พูดคุย:ตัวระบุวัตถุดิจิทัล

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การใส่เนื้อหาเพิ่ม[แก้]

  1. ตรวจลิขสิทธิ์
  2. ปรับแก้ + รวม
===สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และ การดำเนินการเรื่อง "รหัสทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล (Digital Object Identifier – DOI)"===

=====หัวข้อเรื่อง=====

* รหัสทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล หรือ รหัส DOI คืออะไร
* ประโยชน์ของ รหัส DOI
* รูปแบบการบริหารจัดการระบบรหัส DOI ตามหลักมาตรฐานสากล
*  การดำเนินการของ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

==== รหัสทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล หรือรหัส DOI คืออะไร====

รหัส ทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล หรือ Digital Object Identifier (DOI) คือ มาตรฐานสากลประจำทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล เป็นมาตรฐานใหม่ของ ISO 26324:2012 (Information and Documentation) ในการระบุตัวบ่งชี้ของทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลหรือทรัพยากรสารสนเทศ อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นข้อมูลการจัดเก็บและการอ้างถึง ทั้งข้อมูลที่เป็นไฟล์ดิจิทัลและวัตถุอื่น ปัจจุบันมีการให้รหัส DOI กับทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลทั่วโลกจำนวนมากกว่า 60 ล้านรายการ

'''''ตัวอย่างรูปแบบ รหัส DOI'''''

Use of organic fertilizer on paddy fields to reduce greenhouse gases Pantawat Sampanpanish
ScienceAsia 38 (2012): 323-330 |doi: 10.2306/scienceasia1513-1874.2012.38.323 [Abstract] [PDF]

Accumulation pattern of heavy metals in marine organisms collected from a coal burning power plant area of Malacca Strait Lubna Alam, Che Abd. Rahim Mohamed, Mazlin Bin Mokhtar ScienceAsia 38 (2012): 331-339 |doi: 10.2306/scienceasia1513-1874.2012.38.331 [Abstract] [PDF]

การ กำหนดรหัส DOI ให้กับทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลจึงเท่ากับเป็นการตั้งชื่อ หรือรหัส หรือเลขประจำตัวของทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับการกำหนดเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (International Standard Book Number –ISBN) และเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (International Standard Serial Number – ISSN) แต่มีความซับซ้อนและก่อให้เกิดประโยชน์สูงกว่าด้วยเทคโนโลยีในการจัดการ ข้อมูล รหัส DOI ช่วยให้การค้นหาและเชื่อมโยงการเข้าถึงสารสนเทศดิจิทัลได้สะดวก ถึงแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนที่อยู่ของเว็บไซต์ หรือ URL ก็ตาม

====ประโยชน์ของ DOI====

*เป็น การส่งเสริมการกำหนดนโยบายด้านทรัพย์สินทางปัญญาขององค์กร องค์กรสามารถกำหนดเป็นนโยบายในการให้รหัส DOI กับทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่มีคุณค่าของแต่ละ องค์กร โดยกำหนดประเภทของทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลที่ต้องการจัดเก็บไว้เพื่อใช้ ประโยชน์ในระยะยาว เช่น หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วารสารอิเล็กทรอนิกส์ รายงานการวิจัย รายงานประจำปี บทความและเอกสารที่เกี่ยวข้อง
*เป็น การส่งเสริมการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สำนักพิมพ์สามารถซื้อขายทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลตามมาตรฐานสากลในการเชื่อม โยงข้อมูล (Interoperability) ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับลิขสิทธิ์การเป็นเจ้าของทรัพยากรสารสนเทศนั้น รหัส DOI จึงเป็นเครื่องมือสำคัญทั้งของสำนักพิมพ์และผู้เป็นเจ้าของทรัพยากรสารสนเทศ ดิจิทัลในการทำการค้าด้วยระบบออนไลน์
*เป็น การส่งเสริมการปกป้องลิขสิทธิ์และป้องกันการโจรกรรมข้อมูล การจดทะเบียน รหัส DOI เป็นเสมือนการจดทะเบียนลิขสิทธิ์ของทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล เนื่องจากมีการลงรายการเมทาดาตาของทรัพยากรสารสนเทศนั้น ซึ่งมีรายละเอียดของชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง สำนักพิมพ์ ปีที่จัดพิมพ์และรายละเอียดทางบรรณาณุกรมอื่นๆ ดังนั้น การที่ทรัพยากรสารสนเทศมีรหัส DOI ประจำ จึงช่วยให้เจ้าของทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลได้รับการคุ้มครองสิทธิความเป็น เจ้าของที่ชัดเจนยิ่งขึ้นและสามารถใช้ประโยชน์จากสิทธิความเป็นเจ้าของนั้น ได้โดยสะดวก
*เป็น การส่งเสริมความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูล การที่ทรัพยากรสารสนเทศมีรหัส DOI ประจำ ช่วยให้การสืบค้นข้อมูลโดยใช้รหัส DOI เข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆได้โดยตรง ไม่ว่าจะเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ชื่อเรื่องใด บทความเรื่องใดในวารสารใด รายงานการวิจัยเรื่องใด หรือบทความเรื่องใด โดยไม่ต้องผ่านหน้าเว็บไซต์หลายหน้า
*เป็น การส่งเสริมมาตรฐานเปิด (Open Standard) การใช้มาตรฐานเปิดเพื่อการอ้างถึงสารสนเทศตามมาตรฐานสากลในกรณีการจดทะเบียน รหัส DOI ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการเขียนรายการบรรณานุกรมและการอ้างถึง ทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลตามหลักสากล ซึ่งทำให้ทราบประเภทและจำนวนของทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลในแต่ละสาขาและการ เชื่อมโยงข้อมูลของทรัพยากรสารสนเทศที่มีความคล้ายคลึงกัน

''กล่าว โดยสรุปคือ รหัส DOI เป็นเครื่องแสดงเอกลักษณ์ (uniqueness) ของทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลแต่ละรายการ มีการจัดการระบบโดยใช้ handle resolution มีการใช้งานร่วมกัน (interoperability) และก่อให้เกิดความคงที่ของข้อมูล (persistence) ดังนั้น การกำหนดรหัส DOI ประจำทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล จึงทำให้เกิดความสะดวกในการค้นหา การสร้างระบบเชื่อมโยงไฟล์ดิจิทัล การทำ transaction ทางธุรกิจ การจัดเก็บและการเผยแพร่ไฟล์ดิจิทัลระยะยาวโดยไม่เสียเวลาในการเปลี่ยนที่ จัดเก็บ (location)เมื่อมีการย้ายไฟล์ไปไว้ที่อื่น และให้ความสะดวกในการรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลเพื่อประโยชน์ทางวิชาการ และการวิจัย''

==== รูปแบบการบริหารจัดการระบบรหัส DOI ตามหลักมาตรฐานสากล====

ระบบรหัส DOI จัดแบ่งการบริหารงานเป็น 3 ส่วน ที่มีอิสระต่อกัน ในลักษณะของ franchise การบริหารงาน

*'''ส่วนแรก''' เป็นองค์กรหลักคือ International DOI Foundation หรือ IDF เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรมีวัตถุประสงค์ ในการสนับสนุนความต้องการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็นทรัพยากร สารสนเทศดิจิทัล และส่งเสริมให้ระบบ DOI เป็นโครงสร้างสำคัญในการจัดการเนื้อหาของทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลดังกล่าว

*'''ส่วนที่สอง''' คือองค์กรรับจดทะเบียน (Registration Agency หรือ RA) เนื่องจากความต้องการใช้รหัส DOI มีการขยายตัวมากขึ้น IDF จึงเปิดโอกาสให้มีองค์กรรับจดทะเบียน เป็นสมาชิกของ IDF ทำหน้าที่ให้ Prefix ของรหัส DOI , ลงทะเบียนรหัสชื่อ DOI โดยใช้ระบบ DOI และกำหนดโครงสร้างข้อมูลที่อธิบายเมทาดาตาและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งทำหน้าที่บริการข้อมูลแก่ผู้จดทะเบียนที่เป็นสมาชิก (Registrants) ตัวอย่างของ RA ได้แก่ CrossRef (53,809,024 DOI) ก่อตั้งที่สหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ.2543 มีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นสำนักพิมพ์มากกว่า 3,500 แห่ง รับจดทะเบียนทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลบทความวารสาร หนังสือ แต่ละบทของหนังสือ และเอกสารประกอบการสัมมนา, ISTIC (1,798,683 DOI) ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2553 รับจดทะเบียนทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลของประเทศจีน มีจำนวนวิทยานิพนธ์ปริญญาโทและปริญญาเอกประมาณ 1.5 ล้านรายการ และมีจำนวนรายงานการประชุมสัมมนาภาษาต่างประเทศมากกว่า 100,000 รายการ, DataCite (1,311,730 DOI) ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2552 เพื่อสนับสนุนการใช้รหัส DOI กับงานวิจัยและงานวิชาการระดับอุดมศึกษา สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ The German National Library of Science and Technology (TIB) ประเทศเยอรมนี ฯลฯ และ

*'''ส่วนที่สาม''' คือสมาชิกของ RA ได้แก่องค์กรที่ต้องการจัดระบบทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลที่เกี่ยวข้องให้เป็น ระบบและสามารถใช้ประโยชน์จากระบบรหัสDOI ที่ทันสมัยในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลในการให้ บริการอย่างมีประสิทธิภาพ สมาชิกของ RA จะทำหน้าที่ กำหนด Suffix ของรหัส DOI ต่อจากส่วน Prefix ที่สมาชิกแต่ละองค์กรได้รับจาก RA และบริหารจัดการระบบhandle resolution ตามสัญญาที่ตกลงกับ RA

====การดำเนินการของ วช.====

ขณะ นี้ วช. ได้รับการตอบรับอย่างเป็นทางการให้เข้าร่วมเป็น Full Member ของ RA คือ DataCite ซึ่งสนับสนุนการใช้รหัส DOI กับงานวิจัยและงานวิชาการระดับอุดมศึกษา ในการประชุมใหญ่สามัญ ครั้งที่ 4 DataCite 4th General Assembly เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2555 ณ เมืองโคโลญจน์ ประเทศเยอรมนี  http://www.datacite.org การเป็นสมาชิกระดับ Full Member ดังกล่าว ทำให้ วช. เป็นผู้ดำเนินการกำหนดรหัส DOI ตามหลักมาตรฐานสากลสำหรับงานวิจัยและงานวิชาการในประเทศไทยได้เต็มรูปแบบ กล่าวคือ เมื่อ วช.ได้รับเลข Prefix ของรหัส DOI จาก DataCite เช่น 10.2000 วช.สามารถกำหนด Suffix ของรหัส DOI ให้กับทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลด้านการวิจัยต่างๆได้ เช่น

*งานวิจัยที่ วช.สนับสนุนทุน DOI 10.2000/nrct.res2012_01
*วารสารอิเล็กทรอนิกส์ของ วช. DOI 10.2000/nrct.0028.0011.2010v42n01_01
*เอกสารการประชุมวิชาการของ วช. DOI 10.2000/nrct.proc2011_03
*วารสารวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ DOI 10.2000cu.1906.3636.2011v03n02_02
*วารสารวิจัย มข. DOI 10.2000/kku.0859.3957.2012v04n01_04 เป็นต้น

=====ส่วนอ้างอิง=====
*http://www.doi.org/factsheets.html
*เอกสารประกอบการอบรมหลักสูตร Digital Object Identifier ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
'''รหัสทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล''' หรือ '''ตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ)''' (อังกฤษ: [http://en.wikipedia.org/wiki/Digital_object_identifier Digital Object Identifier]: DOI) เป็นตัวบ่งชี้ทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล หรือทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ หรือเอกสารดิจิทัล ทำหน้าที่เป็นเลขประจำทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล คล้ายกับเลข ISBN หรือ ISSN แต่มีความแตกต่างที่ รหัสทรัพยากรสารสนเทศ หรือ DOI มีความซับซ้อนมากกว่า โดยมีเทคโนโลยีที่สามารถเชื่อมโยงไฟล์ทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลจากรหัส DOI ได้ มีการจัดการฐานข้อมูล metadata และการอ้างถึง แต่เลข ISBN และ ISSN ไม่สามารถทำได้ ซึ่งรหัสทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลนั้นเป็นตัวบ่งชี้ถาวรของทรัพยากรสารสนเทศ ดิจิทัล (Permanent Identifier) หรือ Persistent Identifier โดยรหัสนี้จะไม่เปลี่ยนแปลงไปตามสถานที่ที่ใช้จัดเก็บ (Location) หรือสิทธิการเป็นเจ้าของทรัพยากรสารสนเทศนั้น และปัจจุบันได้รับมาตรฐานสากล ISO 26324: 2012 Information and documentation แล้ว DOI® ยังเป็นเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนโดยมูลนิธิ DOI นานาชาติ ([http://www.doi.org// The International DOI Foundation: IDF])


== วัตถุประสงค์ของการกำหนดรหัสทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล ==
วัตถุประสงค์ ของการกำหนดรหัสทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล คือ เพื่อความเป็นเอกลักษณ์ของเอกสารดิจิทัล (uniqueness) มีการจัดการระบบโดยใช้ handle (resolution) มีการใช้งานร่วมกัน (interoperability) และความคงที่ของข้อมูล (persistence) การกำหนดรหัสประจำของทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลจึงทำให้เกิดความสะดวกในการค้น คืนสารสนเทศ การสร้างระบบเชื่อมโยงสารสนเทศดิจิทัล การปรับสารสนเทศดิจิทัลเพื่อธุรกิจ เช่น การซื้อ ขาย การจัดเก็บ และเผยแพร่ทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลในระยะยาว โดยไม่เสียเวลาในการเปลี่ยนสถานที่จัดเก็บ และให้ความสะดวกในการรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลเพื่อประโยชน์ทางวิชาการ และการวิจัย โดยสามารถแยกรายละเอียดออกได้ดังนี้
# '''ด้านการส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญา'''  องค์กรสามารถกำหนดรหัสทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลให้กับทรัพยากรสารสนเทศ ดิจิทัลที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่มีค่าขององค์กร โดยการกำหนดประเภทของทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลที่ต้องการจัดเก็บไว้เพื่อใช้ ในระยะยาว เช่น หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วารสารอิเล็กทรอนิกส์ รายงานการวิจัย รายงานประจำปี บทความและเอกสารที่เกี่ยวข้อง 
# '''ด้านการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์'''  รหัสทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลสามารถใช้ทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แก่สำนักพิมพ์ ในการซื้อขายทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลตามมาตรฐานสากลในการเชื่อมโยงข้อมูล ซึ่งเกี่ยวข้องกับลิขสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลนั้น รหัสทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลจึงเป็นเครื่องมือสำคัญของสำนักพิมพ์ เสมือนเป็นรหัสสินค้าของเอกสารดิจิทัลนั้นที่มีระบบการค้าขายออนไลน์ 
# '''ด้านการปกป้องลิขสิทธิ์และป้องกันการโจรกรรมข้อมูล''' การจดทะเบียนรหัสทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล เป็นเสมือนการจดทะเบียนลิขสิทธิ์เอกสารหรือทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล เนื่องจากมีการลงรายการเมทาดาทา (metadata) ของเอกสารดิจิทัลนั้น ซึ่งมีรายละเอียดของชื่อผู้แต่ง/ผู้รับผิดชอบ ชื่อเรื่อง สำนักพิมพ์ ปีที่จัดพิมพ์และรายละเอียดทางบรรณานุกรมอื่นๆ ดังนั้นการที่เอกสารดิจิทัลมีรหัสประจำจึงช่วยให้เจ้าของทรัพยากรสารสนเทศ ดิจิทัลได้รับสิทธิ์การเป็นเจ้าของและสามารถใช้ประโยชน์จากสิทธิความเป็น เจ้าของนั้น 
# '''ด้านความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูล''' การสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลและเครื่องมือช่วยค้น ไม่ว่าจะเป็นการค้นจากชื่อผู้เรียน ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง หรือคำสำคัญ จะช่วยแสดงผลเป็นการโยงถึงรหัสทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลนั้น การมีรหัสประจำทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลจึงช่วยในการเข้าถึงข้อมูล ซึ่งอาจเป็นการเข้าถึงวารสารอิเล็กทรอนิกส์ทั้งเล่ม หรือการเข้าถึงเฉพาะบางบทความที่มีการกำหนดรหัสทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลของ แต่ละบทความ หรือหนังสือของแต่ละบท เป็นต้น 
# '''ด้านมาตรฐานเปิด (open standard)''' การใช้มาตรฐานเปิด (open standard) เพื่อการอ้างถึงสารสนเทศตามมาตรฐานสากล  การจดทะเบียนรหัสทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลช่วยให้ความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการ เขียนรายการบรรณานุกรมและการอ้างถึงทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลตามหลักมาตรฐาน สากล ซึ่งทำให้ทราบจำนวนทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลในแต่ละสาขาและการเชื่อมโยง ข้อมูลของแต่ละชื่อเรื่องที่คล้ายคลึงกัน

--Nullzero (พูดคุย) 15:43, 11 มีนาคม 2556 (ICT)

ชือบทความ[แก้]

ถ้า "ตัวระบุวัตถุดิจิทัล" เป็นศัพท์ปัญญัติจริง ๆ ก็ควรจะเปลี่ยนชื่อบทความ --Nullzero (พูดคุย) 15:45, 11 มีนาคม 2556 (ICT)