พูดคุย:ทฤษฎีสัมพัทธภาพ

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิทยาศาสตร์ ทฤษฎีสัมพัทธภาพ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิวิทยาศาสตร์และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ทฤษฏีวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ ทฤษฎีสัมพัทธภาพ หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

อยากจะถามถึงปัญหาในคู่แฝดพิศวง ที่แฝดคนนึงอยู่บนโลกแต่แฝดอีกคนนึงนั่งยานจรวดออกจากโลกไปด้วยความเร็วสูงใกล้เคียงกับแสงโดยความเร็วนั้นคงที่เมื่อยานวนกลับเข้ามา ปรากฏว่าแฝดที่อยู่บนโลกกลับมีอายุมากกว่า(ในทางคำนวณของตัวเลข)ของทฤษฎีสัมพัทธภาพ แต่สงสัยว่าในขณะที่เรามองการเคลื่อนที่แบบสัมพันธไม่ใช่สัมบูรณ์ แฝดที่ขี่จรวดอยู่อาจจะพูดอีกในกรอบอ้างอิงของเขาเองว่า แฝดที่อยู่บนโลกต่างหากที่กำลังห่างออกจากเขาไปด้วยความเร็วใกล้แสงแล้วค่อยวนกลับออกมา แฝดที่อยู่บนจรวดต่างหากที่อายุนั้นมากกว่า ผมในนามผู้สงสัยไม่ได้มีเจตนาจะหาจุดโหว่ของทฤษฎี เพียงแต่อยากได้คำอธิบายเพราะได้อ่านบทความหนึ่งถึงอนุภาคที่ชื่อว่า มิวออน แล้วหลักการคล้ายๆกับคู่แฝดพิศวงในการเคลื่อนที่เข้าใกล้โลก และอยากถามว่านาฬิกาที่เราสมมติขึ้น (นาฬิกาแสง) อธิบายได้อย่างไรในด้านชีววิทยา อย่างเช่นลักษณะการเต้นของหัวใจ

มันไม่เหมือนกันครับ ถ้าสมมติว่าโลกเป็นกรอบเฉี่อยแล้ว กรอบจรวดจะเป็นกรอบที่ไม่เฉี่อยอ่ะครับ สองอันนี้จริง ๆ แล้วมันไม่ equvalence กันอ่ะครับ นั่นคือถ้าคุณถือกล่อง ที่มี pendulum อยู่แล้วคุณอยู่บนจรวด คุณจะเห็นมันเอียงเพราะคุณมีความเร่ง แต่ถ้าคุณอยู่บนโลกคุณจะไม่เห็นมันเอียงอ่ะครับ 131.215.7.198 07:52, 2 ธันวาคม 2006 (UTC)

เรื่องทางด้านชีววิทยา ถ้าคุณคิดดี ๆ แล้วจังหวะเต้นของหัวใจ ก็ขึ้นกับ characteristic time ของสารเคมีในหัวใจ เพราะฉะนั้นถ้าคนสองคนสร้างมาว่าหัวใจเต้น สองแสนครั้งแล้วตาย คนบนโลกก็จะหัวใจเต้นสองแสนทีก่อน แล้วตายก่อนอ่ะครับ 131.215.7.198 07:57, 2 ธันวาคม 2006 (UTC)