำเลย
         1.6  กรณีกล่าวหา พ.ต.ท. ทักษิณ  คณะกรรมการบริหาร และพนักงานธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กับพวก ร่วมกันกระทำผิดฐานเป็นพนักงานหรือเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
         คณะทำงานร่วมระหว่างอัยการสูงสุด และคณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้ดำเนินการพิจารณาและรวบรวมพยานหลักฐานให้สมบูรณ์ครบถ้วน และส่งให้ อัยการสูงสุดเพื่อฟ้องคดีต่อไปแล้ว ขณะนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการของอัยการสูงสุด
         ดังนั้น จึงมีเรื่องที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้รับมอบโอนจาก คตส. รวม 6 เรื่องแยกเป็นคดีที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษาแล้ว 1 คดี อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาฯ 4 คดี และอยู่ในระหว่างการดำเนินการของอัยการสูงสุดจำนวน 1 เรื่อง โดยมีการออกหมายจับ พ.ต.ท.ทักษิณ 3 คดีคือ คดีหวยบนดิน  คดีปล่อยเงินกู้ให้แก่พม่า และคดีเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทที่ตนเองถือหุ้น
         2. เรื่องที่กล่าวหาต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. และอยู่ระหว่างการดำเนินการของคณะกรรมการ ป.ป.ช. จำนวน 9 เรื่อง  ดังนี้
         2.1 เรื่องกล่าวหา พ.ต.ท. ทักษิณ ว่า ร่วมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐทำคำแถลงการณ์ร่วมไทย - กัมพูชา (Joint Communiqu?) สนับสนุนให้ประเทศกัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก เพื่อประโยชน์ในการทำธุรกิจของตนเองในประเทศกัมพูชา มีการไต่สวนข้อเท็จจริงโดยคณะกรรมการ ป.ป.ช. ทั้งคณะ ขณะนี้ได้ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงเสร็จแล้ว อยู่ระหว่างการสรุปสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงเพื่อพิจารณาวินิจฉัยต่อไป
         2.2  เรื่องกล่าวหา พ.ต.ท. ทักษิณ ว่าทุจริตต่อหน้าที่ โดยกำหนดนโยบายอนุมัติมอบหมายการจัดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์รัฐบาลแก่เอกชนจากโครงการพันธบัตรออมทรัพย์ของรัฐบาล โดยกระทรวงการคลัง มูลค่า 30,000 ล้านบาท ในลักษณะการเอื้อประโยชน์แก่เอกชนและเป็นการผูกขาดตัดตอนเพียงรายเดียว อันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2552 เพื่อรองรับเงินของตนเองและพวกพ้องโดยเฉพาะเงินที่ได้จากการขายธุรกิจสัมปทานแก่ต่างชาติ และรํ่ารวยผิดปกติ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ไต่สวนข้อเท็จจริงแล้ว ปรากฏว่าข้อกล่าวหาไม่มีมูลจึงมีมติให้ข้อกล่าวหาตกไป
         2.3  เรื่องกล่าวหา พ.ต.ท. ทักษิณ กับพวกว่า ทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ ในการประมูลงานจ้างเหมาบริการรักษาความปลอดภัย ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยวิธีพิเศษ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน เพื่อดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง ปัจจุบันอยู่ระหว่างการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะอนุกรรมการไต่สวน
         2.4  เรื่องกล่าวหา พ.ต.ท. ทักษิณ กับพวก ว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่กรณีการบอกเลิกสัญญาจ้างงานก่อสร้างทางหลวง หมายเลข 115 สายแยกทางหลวง หมายเลข117  – เทศบาลพิจิตร ตอน 2 A ระหว่าง กม.77+000 - กม.88+880 กับห้างหุ้นส่วนจำกัดบางมูลนากเหล็กเพชรโดยมิชอบ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน เพื่อดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง ปัจจุบันอยู่ระหว่างการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะอนุกรรมการไต่สวน
         2.5 เรื่องกล่าวหา พ.ต.ท. ทักษิณ กับพวก ว่า ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เกี่ยวกับการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการบริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีคัลไทย จำกัด (มหาชน) (TPI) คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน เพื่อดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง ปัจจุบันอยู่ในระหว่างขั้น ตอนการแจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ เพื่อให้โอกาสชี้แจงงแก้ข้อกล่าวหา
         2.6 เรื่องกล่าวหา พ.ต.ท. ทักษิณ  กับพวก ว่า ทุจริตต่อหน้าที่เอื้อประโยชน์ให้กับบริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด ในการประกอบกิจการค้าในการเดินอากาศ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน เพื่อดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง  ปัจจุบันอยู่ระหว่างการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะอนุกรรมการไต่สวน
         2.7 เรื่องกล่าวหา พ.ต.ท. ทักษิณ กับพวก ว่า ทุจริตต่อหน้าที่ในการดำเนินโครงการเมกกะโปรเจ็ค ในจังหวัดเชียงใหม่ โครงการเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี และโครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเชียงใหม่  อยู่ในระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น
         2.8  เรื่องกล่าวหา พ.ต.ท. ทักษิณ กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ว่า  กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542กรณีซื้อที่ดินของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินโดยมิชอบ (ที่ดินรัชดา) อยู่ในระหว่างการพิจารณาผลตรวจการสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น
         2.9 เรื่องกล่าวหา พ.ต.ท. ทักษิณ กับพวก กระทำผิดเกี่ยวกับการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยโดยมิชอบ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้แต่งตั้ง คณะอนุกรรมการไต่สวน เพื่อดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง ปัจจุบันอยู่ระหว่างการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะอนุกรรมการไต่สวน 
         จากคดีที่อยู่ในศาลฎีกาฯและการไต่สวนของ ป.ป.ช. ถ้ามีคำวินิจฉัยว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ผิดจริง ไม่รู้ว่า กลุ่ม นปช.ต้องล่าชื่อประชาชนถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ อีกก10่ฉบับ

-- 09:09, 9 กันยายน 2016 (UTC)

ที่มาของข้อมูล

ผู้ว่าการแทนคุณทักษิณ ไม่ใช่พลเอกสนธิ แต่เป็นคนอื่น คือสมัยแรกเป็นพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ สมัยที่สอง เป็นพลตำรวจเอกชิดชัย วรรณสถิตย์

ข้อมูลนำมาจากเว็บไซต์ของสำนักเลขาธิการรัฐมนตรี [1] คิดว่าน่าจะใช้ Template เกี่ยวกับลิขสิทธิ์แบบเดียวกับของกระทรวงการคลังที่มีคนทำไว้แล้ว

แต่ Template นี้เป็นเฉพาะเจาะจงของกระทรวงการคลังอย่างเดียว ในอนาคตน่าจะมีการนำข้อมูลจากเว็บภาครัฐอีกมาก คิดว่าควรมี Template ลิขสิทธิ์ของหน่วยงานภาครัฐ ที่ไม่เจาะจงกระทรวงหรือหน่วยงานนะครับ ขอความเห็นหน่อย Markpeak 00:48, 5 มิ.ย. 2005 (UTC)

น่าจะดีนะครับ เอ... ถ้าจะทำเป็นแบบมี parameter ได้หรือเปล่าครับ? (เช่นใน Template:กล่องข้อความ) --- Jittat 15:35, 5 มิ.ย. 2005 (UTC)

เพิ่มเป็น Template:PD-TH-exempt แล้วนะครับ สามารถรับ paremeter ได้ เวลาใส่ก็ PD-TH-exempt|หน่วยงาน=ชื่อหน่วยงาน อย่างนี้ครับ Markpeak 06:27, 14 มิ.ย. 2005 (UTC)


ช่วยดูหน่อยครับว่าการแก้ไขนี้เป็นกลางรึเปล่า [2]WATCHARAKOяN163,853 10:35, 10 ตุลาคม 2005 (UTC)


ปัจจุบันนี้ คุณทักษิณพักประจำอยู่ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ไม่ใช่ประจำที่กรุงปักกิ่งประเทศจีนตามที่กล่าวไว้ไม่ใช่หรือครับ ขอความคิดเห็นหน่อยครับ เพื่อการแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องตามความเป็นจริงครับ--Woraponboonkerd 11:01, 18 เมษายน 2007 (UTC)

ประวัติการศึกษา

วิทยานิพนธ์หัวข้อ "การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างวิธีการศึกษาขบวนการยุติธรรมและทัศนคติของผู้ศึกษาต่อหลักนิติธรรม" (AN ANALYSIS OF THE RELATIONSHIP BETWEEN THE CRIMINAL JUSTICE EDUCATIONAL PROCESS AND THE ATTITUDE OF THE STUDENT'S TOWARD THE RULE OF LAW. by SHINAWATRA, THAKSIN, PhD SAM HOUSTON STATE UNIVERSITY, 1979) ทักษิณใช้เวลาในการศึกษาอย่างรวดเร็ว ไม่ถึงสามปีในการจบปริญญาเอก รับปริญญาในเดือน พฤษภาคม ปี 2522

เกร็ดชีวิตช่วงที่ศึกษาในระดับปริญญาโทและเอกในสหรัฐอเมริกา ทักษิณ ชินวัตรนั้นได้ทำงานหารายได้พิเศษในร้านอาหารจานด่วนสองร้าน กล่าวคือในช่วงปริญญาโท ทำงานในร้านไก่ทอดเคนทักกี และเมื่อมาอยู่ที่เทกซัส ได้ทำงานที่ร้านเบอร์เกอร์คิงส์ โดยแนวความคิดนี้ได้ถ่ายทอดมายังบุตรสาว แพทองทานที่รับทำงานที่ร้านแมคโดนัล สาขาสยามเซ็นเตอร์ ในช่วงปิดเทอมใหญ่ ปีที่ผ่านมา (2547)ที่มา

ข้อมูลส่วนนี้ เห็นว่าเป็นการสร้างภาพ สร้างกระแสด้วย ดีที่ย้ายออกมาไว้ในนี้แทน--Manop | พูดคุย - 16:50, 6 ธันวาคม 2005 (UTC)

อันนี้คัดมาให้ เผื่อใครอยากจะแปลเป็นไทย...

Thaksin is remembered fondly by two of his former professors in the College of Criminal Justice at Sam Houston State--Rolando del Carmen, originally from the Philippines, and now a distinguished professor, and Sam Souryal, a former police administrator in Cairo, Egypt, who has taught at Sam Houston State for 28 years. Both have visited Thaksin in Thailand.

Another of his favorite professors at Sam Houston State was the late George Beto, internationally respected corrections and general criminal justice authority. Beto was a member of Thaksin's doctoral dissertation committee. Thaksin's Doctor of Philosophy in Criminal Justice degree was conferred on May 12, 1979.

Del Carmen visited him in Thailand (in photo left) in 1996 to present him distinguished alumni awards on behalf of the university and the criminal justice program. Souryal spent time with him in 1999 when Souryal was in Indonesia on an assignment for the United Nations.

"He is a very bright and amiable person," said del Carmen. "I am not surprised he is a success in business and politics."

Del Carmen remembers that although Thaksin came from a wealthy family, he and his wife, Potjaman, and their three children immersed themselves in the Texas culture. She held a job and they all took trips on weekends and holidays when his studies allowed them to do so.

"He had fond recollections of Huntsville," said del Carmen, recalling the 1996 visit to Thailand.

Souryal said that while Thaksin was only a youngster in the early 1960s, he was a student of United States politics of the time.

"I am aware of his liberal political ideology, his close relationship with the king, and of what he plans to accomplish for the Thai people, especially the poor, the farmers, and the disenfranchised," said Souryal.

"He wants to fight for social justice, equality, civility, and of course, prosperity. In a sense, he wants to be the John F. Kennedy of Thailand, and I think he will be."

ที่มาของประวัติอาจารย์ที่ทักษิณผูกพัน


ความเป็นกลาง

แก้ไปบ้างแล้วนะครับ หลักๆ คือ ผมแก้เอาข้อความ

กระแสโจมตีต่างๆ ก็มักจะกล่าวหาขึ้นมาอย่างเลื่อนลอย โดยปราศจากหลักฐานพิสูจน์ได้ ข้อกล่าวหาต่อรัฐบาลของ พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร มักจะเป็นข้อกล่าวหาที่เน้นสำนวนโวหาร เล่นคำ เป็นส่วนใหญ่ เช่น ทุจริตเชิงนโยบาย เผด็จการทางรัฐสภา เป็นต้น ซึ่งคำเหล่านี้ ไม่มีความหมายที่สามารถค้นได้ในพจนานุกรมภาษาไทย แต่เป็นการประดิษฐ์ถ้อยคำขึ้นของกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล

ออกไปแล้ว ลองดูนะครับว่าโอเคหรือเปล่า ถ้าไม่มีปัญหาแล้ววานรบกวนช่วยเอา NPOV ออกด้วยครับ --- Jittat 17:42, 3 มกราคม 2006 (UTC)

ขอใส่ NPOV กลับไว้ก่อนนะครับ เนื่องจากเมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อหาในบทความ ชวน หลีกภัย แล้วทั้วสองบทความนำเสนอ เนื้อหาเพียงด้านเดียว แต่เป็นคนละด้าน เนื้อหาน่าจะมีทั้งสองด้าน(ดี และ ไม่ดี)ในทั้งสองบทความ เพื่อไม่ให้เกิดความเอนเอียงของเนื้อหาว่าสนับสนุนพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง ไร้สติ 19:44, 3 มกราคม 2006 (UTC)

มันไม่มีทางที่บทความ ที่เขียนขึ้นในระหว่างผู้นั้นยังดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะมีความเป็นกลางได้อย่างสมบูรณ์หรอกครับ แต่ขอให้เนื้อหาที่นำเสนอ และข้อสรุปมีหลักฐานสนับสนุน มีข้อมูลเพียงพอก็น่าจะใช้ได้แล้ว เช่น สรุปว่าเขาทุจริต โดยไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์สนับสนุน เป็นแค่ความเห็น อย่างนั้นมันก็ใช้ไม่ได้

มีทางครับ แต่อาจจะยากหน่อย ถ้าเราไม่ช่วยกัน เวลาแก้ความไม่เป็นกลาง ทำได้โดยการใส่ข้อเท็จจริงมากกว่าความเห็น และใส่ข้อเท็จจริงให้ครบทุกด้าน พร้อมแล้วอ้างอิงที่เชือถือได้ --Manop | พูดคุย - 21:35, 3 มกราคม 2006 (UTC)

หรือ กรณีทักษิณ ที่สรุปว่าเขาเอื้อประโยชน์ให้แก่ธุรกิจของตน โดยไม่มี Case ยกตัวอย่างไว้ก็ใช้ไม่ได้ ยกเว้นแต่ข้อความที่ผลักดันญาติเช่น พล.อ.ชัยสิทธิ์ ตรงนี้ถือว่ามีข้อมูลสนับสนุน ถือว่าใช้ได้

เรียน คุณBact ผมจำได้ว่า มีคนส่งข้อความถึงผมว่า วิกิพีเดีย ไม่ใช่ที่สำหรับแสดงความเห็นหรือการสนับสนุนใครทางการเมือง ดังนั้น ข้อความที่เขียนลงไปจึงต้องมีตัวอย่าง หรือข้อเท็จจริงรองรับ ไม่ใช่ เอาความเห็นหรือความรู้สึก ดังนั้น ข้อความที่ว่า "ใช้อำนาจเอื้อผลประโยชน์ให้ญาติและคนใกล้ชิด" ไม่มี evidence ใดสนับสนุน นอกจากเป็นการโจมตีกันทางการเมือง ส่วนคำว่า "สนับสนุนให้ญาติให้ได้รับตำแหน่ง" มี evidence สนับสนุน คือ การเลื่อนตำแหน่งของ พล.อ.ชัยสิทธิ์

อย่าพยายามสอดแทรกความเห็นทางการเมือง ที่มีการยกขึ้นมาโจมตีกัน โดยไม่มีหลักฐานสนับสนุน คุณกำลังเขียนประวัติศาสตร์ ไม่ใช่เขียน บทความสนับสนุนใคร ด่าใครทางการเมือง

การนำเสนอข้อมูลของ บุคคลสาธารณะ (หรือเรื่องที่สาธารณชนให้ความสนใจ ไม่ว่าเรื่องใดก็ตาม)
ผมเห็นว่าเป็นเรื่องปกติ ที่จะต้องเสนอข้อมูลที่รอบด้าน ซึ่งส่วนหนึ่งนั้นก็คือ "ความคิดเห็นของสาธารณะ"
ซึ่งนั่นก็คือสิ่งที่ผมใส่ลงไป โดยหาข้อมูลจากสื่อสิ่งพิมพ์เท่าที่หาได้ (และไม่ใช่ความคิดเห็นส่วนตัวของบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง ไม่ว่าจะเป็นผม หรือใครก็ตาม)
ซึ่งทุกครั้งที่มีการเพิ่มข้อมูลส่วนนั้น ก็จะระบุอย่างชัดเจนว่า เป็นเสียงวิพากษ์วิจารณ์ หรือ เป็นความเห็น
ขอบคุณครับ
(หมายเหตุ: ลงชื่อ พิมพ์ ~~~~)
-- bact' คุย 14:08, 26 มกราคม 2006 (UTC)
สำหรับจุดนี้ผมเห็นด้วยกับคุณ Bact นะครับ คือเนื้อหาของสารานุกรมเกี่ยวกับบุคคลของสาธารณะควรที่จะมีการแทรกความคิดเห็นและสิ่งวิพากษ์วิจารณ์ของสื่อมวลชนลงไปด้วย โดยทุกครั้งที่เราใส่เนื้อหาประเภทนี้เราก็ระบุอย่างชัดเจนว่าเป็นเสียงจากสื่อมวลชน ตามความเห็นผม ผมคิดว่ามันไม่เหมาะสมที่จะปล่อยให้ เนื้อหาในสารานุกรมออนไลน์อย่างวิกิพีเดียมีความไม่เป็นกลางสูง คือ มีมุมมองด้านเดียว ถึงแม้ว่ามุมมองด้านเดียวนั้นจะมีข้อมูลสนับสนุนอย่างที่คุณอุทัยว่าก็ตาม (ยกตัวอย่างที่คุณอุทัยพยายามนำรูปคุณอภิสิทธิ์ยืนคู่กับคุณสนธิมาไว้ในหน้าบทความของคุณอภิสิทธิ์) สารานุกรมออนไลน์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ฟรีแห่งนี้จะกลายเป็นเครื่องมือสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไป ถ้ายังมีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอีกอย่างต่อเนื่อง สงสัยเราคงต้องมาลงความเห็นว่าจะ block ip นี้ดีหรือไม่? -- จุง 07:02, 27 มกราคม 2006 (UTC)
ขอยกข้อความนี้ออกมาก่อนนะครับ เพื่อแก้ไขให้ดูเป็นกลางกว่าที่เป็นอยู่
  • การฆ่าตัดตอน ผู้ค้ายาเสพติดกว่า 2,596 แต่จากรายข้อมูลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 1,432 คน ใน 2,596 คน ที่ ถูกฆ่าตาย พิสูจน์แล้วไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด

ภาพการ์ตูนมาสคอต แทนตัว Zenith Zealotry Zenith Zealotry 09:33, 20 ธันวาคม 2006 (UTC)

ขอยกข้อความนี้ออกมาด้วยครับ ส่วนตัวยังเห็นว่า ไม่ได้มีการตัดต่อพระราชดำรัส ตามที่มีผู้พยายามกล่าวหานะครับ เพียงแค่มิได้ยกมาทั้งหมดเท่านั้น แต่ประโยคสั้นๆ นั้น ก็น่าจะเพียงพอต่อการกล่าวถึงแล้ว
ผมว่าทุกคนทราบดีนะครับ ว่างานเฉลิมพระเกียรติเช่นนี้ จะจัดโดย รัฐบาลและปวงชนชาวไทย ทุกครั้งมา หาได้ยกเมฆมาเขียนเอาเองไม่
  1. บทความ พระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช และเสด็จออกมหาสมาคม พ.ศ.๒๕๔๙ ในวิกิพีเดียภาษาไทย
  2. ข่าว ‘ในหลวง’ ให้ยึด คุณธรรม 4 ประการ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันเสาร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2549

ภาพการ์ตูนมาสคอต แทนตัว Zenith Zealotry Zenith Zealotry 21:06, 20 มกราคม 2007 (UTC)

เห็นด้วยกับคุณจุงนะคะ เมื่อเทียบกับของนายชวน หลีกภัยแล้วเสนอข้อมูลด้านเดียว (คนละด้าน) กันค่อนข้างมาก ทั้งเสียงของสื่อมวลชน และการที่ในบทความระบุว่านายชวน ได้รับสนับสนุนจากคนชั้นกลางในกรุงเทพก้ดูเหมือนชี้นำให้เกิดการแตกแยกระหว่างชนชั้นของประชาชน เพราะก้ไม่มีข้อพิสูจน์และหลักฐานเช่นกัน ในส่วนของหนี้ระหว่างประเทศก้เป็นที่รู้กันว่าไม่ใช่แต่คุณทักษิณทำการแก้ไขปัญหาอยู่คนเดียวหากแต่ได้รับการสนับสนุนจากหลวงตามหาบัวที่ได้เรี่ยไรเงินทำบุญจากชาวไทยทั้งประเทศเพื่อช่วยกันด้วย ยังไงรบกวนทีมงานตรวจสอบข้อมูลให้ละเอียดถูกต้องอีกครั้งนะคะ หากวิกิพีเดียเป็นเพียงการบันทึกข้อมูลที่เป็นกลาง ก็อยากจะให้คนรุ่นหลังได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วนหลากหลาย ไม่ใช่เอียงข้างชัดเจนแบบนี้นะคะ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Toonychan (พูดคุยหน้าที่เขียน) เมื่อ 10:29, 11 ธันวาคม 2556‎

การแก้กฎหมาย

ช่วงกลางเดือนมกราคม พ.ศ. 2549 รัฐบาลได้แก้ไขพ.ร.บ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม ปรับสัดส่วนนักลงทุนต่างชาติ จากที่เคยอนุญาตให้ถือหุ้นได้ 25% เพิ่มเป็น 49% โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2549 และมีผลบังคับใช้วันเสาร์ที่ 21 มกราคม โดยมีผู้มองว่านี่เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับครอบครัว เนื่องจาก หลังจากนั้นเพียง 2 วัน ในวันจันทร์ที่ 23 มกราคม ครอบครัวชินวัตรและดามาพงศ์ ผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ก็ขายหุ้นทั้งหมดที่ถืออยู่ จำนวน 49.595% ให้กับบริษัทเทมาเส็กของสิงคโปร์ อย่างไรก็ตาม ทางฝ่ายผู้ที่สนับสนุนรัฐบาลทักษิณได้ชี้แจงว่า พ.ร.บ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม เป็น พรบ. ที่ออกบังคับใช้เป็นการทั่วไปในภาคธุรกิจโทรคมนาคม ของประเทศ ไม่ได้บังคับใช้กับบริษัทชินวัตรเพียงบริษัทเดียว และในเรื่องส่วนเรื่องสัดส่วนการลงทุนจากต่างชาตินั้น ได้มีข้อตกลงของ WTO มาตั้งแต่ปี 2541 ในยุครัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ว่า ประเทศไทยจะต้องเปิดเสรีรับการลงทุนจากต่างประเทศใน 8 ปี และกฎหมายนี้ ก็เข้าสู่การพิจารณาของสภามาตั้งแต่ปี 2547 ก่อนที่จะมีดำริขายหุ้นออกมาจากตระกูลชินวัตร และกฎหมายที่ผ่านสภานิติบัญญัติทั้งสองสภาไปแล้วย่อมไม่เป็นความลับ นอกจากนี้การเจรจาขายหุ้นของชินวัตร เพิ่งเริ่มขึ้นในเดือนธันวาคม 2548 ฝ่ายผู้ที่สนับสนุนจึงสรุปว่าทั้งหมดนี้เป็นประเด็นโจมตี พ.ต.ท.ทักษิณ ที่มองแต่เรื่องการเมือง และพยายามเชื่อมโยงเหตุการณ์เข้าด้วยกัน โดยที่ไม่มีหลักฐานพิสูจน์ได้อย่างชัดเจน

(ข้อความนี้ สับสนเนื่องจาก พรบ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม ประกาศใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 ส่วน พรบ.ที่ประกาศใช้เดือน มกราคม 2549 คือ พรบ.กำหนดสัดส่วนนักลงทุนจากต่างประเทศ ทำให้ข้อความสับสัน ไม่ถูกต้อง 131.227.231.155 11:22, 28 มกราคม 2006 (UTC)

เท่าที่ตรวจดูน่าจะเป็นชื่อ พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549 นะครับ ไม่ได้ชื่อพรบ. กำหนดสัดส่วนนักลงทุน นะครับ.... อ้างอิง เช่น[3] [4] [5]--- Jittat 12:02, 28 มกราคม 2006 (UTC)

พี่น้องตระกูลชินวัตร

ทดไว้ก่อนครับ ทำไม่ไม่ตรงกัน??

เยาวลักษณ์, ทักษิณ, อุดร (เสียชีวิต), เยาวเรศ, เยาวภา, พายัพ, ทัศนี (เสียชีวิต), มณฑาทิพย์ และยิ่งลักษณ์
เยาวลักษณ์, ทักษิณ, เยาวเรศ, ปิยนุช, อุดร (เสียชีวิต), เยาวภา, พายัพ, มณฑาทิพย์ และทัศนีย์ ???
เยาวลักษณ์ คล่องคำนวณการ, ทักษิณ, เยาวเรศ วงศ์นภาจันทร์, ปิยนุช ลิ้มพัฒนาชาติ, อุดร (เสียชีวิต), เยาวภา วงศ์สวัสดิ์, พายัพ, มณฑาทิพย์ โกวิทย์เจริญกุล, ทัศนีย์ ชินวัตร (เสียชีวิต), ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Horus (พูดคุยหน้าที่เขียน) 08:05, 8 พฤศจิกายน 2552 (ICT)

รู้สึกว่า ที่ถูกต้องจะเป็น 10 พี่น้อง

เยาวลักษณ์ คล่องคำนวณการ, ทักษิณ, เยาวเรศ วงศ์นภาจันทร์, ปิยนุช ลิ้มพัฒนาชาติ, อุดร (เสียชีวิต), เยาวภา วงศ์สวัสดิ์, พายัพ, มณฑาทิพย์ โกวิทย์เจริญกุล, ทัศนีย์ ชินวัตร (เสียชีวิต), ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

- ('-' )( '-' )( '-') - 14:23, 15 มิถุนายน 2007 (UTC)

Policy on biographies of living people

Sorry this isn't in Thai: Wikipedia articles on living people must adhere to the policy on biographies of living persons. Controversial material of any kind that is unsourced or poorly sourced must be removed immediately, especially if potentially libelous. If such material is repeatedly inserted or there are other concerns relative to this policy, report it on the living persons biographies noticeboard. For more information, see en:Wikipedia:Biographies of living persons. The unsourced and libelous stuff in the "คำวิจารณ์ทางสื่อมวลชน" is thus being removed. Patiwat 06:40, 30 มกราคม 2007 (UTC)

แหล่งอ้างอิงไม่ตรงบทความ

บทความ: ราคายางพารา เพิ่มขึ้นจาก 18 บาท ขึ้นสูงสุดเป็น 80 บาท และลดต่ำลงเหลือ 50-55 บาท เนื่องจากกลไกตลาดโลก แต่รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร นำมากล่าวอ้างว่าเป็นผลงานของรัฐบาล

แหล่งอ้างอิง: ตัดฉากเข้ามา "ยางพารา" เหตุที่ราคาพุ่งเป็นจรวด เพราะรัฐบาลไม่ได้สนใจเข้าไปทำอะไร ปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด ผิดกับสมัยประชาธิปัตย์ที่เข้าไปแทรกแซง ราคากลับตกต่ำ [6]

แหล่งอ้างอิงกำลังบอกว่านโยบาย Laissez-faire (การปล่อยกลไกตลาด) เป็นเหตุทำให้ี่ราคาพุ่ง ผิดกับการแทรกแซงที่ทำให้ราคาตกต่ำ แล้วมันจะไม่ได้เป็นผลงานของรัฐบาลได้อย่างไร?

ผมจะแก้บทความเป็น: รัฐบาลทักษิณได้ใช้นโยบาย ปล่อยราคาให้เป็นไปตามกลไกตลาด ราคายางพาราในสมัยรัฐบาลทักษิณ เพิ่มขึ้นจาก 18 บาท ขึ้นสูงสุดเป็น 80 บาท และลดต่ำลงเหลือ 50-55 บาท มีนักวิเคราะห์กล่าวว่า การปล่อยราคา มีผลดีต่อราคามากกว่าการแทรกแซง - Patiwat 23:20, 31 มกราคม 2007 (UTC)

ข้อเสนอแนะ

ผู้ดูแล วิกิพีเดีย ควรสงวนบทความนี้ไว้ คือ ควรถอดบทความนี้ออกเป็นการชั่วคราว จนกระทั่งเหตุการณ์ทางการเมืองเป็นปกติ แล้วค่อยนำขึ้นมาปรับปรุงแก้ไขกันใหม่นะครับ เพื่อความสมานฉันท์ ไว้แต่ละคนถอดความอคติส่วนตัวออกแล้ว เราจะได้ข้อความที่เป็นกลางมากขึ้น ----ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ 202.12.74.7 (พูดคุยหน้าที่เขียน)

ผลงานอีกอย่างตอนที่ท่านเป็นนายกคือ ประสานงานกับสมเด็จฮุนเซ็น ให้คุ้มครองคนไทย จากกรณีเผาสถานทูตไทยในพนมเปญ "หากเหตุการณ์ไม่สงบภายใน 3 ชั่วโมง ถือว่ากัมพูชาไม่สามารถคุ้มครองความปลอดภัยของคนไทยในกัมพูชาได้ ประเทศไทยจะส่งเครื่องบิน C130 ไปรับคนไทยกับมา" เที่ยวนั้นได้คนไทยกลับมา 176 คน มีเจ้าหน้าที่ของไทยด้วย

สนามบินสุวรรณภูมิ

สนามบินสุวรรณภูมิก็เป็นผลงานของรัฐบาลคุณทักษิณ น่าจะนำมาลงไว้ด้วย ----ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ 203.154.78.183 (พูดคุยหน้าที่เขียน)

  • สนามบินสุวรรณภูมิไม่ใช่ผลงานของคุณทักษิณแต่อย่างใด เป็นเพี่ยงส่วนหนึ่งในสมัยดำรงตำแหน่งเท่านั้น โครงการนี้มันมีมานานแล้ว ใครจะทำได้โครงการขนาดนี้ ทำเสร็จภายในวาระดำรงตำแหน่ง แค่หาทำเล เวนคืน โดนประท้วง กว่าจะเสร็จก็หมดไปแล้ว4ปี --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 202.28.68.201 (พูดคุย | ตรวจ) 21:09, 1 สิงหาคม 2552 (ICT)

ขอเพิ่มเติม เนื่องสนามบินสุวรรณภูมิเริ่มการก่อสร้างตั้งแต่รัฐบาลนายชวน หลีกภัย -sasakubo1717-

เขียนเพิ่มเติมได้ครับถ้าทำการล็อกอิน (ตอนนี้โดนล็อกชั่วคราว เนื่องจากโดนป่วนบ่อย ณ วันที่ 27 มิ.ย. 50) ผลงานด้านดีหรือด้านทุจริตดีท่าทางจะเยอะพอกัน แล้วก็อีกอย่างเห็นในหน้าสนามบินสุวรรณภูมิ เห็นว่าเป็นโครงการหลายสิบปีเหมือนกันนะครับ --Manop | พูดคุย - 05:48, 28 มิถุนายน 2007 (UTC)

ไม่ควรลงว่า "พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี อันเนื่องมาจากเกิดการทุจริตคอร์รัปชั่นขึ้นของรัฐบาลและ การออกนโยบายหลายอย่างที่ทำให้ประเทศชาติเกิดความเสียหาย จนต้องนำมาสู่การรัฐประหาร" ซึ่งไม่ถูกต้องและไม่ตรงกับความเป็นจริง ควรลงว่า "พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากถูกทำการปฏิวัติยึดอำนาจโดยกล่มทหารที่เรียกตัวเองว่า คณะปฏิรูปการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ คปค. ซึ่งกล่าวหาว่าพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้กระทำความผิด 4 ประการ ขณะกำลังร่วมการประชุมสหประชาชาติ ที่ นครนิวยอร์ก" เพราะ คมช.ก็ยังไม่สามารถพิสูจน์ในชั้นศาลได้ว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้กระทำผิดจริงตามข้อกล่าวหา

(พิสูจน์ได้ 2 คดี คือคดีที่ดินรัชดาฯ และคดีร่ำรวยผิดปกติและถูกยึดทรัพย์ 46,000 ล้านบาท)

(และไม่ควรใช้คำว่าปฏิวัติยึดอำนาจ ต้องใช้ว่า รัฐประหาร)

พรรคพลังประชาชน

คุณทักษิณแกไปเป็นสมาชิกตั้งแต่เมื่อไหร่อ่ะครับ Piti118 05:38, 22 กันยายน 2007 (ICT)

ความเป็นกลาง

แล้ว ในหน้าบทความที่มีป้ายว่ายังไม้ได้ยอมรับในเรื่องความเป็นกลาง เราลบข้อความที่ไม่เป็นกลาง พร้อมกับถอดป้ายออก น่าจะช่วยลดปัญหาได้ไหมครับ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 210.86.207.57 (พูดคุย | ตรวจ) 12:51, 24 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)

ความจริงประวัติเรื่องคดีความต่างๆ ไม่น่าจะลงเพราะยังไม่ได้รับการพิสูจน์ อีกอย่างหนึ่งผู้กล่าวหาก็มาจากผลผลิตจากการรัฐประหาร อย่างเช่น คตส. ซึ่งไม่น่าเชื่อถือ หากเป็นกลางจริงๆ ก็ควรลงสิ่งที่ได้รับการตัดสินแล้วเท่านั้น

ยังไม่ได้พิสูจน์ตรงไหนครับ ก็พิสูจน์ได้ว่าโดนฟ้องจริง (เป็นคนละเรื่องกับกระทำผิดจริง) ข้อกล่าวหาจะน่าเชื่อหรือไม่ เป็นเรื่องที่ผู้อ่านจะตัดสินเอง และไม่เกี่ยวข้องกับสารานุกรม เรามีหน้าที่แค่รายงานว่า เขาถูกฟ้อง เท่านั้น --KINKKUANANAS 16:23, 4 เมษายน 2551 (ICT)

ล่าสุดครับ พิสูจน์ ได้แล้วครับ ศาลฎีกาแผนกคดีการเมือง ตัดสิน จำคุก 2 ปี ไม่รอลงอาญา เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2551 กับการหนีหมายจับกุม หนีคดีอีก 3-4 คดี ที่ฟ้องไม่ได้ ถ้าไม่มีจำเลย แสดงว่าผิดจริง จึงไม่กล้ามาสู้คดี---21 ตค.51

ยังไม่ควรจัดว่าพิสูจน์ได้ครับ เพราะยังมีการโต้แย้งว่ากระบวนการยุติธรรม ซึ่งหมายรวมถึงศาลถูกแทรกแซง ซึ่งองค์กรตรวจสอบที่เกี่ยวข้องและศาลยังถูกวิพากษ์วิจารณ์ในกรณีต่อเนื่องอีกหลายต่อหลายครั้ง ดังนั้นจึงควรใส่ผลคำตัดสินและใส่คำวิจารณ์ในเรื่องความเป็นกลาง ความบริสุทธิ์ยุติธรรมของกระบวนการยุติธรรมไว้ด้วยครับ

ถึงแม้ว่าจะไม่เชื่อคำตัดสินของศาลและคิดว่าศาลลำเอียงก็สามารถพูดเรื่องคดีอย่างเป็นกลางได้ครับโดยการเอาคำอ้างของตัวจำเลยมาแสดง อย่างในกรณีซุกหุ้น ผมได้ยกคำพูดที่คุณทักษิณใช้กับศาลเลยเช่น รัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติความหมายของทรัพย์สินตน (ดังนั้นหุ้นที่ใช้ชื่อคนอื่นถืออยู่จึงอาจไม่ใช่ของตนและไม่จำเป็นต้องแจ้ง) ผมแนะนำว่าท่านอื่นๆที่ต้องการจะเขียนเกี่ยวกับคดีต่างๆให้ใช้คำพูด อ้าง ของจำเลยในศาล เท่านี้ก็เพียงพอ และดูเป็นกลางแล้ว

การล็อกบทความ

ผมเห็นด้วยเต็มที่ครับ แต่ไม่ควรมีภาพซึ่งกำลังขัดแย้งอยู่ด้วยครับ -- ภาพการ์ตูนมาสคอต แทนตัว Zenith Zealotry Zenith Zealotry เซนิทสโมสร | 19:07, 14 กันยายน 2551 (ICT)

ไม่มีเหตุผลในการนำภาพที่ใช้ประกอบบทความออกนะจ๊ะ โปรดระบุเหตุผลที่ดีพอที่จะนำภาพออกจ๊ะ ไม่งั้น บทความที่มีภาพใน commons หรือ โครงการอื่นก็ห้ามเอามาใช้ในวิกิพีเดียหรือจ๊ะ ตกลงเข้าใจการใช้ภาพประกอบบทความไหมจ๊ะหนู--Blacknut 19:10, 14 กันยายน 2551 (ICT)

ไม่จำเป็นต้องใส่ก็ได้นะครับ เพราะผมโชว์รูปไว้ในวิกิซอร์ซแล้ว (รูปหมายจับ ผมนี่แหละเป็นคนย้ายไปเอง พร้อมกับเนื้อหาต้นฉบับ) ใส่ลงไปก็รกเปล่าๆ ไม่ใช่ด้วยเหตุผลเรื่องความขัดแย้ง และอย่าเห็นวิกิพีเดียเป็นป้ายประกาศ --Octra Dagostino 20:00, 14 กันยายน 2551 (ICT)

ประธานสโมสรแมนเชสเตอร์ ซิตี้

ต้องกล่องข้อมูลด่านล่างครับ ตรงประธานสโมสรแมนเชสเตอร์ ซิตี้ อยากให้เปลี่ยนเวลาจาก 2550 - 2551 เป็น 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 - 23 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ครับ --KungDekZa 17:18, 29 กันยายน 2551 (ICT)

หมวดหมู่ นักโทษชาวไทย

ไม่แน่ใจว่าใส่หมวดหมู่นี้ดีไหมครับ หรือว่าควรให้รอโดนจับก่อนแล้วค่อยใส่ดีครับ ใครมีความเห็นอย่างไรบ้างครับ --Manop | พูดคุย 20:40, 22 ตุลาคม 2551 (ICT)

ไม่มีบทความไหนจัดอยู่ใน หมวดหมู่:นักโทษชาวไทย เลยครับ ไม่ทราบว่าจะใส่ลงไปทำไม --Octra Dagostino 20:50, 22 ตุลาคม 2551 (ICT)
ไม่มีก็สร้างซิครับ คิดซะว่าเป็นวิกิ ทีบทความอื่นเห็นนั่งทำโครงการหนึ่งหมวดหมู่หนึ่งบทความไม่ใช่หรือครับ --Manop | พูดคุย 20:53, 22 ตุลาคม 2551 (ICT)

แล้วจะมีใครมาอยู่หมวดหมู่นี้เพิ่มบ้างครับลองยกตัวอย่าง ผมไม่ได้มีแนวความคิดหนึ่งหมวดหมู่หนึ่งบทความซะหน่อย --Octra Dagostino 20:56, 22 ตุลาคม 2551 (ICT)

มันมีหมวดหมู่ "อาชญากร" หรือ "อาชญากรไทย" (สักอย่างเนี่ย) อยู่แล้วไม่ใช่หรือคะ อาชญากรแปลว่าผู้กระืทำอาชญากรรม ส่วนนักโืทษตามความหมายปัจจุบันก็คือคนที่ต้องขังอยู่ในสถานกักกันตามกฎหมาย ตุ๊ดสินแกยังไม่ได้่อยู่ในคุกนินา ใส่หมวดอาชญากรไทยดีกว่ามั้งคะ

——ปอประตูน้ำ | จิ๊จ๊ะ - ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๑, ๒๑:๒๑ นาฬิกา (GMT+7)
อ๋อ ใช้คำผิดไป ขอบคุณครับ --Manop | พูดคุย 11:32, 23 ตุลาคม 2551 (ICT)

คดีที่ดินรัชดาฯ

อยากให้ใส่หัวเรื่องคดีที่ดินรัชดาสักเล็กน้อยน่าจะดีนะครับ --Applezapotis 17:41, 24 ตุลาคม 2551 (ICT)

หมวดหมู่:สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี

เพิ่มหมวดหมู่:สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีด้วยครับ ขอบคุณครับ --KungDekZa 10:51, 2 พฤศจิกายน 2551 (ICT)

ผู้ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง

ไม่ทราบว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นตำแหน่งบริหารประเทศหรือครับ จึงต้องเอามาขึ้นในแม่แบบด้วย ผมขอลบนะครับ --Horus 19:09, 28 มีนาคม 2552 (ICT)

ผลงาน?

ในส่วนของผลงานของทักษิณ ผมเห็นว่าควรปรับปรุงอย่างมาก คือ

  1. คำว่า "ผลงาน" เป็นคำที่ปกติเราใช้เพื่อชื่นชม ไม่ควรนำมาใช้อธิบายในวิกิ เพราะน่าจะไม่เข้ากับนโยบายมุมมองที่เป็นกลางของวิกิ อีกทั้งหัวข้อต่างๆ ในส่วนนี้ บางอย่างก็ไม่เรียกสามารถเรียกว่าเป็นผลงานได้ในสามัญสำนึก เช่น รายการนายกทักษิณคุยกับประชาชน เป็นต้น
  2. จากข้อแรก ผมจึงคิดว่าข้อมูลควรแยกส่วนออกมาให้ชัดเจน ว่าอันไหนคือ โครงการ สิ่งที่ดำเนินการ หรือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น
  3. ขาดการแยกระหว่างข้อเท็จจริงและความเห็น เช่นกล่าวว่า "ทักษิณเพิ่ม GDP" นั้นก็น่าจะเพียงความเห็นของผู้เขียน หรือผู้สนับสนุน เพราะโดยหลักคือเราคงไม่มีหลักฐานข้อเท็จจริงอ้างอิงใดๆ จะนำมาบอกได้ว่า GDP เพิ่มขึ้นเพราะทักษิณ ซึ่งในวิกิ ควรจะเขียนเป็นข้อเท็จจริง เช่น "GDP ในปี ... เพิ่มขึ้นจากปี ... ขณะที่ทักษิณดำรงตำแหน่งนายกฯ" เป็นต้น

ข้อเสนอของผม (และหมายความว่าผมอาจจะทำเองหากไม่มีผู้อื่นอาสา) เพื่ออธิบายสิ่งต่างๆ ในสมัยของทักษิณ คือ จะแยกออกเป็นส่วนของนโยบาย ว่าทักษิณมีนโยบายในด้านไหนอย่างไรบ้าง รวมถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอื่นๆ ก็จะรวมในส่วนนี้ด้วย ซึ่งน่าจะอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นในสมัยการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของทักษิณ ในรูปแบบของข้อเท็จจริงได้มากกว่า ซึ่งจะล้อกับแบบ wikipedia ของ George W. Bush ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/George_W._Bush#Presidency

ท่านอื่นๆ มีความเห็นอย่างไร ขอเชิญอภิปรายได้ครับ

  • ถ้าการเขียนมีแนวโน้มที่จะส่อไปในทางที่ผิด คุณก็สามารถแก้ไขได้เองเลยครับ ส่วนในข้อที่ 3 ที่คุณอิงมานั้น คนส่วนใหญ่เค้าก็คิดกันนะครับ ว่าถ้าตัวเลขทางเศรษฐกิจของประเทศจะแปรผันกับการดำเนินงานของผู้นำ หรือว่าแม่ค้าหรือประชาชนธรรมดาจะสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเลขทางเศรษฐกิจได้ล่ะครับ --Horus | พูดคุย 15:47, 22 สิงหาคม 2552 (ICT)
  • ในเมื่อเราเขียนข้อเท็จจริงได้ ก็ควรจะเขียนข้อเท็จจริงดีกว่าครับ เช่นเรื่อง GDP ผมก็อาจจะอ้างได้ว่า GDP ดีขึ้นเพราะเศรษฐกิจโลกเริ่มกระเตื้องขึ้นได้ เป็นต้น หรืออาจจะอ้างว่า GDP ต่ำในปีก่อนหน้านั้นก็ได้ (สมมติ) เพื่อหลีกเลี่ยงข้อขัดแย้งในลักษณะนี้ ผมจึงเห็นว่าการเขียนโดยไม่อ้างอิงความคิดของใครไม่ว่าจะส่วนใหญ่ส่วนน้อยก็น่าจะเหมาะสมกว่า หรือตัวอย่างเช่นในรายงานข่าว เวลารายงานความต่อเนื่องของเหตุการณ์ มักจะใช้คำว่า "มีขึ้นหลังจาก" โดยไม่ใช้คำว่า "เพราะ" หรือ "เนื่องจาก" เพราะนักข่าวมีหน้าที่รายงานข้อเท็จจริง ไม่ได้มีหน้าที่สรุปว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเพราะเหตุการณ์นั้นครับ
    • ครับ เหตุผลของคุณฟังขึ้นครับ --Horus | พูดคุย 21:39, 22 สิงหาคม 2552 (ICT)

ชดใช้หนี้สินที่รัฐบาลมีต่อกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)...จัดเป็นผลงานของทักษิณด้วยเหรอครับ เพราะมันครบวาระต้องชำระเงินให้เสร็จบวกกับเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวด้วยทำให้ชำระเสร็จเร็วกว่ากำหนดเล็กน้อย.. ถ้าอย่างนั้นเพื่อความเป็นกลางน่าจะระบุด้วยว่าทักษิณเป็นผู้เสนอกู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)ซึ่งนับเป็นวงเงินกู้ที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ไทยเลย...แทรกเข้าไปด้วยเพื่อให้เป็นกลางดีไม๊ครับ

เอาเลยครับ ขอแหล่งอ้างอิงก็พอ --Horus | พูดคุย 08:11, 23 พฤษภาคม 2553 (ICT)

..... การนำเสนอข้อมูล "ผลงาน" ในวิกิพีเดีย จากกรณีข้างต้น อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมตามสมควรแล้ว เนื่องด้วยหลักการเป็นสื่อกลางในงาน"สารานุกรม" ควรที่จะสามารถแสดงข้อมูล/รายละเอียด ตามหลักวิญญูชนพึงสามารถพิจารณาได้ตามเหตุผลอย่างตรงไปตรงมา เป็นกลาง ไม่เอนเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง กรณีที่มี User:Hourus แสดงความคิดเห็นในเชิง"ตำหนิ";"คัดค้านการนำเสนออย่างเป็นกลางของ วิกิพีเดีย จึงเป็นการก้าวล่วงเกินสมควร ทำให้ผู้ติดตามใกล้ชิด เห็นว่าเป็นการนำความรู้สึกส่วนตัวของ User อันเกิดจากความ "ชอบ" / "ไม่ชอบ" โดยส่วนตน มาแสดงความคิดเห็นตามวิสัยปุถุชนธรรมดาสามัญ ไม่สามารถนับเป็นสาระสำคัญที่มีความจำเป็นต้องผลักดันให้มีการแก้ไขในประเด็น "ผลงาน" แต่ประการใด

กรณี "GDP" ที่User:Hourus ได้แสดงความคิดเห็นว่าควรนำเสนอข้อเท็จจริง หากแต่เท่าที่ได้ติดตามอ่าน วิกิพีเดีย จะเห็นได้ว่าเป็นการนำเสนอตามมาตรฐานสากล การบริหารราชการแผ่นดินโดยสมัยคณะรัฐบาลใดรับผิดชอบดูแล ผลการบริหารงานในเรื่อง GDP ย่อมเป็นหนึ่งในผลงานโดยปกติวิสัย จะด้วยสาเหตุแห่งเศรษฐกิจโลกที่มีทิศทางปรับตัวดีขึ้นเป็นองค์ประกอบก็ตามแต่ กรณีที่มีตัวเลขค่า GDP ที่ถดถอยลง ก็มิอาจปฏิเสธความรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินได้ไม่ ฉะนั้นแล้ว การนำข้อมูลในวิกิพีเดีย จึงเป็นการสะท้อนสภาวะตัวเลข GDP ณ เวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น หาใช่เป็นการสร้างความขัดแย้งทางความคิดให้กับผู้เสพข่าวสารแต่อย่างใด

หากท่านผู้ใช้ข้อมูลใน "สารานุกรมเสรี" มีคุณวุฒิภาวะทางการศึกษา วุฒิภาวะทางอารมณ์ และสติปัญญาอยู่ตามเกณฑ์มาตรฐานสากล ย่อมสามารถแยกแยะออกได้ว่าสิ่งใดเป็นจริง สิ่งใดเป็นเท็จ โดยปราศจากอคติ ย่อมได้รับประโยชน์จากเนื้อหาที่นักวิชาการได้นำเสนอไว้ทางสื่อออนไลน์ตามสมควร

การใช้ความชอบ ไม่ชอบ ถูกใจ ไม่ถูกใจ เป็นอัตตาทางพุทธศาสนา หมายถึง เป็นการยึดติด ยึดถือ ตัวตนว่าเป็นอยู่ มีอยู่ หาได้ละซึ่งอคติ สังคมโลกจึงไม่สงบสุขเยี่ยงที่ควรจะเป็น เมื่อแสดง-เผยแพร่อัตตาแห่งตนออกสู่ธารกำนัลแล้วย่อมสร้างความเสื่อมเสีย เสียหาย ให้กับสภาวะแวดล้อมรอบข้างไม่มากก็น้อย...

"เรานะหยุดแล้ว ท่านหยุดหรือยัง" พุทธพจน์แห่งองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ที่โปรดแก่ องค์คุลีมาล ผู้หลงผิดยึดติดในสังสารวัตร -- --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Jamesscb (พูดคุยหน้าที่เขียน)

ขอโทษครับที่ผมทำเช่นนั้น แต่เท่าที่ทราบคือผมไม่ได้ห้ามคุณเพิ่มเติมข้อมูลใด ๆ เลย (หรือที่เรียกว่าเซ็นเซอร์) ดังนั้น กรุณาอย่าพูดเกินความเป็นจริงครับ เรื่องพูดเกินจริงพระพุทธเจ้าก็สอนไว้เช่นกัน --Horus | พูดคุย 19:10, 17 มิถุนายน 2553 (ICT)

ยังขาดความเป็นกลางและเนื้อหายังซ้ำซ้อนกันหลายจุด

เท่าที่อ่านดูเนื้อหาส่วนใหญ่ยังขาดความเป็นกลางอันเนื่องมาจากการใช้คำที่แตกต่าง เช่น การใช้หนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศก่อนกำหนด ควรบอกไว้ด้วยว่าก่อนกำหนดนานแค่ไหนผมพยายามแก้ไขแต่ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอจึงใส่คำว่า เล็กน้อย เข้าไป การแก้ไขปัญหาหวยบนดินอย่างเป็นรูปธรรม อันนี้ก็ไม่เป็นกลางเพราะแก้ไม่ได้ครับ กลายเป็นว่าประกาศขายหวยบนดินแล้วคู่กับใต้ดินลับๆประกาศโจ่งแจ้งอย่างมีนัยว่าที่นี่ขายหวย(ใต้ดิน)บนดิน อย่างไรก็ตามหวยใต้ดินก็ยังได้รับความนิยมมากกว่าหวยบนดินผมเลยแก้เป็นในระดับหนึ่ง และบางส่วนยังเขียนซ้ำซ้อนกันอยู่ค่อนข้างมาก ความไม่สมบูรณ์ของเหตุและผล ผมพยายามทำใจให้กลางมากที่สุดตอนแก้ไข ไม่อยากให้แหล่งข้อมูลกลายเป็นที่สนับสนุนหรือต่อต้านกันในทางการเมือง อยากแก้แต่เกรงจะพลาดอีกเลยขอไปหาข้อมูลก่อน

ชี้แจงเหตผลการลบ

ขอลบ ซึ่งเป็นผู้เสียผลประโยชน์จากนโยบายรัฐบาล เนื่องจากเป็นการกล่าวหาว่าผู้ไม่เห็นด้วยกับนโยบายรัฐบาลเป็นผู้เสียผลประโยชน์จากนโยบายของรัฐบาล และไม่มีการระบุหรืออ้างอิงว่ารัฐบาลออกนโยบายอะไร ทำให้ใครเสียประโยชน์ เพราะคนที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายของรัฐบาลใดๆก็แล้วแต่อาจมิได้มีส่วนได้ส่วนเสียเสมอไป ส่วนการแก้แก้หน้า คดีขายหุ้นกลุ่มบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้เพิ่มตัวอักษร เข้าไปเพื่อให้ถูกต้องตามความหมายที่ผู้เขียนก่อนหน้าพิมพ์ตกไป

เจ้ามูลเมือง

เหตุใดบทความเจ้ามูลเมืองกลายเป็นหน้าของทักษิณ ชินวัตร ผมคิดว่าไม่น่าเกี่ยวข้องกันครับ เพราะเจ้ามูลเมืองเท่าที่ค้นหาบนอินเตอร์เน็ทไม่พบแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ--泰和 20:10, 20 ตุลาคม 2554 (ICT)

 ความเห็น รบกวนสอบถามคุณ Aristitleism (พูดคุย · เรื่องที่เขียน) ที่เป็นผู้สร้างหน้าเปลี่ยนทาง น่าจะได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กว่าครับ --∫G′(∞)dx 20:14, 20 ตุลาคม 2554 (ICT)
  1. ที่ว่าเกี่ยวข้องกับทักษิณหรือไม่นั้น ทักษิณอ้างว่า ตนเป็นผู้ครองนครล้านนา ชื่อ เจ้ามูลเมือง กลับชาติมาเกิด แล้วฝ่ายทักษิณเขาก็ทำพิธีเคารพบูชาด้วย แต่ข้อเท็จจริงมีว่า ไม่มีผู้ครองนครใด ๆ ในภาคเหนือ ไม่ว่าล้านนาน ลำปาง เชียงใหม่ เชียงราย แพร่ น่าน ฯลฯ ชื่อเจ้ามูลเมือง หนังสือพิมพ์จึงชอบเอามาล้อบ่อย ๆ ดังนั้น เจ้ามูลเมืองจึงเกี่ยวข้องกับทักษิณด้วยประการฉะนี้ครับ
  2. แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือนั้นมีอยู่ครับ เช่น
    1. มติชน - นักวิชาการลำปางเผยไม่เคยได้ยินชื่อ "เจ้ามูลเมือง"
    2. ผจก. - ยันไร้ชื่อ “เจ้ามูลเมือง” ในสารบบเจ้าผู้ครองล้านนา-ชี้แผนกุเรื่องอดีตชาติ “แม้ว” ออกทีวี (แต่ ผจก. นี่ดูจะเหน็บแนมเป็นหลัก)
  3. ทำไมผมถึงเปลี่ยนทาง เพราะผมเห็นว่า คงมีคนมาค้นวิกิฯ ด้วยคำนั้นเฉย ๆ ครับ ไม่มีอะไรมาก จะลบหน้าเปลี่ยนทางก็ได้ครับ
--Aristitleism 21:07, 20 ตุลาคม 2554 (ICT)
 สำเร็จ พิจารณาลบ เพราะว่าเป็นบุคคลที่ยังมีชีวิต/ยังไม่มีเอกสารอ้างอิงหรือกล่าวถึงชื่อดังกล่าวในบทความ เอานโนบาย biography มาใช้โดยอนุโลม -- ถ้าเขียนชื่อดังกล่าวลงในบทความพร้อมอ้างอิงแล้ว จะสร้างหน้าเปลี่ยนทางใหม่ก็ได้ --taweethaも 05:41, 21 ตุลาคม 2554 (ICT)

ปลดล็อก

กรุณาปลดล็อกบทความนี้เดี๋ยวนี้เพื่อปรับปรุงบทความให้เป็นบทความคุณภาพด้วยครับ--171.4.211.155 08:10, 27 พฤศจิกายน 2554 (ICT)

 ไม่สำเร็จ กรุณาลงทะเบียนเข้ามาแก้ไขตามปกติจะดีกว่า --taweethaも 09:54, 27 พฤศจิกายน 2554 (ICT)

ไม่เป็นกลาง

ผมเป็นผู้แก้ไขในส่วน ข้อวิจารณ์จากต่างประเทศ ทั้งสองกรณี ในตอนแรกๆ ผมเอาข้อมูลการแปลของหนังสือพิมพ์ไทย แต่ใช้แหล่งอ้างอิงต้นฉบับ (ก็เลยผิดพลาด) แต่การแก้ไขหลังสุดผมแปลมาจากต้นฉบับ และขอแสดงความเห็นดังนี้ (นิตยสารฟอร์บคงไม่ต้องพูดถึง)

คำว่า เลว ผมเอามาจากส่วนพาดหัวคำว่า Bad Exes ผมแปลได้ว่า พวกผู้บริหารที่เลว หรือ แย่ ผสมกับคำว่า Ex-President,Former Prime Minister ทีนี้ผมไปดูหนังสือพิมพ์ไทยหลายฉบับก็แปลออกมาแนวเดียวก็คือคำว่า เลว (นำออกจากรายการอ้างอิงแล้ว) เมื่อได้แนวทางการแปลมาแบบนี้ ดังนั้นจึงยึดถือว่าเป็นคำนิยมแล้วเอามาลงในบทความ ต่อมาก็ส่วนของหลังถูกยึดอำนวจด้วยข้อกล่าวหา รับสินบนหลายอย่างและละเมิดสิทธิมนุษยชน (2006 coup amid allegations of graft and human rights abuses) ผมแปลได้แบบนี้ นี่คือแหล่งอ้างอิงต้นฉบับ และน้อมรับผิดทุกกรณีครับ--Sasakubo1717 20:54, 5 มกราคม 2555 (ICT)

ไม่ได้กล่าวความเคลื่อนไหวในปัจจุบัน

เท่าที่อ่านดูบทความไม่ได้กล่าวถึงความเคลื่อนไหวในปัจจุบันเลยครับ ทั้งที่มีข่าวออกมาบ่อยๆ --Famefill (พูดคุย) 22:37, 19 เมษายน 2556 (ICT)

ยศตำรวจ

การถอดยศเกิดขึ้นในวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2558 ดังนั้น เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดก่อนหน้าวันที่ 5 กันยายน จึงควรคงยศ พ.ต.ท. ไว้ สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 5 กันยายนเป็นต้นไป ให้ใช้แค่คำว่า 'ทักษิณ หรือ นายทักษิณ แทน --☭ Walker Emp (พูดคุย) 21:29, 5 กันยายน 2558 (ICT)

ไม่จริงครับ เอากฎไหนมาใช้ครับ หากเรากล่าวถึงยศในอดีต แบบที่คุณว่ามา ต่อไปยศพลเอก พลโท พลตรี จะต้องกล่าวตามลำดับยศว่าเหตุการณ์เกิดช่วงยศไหน มีแต่เขาใช้คำว่ายศในขณะนั้นหากจะกล่าวถึงยศหรือเหตุการณ์ในอดีต ผมขอย้อนการแก้ไขของคุณครับ อีกประการใช้ พันตำรวจโท ในทุกคำที่มีนายทักษิณอยู่ ดูมาตรฐานบทความอื่นๆด้วยครับ ว่ามียศนำหน้าทุกครั้งที่กล่าวถึงชื่อในบทความอื่นๆ หรือไม่ ผมขอยกอีกตัวอย่างหนึ่ง คนที่เปลี่ยนชื่อ คุณจะกล่าวถึงเขาด้วยชื่อไหนครับ เรื่องเก่าใช้ชื่อเก่า หรือใช้ชื่อใหม่ครับ วุ่นแน่ๆ พอกล่าวถึงอดีตใช้ชื่อเก่า พูดเรื่องปัจจุบันใช้ชื่อใหม่ --Sasakubo1717 (พูดคุย) 22:07, 5 กันยายน 2558 (ICT)

การใช้ยศเก่าในเนื้อหา ไม่ใช่ว่าจะทำไม่ได้เลย ถึงแม้ว่าตอนที่เกิดนั้น ไม่ได้มียศอะไร แต่สำหรับเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นตอนยังมียศเก่าอยู่นั้น เช่นการรับตำแหน่งนายก ก็ต้องใช้พันตำรวจโทตามราชกิจจานุเบกษา จะเปลี่ยนเป็นนายไม่ได้ หรือตัวอย่างราชวงศ์ที่ลาออกจากฐานันดรศักดิ์แล้ว ในช่วงแรกก็ยังใส่บรรดาศักดิ์อยู่ แต่อาจจะเป็นการยากที่จะติดตามว่า ตอนไหนยศอะไรแล้ว ความพยายามในขั้นสุดท้ายจึงกลายเป็น เรียกชื่อตัวเฉย ๆ --奥虎 ボンド 16:10, 8 กันยายน 2558 (ICT)

คำนำหน้าชื่อ

ย้ายไป วิกิพีเดีย:เลขาชาววิกิพีเดีย#คำนำหน้าชื่อ-ดร.

หมวดหมู่

การจัดบทความนี้เข้าหมวดหมู่ ควรจะยึดหลักการเดียวกันหรือไม่ครับ เช่น หมวดหมู่สมาชิกเครื่องราชฯ ชั้นต่างๆ เมื่อถูกเรียกคืนแล้ว ยังต้องคงหมวดหมู่ไว้เช่นเดิมหรือไม่ ผมคิดว่าหลักการน่าจะใช้หลักเดียวกับหมวดหมู่อื่นๆ เช่น หมวดหมู่ นายกรัฐมนตรี ถึงแม้ ดร.ทักษิณ จะพ้นจากนายกรัฐมนตรีไปแล้ว ก็ยังคงหมวดหมู่นายกรัฐมนตรีไว้ หรือท่านอื่นเห็นเป็นประการใด Pongsak ksm (คุย) 10:36, 10 เมษายน 2562 (ICT)

เห็นด้วย เพราะการเรียกคืนไม่ได้ทำให้การให้เครื่องราชเป็นโมฆะ Horus (พูดคุย) 12:00, 10 เมษายน 2562 (ICT)

คำขอแก้ไขกึ่งป้องกัน เมื่อ 24 พฤศจิกายน 2562

ขอเปลี่ยนจากที่ว่าง เป็น รอเจ้าตัว น.ช.ทักษิณ ชินวัตร ออกปากกล่าวหา และพิสูจน์ในชั้นศาล เหตุเพราะทุกครั้งที่เกิดการลอบสังหาร ก่อนหน้าการลอบสังหารที่นายทักษิณตั้งประเด็นไว้ จะมีประเด็นการทุจริตถูกศาลตำเนินการคืบหน้าออกมาแจ้งเสมอ แล้วข่าวลอบสังหารจะเกิดออกมากลบกระแสการทุจริตทั้งสิ้น 4 ครั้งและประเด็นการถามให้ตอบ กลับบ่ายเบี่ยงเล่นคำพูดไม่เคยออกปากกล่าวหา แต่พูดลักษณะโน้มน้าวเป็นนัยยะให้คู่สนธนาพูดแทนออกจากปากเองว่าเป็นพวกทหาร และ ขณะเมื่ออยู่ในประเทศไทยกล่าวอ้างกลัวถูกลอบสังหารต่างๆนาๆ แต่ขณะนี้อยู่ต่างประเทศกลับปิดปากเงียบเรื่องนี้ และ พูดออกจากปากอีกเลย ทำให้เชื่อได้ว่าเป็นทางออกทุกครั่งเวลาเกิดปัญหาทุจริตในประเทศที่ไม่อยากตอบ และเบี่ยงประเด็นคำถามที่ควรได้รับคำตอบ จนผู้ถามถูกเบี่ยงให้ถามเรื่องลอบสังหาร แต่ไม่ยอมตอบอะไรที่เป็นการกล่าวหาให้พอที่จะนำเรื่องไปสู่ศาลเพื่อพิสูจน์ความจริงที่จากปาก น.ช.ทักษิณ ได้เลย โดยการหยุดพูดและสร้างความเงียบแสดงให้เข้าใจได้ว่าอึดอัดและเพื่อจบการสนธนาก่อนถูกผู้ถามวกกลับมาประเด็นเรื่องทุจริตทุกครั้งที่คำตอบของเขา ดูไม่สง่างามในครั้งใดเลย ทิ้งประเด็นการลอบสังหาร และถูกกลั่นแกล้งจากกลุ่มนั้นกลุ่มนี้ ทุกครั้งเสมอๆ และทิ่งท้ายคำว่า มันชัดเจนอยู่แล้ว คือการกล่าวหากองทัพ (ถามว่าเป็นฝีมือกองทัพจริงหรือที่ไร้ประสิทธิภาพในการสังหารตนหรือ เพราะระเบิดๆก่อนเขาขึ้นเครื่องตาย1 คน มีคนตาย และไม่ใช่เขา แล้วอย่างนี้ ถ้าจะสังหารคนๆเดียวยยังพลาดจะไปสังหารศัตรูชาติได้อย่างไร คนตรวจสอบเครื่องบินให้ข้อมูลว่าเกิดจากเครื่องทำความเย็นเกิดมีความร้อนสูงเพราะทำงานหนักเปิดตลอด(และเป็นธรรมดาที่เครื่องปรับอากาศจะใช้งานแบบนี้อยู่เสมอเพราะบินต่อเนื่องหลายเที่ยวหยุดพักไม่ใช้งานน้อยมากในสายการบินนี้) ไอระเหยจากการเติมน้ำมันก่อนเดินทางบินไปติดวาบกับความร้อนเกิดระเบิดขึ้น ซึ่งปกติไม่ให้ใครอยู่บนเครื่องบินช่วงนี้อยู่แล้ว เป็นเหตุเริ่มต้นของการกล่าวอ้างการเรื่องการลอบสังหาร ที่พลาดไม่สำเร็จถึง 4 ครั้งกับตัวเขา ภายหลังคดีทุจริตสี่เรื่องที่ทำสำเร็จ และกำลังตกเป็นข่าวขณะนั้น และเรื่องแรกศาลตัดสินว่าไม่ทุจริต โดยเป็นแค่การบกพร่อง ต่อหน้าที่ ) สรุปจากข้อมูลอ้างอิง [7] พิศิษฐ์ แซ่โง้ว (คุย) 21:12, 24 พฤศจิกายน 2562 (+07)

@พิศิษฐ์ แซ่โง้ว: กรุณาระบุคำขอให้ชัดเจน เข่น เปลี่ยน 1 เป็น 2 หรือหากต้องการให้นำข้อความนี้ใส่ในบทความกรุณาปรับปรุงรูปแบบการเขียน แล้วสร้างส่วนใหม่อีกครั้ง— 𝙋𝙖𝙩𝙨𝙖𝙜𝙤𝙧𝙣 𝙔.ᴛᴀʟᴋ 16:43, 26 พฤษภาคม 2563 (+07) --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Lookruk (พูดคุยหน้าที่เขียน) 21:20, 11 มกราคม 2566 (ICT)