พูดคุย:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อดีตบทความคัดสรรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นอดีตบทความคัดสรร กรุณาดูลิงก์ภายใต้หลักไมล์บทความข้างล่างสำหรับหน้าเสนอชื่อดั้งเดิม (สำหรับบทความเก่า ๆ ลองตรวจสอบกรุการเสนอชื่อ) และสาเหตุที่ถูกถอดถอน
หลักไมล์บทความ
วันที่กระบวนการผลลัพธ์
26 มีนาคม 2007เสนอชื่อคัดเลือกบทความคุณภาพผ่าน
1 สิงหาคม 2007เสนอชื่อคัดเลือกบทความคัดสรรผ่าน
26 สิงหาคม 2020การปรับปรุงบทความคัดสรรใหม่ถอดถอน
สถานะปัจจุบัน: อดีตบทความคัดสรร

หน้านี้เป็นหน้าพูดคุยสำหรับการแสดงความเห็นเพื่อพัฒนาบทความ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

          บทความนี้อยู่ในโครงการวิกิต่อไปนี้:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิการศึกษา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับการศึกษา ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือแวะไปที่หน้าโครงการเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 ดี  บทความนี้อยู่ที่ระดับดี ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ บทความเฉลิมพระเกียรติ ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการได้โดยการช่วยกันพัฒนาบทความ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือแวะไปที่หน้าโครงการเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 ดี  บทความนี้อยู่ที่ระดับดี ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 ดี  บทความนี้อยู่ที่ระดับดี ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นส่วนหนึ่งของ สถานีย่อย:สถาบันอุดมศึกษาไทย มีจุดมุ่งหมายที่จะรวบรวมเรื่องทุกอย่างเกี่ยวกับสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย
ถ้าต้องการมีส่วนร่วมกับโครงการ สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยเข้าไปที่ โครงการวิกิสถานศึกษา และ หน้าสถานีสถาบันอุดมศึกษาไทย
 ดี  บทความนี้อยู่ที่ระดับดี ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิสถานศึกษา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับสถานศึกษา อันประกอบด้วย โรงเรียน วิทยาลัยและมหาวิทยาลัย รวมถึงสถาบันการศึกษาอื่น ๆ ให้เป็นไปในมาตรฐานเดียวกัน ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือแวะไปที่หน้าโครงการเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 ดี  บทความนี้อยู่ที่ระดับดี ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

เรื่องลิขสิทธิ์[แก้]

ข้อมูลที่มีเอามาเขียน เช่น พระเกี้ยว สีชมพู ต้นจามจุรี คิดว่าไม่จำเป็นต้องลอกมาจากเว็บจุฬาฯ ผมสรุปข้อความให้สั้นกระชับ แล้วทำลิงก์ไปอ้างอิง ที่เว็บจุฬา สำหรับคนที่จะมาอ่านเพิ่มเติม น่าจะเหมาะสมกว่าไปลอกข้อความมา

สำหรับคนที่จะมาเขียนเพิ่มเติม ลองเขียนในคำพูดสรุปของตัวเอง อย่าลอกจากเว็บของจุฬามา น่าจะมีประโยชน์มากกว่า หรืออาจจะอ่านจากหลายแหล่งแล้วมาสรุปรวมดีกว่า--Manop 23:19, 28 สิงหาคม 2005 (UTC)

งานรับน้อง[แก้]

เรื่องงานรับน้อง เหมือนจะเขียนโดยมุมมองของคณะวิศวะนะครับ คณะอื่น ๆ อาจจะไม่ได้มีระบบโซตัส ห้องเชียร์ ด้วยก็ได้ -- bact' 04:38, 14 มิ.ย. 2005 (UTC)

ผมก็เห็นอย่างนั้นเหมือนกันครับ อ่านแล้วคุ้นอย่างบอกไม่ถูก ;) กำลังคิดอยู่ว่าจะปรับปรุงเนื้อหายังไงดี --Phisite 04:42, 14 มิ.ย. 2005 (UTC)
ห้องเชียร์นี่มีหลายคณะนะครับเท่าที่ได้ยินมา แต่โซตัสรู้สึกจะมีเฉพาะวิศวะเท่านั้นแฮะ--Manop 04:44, 14 มิ.ย. 2005 (UTC)
ระบบโซตัสเนี่ย ผมว่าเกือบทุกคณะรับปฏิบัติกันสืบเนื่องกันมานะ แม้กระทั่งการรับน้องของมหาวิทยาลัย หรืองานก้าวใหม่ ก็มีการพูดสอนให้รุ่นน้องปีหนึ่งที่เข้ามารับทราบไว้ แต่ที่พวกคุณพูดถึงอาจจะเป็นอีกประเด็น คือการว๊าก ซึ่งมีเฉพาะในบางคณะ หรือบางภาควิชา 161.200.255.164 15:13, 17 มิถุนายน 2006 (UTC)

บุคคลสำคัญจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[แก้]

ผมคิดว่าควรแยกเนื้อหาในส่วน 'บุคคลสำคัญจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย' ไว้เป็นอีกบทความหนึ่งเลยนะครับ เพราะถ้ารวมในหน้านี้ กลัวว่าในอนาคตมันจะยาวเกินน่ะสิ (ตัวอย่าง : en:Category:Lists_of_people_by_university_affiliation) --Kie 20:34, 4 สิงหาคม 2005 (UTC)

ถ้ายาวระดับหนึ่ง ก็แยกออกเลือกเอาไว้เฉพาะคนสำคัญ(ที่สุด)ซัก 4-5 คน แล้วก็เขียนหัวข้อเพิ่มเติมต่อท้ายเช่น ดูเพิ่มเติม เกี่ยวกับรายชื่อบุคคลจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วในหัวข้อที่แยกออกไป เราก็แยกเป็นหัวข้อย่อย เช่นตาม อาชีพ หรือว่าตาม คณะก็ได้ครับ --Manop 21:23, 4 สิงหาคม 2005 (UTC)

รณรงค์ "จุฬาฯ "[แก้]

ผมกำลังรณรงค์ให้มีตัวไปยาลน้อยทุกครั้งหลังเขียนคำว่าจุฬาฯ ครับเพราะเป็นคำย่อของชื่อมหาวิทยาลัย ไม่ได้แปลว่าว่าวครับ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไม่ได้ย่อว่า จฬ นะ ถ้าจะย่อต้องเป็น จุฬาฯ หน้าแรกควรเปลี่ยนได้แล้ว SPK 19:22, 20 มิถุนายน 2006 (UTC)

ตอนนี้หน้าจุฬาฯ กลายเป็นเว็บรวมลิงก์ไปซะแล้ว[แก้]

ตอนนี้หน้าจุฬาฯ กลายเป็นเว็บรวมลิงก์ไปซะแล้ว มีตั้งแต่ลิงก์ไปศูนย์หนังสือ ไปถึง โรงพิมพ์จุฬา ถ้าใครมีเวลา อยากให้มาช่วยกันสร้างบทความออกมาเป็นหน้า (อย่างน้อย 2-3 บรรทัด) เช่น ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจจะเยิ่นเย้อ และไม่มีรายละเอียด หรือว่า สร้างเป็นหน้าใหม่หน้าเดียว เป็น หน่วยงานในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดีครับ --Manop | พูดคุย - 00:02, 25 กุมภาพันธ์ 2006 (UTC)

ตอนนี้มีผู้ใช้ท่านอื่นช่วยแก้แล้วครับ ขอบคุณทุกท่าน --Manop | พูดคุย - 20:05, 17 กรกฎาคม 2006 (UTC)

แก้ไขชื่อผู้พระราชนามจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[แก้]

จากหัวเรื่องเลยนะครับ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย และได้รับยกย่องเป็นมหาวิทยาลัยที่ชั้นนำของประเทศ จุฬาลงกรณ์ประกอบไปด้วย 18 คณะและ 14 สถาบัน โดยชื่อจุฬาลงกรณ์ได้รับพระราชทานนามจาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งอยู่บริเวณศูนย์กลางกรุงเทพมหานคร

ชื่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นชื่อที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานเพื่อเป็นพระบรมราชานุสาวรย์เฉลิมพระเกียรติแห่งพระบรมราชชนกคือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามข้อความที่อ้างไว้ต่อไปนี้ จึงขอแก้ไขให้ถูกต้องครับ


อ้างจาก [1]

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกูฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำริที่จะขยายการศึกษาในโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น คือ ไม่เฉพาะสำหรับผู้ที่จะเล่าเรียนเพื่อรับราชการเท่านั้น แต่จะรับผู้ซึ่งประสงค์จะศึกษาขั้นสูงให้เข้าเรียนได้ทั่วถึงกัน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๙ เพื่อเป็นพระบรมราชานุสาวรย์เฉลิมพระเกียรติแห่งสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงให้เจริญก้าวหน้ากว้างขวางแผ่ไพศาลและมิรู้เสื่อมสูญ

เราควรจะจัดรูปแบบหน้าอย่างไรเหรอครับ จะได้ช่วนจัดให้มันเหมาะสมขึ้น รวมทั้งที่หน้าของ มหาวิทยาลัยมหิดลด้วย

แก้รูปแบบการจัดหน้า[แก้]

ต้องการให้แก้รูปแบบการจัดหน้า เป็นแบบไหนครับ เดี๋ยวจะช่วยแก้ให้ถูกต้องครับผม

การจัด ranking[แก้]

อย่างไรก็ตามการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกโดยมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เจียวถง ซึ่งได้รับการอ้างอิงมากกว่า พบว่าไม่มีมหาวิทยาลัยใดจากเมืองไทย ติดอันดับ 1-500 อันดับแรก

ตามที่คุณ BF กรุณาเพิ่มเติมในส่วน Ranking จาก Shanghai Jiao Tong University[[2]] นั้น ว่าได้รับ การอ้างอิงมากกว่า ค่อนข้างจะเป็นความเห็นที่เกรงว่าจะมีความขัดแย้งเกิดขึ้น

  • อ้างอิง [3]
The quality of universities cannot be precisely measured by mere numbers. Therefore, any ranking is controversial and no ranking is absolutely objective. People should be cautious about any ranking including our Academic Ranking of World Universities.
It would be impossible to have a comprehensive ranking of universities worldwide, because of the huge differences of universities in the large variety of countries and the technical difficulties in obtaining internationally comparable data. Our ranking is using carefully selected indicators and internationally comparable data that everyone could check.

และจะเห็นได้อีกว่าไม่ว่าเกณฑ์ที่ระบุไว้นั้น จะพยายามครอบคลุมอย่างไรก็อาจมีข้อโต้แย้ง เช่น เมื่อปี 2004 นั้นเอาเฉพาะกลุ่ม Science ไม่รวม Art and Social science ไว้ เพิ่งจะมาเพิ่มปีนี้ เป็นต้น

แม้แต่ของ THES นั้น ก็กล่าวว่า เค้าเป็นการจัดลำดับที่น่าเชื่อถือ

  • อ้างอิง [4]
With its improved accuracy and the inclusion of even more information, the second Times Higher World Rankings is the best guide to the world's top universities, says Martin Ince
Today The Times Higher publishes the World University Rankings for the second year running. The aim is the same as it was in 2004: to offer a consistent and systematic look at the world's top universities in the context of the globalisation of higher education. But we think that this version is more robust and reliable than the first.
We have gathered new data on employers' opinions of universities around the world. This has allowed us to widen the pool of information we present, but we have gone further and deepened the pool as well. This year's tables are virtually free of gaps in data. And because we have collected a wealth of data on institutions outside the top 200, we are confident that no institution that should be in these tables has been overlooked. These efforts have resulted in what we believe is the world's best guide to the standing of top universities.

ขออภัยหากยาวไปหน่อย... ^_^" ฉะนั้น..เลยไม่แน่ใจน่ะค่ะ ว่าสมควรระบุอย่างนั้นหรือไม่ ว่าของ Shanghai Jiao Tong University อ้างอิงมากกว่า หรือน่าเชื่อถือว่า? --Look-Narm 13:31, 9 พฤษภาคม 2006 (UTC)


ถ้าแก้เป็นการจัดอันดับเชิงวิชาการจะเห็นด้วยมั้ยครับ เพราะทามไฮเออร์ไม่ได้จัดเชิงวิชาการด้านเดียว แต่ของมหาวิทยาลัย เซียงไฮ้ เจียวตง จัดตามอคาเดมิค หรือทางการศึกษาวิจัยอย่างเดียว เลยไม่มีมหาวิทยาลัยไทยติดท้อปห้าร้อย ซึ่งถ้าเป็นนักวิจัยจะพบว่า น่าจะเห็นควรด้วยทุกประการครับ

ตอบคุณ Jame (ข้างบน) ตอนนี้แก้เป็น "ตัด" ที่เป็นความเห็นออกค่ะ ส่วนเรื่องดรรชนีที่ใช้วัดนั้น Shanghai Jiao Tong University ใช้สัดส่วนของวิชาการ ทุกด้าน อย่างละ 20% ค่ะ มีเรื่องขนาดพื้นที่ของมหาวิทยาลัยอีก 10% ซึ่งก็ดูแปลกๆอยู่ แทนที่จะดูเรื่อง facility ของการวิจัย บุคลากร ฯลฯ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นควรไปเขียนอธิบายในเรื่อง การจัดลำดับมหาวิทยาลัย ไม๊คะ? --Look-Narm 15:49, 9 พฤษภาคม 2006 (UTC)
เห็นด้วยครับ เอาเป็นว่าผมจะไปเติมว่า ถ้าพิจารณาในแง่วิชาการแรงกิ้งของ เซี่ยงไฮ้ ดูจะได้รับการอ้างอิงมากกว่า แต่เอาไว้เขียนในเรื่อง ranking แล้วกันครับ ไว้จะไปเขียนอธิบายในนั้นแล้วกัน--BF 16:18, 9 พฤษภาคม 2006 (UTC)
อันดับที่นี่ครับ อันดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย --Manop | พูดคุย - 16:28, 9 พฤษภาคม 2006 (UTC)
ผมเห็นว่าไม่จำเป็นต้องใส่ข้อความว่าไม่ได้อยู่ในอันดับ 1-500 ลงไป อาจจะเหมาะกว่าครับ (ควรบอกว่าเขาเป็นอย่างไร แต่ไม่จำเป็นจะต้องบอกว่าเขาไม่ได้เป็นอย่างไร..จะเอาไปใส่ในลิงค์การจัดอันดับแทนครับ)หรือเห็นว่าควรเอาใส่เอาไว้เปรียบเทียบกันดีครับ??--BF 17:01, 9 พฤษภาคม 2006 (UTC)


ชื่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[แก้]

รัชกาลที่ 6 ทรงสถาปนาโรงเรียนข้าราชการพลเรือน เป็น "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" ไม่ใช่ "จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย" ดังนั้น ที่เขียนตรงหน้าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้นผิดนะครับScorpianPK 00:23, 28 กรกฎาคม 2006 (UTC)

เสนอแนะการปรับปรุงเพื่อเป็นบทความคุณภาพ[แก้]

ดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:เสนอบทความคุณภาพ/จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Thai Studies Centre[แก้]

Sawasdee, 大家好 !!
I hope some one who knows about the centre come to help aplenty this article.

Ta!!! Mori Riyo 03:01, 18 กรกฎาคม 2007 (UTC)

บทนำ[แก้]

ผมอุตส่าห์นั่งสรุปอยู่ตั้งนาน... แต่ไม่เป็นไรครับ ถ้าเห็นว่าเกินความจำเป็น --Pi@k 07:41, 30 กรกฎาคม 2007 (UTC)

ที่คุณเอามาลงผมก็ว่ามันเยอะเกินไปนะครับ ซึ่งจะกลายเป็นข้อมูลซ้ำซ้อน น่าจะเอาแต่ที่สำคัญมา (ตอนนี้คุณมานพทำแล้วผมคงไม่พูดต่อ) --Octahedron80 07:44, 30 กรกฎาคม 2007 (UTC)

โอเคครับ ไม่เป็นไร เข้าใจครับ --Pi@k 07:45, 30 กรกฎาคม 2007 (UTC)

บทความ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในภาษาลาว[แก้]

ผมเพิ่มเข้าไป จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในภาษาลาว (ມະຫາວິທະຍາໄລຈຸລາລົງກອນ) แต่เห็นว่าหลายคนอ่านไม่ได้ ถ้าไม่มีฟอนต์ลาว อาจต้องโหลดที่ http://www.omniglot.com/writing/lao.htm --Manop | พูดคุย 06:28, 10 สิงหาคม 2007 (UTC)

chula.edu[แก้]

ผมอยากเพิ่มส่วนนี้เข้าไป ว่าสมัยช่วงแรกจุฬาฯ ใช้เว็บไซต์ว่า chula.edu ซึ่งตอนหลังมาเปลี่ยนเป็น chula.ac.th ให้เหมือนมหาวิทยาลัยอื่นในประเทศไทย แต่ไม่รู้จะเพิ่มในส่วนไหนดี และก็ไม่มีอ้างอิงครับ (มีแต่ในความทรงจำ) --Manop | พูดคุย 05:48, 20 พฤศจิกายน 2550 (ICT)
จะดีเหรอครับ ถ้างั้นก็ต้องใส่ว่าเคยใช้ www.cu.ac.th ด้วยเปล่าครับ --taweethaも 09:39, 11 มิถุนายน 2552 (ICT)
จริงๆ ก็ไม่เกี่ยวกับชื่อที่เป็น alternative นะครับ แต่มันจะโยงไปถึงประวัติอินเทอร์เน็ตเมืองไทยมากกว่า ที่ช่วงนั้นเมืองไทยยังไม่มี .th ใช้ (ถ้าจำไม่ผิด) ของจุฬาฯ เลยเป็น .edu เหมือนอย่างในสหรัฐอเมริกา แล้วที่สุดท้ายก็กลายมาเป็น .ac.th เหมือนในปัจจุบัน (เพิ่งสังเกตว่าข้อความมันสองปีที่แล้วเลย) --Manop | พูดคุย - (irc) 12:53, 11 มิถุนายน 2552 (ICT)
chula matches โห เก่าสุดยอด -_-" ผู้ใช้Tmd | พูดคุย 13:20, 11 มิถุนายน 2552 (ICT)
เห็นด้วยครับว่าเรื่อง edu ควรไปใส่ในประวัติอินเตอร์เน็ตประเทศไทย แต่เรื่องที่เขาพยามเปลี่ยนจาก cu เป็น chula ทั้ง www.cu.ac.th[5] และ www.cubook.com[6] น่าจะมีความหมายอะไรบางอย่างครับ --taweethaも 10:48, 12 มิถุนายน 2552 (ICT)

เกียรติภูมิจุฬาฯคือเกียรติแห่งการรับใช้ประชาชน[แก้]

เคยทราบมาว่า เกียรติภูมิจุฬาฯคือเกียรติแห่งการรับใช้ประชาชน คำกล่าวนี้ไม่ใช่คำขวัญหรือปรัชญาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนะครับ แต่ตั้งขึ้นมาภายหลังในช่วงที่เกิดเหตุการณณ์ 14 ตุลาคม(ถ้าจำไม่ผิดนะครับ) อ้างอิงจาก อ.สวัสดิ์ จงกล อดีต ผ.อ.หอประวัติแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถ้าเพื่อความแม่นยำติดต่อได้ที่หอประวัติแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทร 022187097-8 ครับ

ทรัพย์สินและรายได้ของมหาวิทยาลัย / ที่ดินจุฬาลงกรณ์เป็นที่ดินพระราชทานจริงหรือไม่[แก้]

ตรงนี้น่าจะเป็นประเด็นน่าสนใจนะครับ

  1. จุฬาฯ มีทรัพย์สินให้เช่าจำนวนมาก อันได้แก่ห้างทั้งหลายบริเวณใกล้เคียง รายได้เข้ามหาวิทยาลัยเป็นจำนวนมากทีเดียว โดยงบประมาณจากรัฐแล้วมหิดลได้รับมากที่สุด แต่ว่าถ้าคำนึงถึงรายได้มหาวิทยาลัยจากตรงนี้ด้วย เห็นทีจุฬาจะได้รับเป็นอันดับหนึ่ง ตรงนี้จึงเป็นประเด็นน่าสนใจที่ควรกล่าวไว้ในบทความ เพราะรายได้ดีจึงเป็นที่มาของการพัฒนาการศึกษาที่ดีได้
  2. ที่ดินของจุฬานี้ได้แต่ใดมา เดิมจุฬาต้องจ่ายค่าเช่าในที่ที่อยู่ในปัจจุบัน จนจอมพล ป. ไปบังคับสำนักงานทรัพย์สินให้โอนขายมาแก่จุฬาได้อย่างไรไม่รู้ อันนี้ก็เป็นอีกมุมหนึ่งทางประวัติศาสตร์/การเมือง ที่ไม่มีใครมองเห็น อ้างอิง ประกาศ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 56 หน้า 1364 วันที่ 30 ตุลาคม 2482 และเว็บ [7]

จึงเสนอมาไว้พิจารณาครับ ถ้าเห็นดีเห็นงามด้วยก็หาหลักฐานอ้างอิงและเพิ่มเติมเข้าไปในบทความ ตอนนี้เขียนเรื่องที่ดินพระราชทานอาจไม่ถูกต้องอยู่ครับ--taweethaも 20:40, 5 มิถุนายน 2552 (ICT)

เสาหลักของแผ่นดิน[แก้]

คำว่า "เสาหลักของแผ่นดิน" ไม่ใช่คำขวัญหรือปรัชญาของมหาวิทยาลัยนะคะ แต่เป็นวิสัยทัศน์ระหว่างปี 2551 – 2555 ขออนุญาติแก้ไขค่ะ เสาหลักของแผ่นดิน Pedz 02:50, 8 มกราคม 2553 (ICT)

อ้างอิง[แก้]

ควรเปลี่ยนอ้างอิงหมายเลข 5 และ 6 ครับ

  • หมายเลข 5 ลิงก์ควรชี้ไปยังบทความข่าวโดยตรง (เว็บเป็นแบบอัปเดตข่าวใหม่เรื่อย ๆ)
  • หมายเลข 6 ลิงก์เสีย

--Horus non nobis, sed omnibus | พูดคุย 00:26, 15 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)

รีวิว[แก้]

ขออนุญาตปฏิทัศน์เพื่อให้เกิดการปรับปรุงบทความนะครับ

  1. ส่วนบทนำ ย่อหน้าแรกโอเค กล่าวถึงประวัติ แต่คิดว่าอธิบายยาวไปหน่อย คงต้องเผื่อที่ไว้สำหรับประวัติต่อจากนั้น (มีด้านล่าง), ย่อหน้าที่สอง คิดว่าไม่จำเป็น อย่างดีก็ควรไปอยู่ในเนื้อหาบทความ, ย่อหน้าที่สาม คิดว่าไม่จำเป็นเช่นกัน, ย่อหน้าที่สี่และห้าโอเค ย่อหน้าที่ห้าอาจปรับไปเป็นย่อหน้าที่หนึ่ง และแยกประวัติออกมาเป็นย่อหน้าต่างหาก
  2. ส่วนประวัติ เนื้อหาบางตอนไม่จำเป็น ตัวอย่างเช่น "ด้วยมีพระราชปรารภที่จะทรงจัดการปกครองพระราชอาณาจักรให้ทันกาลสมัย จึงจัดตั้งโรงเรียนเพื่อฝึกหัดนักเรียน" แล้วมีพระราชดำรัสเพื่อเสริมข้อเท็จจริงนี้ จึงคิดว่าพระราชดำรัสนั้นไม่จำเป็นต้องยกมา และประวัติสิ้นสุดลงเพียงปี 2504 เท่านั้นคิดว่าควรจะเขียนเพิ่ม
  3. ส่วนสัญลักษณ์ เขียนเป็นน้ำเสียเยอะ เช่น "ประจำรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โรงเรียนมหาดเล็กซึ่งเป็นต้นกำเนิดของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกราบบังคมทูลขอพระราชทาน พระบรมราชานุญาตอัญเชิญพระเกี้ยวเป็นเครื่องหมายของโรงเรียน และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจนกระทั่งโรงเรียนได้รับการสถาปนาเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" ส่วนรูปตกแต่งสองรูปก็ดูรกไปหน่อย ควรลดเหลือรูปเดียว
  4. ส่วนผู้บัญชาการและอธิการบดี ไม่จำเป็นต้องเขียนแยกวาระ ๆ คนเดียวก็ใส่ตั้งแต่เริ่มจนจบเลย
  5. ส่วนการให้บริการทางวิชาการ โดยเฉพาะส่วนย่อย บุกเบิกสารสนเทศเพื่อการศึกษาในประเทศไทย เขียนออกแนวโฆษณาอยู่บ้าง เช่น "สถาบันวิทยบริการ(สำนักงานวิทยทรัพยากร) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นหน่วยงานแรกของประเทศไทย ที่เชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตเต็มรูปแบบตลอด 24 ชั่วโมง นำมาซึ่งความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศและองค์ความรู้ทุก ๆ แขนงแก่บุคลากร นิสิต และประชาชนทั่วไปที่สนใจอีกทั้งเป็นการสร้างรากฐานที่สำคัญของการศึกษาวิจัยในประเทศไทย"
  6. ส่วนอันดับและมาตรฐานของมหาวิทยาลัย ควรลดจำนวนส่วนย่อยและย่อหน้าลง โดยอาจตัดส่วนที่เป็นน้ำออก เช่น "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยระดับดีเลิศ ทั้งในด้านการเรียนการสอนและการวิจัย จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของไทยโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา" อาจตัดเหลือ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจัดให้จุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยระดับดีเลิศทั้งด้านการเรียนการสอนและการวิจัย ส่วนการมีแถบข้างถือว่าเป็นการสรุปที่ดี
  7. ส่วนพื้นที่มหาวิทยาลัย ส่วนย่อยพื้นที่การศึกษา คิดว่าไม่ต้อง list มาทุกอาคาร แต่อาคารใดมีความสำคัญ เช่น มีบทความลิงก์ไปก็อาจจะกล่าวถึงเล็กน้อย เรื่องต้นไม้สำคัญคิดว่าอาจจะไม่จำเป็น ส่วนย่อยพื้นที่พาณิชยกรรมและพื้นที่ต่างจังหวัด ควรตัดน้ำออก และรูปคิดว่ามากเกินไป ไม่ควรมีรูปอยู่ซ้ายขวาในระดับเดียวกัน
  8. ส่วนสถาปัตยกรรมที่สำคัญในมหาวิทยาลัย ควรไปรวมในส่วนพื้นที่มหาวิทยาลัย และตัดน้ำออก เช่น อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ก็ควรบอกเพียงว่าได้รางวัลก็พอแล้ว เพราะถ้าจะกล่าวว่าอาคารใดคณะใดใช้เรียนก็น่าจะมีเขียนในบทความแต่ละคณะอยู่แล้ว และรูปมีมากเกินไป
  9. ส่วนพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ ควรไปรวมกับส่วนพื้นที่มหาวิทยาลัย และตัดน้ำออก
  10. ส่วนชีวิตนิสิต ส่วนย่อยการพักอาศัยของนิสิตจุฬาฯ คิดว่ามีการเขียนจากประสบการณ์ผู้เขียน เช่น "การพักอาศัยของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีลักษณะคล้ายกับนิสิตนักศึกษาอื่นในกรุงเทพฯ โดยคนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพหรือเขตปริมณฑล หรือมีญาติพี่น้องอยู่แถบนั้น ก็จะพักอาศัยตามบ้านหรือบ้านคนรู้จัก" คิดว่าควรอธิบายในลักษณะที่ว่าจุฬาฯ มีหอในให้อยู่ และมีหอนอกในสังกัด บลา ๆ เป็นต้น ส่วนย่อยกิจกรรมระหว่างมหาวิทยาลัย ควรหยิบมากล่าวถึงเป็นรายกิจกรรม และควรเขียนเป็นร้อยแก้วไม่ใช่ list มา
  11. ส่วนการเดินทาง คิดว่าไม่ต้องอธิบายละเอียด โดยเฉพาะรถเมล์และจักรยานในมหาวิทยาลัย คิดว่าอธิบายว่าจัดให้มีกี่สายทำนองนี้ก็น่าจะพอ
  12. ส่วนพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ควรรวมกับส่วนชีวิตนิสิต และตัดน้ำออก
  13. ส่วนวันสำคัญที่เกี่ยวกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คิดว่าควรตัดออก เหลือวันคล้ายวันสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจจะไปรวมกับส่วนอื่น
  14. ส่วนการเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐบาล ควรรวมกับส่วนประวัติ และตัดน้ำออก
  15. ส่วนการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวและมหาวิทยาลัยที่ยั่งยืน คิดว่ามีเนื้อหาที่ไม่เป็นสารานุกรมเสียมาก อาจจะลองพิจารณาดูว่าเนื้อหาจริง ๆ ยาวพอให้เขียนหรือไม่ และควรรวมกับส่วนอื่น
  16. ส่วนปัญหาระบบและการระบายน้ำและเรื่องอื้อฉาว ควรพิจารณาว่าเป็นสารานุกรมหรือไม่ ปัญหาระบบและการระบายน้ำดูเขียนขึ้นจากประสบการณ์และไม่มีแหล่งอ้างอิง และตัดน้ำออก ส่วนเรื่องอื้อฉาวคิดว่าไม่จำเป็น เพราะควรไปเขียนอยู่ในชีวประวัติของบุคคลที่กล่าวถึงมากกว่า
  17. คิดว่าควรพยายามจัดระเบียบบทความโดยยึดหรือดัดแปลงจาก University of Oxford โดยมีส่วนการจัดระเบียบ (organization) โดยเขียนส่วนย่อย การบริหาร (governance) ครับ อาจจะเพิ่มส่วนย่อยการเงินเข้าไปด้วยเพราะมีอยู่ในส่วนพื้นที่บ้างแล้ว และโพรไฟล์วิชาการ (Academic profile) จุดประสงค์เพื่อลดพาดหัวระดับ 2

--Horus | พูดคุย 02:29, 2 กุมภาพันธ์ 2559 (ICT)

ปีที่สถาปนา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[แก้]

ตามการนับแบบคริสต์ศักราช ถือว่า จุฬาฯ ถูกสถาปนาขึ้นในปี ค.ศ. 1917 ตรงกับ พ.ศ. 2460 ค่ะ แต่เนื่องจากในช่วงเวลาที่จุฬาฯ ถูกสถาปนาขึ้น ประเทศไทยยังขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน จุฬาฯ ถูกสถาปนาในวันที่ 26 มีนาคม ถือว่ายังคงอยู่ในปี พ.ศ. 2459 จึงใส่ข้อมูลเป็นปี 2459 ตามวันที่ลงในราชกิจจานุเบกษา และวงเล็บ ค.ศ. เอาไว้ด้านหลัง เพื่อความเข้าใจและใช้นับอายุจุฬาฯ อย่างถูกต้องค่ะ --Payajam (พูดคุย) 23:13, 29 มีนาคม 2559 (ICT)

การอ้างอิงคะแนนสอบเข้าจุฬาฯ[แก้]

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีวิธีสอบเข้าหลายแบบ แบบกลางคือ admission จะมีการแบ่งเกณฑ์คะแนนที่หลากหลาย แต่ละกลุ่มคณะจึงไม่ได้ใช้คะแนนจากข้อสอบชนิดเดียวกัน ถึงแม้ว่าแต่ละปีจะมีการจัดลำดับว่าใครสอบได้คะแนน admission สูงที่สุดในประเทศ แต่คะแนนที่เรียงลำดับนั้นเป็นคะแนนที่คำนวณจากข้อสอบต่างกลุ่มกัน คณะที่ใช้ GAT 50% มักเป็นแหล่งที่มีคนได้ที่ 1 ของประเทศเข้าไปเรียน แต่อันที่จริง เราไม่สามารถเปรียบเทียบความรู้ของผู้เข้าสอบ admission ได้เลยเพราะเขาคำนวณคะแนนมากันต่างแบบ ดังนั้นคะแนนที่เรียงลำดับและเปรียบเทียบได้ชัดเจนที่สุดคือ กสพท เพราะทั้ง 4 คณะ แพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ และสัตวแพทยศาสตร์ ใช้ข้อสอบ 7 วิชาสามัญเหมือนกัน การอ้างอิงด้วย กสพท จึงน่าเชื่อถือกว่า และไม่ดูเป็นการใช้วิกิพีเดียเป็นพื้นที่โฆษณาชวนเชื่อเหมือนอย่างการใช้คะแนน admission อ้างอิง --BunBn (พูดคุย) 01:33, 19 มีนาคม 2560 (+07)[ตอบกลับ]

เสนอปรับปรุงเนื้อหา[แก้]

  1. ส่วน การเป็นสัญลักษณ์ทางการทูตของประเทศไทย มีใจความจับแพะชนแกะ มหาวิทยาลัยอื่นทั่วโลกที่มีบุคคลสำคัญเยือนก็ไม่เห็นต้อง list มาไว้
  2. ส่วน การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวและมหาวิทยาลัยที่ยั่งยืน เป็นเรื่องภายใน ไม่เห็นบริบทที่สมควรรวมอยู่ในบทความ หาเทียบกับบทความมหาวิทยาลัยอื่นก็ไม่มี --Horus (พูดคุย) 00:03, 12 กุมภาพันธ์ 2562 (ICT)
ตามข้อ 1. เห็นด้วยว่าข้อมูลจับฉ่าย (นำชีวประวัติ+เหตุการณ์อื่น ๆ ในขณะนั้นมารวมกันซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับบทความ) ซ้ำซ้อน (กับเนื้อหาในบทความชีวประวัติของแต่ละบุคคล) และไม่ได้ทำให้ผู้อ่านเข้าใจบทความมากขึ้นอย่างสำคัญ แนวทางคืออาจนำวรรคแรกของหัวข้อ "การเป็นสัญลักษณ์ทางการทูตของประเทศไทย" ไปไว้ในส่วนประวัติ (อาจแยกเป็นหัวข้อย่อยของส่วนประวัติ) และย่อความที่เหลือทั้งหมดให้สั้นลง (เช่นย่อให้เหลือ 1 วรรค) โดยไล่รายชื่อบุคคลสำคัญ+เหตุการณ์ในขณะนั้นที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยโดยตรง (อันที่จริง สารานุกรมควรเขียนด้วยข้อเท็จจริง ไม่ควรมีความรู้สึกเข้ามาปะปน ดังเช่นความรู้สึกเป็นเกียรติ?) --Ponpan (คุย) 04:54, 12 กุมภาพันธ์ 2562 (ICT)
ขอเชิญ @BunBn: ร่วมอภิปราย --Horus (พูดคุย) 17:00, 13 กุมภาพันธ์ 2562 (ICT)
ตามที่ท่านได้กล่าวถึง ส่วน การเป็นสัญลักษณ์ทางการทูตของประเทศไทย ขออธิบายว่า การเยือนต่างประเทศอย่างเป็นทางการของ Head of state หรือ Head of government เป็นพิธีการที่มีธรรมเนียมในการปฏิบัติแน่นอน โดยทั่วไปจะมีมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งถูกเลือกให้รับประมุขของต่างประเทศในคราวที่เยือนประเทศตนเอง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในพิธีการทูต เพื่อมอบปริญญากิตติมศักดิ์ เช่น ในครั้งที่รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสสหราชอาณาจักร มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ก็ได้รับเลือกให้มอบปริญญาในครั้งนั้น ไม่ได้เกิดจากการที่มหาวิทยาลัยเสนอให้ปริญญาบัตรหรือขอร้องให้มาเยือนเองซึ่งเกิดขึ้นเป็นการทั่วไป ดังนั้นหัวข้อนี้จึงไม่ได้ต้องการสื่อถึง "ความรู้สึกเป็นเกียรติที่มีบุคคลสำคัญมาเยือน" แต่ต้องการนำเสนอว่า ในพิธีการทูตที่มีหลักปฏิบัติเป็นการทั่วไประหว่างประเทศ จุฬาฯ มีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้อง และยังไม่มีมหาวิทยาลัยไหนในประเทศไทยจนถึงขณะนี้ ที่รับรองบุคคลสำคัญ "ในระหว่างพิธีการทางการทูต" แบบที่จุฬาฯ ได้มีส่วนร่วม จึงเป็นลักษณะเด่นที่มีนัยสำคัญ
การสรุปประเมินด้วยคำว่า "จับแพะชนแกะ" อาจจะเป็นการสรุปโดยปราศจากความเข้าใจความรู้พื้นฐานในเรื่องที่เขียน โดยดูได้จากการยกตัวอย่างว่า "มหาวิทยาลัยอื่นทั่วโลกที่มีบุคคลสำคัญเยือนก็ไม่เห็นต้อง list มาไว้" เพราะ 1. เหตุการณ์ที่เกิดในจุฬาฯ ไม่ใช่การที่บุคคลสำคัญมาเหยียบพื้นดินมหาวิทยาลัยเล่น ๆ มาบรรยายพิเศษ มาดูงานและแวะทานอาหารเที่ยง แต่เป็นส่วนหนึ่งในพิธีการทูต คือมีการมอบปริญญากิตติมศักดิ์จากพระประมุขของไทยเอง หรือจากสภามหาวิทยาลัยแทนพระองค์ (ไม่เหมือนการพระราชทานปริญญาบัตรจบการศึกษาเพราะมีจุดประสงค์ในการเจริญสัมพันธ์ไมตรีระหว่างรัฐกับรัฐ) หรือมีการลงนามในสมุดเยี่ยมโดยมีตัวแทนของรัฐบาลไทยเป็นพยาน 2. การมอบปริญญาแก่บุคคลสำคัญหรือการบรรยายพิเศษมีอยู่ทั่วไปและตลอดเวลา แต่สิ่งที่ List มาและเกิดในจุฬาฯ คือเหตุการณ์ที่อยู่ในกำหนดการเยือนอย่างเป็นทางการของผู้นำรัฐบาลและประมุขของรัฐในแต่ละครั้ง มีเตรียมการมาก่อน มีกรอบเวลาที่แน่นอน 3. การเยือนจุฬาฯ แตกต่างจากทั้งมหาวิทยาลัยในไทยเองและ "มหาวิทยาลัยอื่นทั่วโลก" เพราะยังไม่มีการเยือนของบุคคลสำคัญไหนที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยไทยแห่งอื่น ที่เป็นส่วนหนึ่งในพืธีการเยือนอย่างเป็นทางการ ส่วนมหาวิทยาลัย "อื่นทั่วโลก" ก็ไม่ได้มีมหาวิทยาลัยไหนถูกใช้งานในพิธีการเช่นนี้ติดต่อกันมาหลายครั้ง ข้ามยุคสมัย เพราะในต่างประเทศมีมหาวิทยาลัยเก่าแก่หลายมหาวิทยาลัยในประเทศที่ถูกเลือกใช้งานในพิธีการทูตและสามารถแสดงถึงพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของประเทศได้ ขอเชิญ @Horus: และ @Ponpan: ร่วมอภิปรายต่อ ขอบคุณทั้งสองท่านที่ให้คำแนะนำ --BunBn (คุย) 23:58, 13 กุมภาพันธ์ 2562 (ICT)
ถ้าคุณว่ามาอย่างนี้ คุณต้องมี reference ยืนยันว่าการเยือนของบุคคลเหล่านี้มีความสำคัญในฐานะที่เป็นสัญลักษณ์ทางการทูตของไทยจริง ซึ่งควรเป็น ref ที่ไม่มีส่วนได้เสียกับจุฬาด้วย รวมทั้ง list แต่ละครั้งจะต้องมีรวบรวมไว้ที่อื่นแล้ว จะมาใส่แยกทีละรายการแล้วเหมารวมว่าทุกครั้งเป็นสัญลักษณ์ทางการทูตดังกล่าวไม่ได้ครับ Horus (พูดคุย) 10:20, 14 กุมภาพันธ์ 2562 (ICT)
เห็นว่าเนื้อหาแบบนี้นำไปเขียนในบทความความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย–ประเทศ... จะเหมาะสมกว่า (ในประวัติการเยือนประเทศไทยของบุคคลสำคัญ ถ้ามี) เพราะการมาเยือนทางการทูตนั้นเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระดับประเทศ การเยือนมหาวิทยาลัยจะว่าไปก็เป็นเพียงฟันเฟืองหนึ่งของกลไกที่ใหญ่กว่านั้น ส่วนในบทความนี้แนะนำให้ยกเฉพาะเนื้อหาที่มีนัยสำคัญจริง ๆ หรือมีผลกระทบต่อมหาวิทยาลัย หรือมีเหตุการณ์ในมหาวิทยาลัยที่ส่งผลกระทบต่อระดับประเทศ แล้วก็เขียนไว้ในส่วนประวัติเพราะถือเป็นเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัย (ผ่านไปแล้ว) ตามที่ผมกล่าวไว้ด้านบนแล้ว รวมทั้งเรื่องการอ้างอิงจากแหล่งอื่น ๆ (เช่น ข่าว หรือบทความ) ตามที่คุณ Horus แนะนำไว้ด้วย --Ponpan (คุย) 18:08, 14 กุมภาพันธ์ 2562 (ICT)